การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา LIS 1003 การใช้ห้องสมุด
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 60 ข้อ)
1 ข้อใดกล่าวถึงการใช้ข้อมูลและสารสนเทศได้ถูกต้องที่สุด
(1) เอ็มเลิกคบเพื่อนสนิทเพียงเพราะคํายุยงของแฟน
(2) แอ็ดซื้อหวย 500 บาท ตามคุณย่าที่มาเข้าฝันก่อนวันหวยออก
(3) โอมขับรถถูกต้องตามกฎจราจรเพื่อไม่ให้รถติด
(4) รัฐมนตรีสั่งให้ชาวนาเลิกปลูกข้าวนาปรังตามคําทํานายของหมอดู ตอบ 3 หน้า 3, 5, (คําบรรยาย) คําว่า “สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกิดจากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ และประมวลผลแล้ว ตลอดทั้งความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ซึ่งบันทึกลงในสื่อหรือวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอด และเผยแพร่ได้ ดังนั้นสารสนเทศจึงมีความถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าข้อมูล เนื่องจาก สามารถนํามาช่วยแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้ ส่วนคําว่า “ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ข่าวจากหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ ข่าวซุบซิบหรือข่าวลือ การโฆษณาสินค้า ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การกล่าวหา/โจมตีคู่แข่งทางการเมือง เป็นต้น
2 ข้อใดไม่สัมพันธ์กัน
(1) สุเมเรียนกับอักษรคิวนิฟอร์ม
(2) อียิปต์และไฮโรกลิฟิก
(3) กรีกและโคเด็กซ์
(4) อียิปต์และคิวนิฟอร์ม
ตอบ 4 หน้า 6 – 8, (คําบรรยาย) พัฒนาการของห้องสมุดและวัสดุที่ใช้บันทึกความรู้ มีดังนี้
1 ชาวสุเมเรียนคิดค้นอักษรรูปลิม “คิวนิฟอร์ม บันทึกลงบนแผ่นดินเหนียว
2 ชาวบาบิโลเนียนมี “ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบี” จารึกบนแผ่นหินสีดํา
3 ชาวอียิปต์มีตัวอักษรภาพ “ไฮโรกลิฟิก” บันทึกลงบนกระดาษปาไปรัส
4 ชาวกรีกมีแผ่นหนังสัตว์ฟอกที่เย็บรวมเป็นเล่มที่เรียกว่า “โคเด็กซ์” ฯลฯ
3 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด
(1) หอไตรได้สร้างครั้งแรกสมัยกรุงศรีอยุธยา
(2) หอหลวงสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยกรุงสุโขทัย
(3) หอพุทธสาสนสังคหะสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5
(4) หอพระมณเฑียรธรรมสร้างขึ้นในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตอบ 3 หน้า 9 – 10, (คําบรรยาย) ห้องสมุดในประเทศไทยมีพัฒนาการตามลําดับยุคสมัย ดังนี้
1 สมัยสุโขทัย ได้แก่ หอไตรหรือหอพระไตรปิฎกภายในวัดวาอารามต่าง ๆ
2 สมัยอยุธยา ได้แก่ หอหลวงภายในพระราชวัง เพื่อเก็บรักษาหนังสือ วรรณกรรมทางโลก ตัวบทกฎหมาย และเอกสารทางราชการ
3 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสร้างหอสมุดประจํารัชกาลต่าง ๆ ได้แก่ หอพระมณเฑียรธรรมภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในสมัยรัชกาลที่ 1 เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ถือว่าเป็นห้องสมุดประชาชน แห่งแรกของไทย, หอพระสมุดวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ (ตั้งอยู่ในวัดเบญจมบพิตร) และหอพระสมุดวชิรญาณสําหรับพระนคร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามลําดับ
4 ข้อใดเกี่ยวข้องกับ “จิ” ในหัวใจนักปราชญ์โดยตรง
(1) ลุงมาวิเคราะห์ข่าวที่รับฟังจากวิทยุชุมชน
(2) ป้าแดงตัดสินใจเลิกปลูกข้าวตามเพื่อนบ้าน
(3) แดงอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ทุกเช้า
(4) เมย์ชอบถามวิทยากรในงานประชุมวิชาการ
ตอบ 1 หน้า 20, (คําบรรยาย) หลักของหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ “สุจิ ปุ ลิ” มีดังนี้
1 สุ (สุต หรือสุตตะ) คือ การฟังหรือการรับสารทั้งปวง รวมทั้งการอ่านหนังสือ และการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ
2 จิ (จินตนะ หรือจินตะ) คือ การคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
3 ปุ (ปุจฉา) คือ การไต่ถามหรือเสวนาหาคําตอบจากผู้รู้
4 ลิ (ลิขิต) คือ การเขียนหรือการจดบันทึก
5 ข้อใดคือการอ่านของนักวิชาการเพื่อเตรียมเขียนตําราหรืองานสร้างสรรค์
(1) การอ่านคร่าว ๆ
(2) การอ่านอย่างเจาะจง
(3) การอ่านเพื่อศึกษารายละเอียด
(4) การอ่านอย่างวิเคราะห์
ตอบ 4 หน้า 18, (คําบรรยาย) การอ่านอย่างวิเคราะห์ (Critical Reading) เป็นทักษะการอ่านในระดับสูงสุด ถือว่าเป็นสุดยอดของกระบวนการอ่านเอาความ ซึ่งผู้อ่านมักเป็นนักวิจัยหรือนักวิชาการ ที่ต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะอ่านมาก่อน เพราะเป็นการอ่านที่ต้องใช้วิจารณญาณอย่างมาก สามารถแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งประเมินค่าหรือวิจารณ์สิ่งที่อ่านได้อย่างมีเหตุผลและ มีหลักเกณฑ์ เช่น การอ่านเพื่อรวบรวมข้อมูลมาประกอบการทํารายงาน ทําวิจัย การอ่านเพื่อเตรียมเขียนตําราหรืองานสร้างสรรค์ เป็นต้น
6 ห้องสมุดในข้อใดที่ไม่อนุญาตให้ยืมหนังสือกลับไปอ่านข้างนอก
(1) ห้องสมุดโรงเรียน
(2) ห้องสมุดคณะมนุษยศาสตร์
(3) หอสมุดแห่งชาติ
(4) ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี
ตอบ 3 หน้า 27 หอสมุดแห่งชาติ เป็นแหล่งค้นคว้าที่สําคัญระดับชาติ โดยให้บริการความรู้แก่ประชาชนทั่วไปไม่จํากัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา และพื้นฐานความรู้ ซึ่งจะให้บริการเช่นเดียวกับ ห้องสมุดประชาชน แต่ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ยืมหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุออกนอกห้องสมุด
7 ข้อใดกล่าวถึงแหล่งสารสนเทศได้ถูกต้องที่สุด
(1) หอจดหมายเหตุรวบรวมศิลปะโบราณที่มีราคาแพง
(2) พิพิธภัณฑ์รวบรวมสิ่งของโบราณที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร์
(3) ศูนย์สารสนเทศดําเนินการโดยภาคเอกชน
(4) ห้องสมุดเฉพาะดําเนินการโดยหน่วยงานภาครัฐ
ตอบ 2 หน้า 37 พิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งสารสนเทศที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ซึ่งเป็นสิ่งของโบราณที่มีคุณค่าหรือมีความสําคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อเป็นประโยชน์
ต่อการศึกษาค้นคว้าของบุคคลทั่วไป
8 ฝ่ายใดของสํานักหอสมุดกลาง มร. ที่ให้บริการจุลสาร “ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร”
(1) ฝ่ายวารสารและเอกสาร
(2) ฝ่ายบริการสารสนเทศ
(3) ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์
