การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา LIS 1003 การใช้ห้องสมุด
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 60 ข้อ)
1. ข้อใดกล่าวถึงการใช้สารสนเทศได้ถูกต้องที่สุด
(1) น้องดาวตัดสินใจเลิกกับแฟนหลังจากสังเกตพฤติกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลมาเป็นปี
(2) คุณแดงเลิกเป็นสาวกพรรคการเมืองที่มีหัวหน้าพรรคเคยหล่อตามเพื่อน
(3) คุณเสรีเลิกทำนาเพราะข่าวลือว่ารัฐบาลจะยกเลิกนโยบายรับจำนำข้าว
(4) คุณจรัสตัดสินใจไปทำนมตามกระแสในอินเทอร์เน็ต
ตอบ 1 หน้า 3, 5, (คำบรรยาย) คำว่า “สารสนเทศ” (Information) หมายถึง ข่าวสารความรู้ที่ เป็นข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกิดจากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ และบ่ระมวลผลแล้ว ตลอดทั้งความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ซึ่งบันทึกลงในสื่อหรือวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอด และเผยแพร่ได้ ดังนั้นสารสนเทศจึงมีความถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าข้อมูล เนื่องจาก สามารถนำมาช่วยแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้ ส่วนคำว่า “ข้อมูล” (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ข่าวจากหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ ข่าวซุบซิบหรือ ข่าวลือ การโฆษณาสินค้า ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การกล่าวหา/โจมตีคู่แข่งทางการเมือง เป็นต้น
2. ข้อใดกล่าวถึงพัฒนาการของห้องสมุดและสารสนเทศได้ถูกต้อง
(1) ชาวกรีกเป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์อักษรคิวนิฟอร์ม
(2) สุเมเรียนเริ่มบันทึกข้อมูลลงบนกระดาษเป็นขาติแรก
(3) ห้องสมุดอเล็กซานเดรียสร้างโดยซาวเมใสโปเตเมีย
(4) ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่ใช้กระดาษปาไปรัส
ตอบ 4 หน้า 7, (คำบรรยาย) ซาวอียิปต์ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มแม่นํ้าไนล์ ถือเป็นชนชาติแรก
ทีรู้จักบันทึกเหตุการณ์และข่าวสารความรู้ต่าง ๆ ลงบนแผ่นกระดาษปาไปรัส (Papyrus)
ด้วยตัวอักษรภาพที่เรียกว่า “ไฮโรกลิพิก” (Hieroglyphic)โดยห้องสมุดปาไปรัสที่มีชื่อเสียง ในสมัยนี้ ได้แก่ ห้องสมุดแห่งขาติเมืองกิเซห์ สร้างเมื่อราว 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราซ
3. ข้อใดมีความสัมพันธ์กัน
(1) หอพระมณเฑียรธรรม—หอหลวง
(2) หอพุทธสาสนสังคหะ—วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(3) รัชกาลที่ 1—หอพระมณเฑียรธรรม
(4) รัชกาลที่ 6—หอสมุดแห่งชาติ
ตอบ 3 หน้า 9 – 10, (คำบรรยาย) ห้องสมุดในประเทศไทยมีพัฒนาการตามลำดับยุคสมัย ดังนี้
1. สมัยสุโขทัย ได้แก่ หอไตรหรือหอพระไตรปิฎกภายในวัดวาอารามตาง ๆ
2. สมัยอยุธยา ได้แก่ หอหลวงภายในพระราชวัง เพื่อเก็บรักษาหนังสือ วรรณกรรมทางโลก ตัวบทกฎหมาย และเอกสารทางราชการของราชสำนัก
3. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสร้างหอสมุดประจำรัชกาลต่าง ๆ ได้แก่ หอพระมณเฑียรธรรม หรือหอไตรภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในสมัยรัชกาลที่ 1,
วัดพระเซตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3, หอพระสมุดวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ (ตั้งอยู่ในวัดเบญจมบพิตร) และหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร (ถือเป็นรากฐานของหอสมุดแห่งขาติในปัจจุบัน) ในสมัยรัชกาลที่ 5
4. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด
(1) การคุยกันกับเพื่อนระหว่างฟ้งบรรยายช่วยให้เข้าใจเรื่องชัดเจน
(2) การคิดก่อนตัดสินใจเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองตามคำชักชวนของเพื่อน
(3) การศึกษา คือ การเรียนในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้ได้ปริญญา
