การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LIS 1001 สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.    ข้อใดเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นรูปธรรม มีคุณค่าควรแก่การนำไปดำเนินการให้สื่อความหมายได้

(1)   ข้อมูล     

(2) ข่าวสาร     

(3) สารสนเทศ 

(4) ความรู้

ตอบ 1 หน้า 3 ข้อมูล (Dataหมายถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นนามธรรม รูปธรรมซึ่งมีความหมายที่บ่งบอกได้ในตัวเอง และมีคุณค่าควรแก่การนำไปดำเนินการให้สื่อความหมายได้

2. ปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงในการดูแลสุขภาพอนามัยของท่านคือข้อใด

(1) ปัญญา     

(2) สารสนเทศ 

(3) ข้อมูลข่าวสาร    

(4) ความรู้

ตอบ 2 หน้า 5(IS 103 เลขทืมฟ 53345 หน้า 5 6) สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการดำรงขีวิตของมนุษย์ในทุกด้าน ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้

1.    ลดอัตราการตายจากโรคภัยไข้เจ็บ ทำให้รู้จักวิธีดูแลสุขภาพอนามัย

2.    ช่วยให้ประชาชนเป็นผู้บริโภคอย่างฉลาด รู้จักเลือกใช้สินค้าที่มีบ่ระโยชน์ และประเมิน คุณภาพของสินค้าได้

3. พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น   

4. ช่วยลดความผิดพลาดในการตัดสินใจ

5.    ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และลดค่าใช้จ่ายจากการทำวิจัยซํ้าซ้อน

6. รู้จักแก้ป็ญหาได้ดีขึ้น   

7. เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างองค์ความรู้

8. เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ

3.    ข้อใดเกิดขึ้นจากการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้บุคลากรสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างงานที่ปฏิบัติร่วมกัน     

(1) ยุคสังคมสารสนเทศ

(2) ยุคแห่งภูมิปัญญา

(3) ยุคเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  

(4) ยุคการเรียนรู้

ตอบ 2 หน้า 136 สังคมในศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาหรือสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานมาจากสังคมสารสนเทศ โดยบุคลากรซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานภายใต้วิชาชีพต่างๆ หรือที่เรียกว่า “พนักงานแห่งภูมิปัญญา’‘ (Knowledge Workerจะช่วยกันสร้างและพัฒนาองค์กร แห่งการเรียนรู้ขึ้น เพื่อให้บุคลากรสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างทั่วถึงและสะดวก รวมทั้งสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณในระหว่างที่ปฏิบัติงานร่วมกัน ทำให้หน่วยงาน องค์กร และประชากรในสังคมกลายเป็นผู้มีความรู้ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน และมีการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต

4.    “The Code of Hummurabi” เกี่ยวข้องกับบันทึกสารสนเทศอย่างไร

(1)   แผ่นดินเหนียว/อักษรคูนิฟอร์ม  

(2) กระดาษปาไปรัส/อักษรไฮโรกลิฟิก

(3) แผ่นหินทรงกระบอก/อักษรคูนิฟอร์ม    

(4) แผ่นหนังสัตว์/อักษรไฮโรกลิฟิก

ตอบ 3 หน้า 7-9 ชาวบาบิโลเนียน ซึ่งอาศัยอยูเนแคว้นเมโสโปเตเมียตอนล่าง เป็นกลุ่มที่ได้รับ การถ่ายทอดวัฒนธรรมจากชาวสุเมเรียน โดยนำอักษรรูปลิ่มไปบันทึกเรื่องราวต่างๆ และยังได้คิดค้น “ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี” (The Code of Hummurabiซึ่งเป็นกฎหมายสนองตอบ แบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน โดยถือเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของโลกที่จารึกด้วยอักษรคูนิฟอร์ม ลงบนแผ่นหินทรงกระบอกสีดำ จึงนับว่าเป็นมรดกทางอารยธรรมที่มีค่ายิ่ง