(4) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ 1 หน้า 40 – 41 ฝ่ายวารสารและเอกสาร จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา พิจารณาคัดเลือกและประเมินคุณค่าวารสาร จัดทําดรรชนีและสาระสังเขปบทความจากวารสารและเอกสาร จัดทําบรรณานุกรมวารสาร รวมทั้งให้บริการวารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสารสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และเอกสารทั่ว ๆ ไป ตลอดจนจัดทํากฤตภาค ให้บริการ
9 ข้อใดหมายถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด
(1) ฐานข้อมูลออนไลน์ซึ่งบรรณารักษ์สืบค้นสารสนเทศฟรี
(2) ฐานข้อมูลออนไลน์ซึ่งบรรณารักษ์กําลังดําเนินการสั่งซื้อ
(3) ฐานข้อมูลออนไลน์ซึ่งบรรณารักษ์ทดลองใช้สืบค้นสารสนเทศฟรี (4) ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกและจัดประเภทพร้อมให้บริการ
ตอบ 4 หน้า 55, 76, 133 134 ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด หมายถึง แหล่งสารสนเทศทุกรูปแบบที่ห้องสมุดได้คัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ และจัดเก็บรวบรวมอย่างเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งตีพิมพ์บนแผ่นกระดาษ สิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกและจัดประเภทพร้อมให้บริการ รวมทั้งบรรณารักษ์หรือบุคลากรบริการสารสนเทศที่ทําหน้าที่ให้บริการและช่วยผู้ใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
10 โฮมเพจของเว็บไซต์มีความคล้ายกับส่วนใดของหนังสือมากที่สุดในแง่ของเว็บเพจแรก
(1) หน้าปกหนังสือ
(2) หน้าสารบัญ
(3) หน้าลิขสิทธิ์
(4) หน้าคํานํา
ตอบ 1 หน้า 58, 62 – 63, (คําบรรยาย) โฮมเพจ (Home Page) คือ หน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ ดังนั้นโฮมเพจจึงคล้ายกับส่วนประกอบของหนังสือ ดังนี้
1 ในแง่ของเว็บเพจแรกที่บอกว่าเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร มีเนื้อหาสําคัญอะไรบ้าง โฮมเพจจะคล้ายกับหน้าปกหนังสือ
2 ในแง่ที่แสดงรายการเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้ Link ไปยังเว็บเพจต่าง ๆ เพื่ออ่านข้อมูล โฮมเพจจะคล้ายกับหน้าสารบัญของหนังสือ
11 ข้อใดคือความหมายของอภิธานศัพท์
(1) เปรียบเสมือนพจนานุกรมของหนังสือเล่มนั้น
(2) เปรียบเสมือนพจนานุกรมทั่ว ๆ ไป
(3) เปรียบเสมือนพจนานุกรมหลายภาษา
(4) เปรียบเสมือนพจนานุกรมสองภาษา
ตอบ 1 หน้า 64 อภิธานศัพท์ (Glossary) เป็นส่วนที่ให้คําอธิบายคํายากหรือศัพท์เฉพาะที่ปรากฏในเนื้อเรื่องของหนังสือ มักมีในหนังสือที่ใช้ศัพท์มาก และมีลักษณะคล้ายเป็นพจนานุกรม ของหนังสือเล่มนั้น เพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายของศัพท์เฉพาะในหนังสือเล่มนั้น โดยที่ผู้อ่านไม่ต้องเสียเวลาเปิดหาความหมายจากพจนานุกรม
12 พาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ฉบับรายวันมีความคล้ายกับส่วนใดของหนังสือพิมพ์ออนไลน์มากที่สุด
(1) พาดหัวข่าว
(2) เนื้อหา
(3) ภาพถ่าย
(4) โฮมเพจ
ตอบ 4 หน้า 65 – 66, (คําบรรยาย) พาดหัวข่าว (Headline) ของหนังสือพิมพ์ฉบับรายวันเป็นอักษรตัวดําหนาขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นข้อความสั้น ๆ ที่สรุปสาระสําคัญที่มีอยู่ในเนื้อข่าว จึงถือเป็นส่วนที่สะดุดตาผู้อ่านและจูงใจให้อยากรู้รายละเอียดของข่าวสารมากที่สุด โดยพาดหัวข่าวมักอยู่ในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์กระดาษ ซึ่งคล้ายกับโฮมเพจหรือหน้าแรก ของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่จะประกอบไปด้วยหัวข่าวที่สําคัญในวันนั้น ๆ
13 รัฐบาลตีพิมพ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับซิงเกิลเกตเวย์ (Single Gateway) เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และอยู่ในความสนใจของสังคมออนไลน์ จัดเป็นสื่อประเภทใด
(1) กฤตภาค
(2) จุลสาร
(3) วารสาร
(4) ต้นฉบับตัวเขียน
ตอบ 2 หน้า 66 – 67 จุลสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ทันสมัยและอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไปในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นบทความทางวิชาการ ต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ หรือความรู้ที่หน่วยงานราชการ องค์การ หรือสมาคมต่าง ๆ ต้องการเผยแพร่ ให้ประชาชนทราบ อาจพิมพ์ออกเป็นเอกสารเล่มเล็กเดี่ยว ๆ หรือพิมพ์เป็นตอน ๆ โดยรูปเล่ม ทั่วไปจะไม่มีการเข้าปกเย็บเล่มถาวร มีจํานวนหน้าไม่เกิน 60 หน้า ทั้งนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผ่นพับหรืออยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “อนุสาร” (Brochure) ก็ได้
14 วิดีโอคําบรรยายย้อนหลังกระบวนวิชา LIS 1003 จัดเป็นสื่อประเภทใด
(1) สื่อโสตทัศน์
(2) โสตวัสดุ
(3) ทัศนวัสดุ
(4) อิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 1 หน้า 67 – 73, 77 สื่อโสตทัศน์ (โสตทัศนวัสดุ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1 โสตวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการฟัง เช่น แผ่นเสียงหรือจานเสียง เทป แถบบันทึกเสียง ซีดีออดิโอ แผ่นเอ็มพี 3 ฯลฯ
2 ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการเห็น เช่น วัสดุกราฟิก รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก ภาพนิ่ง แผ่นโปร่งใส หุ่นจําลอง ของตัวอย่าง ฯลฯ
3 สื่อโสตทัศน์ หรือโสตทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารทั้งโดยการฟังและการเห็น เช่น ภาพยนตร์ แถบวีดิทัศน์หรือวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี วิดีโอคลิป ฯลฯ
15 ไมโครฟิล์มเป็นสื่อการบันทึกสารสนเทศเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการเก็บและอนุรักษ์คุณค่าของสารสนเทศจัดเป็นสื่อประเภทใด
(1) วัสดุตีพิมพ์
(2) วัสดุย่อส่วน
(3) วัสดุไม่ตีพิมพ์
(4) วัสดุอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 2 หน้า 54, 73 – 74, 77 78 วัสดุย่อส่วน (Micrographic or Microforms) หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศจากสิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ จดหมายโต้ตอบ หนังสือหายาก ต้นฉบับตัวเขียน หรือเอกสารที่มีคุณค่าต่าง ๆ โดยวิธีการถ่ายย่อส่วนลงบน แผ่นฟิล์มขนาดเล็กเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและป้องกันการฉีกขาดทําลาย แบ่งออก ได้เป็น 2 ประเภท คือ
1 ฟิล์มโปร่งแสง ได้แก่ ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช และบัตรอเพอเจอร์