(4) การเดินออกนอกห้องเรียนขณะอาจารย์บรรยายสามารถทำได้ เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล
ตอบ 2 หน้า 16 – 20, (คำบรรยาย) การศึกษา หมายถึง การเสาะแสวงหาความรู้จากหลาย ๆ ทาง เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องนั้น ๆ โดยวิธีศึกษาหาความรู้ที่เป็นพื้นฐานของ การแสวงหาความรู้มีอยู่ 4 วิธี ได้แก่ การอ่าน การฟัง การไต่ถาม และการจดบันทึก ซึ่งตรง ตามหลักของหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ “สุ จิ ปุ ลิ” ดังนี้
1. สุ (สุต หรือสุตตะ) คือ การฟัง หรือการรับสารทั้งปวง รวมทั้งการอ่านหนังสือ และการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ
2. จิ (จินตนะ หรือจินตะ) คือ การคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
3. ปุ (ปุจฉา) คือ การไต่ถามหรือเสวนาหาคำตอบจากผู้รู้
4. สิ (ลิขิต) คือ การเขียนหรือการจดบันทึก
5. การจัดทำรายงานเรื่อง “การอ่านเรื่องราวทางการเมืองเพื่อประกอบการทำรายงานเรื่อง สิทธิทางการเมืองตามขอบเขตของรัฐธรรมนูญไทย” ควรใช้วิธีการอ่านแบบใด
(1) การอ่านคร่าว ๆ
(2)การอ่านอย่างวิเคราะห์
(3) การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด
(4) การอ่านอย่างเจาะจง
ตอบ 2 หน้า 18, (คำบรรยาย) การอ่านอย่างวิเคราะห์ (Critical Reading) เป็นทักษะการอ่านในระดับสูงสุด ถือว่าเป็นสุดยอดของกระบวนการอ่านเอาความ ซึ่งผู้อ่านมักเป็นนักวิจัยหรือ นักวิขาการที่ต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะอ่านมาก่อน เพราะเป็นการอ่านที่ต้องใช้วิจารณญาณอย่างมาก สามารถแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งประเมินค่าหรือวิจารณ์สิ่งที่อ่านได้อย่าง มีเหตุผลและมีหลักเกณฑ์ เช่น การอ่านเพื่อรวบรวมข้อมูลมาประกอบการทำรายงาน ทำวิจัย การอ่านบทวิจารณ์หนังสือ เป็นต้น
6. ข้อใดไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของห้องสมุด
(1) การให้บริการนวนิยายเรื่อง “ทวิภพ” ในห้องสมุด
(2) ห้องสมุดประชาชนได้เชิญกวีมาให้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทกวี
(3) ห้องสมุดได้จัดนิทรรศการวัฒนธรรมไทยทุกเดือน
(4) การให้บริการสำเนาวีซีดีเพลงสากลแก่นักศึกษาในราคาถูก
ตอบ 4 หน้า 24 – 25 ห้องสมุดเป็นสถานที่รวบรวมสรรพวิทยาการต่าง ๆ หลายรูปแบบ เพื่อให้ ความรู้ ข่าวสาร ถ่ายทอดวัฒนธรรม และส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าให้แก่ประชาชนโดยไม่คิด มูลค่า ทั้งนี้ห้องสมุดโดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ
1. เพื่อการศึกษา เช่น การจัดหาหนังสือประกอบการเรียนเอาไว้ให้บริการ
2. เพื่อให้ข่าวสารความรู้ เช่น การที่ห้องสมุดจัดให้มีหนังสือพิมพ์เอาไว้ให้บริการ
3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย เข่น การจัดให้มีฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ศูนย์สารสนเทศ ฯลฯ
4. เพื่อความจรรโลงใจ เช่น การจัดหาหนังสือธรรมะ อัตชีวประวัติบุคคลสำคัญ กวีนิพนธ์ และวรรณกรรมซีไรต์ไว้ให้บริการ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามแก่ชีวิต
5. เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การให้บริการหนังสือบันเทิงต่าง ๆ นวนิยาย เรื่องสั้น ๆลๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านผ่อนคลายความตึงเครียดได้
7. แหล่งสารสบเทศในข้อใดที่ให้บริการข้อมูลเฉพาะด้าน
(1) หอสมุดแห่งซาติ (2) ห้องสมุดคณะนิติศาสตร์
(3) หอจดหมายเหตุแห่งซาติ (4) ห้องสมุดสวนลุมพินี