5.    ชนชาติใดเป็นผู้ริเริ่มจัดหมวดหมู่ความรู้ที่บันทึก

(1)   บาบิโลเนียน    

(2) สุเมเรียน    

(3) อียิปต์

(4) อัสสิเรียน

ตอบ 4 หน้า 9(คำบรรยาย) ชาวอัสสิเรียน ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของดินแดนเมโสโปเตเมีย ได้ส่งผู้มีความรู้ด้านภาษาไปคัดลอกเรื่องราวจากบาบิโลเนียน และนำไปเก็บไว้ที่ห้องสมุด เมืองนิเนเวห์ ซึ่งถือว่าเป็นห้องสมุดที่มีการจัดเก็บหนังสืออย่างเป็นระบบหรือมีการนำ เครื่องหมายกำกับเรียงไว้เป็นหมวดหมู่ ดังนั้นจึงนับเป็นรากฐานของการจัดระบบหนังสือของห้องสมุดในปัจจุบัน

6.    ข้อใดเป็นสื่อที่ชนชาติกรีกใช้บันทึกข่าวสารความรู้

(1)   แผ่นหิน   

(2) แผ่นบรอนซ์

(3) แผ่นหนังสัตว์     

(4) แผ่นดินเหนียว

ตอบ 3 หน้า 9 ชาวกรีกโบราณได้นำแผ่นหนังสัตว์ฟอกมาใช้บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ แทนแผ่นดินเหนียว กระดาษปาไปรัส แผ่นไม้ แผ่นหิน แผ่นบรอนซ์ ฯลฯ ซึ่งแผ่นหนังสัตว์เหล่านี้เมื่อนำมาเย็บรวมกันเป็นเล่มจะเรียกว่า “โคเด็กซ์” (Codexหรือหนังสือแผ่นหนังสัตว์ ซึ่งถือเป็นต้นแบบ ของการเย็บเล่มหนังสือในปัจจุบัน โดยห้องสมุดที่รวบรวมแผ่นหนังที่สำคัญคือ ห้องสมุด เปอร์กามัมของกรีก

7.    หอพระไตรปิฎกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์คือข้อใด

(1)   หอพระมณเฑียรธรรม

(2) หอพุทธสาสนสังคหะ

(3) หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร   

(4) หอพระสมุดวชิรญาณ

ตอบ 1 หน้า 11 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้เริ่มมีการสังคายนาพระไตรปิฎก หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1)โปรดเกล้าฯให้สร้าง “หอพระมณเฑียรธรรม” ในปี พ.ศ. 2326 ซึ่งเป็นหอพระไตรปิฎกหรือห้องสมุดวัดที่ตั้งอยู่ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎกหลวงและหนังสือจำนวนมาก ดังนั้นจึงถือเป็น หอสมุดพุทธศาสนาของหลวงหลังแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

8.    “หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร” เปลี่ยนชื่อมาเป็น “หอสมุดแห่งชาติ” ในรัชสมัยใด

(1)   รัชกาลที่ 9      

(2) รัชกาลที่ 8 

(3) รัชกาลที่ 7 

(4) รัชกาลที่ 6

ตอบ3 หน้า 12(15 103 เลขพิมพ์ 53345 หน้า 10) ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้รวมหอพระมณเฑียรธรรม หอพุทธสาสนสังคหะ และหอพระสมุดวชิรญาณเข้าด้วยกัน จากนั้น จึงสร้างเป็นห้องสมุดแห่งใหม่ในพระบรมมหาราชวังชื่อว่า “หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร” ซื่งถือเป็นรากฐานของหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ย้าย มาอยู่ที่ตึกถาวรวัตถุนอกพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น “หอสมุดแห่งชาติ’’ และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

9.    ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของห้องสมุด

(1)   ให้โอกาสแก่ทุกคนเลือกอ่านหนังสือได้โดยอิสระตามความสนใจของแต่ละบุคคล

(2)   สนับสนุนความเป็นประชาธิปไตย ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งสารสนเทศได้ตามที่ต้องการ