2 บัตรทึบแสง ได้แก่ ไมโครการ์ด และไมโครพริ้นท์
16 บริษัทผู้ผลิตฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์นิยมบันทึกสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ลงบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทใด
(1) Hard Disk
(2) CD-ROM
(3) Floppy Disk
(4) USB Flash Drive
ตอบ 2 หน้า 75 – 76, 78, (คําบรรยาย) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอักขระแบบดิจิตอล ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือแสงเลเซอร์ ในการบันทึกและอ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น
1 แผ่นจานแม่เหล็กแบบอ่อน (Diskette หรือ Floppy Disk) บันทึกโปรแกรมสําเร็จรูป
2 จานแสง (Optical Disk) เช่น VCD, DVD, CD-ROM บันทึกฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ ฐานข้อมูลด้านการศึกษา ฐานข้อมูลเชิงบรรณานุกรม ฯลฯ
3 USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ โดยมีวิธีการบันทึกข้อมูลเหมือน Hard Disk หรือ Floppy Disk มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวก ในการพกพาติดตัว และสามารถเก็บข้อมูลได้จํานวนมากตั้งแต่ 128 MB – 8 GB
17 ส่วนใดของหนังสืออ้างอิงที่ระบุเลขหน้าของเนื้อหาที่ผู้ใช้ต้องการ
(1) ส่วนโยง
(2) ดรรชนี
(3) ดรรชนีริมหน้ากระดาษ
(4) อักษรนําเล่ม
ตอบ 2 หน้า 84 ดรรชนี (Index) คือ การลําดับคําหรือข้อความเรียงไว้ตามลําดับตัวอักษรพร้อมทั้งมีเลขหน้ากํากับไว้ เพื่อแสดงว่าคําหรือข้อความนั้นมีรายละเอียด ปรากฏอยู่ในหน้าใดบ้างของ หนังสือเล่มนั้น ส่วนใหญ่ดรรชนี้จะอยู่ตอนท้ายของหนังสือแต่ละเล่ม แต่ถ้าเป็นหนังสือชุด เช่น สารานุกรม ดรรชนีจะอยู่ในเล่มสุดท้าย
18 พจนานุกรมในข้อใดให้ความหมายคําศัพท์ทางจิตวิทยาได้ชัดเจนและครอบคลุมที่สุด
(1) พจนานุกรมภาษาเดียว
(2) พจนานุกรมหลายภาษา
(3) พจนานุกรมเฉพาะวิชา
(4) พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์
ตอบ 3 หน้า 85, 89 – 90, (คําบรรยาย) พจนานุกรมเฉพาะวิชา คือ พจนานุกรมสําหรับค้นหาความหมายของคําที่ใช้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์การแพทย์ พจนานุกรมรวมคําศัพท์ทางการศึกษา ซึ่งจะให้ศัพท์ทั้งทางด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา และปรัชญา เป็นต้น
19 ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ที่ได้จากสารานุกรมได้ชัดเจนที่สุด
(1) ความหมายและประวัติของคํา “พลังงาน”
(2) ความหมาย ประเภท ประโยชน์ และรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับ “พลังงาน”
(3) รายชื่อหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ “พลังงาน”
(4) รายชื่อและที่มาของบทความเกี่ยวกับ “พลังงาน”
ตอบ 2 หน้า 91 – 92, 95 สารานุกรม (Encyclopedia) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมความรู้หรือข้อเท็จจริงพื้นฐานในแขนงวิชาต่าง ๆ อย่างกว้าง ๆ เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา เพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ในรูปของบทความโดยมีอักษรย่อของผู้เขียนกํากับ ไว้ที่ท้ายบทความ และจัดเรียงเนื้อหาตามลําดับตัวอักษรหรือแบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา ซึ่งอาจมี เล่มเดียวจบหรือหลายเล่มจบที่เรียกว่า “หนังสือชุด” ส่วนใหญ่สารานุกรมจะมีภาพประกอบและมีดรรชนีช่วยค้นเรื่อง (Fact Index) อยู่ตอนท้ายเล่ม หรือถ้าเป็นหนังสือชุดก็จะอยู่เล่มสุดท้าย
20 ต้องการประวัติการศึกษาและผลงานของหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ค้นได้จากหนังสืออ้างอิงประเภทใด
(1) อักขรานุกรมชีวประวัติ
(2) สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน
(3) สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย
(4) สมพัตสร
ตอบ 1 หน้า 97 อักขรานุกรมชีวประวัติ คือ หนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของบุคคลสําคัญ โดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อชาติ สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิดหรือตาย ที่อยู่ ระดับการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่การงาน ประสบการณ์ในการทํางาน ผลงานดีเด่น และสถานภาพทางครอบครัว ทั้งนี้เพื่อต้องการให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาว่าผู้ที่มีชื่อเสียงในอดีตนั้นได้ทําคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมืองอย่างไรบ้าง
21 นามานุกรมให้สารสนเทศด้านใด
(1) ให้ข่าวสาร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจําวัน
(2) ให้ความรู้ ข่าวสารอย่างคร่าว ๆ
(3) รวบรวมรายชื่อ ที่อยู่ และข้อมูลสําหรับการติดต่อ
(4) รวบรวมผลงานของบุคคลที่มีชื่อเสียง
ตอบ 3 หน้า 102 103 นามานุกรม (Directory) คือ หนังสือที่รวบรวมรายชื่อของบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมกับสถานที่อยู่หรือที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์สําหรับการติดต่อ แบ่งออก ได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่
1 นามานุกรมท้องถิ่น เช่น สมุดโทรศัพท์
2 นามานุกรมของรัฐ เช่น นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย
3 นามานุกรมสถาบัน เช่น ชื่อมหาวิทยาลัย โรงเรียนห้องสมุด ฯลฯ
4 นามานุกรมสาขาอาชีพ
5 นามานุกรมการค้าและธุรกิจ
22 หนังสืออ้างอิงในข้อใดที่ใช้ค้นหาเหตุการณ์สําคัญที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
(1) พจนานุกรม
(2) สารานุกรม
(3) สมพัตสร
(4) บรรณานุกรม
ตอบ 3 หน้า 112 ปฏิทินเหตุการณ์รายปีหรือสมพัตสร (Almanac) คือ หนังสือที่รวบรวมความรู้เบ็ดเตล็ดหลายด้านและสถิติทั่วไปในรอบหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาจนถึงปีปัจจุบันของทุกประเทศ ในโลก โดยจะให้ข้อมูลอย่างสังเขปที่ครอบคลุมเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ปฏิทินลําดับเหตุการณ์ สําคัญ ข้อมูลทางดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ วันสําคัญทางศาสนา สถิติเกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและทรัพยากรของโลก เป็นต้น
23 หนังสือที่ให้คําจํากัดความเกี่ยวกับสถานที่ทางภูมิศาสตร์ คือข้อใด
(1) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์
(2) พจนานุกรม
(3) หนังสือแผนที่
(4) หนังสือนําเที่ยว