ตอบ 2 หน้า 32 – 33 ห้องสมุดเฉพาะ หมายถึง ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นในหน่วยงานซองรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ สถาบัน บริษัท สมาคม ธนาคารพาณิชย์ และองค์การระหว่างประเทศ โดยจะทำหน้าที่ให้บริการ สารสนเทศเฉพาะสาชาวิชาใดวิขาหนึ่งอย่างละเอียดลึกซึ้ง และมุ่งให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นนักวิชาการและนักวิจัย รวมทั้งบุคคลที่ทำงานภายในหน่วยงานนั้นๆ เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ห้องสมุดคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย- ธรรมศาสตร์, ห้องสมุดสยามสมาคม, ห้องสมุดสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นต้น
8. ฝ่ายใดของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ให้บริการกฤตภาค
(1) ฝ่ายเทคนิค (2) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
(3) ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์ (4) ฝ่ายวารสารและเอกสาร
ตอบ 4 หน้า 40 – 41 ฝ่ายวารสารและเอกสาร จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา พิจารณาคัดเลือก และประเมินคุณค่าวารสาร จัดทำดรรชนีและสาระสังเขปบทความจากวารสารและเอกสาร จัดทำบรรณานุกรมวารสาร รวมทั้งให้บริการวารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และเอกสารทั่ว ๆ ไป ตลอดจนจัดทำกฤตภาคไว้ให้บริการ
9. ข้อใดหมายถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด
(1) หนังสือทุกเล่มที่นักศึกษายืมออกจากห้องสมุด
(2) หนังสือทุกเล่มที่ห้องสมุดดำเนินการสั่งซื้อจากบริษัท
(3) หนังสือทุกเล่มที่ห้องสมุดดำเนินการตรวจรับจากบริษัท
(4) หนังสือทุกเล่มที่บริษัทจัดจำหน่ายในงานสัปดาห์ห้องสมุด
ตอบ 1 หน้า 55, 76, 133 – 134 ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด หมายถึง แหล่งสารสนเทศทุกรูปแบบ ที่ห้องสมุดได้คัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ และนำมาลงทะเบียนเพื่อจัดเก็บรวบรวมตามหมวดหมู่ อย่างเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือทุกเล่มที่นักศึกษายืมออกจากห้องสมุด สิ่งตีพิมพ์บน แผนกระดาษประเภทอื่น ๆ สิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดเป็นสมาชิกและพร้อมให้บริการ รวมทั้งบรรณารักษ์หรือบุคลากรบริการสารสนเทศที่ทำหน้าที่ให้บริการและช่วยผู้ใช้ค้นหา สารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
10. เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก เปรียบเสมือนส่วนใดซองหนังสือมากที่สุด
(1) เลขมาตรฐานสากลหนังสือ (2) บัตรรายการหนังสือ
(3) เลขเรียกหมู่หนังสือ (4) เลขทะเบียนหนังสือ
ตอบ 1 หน้า 61, 193, (คำบรรยาย) เลขประจำหนังสือสากล หรือเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number : ISBN) ถือเป็นเลขที่กำหนดให้มีในหนังสือทุกเล่ม (เช่นเดียวกับที่คนไทยทุกคนมีหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน) ซึ่งมีประโยซนในการควบคุม สิ่งพิมพ์และการสั่งซื้อหนังสือ รวมทั้งบอกให้ทราบถึงประเทศที่ผลิต สำนักพิมพ์ และซื่อหนังสือ ทั้งนี้เลข ISBN อาจปรากฏที่หน้าปกในหรือที่หน้าปกนอก แต่สำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศนั้น เลข ISBN จะปรากฏในหน้าลิขสิทธิ์
11. ข้อใดคือความหมายของบรรณานุกรม
(1) ส่วนที่ให้คำอธิบายคำยากหรือศัพท์เฉพาะ
(2) ส่วนที่อธิบายข้อความบางตอนที่ปรากฏในเนื้อหา
(3) บัญชีคำหรือวลีที่ปรากฏในหนังสือ
(4) บัญชีรายชื่อหนังสือที่ปรากฏท้ายเล่ม
ตอบ 4 หน้า 64, 129, 254, 275 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นบัญชีรายชื่อหนังสือ เอกสาร และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องต่าง ๆ ที่ผู้แต่งใช้เป็นหลักฐานประกอบการเขียนหนังสือเล่มนั้น โดยอาจอยู่ท้ายบทหรือท้ายเล่มก็ได้ หรืออาจจัดทำเป็นตัวเล่มหนังสือที่รวบรวมรายชื่อและรายละเอียด ของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น รายชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ และปีที่พิมพ์ เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมและให้ความมั่นใจแก่ผู้อ่านว่าเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้น มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพราะผู้เขียนได้ค้นคว้าอย่างมีหลักฐาน
12. นักศึกษาอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ส่วนใดของหนังสือพิมพ์ดึงดูดความสนใจมากที่สุด
(1) พาดหัวข่าว (2) เนื้อหา (3) ภาพถ่าย (4) ความนำ
ตอบ 3 หน้า 65 – 66 ส่วนประกอบหลักที่สำคัญของหนังสือพิมพ์ มี 3 ส่วน ได้แก่
1. พาดหัวข่าว (Headline) เป็นอักษรตัวดำหนาขนาดใหญ่เรียงอยู่ส่วนบนสุดของหน้ากระดาษ ซึ่งจะเป็นข้อความสั้น ๆ ที่สรุปสาระสำคัญที่มีอยู่ในเนื้อข่าว ถือเป็นส่วนที่สะดุดตาผู้อ่าน และจูงใจให้อยากรู้รายละเอียดของข่าวสารมากที่สุด
2. ความนำ (Lead) หรือวรรคนำหรือ โปรยข่าว เป็นย่อหน้าแรกของข่าวแต่ละข่าว ซึ่งจะเป็นประโยคสั้น ๆ ที่สามารถดึงดูดความสนใจ ของผู้อ่านให้ติดตามอ่านข่าวตลอดทั้งเรื่อง
3. ภาพข่าว หรือภาพถ่าย (Photographs)เป็นส่วนประกอบที่น่าสนใจมากที่สุด เพราะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยังช่วยจัดหน้าหนังสือพิมพ์ให้น่าอ่านอีกด้วย
13. รัฐบาลรักษาการณโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้จัดพิมพ์เอกสารเล่มเล็กเพื่อชี้แจงเรื่องจำนำข้าวแก่ชาวนาถึงสาเหตุที่แท้จริงที่ชาวนาได้รับเงินล่าช้าในครั้งนี้นั้นเพื่อเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจ จัดเป็นสื่อประเภทใด
(1) กฤตภาค (2) จุลสาร (3) วารสาร (4) ต้นฉบับตัวเขียน
ตอบ 2 หน้า 66 – 67 จุลสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ทันสมัยและอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไปในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นบทความทาง วิซาการต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ หรือความรู้ที่หน่วยงานราชการ องค์การ หรือสมาคมต่าง ๆ ต้องการเผยแพรให้ประชาชนทราบ อาจพิมพ์ออกเป็นเอกสารเล่มเล็กเดี่ยว ๆ หรือพิมพ์ เป็นตอน ๆ รูปเล่มโดยทั่วไปจะไม่มีการเข้าปกเย็บเล่มถาวร มีจำนวนหน้าไม่เกิน 60 หน้า ทั้งนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผ่นพับหรืออยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “อนุสาร” (Brochure) ก็ได้
14. สถานีโทรทัศน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเสนอข่าววิดีโอคลิป (Video Clip) “ฮีโร่ตำรวจไทย”ที่เตะระเบิดในการปราบฝูงชนเพื่อต้องการล้มล้างรัฐบาลที่สะพานผ่านฟ้า” จัดเป็นสื่อประเภทใด
(1) สื่อโสตทัศน์ (2) โสตวัสดุ (3) ทัศนวัสดุ (4) อิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 1 หน้า 67 – 73, 77 สื่อโสตทัศน์ (โสตทัศนวัสดุ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์) แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆคือ 1.โสตวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการฟัง เช่น แผ่นเสียงหรือจานเสียง แถบบันทึกเสียง ซีดีออดิโอ แผ่นเอ็มพี 3 ฯลฯ 2. ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการเห็น เช่น วัสดุกราฟิกรูปภาพ แผนที่ ลูกโลก ภาพนิ่ง แผ่นโปร่งใส หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง ฯลฯ 3. สื่อโสตทัศน์ หรือโสตทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารทั้งโดยการฟังและการเห็น เช่น ภาพยนตร์ แถบวีดีทัศน์ วิซีดี ดีวิดี วิดีโอคลิป ฯลฯ
15. ไมโครฟิล์มเหมือนกับไมโครฟิชในลักษณะใด
(1) เป็นวัสดุย่อส่วนที่ใช้เทคโนโลยีแลงเลเซอร์
(2) เป็นวัสดุย่อส่วนที่มีขนาดเท่ากับบัตรรายการ
(3) เป็นวัสดุย่อส่วนในรูปของบัตรทึบแสง
(4) เป็นวัสดุย่อส่วนในรูปของฟิล์มโปร่งแสง