ตอบ 1 หน้า 115 อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลอย่างสังเขปเกี่ยวกับชื่อของสถานที่สําคัญทางภูมิศาสตร์ มีลักษณะคล้ายพจนานุกรมที่ให้คําจํากัดความเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ ทางภูมิศาสตร์อย่างสั้น ๆ ให้คําอ่านและรายละเอียดอื่น ๆ ได้อย่างกระชับและน่าเชื่อถือที่สุด เช่น สถานที่ตั้ง ระยะทาง เส้นรุ้ง เส้นแวง ความตื้นลึกของทะเล ความสูงของภูเขา จํานวนผลผลิตทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม จํานวนประชากร ตราประจําจังหวัด เป็นต้น
24 หนังสืออ้างอิงข้อใดที่ให้แหล่งที่มาและเนื้อหาที่สําคัญของบทความ เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนไปอ่านจากต้นฉบับจริง
(1) บรรณานุกรม
(2) ดรรชนี
(3) สาระสังเขป
(4) นามานุกรม
ตอบ 3 หน้า 84, 119 120 สาระสังเขป เป็นหนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศ โดยมีลักษณะเป็นการสรุปหรือย่อสาระสําคัญของเนื้อเรื่องหรือเรื่องราวสําคัญ ๆ ของบทความในวารสาร หนังสือ และเอกสารประเภทอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเนื้อหาสาระสําคัญก่อนที่จะไปอ่านจากต้นฉบับจริงที่สมบูรณ์
25 ข้อใดคือหนังสือบรรณานุกรมที่จัดทําโดยหอสมุดแห่งชาติ
(1) บรรณานุกรมสากล
(2) บรรณานุกรมเฉพาะวิชา
(3) บรรณานุกรมแห่งชาติ
(4) บรรณานุกรมร้านค้า
ตอบ 3 หน้า 29, 129 บรรณานุกรมแห่งชาติ เป็นหนังสือที่จัดทําขึ้นโดยหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งได้รวบรวมรายชื่อหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ของไทยโดยเฉพาะ เพื่อใช้เป็นหลักฐานสําคัญและเป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า
26 ข้อใดกล่าวถึง “เลขหมู่หนังสือ” ถูกต้องที่สุด
(1) สัญลักษณ์แสดงกลุ่มเนื้อหาของหนังสือแต่ละเล่ม
(2) สัญลักษณ์ที่บอกลําดับที่ของหนังสือแต่ละเล่ม
(3) สัญลักษณ์ของหนังสือที่ประกอบด้วย เลขหมู่ เลขผู้แต่ง และสัญลักษณ์อื่น ๆ
(4) รหัสประจําหนังสือเพื่อการจัดหมวดหมู่หนังสือ
ตอบ 1 หน้า 157 เลขหมู่หนังสือ (Class Number) เป็นสัญลักษณ์ที่กําหนดขึ้นเพื่อแสดงกลุ่มเนื้อหาสาระของหนังสือและ/หรือประพันธ์วิธีของหนังสือแต่ละเล่ม ทั้งนี้อาจแตกต่างกัน ตามระบบการจัดหมู่หนังสือ
27 ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
(1) ระบบทศนิยมดิวอี้แบ่งความรู้ออกเป็น 10 หมวดใหญ่ ใช้เลขอารบิก 3 หลักเป็นสัญลักษณ์ เหมาะสําหรับห้องสมุดขนาดกลางและขนาดเล็ก
(2) ระบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกันแบ่งความรู้ออกเป็น 20 หมวดใหญ่ และใช้อักษรโรมันเป็นสัญลักษณ์
(3) ระบบทศนิยมสากลใช้เลขอารบิก 1 หลักเป็นสัญลักษณ์ และแบ่งความรู้ออกเป็น 10 หมวดใหญ่
(4) ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันแบ่งความรู้ออกเป็น 20 หมวดใหญ่ โดยใช้อักษรโรมันและเครื่องหมายเป็นสัญลักษณ์
ตอบ 1 หน้า 151, 153 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification : DDC หรือ DC) เป็นระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่มี หนังสือทั่ว ๆ ไปหลายสาขาวิชาในจํานวนที่ไม่มากนัก เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน เป็นต้น ซึ่งการจัดหมู่หนังสือด้วยระบบนี้จะเป็นแบบเชิงกว้าง โดยแบ่งสรรพวิทยาการในโลก ออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์แสดงเนื้อหาของหนังสือเป็นเลขอารบิก 3 หลัก ตั้งแต่ 100 – 000 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งเพื่อแบ่งเนื้อหาให้ชี้เฉพาะยิ่งขึ้น
28 ข้อใดคือ “สัญลักษณ์ของหนังสือที่ประกอบด้วย เลขหมู่ เลขผู้แต่ง และสัญลักษณ์อื่น ๆ”
(1) เลขหมู่หนังสือ
(2) เลขประจําหนังสือสากล
(3) เลขเรียกหนังสือ
(4) รหัสประจําหนังสือ
ตอบ 3 หน้า 157, 191, (คําบรรยาย) เลขเรียกหนังสือ (Call Number) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเฉพาะที่ห้องสมุดกําหนดให้กับหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด โดยเลขเรียกหนังสือ ที่ปรากฏบนบัตรรายการจะเป็นเครื่องชี้บอกตําแหน่งของหนังสือบนชั้น ซึ่งเป็นที่เก็บหนังสือ ของห้องสมุด ทั้งนี้เลขเรียกหนังสือประกอบด้วยส่วนสําคัญ 3 ส่วน คือ
1 เลขหมู่หนังสือ
2 เลขผู้แต่งและอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง
3 สัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น ปี พ.ศ. เล่มที่ ฉบับที่ ฯลฯ
29 ระบบการจัดหมู่หนังสือข้อใดใช้สัญลักษณ์ที่เป็นตัวเลขอารบิก และเครื่องหมายวรรคตอนในการจัดหมู่หนังสือ
(1) ระบบทศนิยมดิวอี้
(2) ระบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน
(3) ระบบทศนิยมสากล
(4) ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน
ตอบ 3 หน้า 156 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล (Universal Decimal Classification : UDC) เป็นระบบที่นิยมใช้ในทวีปยุโรป โดยจะแบ่งวิทยาการออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และใช้ตัวเลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกับระบบทศนิยมดิวอี้ แต่ต่างกันตรงที่ระบบทศนิยมสากลจะใช้ ตัวเลขอารบิกเพียงหลักเดียว และใช้เครื่องหมายวรรคตอนประกอบเป็นสัญลักษณ์แสดงเนื้อหา ซึ่งห้องสมุดไทยที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบนี้ เช่น ห้องสมุดสํานักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ห้องสมุดและศูนย์เอกสารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เป็นต้น
30 ข้อใดคือระบบที่ใช้ในการจัดหมู่หนังสือที่ห้องสมุดของโรงพยาบาล (1) DC
(2) NLM
(3) UDC
(4) LC
ตอบ 2 หน้า 155 156 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา(National Library Medicine : NLM) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่ใช้กับห้องสมุดทางการแพทย์ สาธารณสุข และพยาบาล โดยจะใช้อักษรโรมัน W และเลขอารบิกเป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกับ การจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน แต่จะมีความแตกต่างกันในด้านการจําแนก ซึ่งระบบนี้จะนิยมใช้กับห้องสมุดของคณะแพทยศาสตร์ในทุกสถาบัน เช่น หอสมุดศิริราช, ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่, ห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ,ห้องสมุดคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น, ห้องสมุดของโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นต้น
31 การจัดเรียงหนังสือของห้องสมุดที่ถูกต้องตรงกับข้อใด
428.003
P453
ก
293.593
D543F
ข
006.120
K453F
ค
390.593
T364
ง
006.963
T543D
จ
(1) จ ก ข ค ง
(2) จ ค ฆ ง ก
(3) ค จ ข ง ก
(4) ง ก ข ค จ
ตอบ 3 หน้า 159 – 160 วิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้นในห้องสมุด จะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวา จากชั้นบนลงชั้นล่าง และจะพิจารณาจัดลําดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน ทั้งนี้ ห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอี้จะเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก ส่วนห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจะพิจารณาเรียงลําดับตาม ตัวอักษร A – Z ก่อน ต่อเมื่อตัวอักษรซ้ํากันจึงค่อยเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก แต่ถ้าเลขหมู่ซ้ํากันก็ให้พิจารณาจากเลขผู้แต่งหรือเลขประจําหนังสือ และอักษรชื่อเรื่องตามลําดับ
(จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ ค จ ข ง ก)
32 ข้อใดไม่ใช่วิธีที่ห้องสมุดนิยมใช้ในการจัดเก็บสิ่งพิมพ์รัฐบาล
(1) จัดรวมไว้กับหนังสือ กําหนดเลขหมู่ตามระบบการจัดหมู่หนังสือ (2) จัดแยกไว้เป็นชั้นปิด เพราะสิ่งพิมพ์รัฐบาลเป็นเอกสารหายาก
(3) จัดแยกจากหนังสือทั่วไปออกเป็นทรัพยากรลักษณะพิเศษ
(4) กําหนดอักษร GP เป็นสัญลักษณ์สิ่งพิมพ์รัฐบาลกํากับเหนือเลขเรียกหนังสือ
ตอบ 2 หน้า 166 167 การจัดเก็บสิ่งพิมพ์รัฐบาลของห้องสมุดโดยทั่วไปมี 2 วิธี คือ
1 จัดรวมกับหนังสือทั่วไปและกําหนดเลขหมู่ให้ตามระบบการจัดหมู่หนังสือของห้องสมุดนั้น ๆ
2 จัดแยกออกจากหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ เป็นทรัพยากรลักษณะพิเศษ (Special Collection) และกําหนดระบบการจัดหมู่สําหรับสิ่งพิมพ์รัฐบาลขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งห้องสมุดบางแห่งอาจกําหนดสัญลักษณ์พิเศษ คือ GP (Government Publication) ให้เป็นสัญลักษณ์สิ่งพิมพ์รัฐบาลกํากับเหนือเลขเรียกหนังสือ
33 ข้อใดคือสัญลักษณ์ที่ห้องสมุดกําหนดให้กับพจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน
(1) Ref
(2) FIC
(3) JUV
(4) GP
ตอบ 1 หน้า 81, 83 84 หนังสืออ้างอิง เป็นหนังสือที่จัดทําขึ้นเป็นพิเศษเพื่อใช้ค้นคว้าหาสารสนเทศหรือข้อเท็จจริงบางประการ หรือหาคําตอบเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากกว่าที่จะใช้อ่านตลอด ทั้งเล่ม และเป็นหนังสือที่ไม่สามารถยืมออกนอกห้องสมุดได้ เช่น พจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรมชีวประวัติ ฯลฯ โดยห้องสมุดจะจัดแยกหนังสืออ้างอิงเอาไว้ต่างหากไม่รวมกับ หนังสือทั่วไป และมีการกําหนดสัญลักษณ์พิเศษเป็น “ตัวอักษร อ, R หรือ Ref” กํากับเอาไว้ที่สันของหนังสือ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าและเพื่อให้แตกต่างจากหนังสือทั่วไป
34 ข้อใดกล่าวถึงการจัดเก็บวารสารฉบับย้อนหลัง สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหงได้ถูกต้องที่สุด
(1) เย็บเล่มเมื่อครบปีแล้วจัดเก็บขึ้นชั้นเรียงตามหน่วยงานผู้ผลิต
(2) เย็บเล่มเมื่อครบปีแล้วจัดเก็บขึ้นชั้น โดยเรียงตามลําดับอักษรชื่อวารสาร
(3) ตัดเก็บเฉพาะข่าวสารที่สําคัญ ๆ โดยให้หัวเรื่องและจัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสาร
(4) คัดเลือกฉบับสําคัญ ๆ แล้วถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วนเก็บไว้ในไมโครฟิล์ม
ตอบ 2 หน้า 168 วิธีจัดเก็บวารสารของห้องสมุด มีดังนี้
1 วารสารฉบับใหม่ คือ วารสารฉบับล่าสุด ห้องสมุดจะจัดเรียงไว้บนชั้นเอียงตามลําดับอักษรของชื่อวารสารจากซ้ายไปขวา และมีป้ายชื่อวารสารกํากับไว้ที่ชั้นตรงกับตําแหน่งของวารสาร
2 วารสารฉบับย้อนหลัง คือ วารสารที่ไม่ใช่ฉบับล่าสุด ซึ่งห้องสมุดจะนําไปเย็บรวมเป็นเล่ม เมื่อได้รับครบปีแล้วจัดเก็บไว้บนชั้น โดยเรียงตามลําดับอักษรของชื่อวารสาร และมีป้ายชื่อวารสารกํากับไว้ตรงตามตําแหน่งของวารสารนั้น ๆ
35 สื่อในข้อใดที่มีวิธีการจัดเก็บเหมือนกัน
(1) แผ่นเสียง-ไมโครฟิล์ม
(2) กฤตภาค-รูปภาพ
(3) จุลสาร หนังสือพิมพ์
(4) หุ่นจําลอง-แผ่นเสียง
ตอบ 2 หน้า 173 ห้องสมุดจัดเก็บวัสดุกราฟิกและรูปภาพคล้ายกับกฤตภาค โดยนําภาพผนึกติดกับแผ่นกระดาษแข็ง ให้หัวเรื่องกํากับแล้วเก็บเข้าแฟ้ม จัดเรียงตามลําดับอักษรของหัวเรื่องไว้ในตู้เก็บเอกสาร และที่หน้าลิ้นชักจะมีอักษรกํากับไว้ให้ทราบว่ารูปภาพที่ต้องการอยู่ในลิ้นชักใด
36 ข้อใดคือวิธีการจัดเก็บไมโครฟิล์มของห้องสมุดที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็ว
(1) จัดเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกตามลําดับหัวเรื่อง
(2) จัดเก็บไว้ในกล่องหรือตลับตามลําดับขนาด
(3) จัดเก็บในลิ้นชักตู้เหล็กตามลําดับเลขทะเบียน
(4) จัดเรียงไว้บนชั้นรวมไปกับหนังสือตามลําดับเลขหมู่
ตอบ 3 หน้า 177, 180, 351 วิธีจัดเก็บไมโครฟิล์มของห้องสมุดมีอยู่ 2 วิธี ดังนี้
1 จัดเรียงขึ้นชั้นรวมไว้กับสิ่งพิมพ์ โดยห้องสมุดจะจัดเก็บไมโครฟิล์มทั้งที่เป็นชนิดม้วนและตลับด้วยการจัดทําป้าย ซึ่งประกอบด้วย เลขทะเบียน ชื่อเรื่อง ความยาว ความกว้าง ประเภท ของฟิล์ม และสัญลักษณ์ที่กําหนดเป็นเลขหมู่ติดไว้บนกล่องม้วนและตลับ แล้วจึงจัดเรียงขึ้นชั้นรวมไว้กับสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
2 จัดแยกไว้ในตู้ โดยห้องสมุดบางแห่งอาจนํากล่องหรือตลับไมโครฟิล์มที่ปิดป้ายมาแยกเป็นหมวดหมู่ แล้วเรียงตามลําดับเลขทะเบียนไว้ในลิ้นชักตู้เหล็ก หรือเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกไว้บนชั้นแบบชั้นเก็บหนังสือ
37 ส่วนใดของบัตรรายการที่ช่วยให้ผู้ใช้ทราบถึงตําแหน่งของหนังสือในห้องสมุด
(1) เลขเรียกหนังสือ
(2) เลขหมู่หนังสือ
(3) เลขผู้แต่ง
(4) เลขทะเบียนหนังสือ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ
38 จากรายละเอียดต่อไปนี้ ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
v, 120 p. : ill. (some cot.) ; 21 cm.
(1) หนังสือมีทั้งหมด 120 หน้า
(2) หนังสือมีทั้งหมด 5 เล่ม
(3) หนังสือมีภาพประกอบสีบางส่วน
(4) หนังสือมีน้ำหนัก 21 กรัม
ตอบ 1, 3 หน้า 191, 193 ลักษณะวัสดุ (Physical Description) เป็นรายการที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
ลักษณะรูปร่าง ส่วนประกอบ และขนาดของหนังสือ ประกอบด้วย จํานวนหน้าหรือจํานวนเล่ม ภาพประกอบ และส่วนสูงของหนังสือ เช่น V, 120 p. : ill. (Some col.) ; 21 cm. หมายถึง หนังสือเล่มเดียวจบ (y = volume), มี 120 หน้า (120 p.), มีภาพประกอบ (ill. = illustration) สีบางส่วน (some col. = some color) และมีส่วนสูง 21 เซนติเมตร (21 cm.)