ตอบ 4 หน้า 54, 73 – 74, 77 – 78 วัสดุย่อส่วน (Micrographic or Microforms) หมายถึง วัสดุที่บันทึก สารสนเทศจากสิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ จดหมายโต้ตอบ หนังสือหายาก ต้นฉบับตัวเขียน หรือเอกสารที่มีคุณค่าต่าง ๆ โดยการถ่ายย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์ม ขนาดเล็กเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและป้องกันการฉีกขาดทำลาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ฟิล์มโปร่งแสง ได้แก่ ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช และบัตรอเพอเจอร์
2. บัตรทึบแสง ได้แก่ ไมโครการ์ด และไมโครพริ้นท์
16. ฐานข้อมูลออนไลน์ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาบอกรับเป็นสมาชิกเพื่อให้บริการผู้ใช้ จัดเป็น สื่อประเภทใด
(1) แผ่นจานแม่เหล็ก (2) อิเล็กทรอนิกส์ (3) ซีดีรอม (4) เสิร์ชเอ็นจิน
ตอบ 2 หน้า 75 – 76, 78, 133 – 134, 143, (คำบรรยาย) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่บันทึก สารสนเทศประเภทฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของฐานข้อมูลออนไลน์ฐานข้อมูล ซีดีรอม และฐานข้อมูลมัลติมีเดีย ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอักขระแบบดิจิตอล ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือแสงเลเซอร์ในการบันทึกและอ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น
1. แผ่นจานแม่เหล็กแบบอ่อน (Diskette หรือ Floppy Disk) บันทึกโปรแกรมสำเร็จรูป
2. จานแสง (Optical Disk) เซ่น CD-ROM. VCD, DVD ฯลฯ
3. USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ โดยมีวิธีการ บันทึกข้อมูลเหมือน Hard Disk หรือ Floppy Disk มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกในการ พกพาติดตัว และสามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากตั้งแต่ 128 MB – 8 GB
17. ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือช่วยค้นหาความรู้ในหนังสืออ้างอิง
(1) คำนำ (2) คำนำทาง (3) อักษรนำเล่ม (4) ดรรชนี
ตอบ 1 หน้า 83 – 84 เครื่องมือช่วยค้นหาความรู้ในหนังสืออ้างอิง ได้แก่
1.คำนำทาง (Guide Word or Running Word)
2.ดรรชนีริมหน้ากระดาษ (Thumb Index)
3. อักษรนำเล่ม (Volume Guide)
4.ส่วนโยง (Cross Reference)
5. ดรรชนี (Index)
18. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน จัดเป็นพจนานุกรมประเภทใด
(1) พจนานุกรมการเรียนภาษา (2) พจนานุกรมฉบับย่อ
(3) พจนานุกรมเฉพาะวิชา (4) พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์
ตอบ 4 หน้า 85 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (ฉบับปรับปรุงใหม่ส่าสุด) ถือเป็น พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทยที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งใช้เป็นแบบฉบับหรือ มาตรฐานในการเขียนหนังสือและการใช้คำในภาษาไทย โดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับคำ อย่างสมบูรณ์ เช่น ตัวสะกดที่ถูกต้อง การอ่านออกเสียงคำยาก ชนิดของคำ ความหมายของคำ ประวัติหรือที่มาของคำ คำตรงกันข้ามหรือคำคู่ และวิธีใช้คำ
19. สารานุกรมหมายถึงข้อใดมากที่สุด
(1) รวบรวมความรู้พื้นฐานอย่างกว้าง ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา
(2) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาในทุกสาขาวิชาของโลก
(3) เป็นคู่มือในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
(4) ให้ข้อมูล ความรู้ทั่วไป แต่แสดงผลออกมาในรูปสถิติ ตัวเลข และแผนภูมิ
ตอบ 1 หน้า 91 – 92, 95 สารานุกรม (Encyclopedia) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมความรู้พื้นฐาน ในแขนงวิขาต่าง ๆ อย่างกว้าง ๆ เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา เพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ในรูปของบทความโดยมีอักษรย่อของผู้เขียนกำกับไว้ที่ท้ายบทความ และจัดเรียงเนื้อหาตามลำดับตัวอักษรหรือแบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา ซึ่งอาจมีเล่มเดียวจบหรือ หลายเล่มจบที่เรียกว่า “หนังสือชุด” ส่วนใหญ่สารานุกรมจะมีภาพประกอบ และมีดรรชนีช่วยค้นเรื่อง (Fact Index) อยู่ตอนท้ายเล่ม หรือถ้าเป็นหนังสือชุดก็จะอยู่เล่มสุดท้าย