39 ส่วนใดของบัตรรายการที่ช่วยให้ผู้อ่านทราบว่าหนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
(1) หัวเรื่องในส่วนของแนวสืบค้น
(2) ชื่อผู้แปลจากการแจ้งความรับผิดชอบ
(3) ชื่อเรื่องจากแนวสืบค้น
(4) ชื่อผู้แต่งที่ปรากฏบนรายการหลัก
ตอบ 1 หน้า 193, 195, 214 แนวสืบค้น (Tracing) เป็นรายการที่บอกให้ทราบว่านอกจากบัตรยืนพื้นหรือบัตรหลักแล้ว ห้องสมุดได้ทําบัตรชนิดใดเพิ่มอีกบ้าง แนวสืบค้นมี 2 ส่วน ได้แก่
1 ส่วนที่เป็นหัวเรื่อง (Subject Headings) ได้แก่ บัตรหัวเรื่องหรือบัตรเรื่อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านทราบว่าหนังสือเล่มนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
2 รายการเพิ่มต่าง ๆ เช่น บัตรผู้แต่งร่วม บัตรผู้แปล บัตรผู้วาดภาพประกอบ เป็นต้น
40 รายละเอียดของหนังสือในข้อใดที่ไม่ปรากฏในบัตรรายการช่วยค้น
(1) บรรณานุกรม
(2) ผู้ทําบัตรรายการ
(3) ดรรชนี
(4) เลขเรียกหนังสือ
ตอบ 2 หน้า 191 – 193 รายละเอียดของหนังสือที่บันทึกในบัตรรายการช่วยค้น ได้แก่
1 เลขเรียกหนังสือ
2 ชื่อผู้แต่งหรือรายการหลัก
3 ชื่อเรื่องและการแจ้งความรับผิดชอบ
4 ครั้งที่พิมพ์หรือฉบับพิมพ์
5 การพิมพ์และการจัดจําหน่าย ประกอบด้วย สถานที่พิมพ์ สํานักพิมพ์ และปีที่พิมพ์
6 ลักษณะวัสดุหรือลักษณะรูปร่าง
7 ชื่อชุด
8 หมายเหตุ ประกอบด้วย บรรณานุกรม ดรรชนี อภิธานศัพท์ ภาคผนวก เป็นต้น
9 เลขมาตรฐานสากล
10 แนวสืบค้น
41 ข้อใดคือรายการโยงที่ใช้โยงไปยังหัวเรื่องที่เกี่ยวข้อง
(1) “ดูเพิ่มที่”
(2) “ไปที่”
(3) “ดูเพิ่มเติมที่”
(4) “ดูที่”
ตอบ 3 หน้า 199, 225 รายการโยง (Cross Reference) คือ การกําหนดสัญลักษณ์เพื่อแสดงให้ทราบว่าคําหรือวลีที่ตามมาใช้เป็นหัวเรื่องได้หรือไม่ และมีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับ เนื้อหามากน้อยเพียงใด โดยมีตัวอย่างสัญลักษณ์ ดังนี้
1 sa (see also) หรือ “ดูเพิ่มเติมที่” ใช้โยงไปสู่หัวเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กันแต่มีเนื้อหาแคบกว่า
2 X ใช้หน้าคําหรือวลีที่เลิกใช้เป็นหัวเรื่องแล้ว
3 See หรือ “ดูที่” ใช้โยงหน้าคําหรือวลีที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่องไปยังคําที่ใช้เป็นหัวเรื่อง
4 XX ใช้หน้าคําหรือวลีที่มีความหมายสัมพันธ์กับหัวเรื่องใหญ่ แต่มีเนื้อหากว้างกว่ามาก
42 ก. สิทธิมนุษยชน ข. สถิติพื้นฐาน ค. สนุกกับภาษา ง. สํามะโนการเกษตร จ. สกุลกา
จากข้อมูลข้างต้น ข้อใดเรียงรายการตามแบบพจนานุกรมได้ถูกต้อง (1) จ ง ค ก ข
(2) ง ค จ ข ก
(3) จ ข ค ง ก
(4) ก จ ค ง ข
ตอบ 3 หน้า 207 – 210 การเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาไทย มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1 ให้เรียงตามลําดับอักษร ก-ฮ โดยไม่คํานึงถึงเสียงอ่าน
2 คําที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน ให้เรียงคําที่มีตัวสะกดไว้ก่อนคําที่มีรูปสระ และเรียงลําดับรูปสระตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
3 ผู้แต่งคนเดียวกันแต่งหนังสือหลายเล่ม ให้เรียงตามลําดับอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง
(จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ จ ข คง ก)
43 ก Language death
ข Laws
ค Language in society
ง Las Vegas
จ Language for daily use
จากข้อมูลข้างต้น ข้อใดเรียงรายการตามแบบพจนานุกรมได้ถูกต้อง (1) ง ค ข ก
(2) จ ข กง ค
(3) จ ข ค ง ก
(4) ก จ ค ง ข
ตอบ 4 หน้า 210 – 213 การเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาอังกฤษ มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1 ให้เรียงตามลําดับอักษร A – Z โดยเรียงแบบคําต่อคําโดยไม่คํานึงถึงเครื่องหมายใด ๆ
2 ถ้ามีคํานําหน้านาม เช่น a, an, the, de, dela, les ฯลฯ ขึ้นต้นประโยค เวลาเรียงบัตรไม่ต้องคํานึงถึงคําเหล่านี้ แต่ให้เรียงลําดับอักษรของคําที่อยู่ถัดไป ยกเว้นถ้าคํานําหน้านามเป็นส่วนหนึ่งของประโยค จะต้องเรียงลําดับอักษรของคํานําหน้านามนั้นด้วย
3 คําย่อที่เป็นคํานําหน้าชื่อบุคคลและยศให้เรียงลําดับเหมือนเป็นคําที่สะกดเต็ม เช่น Mr. เรียงตามคําสะกดเต็มคือ Mister เป็นต้น (จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ ก จ ค ง ข)
44 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
(1) LCSH คือ บัญชีคําที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
(2) หัวเรื่อง คือ ศัพท์ควบคุมที่ใช้ในระบบการสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด
(3) LCSH คือ บัญชีหัวเรื่องภาษาอังกฤษ
(4) คําสําคัญ คือ คําศัพท์อิสระที่นํามาใช้ในระบบการสืบค้นออนไลน์ ตอบ 1 หน้า 221, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 250 – 251, 262) ความแตกต่างระหว่างหัวเรื่องกับคําสําคัญ มีดังนี้
1 หัวเรื่อง คือ คําหรือวลีหรือชื่อเฉพาะต่าง ๆ ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ซึ่งถือเป็นศัพท์ควบคุมที่ใช้ในระบบการสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด เพราะบรรณารักษ์จะเลือกคําหรือวลีจากบัญชี หัวเรื่องมาตรฐานชื่อใดชื่อหนึ่ง เช่น บัญชีหัวเรื่อง LCSH สําหรับหนังสือภาษาอังกฤษในห้องสมุดขนาดใหญ่, บัญชีหัวเรื่อง Sear’s List สําหรับหนังสือภาษาอังกฤษในห้องสมุดขนาดเล็ก ฯลฯ
2 คําสําคัญ คือ คําศัพท์อิสระที่ผู้ใช้คิดขึ้นเอง เพื่อใช้ในระบบการสืบค้นสารสนเทศออนไลน์
45 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประเภทของหัวเรื่อง
(1) หัวเรื่องคํานามคําโดด
(2) หัวเรื่องคําผสมที่สัมพันธ์กัน
(3) หัวเรื่องคําผสมที่ค้านกัน
(4) หัวเรื่องประโยคสมบูรณ์
ตอบ 4 หน้า 223 224, 228 การกําหนดคําที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ มีลักษณะดังนี้
1 คํานามคําเดียวโดด ๆ เช่น กบ ไกด์ นก ฯลฯ
2 คําผสมที่เป็นคํานาม 2 คํา เชื่อมด้วย “and”, “กับ”, “และ” ทั้งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ไปในทางเดียวกัน เช่น ชุมชนกับโรงเรียน บิดาและมารดา ฯลฯ และที่มีเนื้อหาค้านกัน เช่น ศาสนากับวิทยาศาสตร์ Good and Evil ฯลฯ
3 คํานามที่ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาคและมีคําคุณศัพท์ที่ขยายคําแรกให้สื่อความหมายดีขึ้น เช่น เคมี, วัตถุ ดอกไม้, การจัด Education, higher ฯลฯ
4 กลุ่มคําหรือวลี เช่น บริการแปล ชีวิตชนบท ฯลฯ
5 ชื่อเฉพาะที่เป็นคําวิสามานยนาม เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสัตว์ ชื่อสถานที่ ชื่อพระหรือเทพเจ้า ฯลฯ
46 สัญลักษณ์ขีดสองขีด (-) มีความหมายหรือเกี่ยวข้องกับหัวเรื่องอย่างไร
(1) การแบ่งหัวเรื่องย่อย
(2) การแยกหัวเรื่องคําโดด
(3) การแยกหัวเรื่องคําผสม
(4) การแยกหัวเรื่องวลีหรือกลุ่มคํา
ตอบ 1 หน้า 225 – 227, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 256) บัญชีหัวเรื่องมาตรฐาน LCSH ฉบับปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงการใช้สัญลักษณ์บางตัวเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ของคําที่ใช้เป็น หัวเรื่อง ดังนี้
1 BT (Broader Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่กว้างกว่า
2 NT (Narrower Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่แคบกว่า
3 RT (Related Term) คือ หัวเรื่องที่สัมพันธ์กับคําหลักหรือใช้แทนกันได้
4 UF (Use For) คือ หัวเรื่องที่ไม่กําหนดให้ใช้แล้ว
5 USE คือ หัวเรื่องที่กําหนดให้ใช้
6 — คือ หัวเรื่องย่อย
47 สัญลักษณ์ “x” ที่ปรากฎหน้าคําในบัญชีหัวเรื่องมีความหมายอย่างไร
(1) คําไม่ได้ใช้เป็นหัวเรื่องแล้ว
(2) คําที่มีความหมายกว้างกว่า
(3) คําที่มีความหมายแคบกว่า
(4) คําที่มีความสัมพันธ์กัน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ
48 งานสร้างสรรค์ในข้อใดเป็นผลงานของนักศึกษาในระดับปริญญาเอก
(1) ดุษฎีนิพนธ์
(2) วิทยานิพนธ์
(3) ปริญญานิพนธ์
(4) การศึกษาอิสระ
ตอบ 1 หน้า 237 วิทยานิพนธ์ (Thesis) เป็นรายงานการวิจัยหรือการค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ใช้เพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะทางวิชาการให้สูงขึ้น โดยวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (บัณฑิตศึกษา) จะเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า “ปริญญานิพนธ์” (Thesis) ระดับปริญญาเอกเรียกว่า “ดุษฎีนิพนธ์” (Dissertation) ส่วนสารนิพนธ์ (Thematic Paper) จะเป็นการศึกษาค้นคว้าอิสระที่กําหนดสําหรับผู้ที่ศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาโทแผน ข
49 ในการทํารายงาน ขั้นตอนใดที่ทําต่อจากการเลือกเรื่องหรือหัวข้อรายงาน
(1) การรวบรวมบรรณานุกรม
(2) การบันทึกข้อมูล
(3) การสํารวจข้อมูล
(4) การเรียบเรียงรายงาน
ตอบ 3 หน้า 238 – 263 ขั้นตอนของการทํารายงานหรือภาคนิพนธ์มี 6 ขั้นตอน ดังนี้
1 การกําหนดชื่อเรื่องหรือเลือกหัวข้อที่จะทํารายงาน
2 การสํารวจข้อมูล
3 การรวบรวมบรรณานุกรม ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเขียนรายงานฉบับร่าง
4 การบันทึกข้อมูล หรือทําบัตรบันทึกข้อมูล
5 การวางโครงเรื่อง
6 การเรียบเรียงเนื้อหารายงานฉบับร่าง
50 “พระบรมราโชวาท” จัดเป็นแหล่งข้อมูลประเภทใด
(1) ปฐมภูมิ
(2) ทุติยภูมิ
(3) ตติยภูมิ
(4) เบญจภูมิ
ตอบ 1 หน้า 67, 240 แหล่งข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) เป็นหลักฐานเบื้องต้นหรือข้อมูลอันดับแรกที่ได้รับจากบุคคลโดยตรง เช่น ประสบการณ์ของตนเอง บันทึกส่วนตัว จดหมายโต้ตอบ พระบรมราโชวาทต้นฉบับตัวเขียน (Manuscript) อัตชีวประวัติ บทสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สุนทรพจน์ ฯลฯ
2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) หรือข้อมูลอันดับรอง ได้แก่ หนังสือหรือตําราและวัสดุที่เป็นผลผลิตของการค้นคว้าจากหลักฐานเบื้องต้น เช่น บทความจากวารสารข่าวในหนังสือพิมพ์ ดรรชนี สารานุกรม กฤตภาค ฯลฯ
51 การเตรียมข้อมูลเพื่อทํารายงานในข้อใดควรบันทึกข้อมูลแบบลอกความ
(1) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์
(2) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
(3) บทความวิจัย
(4) บทวิจารณ์หนังสือ
ตอบ 1 หน้า 257, 260 261 การบันทึกข้อมูลแบบลอกความ (Quotation) จะเหมาะกับข้อความหรือข้อเท็จจริงที่ชัดแจ้ง เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์ ความหมายหรือคํานิยามในเชิงวิชาการ พระบรมราโชวาท พระราชบัญญัติ ข้อบังคับหรือคําสั่งของทางราชการ กวีนิพนธ์ และบทละคร ซึ่งมีข้อควรระวัง คือ ต้องคัดลอกทุกอย่างให้เหมือนต้นฉบับ ตอนใดที่คัดลอกมาทั้งหมดให้ คร่อมไว้ด้วยเครื่องหมายอัญประกาศ ( “_ _ _” ) แต่ถ้าคัดลอกมาเพียงบางส่วนให้ใช้เครื่องหมาย จุด 3 จุด (…) ใส่ไว้ก่อนหรือหลังข้อความนั้น โดยบัตรบันทึกชนิดนี้จะกระทําเมื่อ
1 ผู้ทํารายงานไม่สามารถหาคําพูดได้ดีกว่าเนื้อหาเดิม
2 เนื้อหาเดิมได้วางระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีการไว้อย่างดีแล้วจึงไม่ควรดัดแปลง
3 เนื้อหาเดิมบรรยายถึงแนวคิดของผู้แต่งจึงไม่ควรดัดแปลง
52 ข้อใดกล่าวถึงการเรียบเรียงรายงานได้อย่างถูกต้องที่สุด
(1) การใช้คําย่อหรืออักษรย่อให้มากที่สุดเพื่อให้เนื้อหาสั้นกระชับ
(2) การเขียนอ้างอิงให้ถูกต้องตามรูปแบบของสถาบันที่ส่งรายงาน (3) การเขียนรายงานวิชาการควรใช้ภาษาพรรณนาความ
(4) การดัดแปลงเนื้อหาให้แตกต่างจากต้นฉบับมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 263, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 337) ข้อควรพิจารณาในการเรียบเรียงรายงานฉบับร่าง มีดังนี้
1 เรียบเรียงเนื้อหาของรายงานตามลําดับของโครงเรื่องที่วางไว้ โดยเนื้อหา ไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไป
2 ใช้ภาษาที่ถูกต้อง กะทัดรัด สุภาพ และอธิบายทุกสิ่งให้ชัดเจน
3 ไม่ใช้อักษรย่อและคําย่อ
4 เขียนอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้องตามรูปแบบของ สถาบันที่ส่งรายงาน โดยแสดงไว้หลังข้อความที่อ้าง และเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งตลอดรายงาน
5 การใส่ตาราง ภาพประกอบ แผนภูมิ แผนที่ กราฟ ฯลฯ ต้องระบุแหล่งที่มา โดยใช้แบบแผนเช่นเดียวกับเชิงอรรถ ฯลฯ
53 ตัวอย่างแบบสอบถามที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ควรใส่ไว้ในส่วนใดของรายงาน
(1) ภาคผนวก
(2) เชิงอรรถอ้างอิง
(3) บทนํา
(4) อภิธานศัพท์
ตอบ 1 หน้า 64, 275 ภาคผนวก (Appendix) เป็นส่วนท้ายของรายงานที่นําเสนอข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง เนื่องจากรายการนั้นไม่เหมาะที่จะเสนอแทรกไว้ในส่วน ของเนื้อหา แต่มีความสัมพันธ์และช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดียิ่งขึ้น เช่น แบบสอบถาม ตัวเลขสถิติ ตารางลําดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ภาพประกอบเนื้อเรื่อง เป็นต้น
54 ข้อใดเขียนบรรณานุกรมได้ถูกต้อง
(1) ศาสตราจารย์ ดร.ศรีเรือนแก้ว แก้วกังวาล จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ :สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545.