20. ข้อใดให้เรื่องราวของอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ชัดเจนที่สุด
(1) นามานุกรม (2) อภิธานศัพท์ (3) ดรรชนี (4) อักขรานุกรมชีวประวัติ
ตอบ 4 หน้า 97, 101 อักขรานุกรมชีวประวัติ คือ หนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของบุคคลสำคัญโดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อชาติ สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิด หรือตาย (ถ้าบุคคลเจ้าของ ชีวประวัติสิ้นชีวิตแล้ว) ที่อยู่ ระดับการศึกษา สถานภาพทางครอบครัว ตำแหน่งหน้าที่การงาน ผลงานดีเดน และประสบการณ์ในการทำงาน เช่น Dictionary of National Biography (DNB) เป็นอักขรานุกรมชีวประวัติชุดสำคัญที่สุดของอังกฤษ ซึ่งรวบรวมชีวประวัติของบุคคลที่มีชื่อเสียง ในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และประเทศในเครือจักรภพ
21. ข้อใดเป็นหนังสือรายปีของสารานุกรม
(1) Statesman’s Year Book
(2)Americana Annual
(3) Europa World Year Book
(4) Thailand Year Book
ตอบ 2 หน้า 109 – 110 Americana Annual เป็นหนังสือรายปีของสารานุกรม Americana ที่ให้เนื้อหาครอบคลุมเรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา โดยแบ่งการให้ ข้อมูลออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. เป็นรายงานข่าวในหัวเรื่องที่สำคัญและปฏิทินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
2. เป็นบทความสังเขปในหัวเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปในปีนั้น ๆ โดยจะเน้นเรื่องราวของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่
3. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ
4. ให้ข้อมูลในรูปของตารางและตัวเลขสถิติ
22. ข้อใดคือลักษณะของสยามออลมาแนค
(1) ประวัติความเป็นมาของชนชาติไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
(2) รวบรวมเหตุการณ์ทางการเมืองของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
(3) รวบรวมเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในรอบปีของไทย
(4) รวมความเป็นที่สุดที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ตอบ 3 หน้า 112 สยามออลมาแนค เป็นหนังสือปฏิทินเหตุการณ์รายปีเล่มแรกของประเทศไทย ที่รวบรวมเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในรอบปีของไทยทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การทหาร การศึกษา การแรงงาน เศรษฐกิจ ศาสนา ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ธุรกิจ การพาณิชย์ เกษตรกรรม กีฬา การท่องเที่ยว รวมทั้งสถิติใบรูปของตาราง เช่น อัตราการเกิด และการตายของประชากร จำนวนประชากร เป็นต้น
23. หนังสืออ้างอิงข้อใดที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศ เมือง จังหวัด สถานที่สำคัญ สภาพภูมิศาลตร์ การเดินทาง สกุลเงินตรา
(1) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์
(2) พจนานุกรม (3) หนังสือแผนที่ (4) หนังสือนำเที่ยว
ตอบ4 หน้า 114-115 หนังสือนำเที่ยวเป็นหนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศเมือง จังหวัด และสถานที่สำคัญอย่างละเอียด เพื่อประโยชน์ต่อการค้นคว้าและเพื่อสนอง ความต้องการของนักท่องเที่ยว เช่น ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติและที่ตั้งของเมือง ภาษา สภาพภูมิศาสตร์ ระยะทาง การเดินทาง โบราณสถานที่น่าสนใจ ที่ตั้งของโรงแรม ร้านอาหาร อัตราแลกเปลี่ยนตามสกุลเงินตราของประเทศนั้น ๆ เป็นต้น