(2) ดร.ศรีเรือนแก้ว แก้วกังวาล, จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ :สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545.
(3) ศาสตราจารย์ศรีเรือนแก้ว แก้วกังวาล, จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ :สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545.
(4) ศรีเรือนแก้ว แก้วกังวาล, จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ :สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545.
ตอบ 4 หน้า 254 – 255, 276 277 จากตัวเลือกข้างต้น ใช้รูปแบบการเขียนรายการบรรณานุกรมสําหรับหนังสือตามคู่มือ Turabian ซึ่งมีแบบแผนการเขียนรายการอ้างอิงที่ถูกต้อง ดังนี้
ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์, สถานที่พิมพ์ : สํานักพิมพ์, ปีที่พิมพ์ ในกรณีที่ผู้แต่งเป็นคนไทย ไม่ต้องใส่คํานําหน้าชื่อ ตําแหน่งทางวิชาการหรือวิชาชีพ เช่น ศรีเรือนแก้ว แก้วกังวาล, จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ :สํานักพิมพ์มหาวิทยาสัยธรรมศาสตร์, 2545.
55 ข้อใดเขียนอ้างอิงในเนื้อหาได้ถูกต้อง
(1) (Sallnow, John, 1982, 5)
(2) J. Sallnow, 1982, 5)
(3) (John Seallnow, 1982, 5)
(4) (SallnoW, 1982, 5)
ตอบ 4 หน้า 264, 276 277, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 298) การแสดงที่มาของข้อมูลเฉพาะที่แบบนาม-ปี (Author-date) คือ รายการอ้างอิงในวงเล็บที่แทรกลงไปในเนื้อหา (Cite-in-Text) หลังข้อความที่คัดลอกมาหรือที่ต้องการอ้างอิง ซึ่งจากตัวเลือกข้างต้น ใช้รูปแบบ การอ้างอิงในเนื้อหาตามคู่มือ APA คือ (ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์, หน้าที่อ้างอิง) เช่น (อุดมพร มานะ, 2556, หน้า 5) หากผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ลงเฉพาะชื่อสกุล (Last Name)
ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า เช่น (Sallnow, 1982, 5)
56 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในสมัยแรก ๆ มีวัตถุประสงค์ทางด้านใด
(1) ด้านการเรียนการสอนออนไลน์
(2) ด้านการสื่อสารทางการทหาร
(3) ด้านการค้าขายทางออนไลน์
(4) ด้านบริการงานห้องสมุด
ตอบ 2 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 47 – 48), (คําบรรยาย) การพัฒนาอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เมื่อกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการพัฒนา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ขึ้น เพื่อเน้นใช้งานด้านการทหารและการสื่อสารในช่วงสงครามเย็นมากที่สุด และเพื่อเชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ซึ่งเป็นประโยชน์สําหรับงานวิจัย จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2526 จึงพัฒนามาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มีการนําอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น
57 ข้อใดหมายถึงมาตรฐานการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างเว็บบราวเซอร์และเซิร์ฟเวอร์
(1) Hyper Text Transfer Protocol (HTTP)
(2) Hyper Text Markup Language (HTML)
(3) Uniform Resource Locator (URL)
(4) World Wide Web Consortium (W3C)
ตอบ 1 (คําบรรยาย) Hyper Text Transfer Protocol (HTTP) คือ โปรโตคอลแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์ที่เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างเว็บบราวเซอร์เเละเว็บเซิร์ฟเวอร์ จึงเป็นโปรโตคอล ในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทํางานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม โดยจะใช้สําหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนําไปสู่การจัดตั้ง World Wide Web (WWW)
58 ข้อใดหมายถึงการทําสําเนา E-mail Address ของผู้รับในการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
(1) การใช้ BC
(2) การใช้ CCC
(3) การใช้ CC
(4) การใช้ BBB
ตอบ 3 หน้า 311, (คําบรรยาย) รายละเอียดทั่วไปที่ใช้กรอกเพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Mail : E-mail) มีดังนี้
1 To คือ ชื่อ E-mail Address สําหรับผู้รับ
2 FROM คือ ชื่อ E-mail Address สําหรับผู้ส่ง
3 SUBJECT คือ หัวข้อเนื้อหาของจดหมาย
4 CC คือ การทําสําเนา E-mail Address ของผู้รับไปให้อีกบุคคลหนึ่ง
5 BCC คือ การทําสําเนา E-mail Address ของผู้รับไปให้อีกบุคคลหนึ่ง แต่ผู้รับจะไม่รู้ว่าเราทําสําเนาให้ใครบ้าง
6 ATTACHMENT คือ การส่งไฟล์ข้อมูลแนบไปพร้อมกับ E-mail
59 Search Engine มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) การค้นสารสนเทศจากกูเกิล
(2) เครื่องเซิร์ฟเวอร์
(3) เครื่องมือช่วยค้นฐานข้อมูล
(4) เว็บมาสเตอร์
ตอบ 3 หน้า 313, (คําบรรยาย) Search Engine คือ เครื่องมือช่วยค้นที่ทําให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศจากฐานข้อมูลเว็บไซต์ (Websites) ที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ Search Engine จะแสดงรายการสารบาญและซ่องว่างให้เติมคําที่ต้องการสืบค้น จากนั้น ให้ผู้ใช้ป้อนคํา ข้อความ หรือชื่อเรื่องที่ต้องการค้นหา ก็สามารถหาเว็บไซต์ที่ต้องการหรือ รายชื่อเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่ง Search Engine ที่ได้รับ ความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ www.google.com, www.yahoo.com, www.altavista.com,www.metacrawler.com เป็นต้น
60 ข้อใดไม่ใช่โปรแกรมระบบปฏิบัติการ
(1) Android
(2) Windows XP
(3) Mozilla Firefox
(4) Windows NT
ตอบ 3 (คําบรรยาย) โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) จะทําหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป ซึ่งมีหน้าที่หลัก คือ การจัดสรรทรัพยากร ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับ ฮาร์ดแวร์ หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจําตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ โดยระบบปฏิบัติการ ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้แก่ Microsoft Windows XP, Windows NT, Unix, Linux ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการในโทรศัพท์มือถือ เช่น IOS, Android ฯลฯ (ส่วนเว็บบราวเซอร์ Mozila Firefox เป็นโปรแกรมประยุกต์)