(3)   เป็นสถานที่รวมของทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ ที่ผู้ใช้สามารถค้นคว้าหาความรู้ทุกสาขาวิชา

(4)   ช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่านรักการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ตอบ 2 หน้า 21 – 22(คำบรรยาย) บทบาทและความสำคัญของห้องสมุด มีดังนี้

1.    เป็นสถานที่รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ ที่ผู้ใช้สามารถคันคว้าหาความรู้ทุกสาขาวิชา

2.    ส่งเสริมการศึกษาคันคว้าวิจัยทั้งในและนอกระบบการศึกษา นั่นคือ ให้โอกาสแก่ทุกคน ในการเลือกอ่านหนังสือเพื่อศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ ตามความสนใจของแต่ละบุคคล

3.    ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4. ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

5. ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย นั่นคือ ให้ผู้ใช้รู้จักหน้าที่และสิทธิของพลเมืองในการดูแลรักษาและปฏิบัติตามระเบียบของห้องสมุด เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ฯลฯ

10.  ต้องภารค้นหาและตรวจสอบทรัพยากรสารสนเทศจากสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ท่านสามารถเข้าใช้ผ่านทางข้อใด

(1)   www.google.co.th

(2) INNOPAC

(3) www.ru.ac.th   

(4) RAMLINET

ตอบ 4 หน้า 12 – 132729 ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Automatic Library Systemคือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานของห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้น และเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้พัฒนาห้องสมุดให้เป็นระบบเครือข่ายห้องสมุดอัตโนมัติเรียกว่า “RAMLINET

11.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะแสดงความเป็นห้องสมุดสมัยใหม่

(1)   ใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเองในงานจัดหาและงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ

(2)   นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินงานของห้องสมุด

(3) นำเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ในกระบวนการทำงานและการบริการผู้ใช้

(4)   มีทรัพยากรที่เป็นข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอลจัดเก็บข้อมูลไว้ในระบบฐานข้อมูล

ตอบ 3 หน้า 3111342 – 47 ลักษณะของห้องสมุดสมัยใหม่ในปัจจุบัน มีดังนี้

1.    ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดจะอยู่ในรูปแบบดิจิตอลหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการจัดเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูล

2.    มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี การสื่อสารเข้ามาใช้ในการดำเนินงานของห้องสมุด และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการ สืบค้นและเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

3.    มีการใช้ทั้งซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ประยุกต์ในการดำเนินงานของห้องสมุด

12.  ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของห้องสมุดมหาวิทยาลัย

(1)   ส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ข่วยสร้างเสริมนิสัยรักการอ่าน และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

(2)   ให้บริการแก่ผู้ใช้ เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลเพื่อนำไปใช้ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

(3)   ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแก่ผู้ใช้ไม่จำกัดระดับวัย เป็นการส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตลอดชีวิต

(4) ให้บริการทางวิชาการและทรัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้องกับหลักสูตรการสอน การค้นคว้า การวิจัย และกิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบัน

ตอบ 4 หน้า 26(IS 103 เลขพิมพ์ 53345 หน้า 33 – 34) บทบาทหน้าที่หลักของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาหรือห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยคือ การส่งเสริมการเรียนการสอน และการค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาต่าง ๆ อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง นั่นคือ หน้าที่ในการจัดหา จัดเก็บ และบริการทรัพยากรสารสนเทศทางวิชาการทั้งที่เป็นสิ่งตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ใน สาขาวิชาต่าง ๆ ที่มีการเรียนรู้ตามหลักสูตรการสอนในสถาบันการศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัยของนักศึกษาและอาจารย์

13. ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี จัดเป็นห้องสมุดประเภทใด

(1) ห้องสมุดประชาชน

(2) หอสมุดแห่งชาติ 

(3) ห้องสมุดประจำท้องถิ่น 

(4) ห้องสมุดโรงเรียน

ตอบ 1 หน้า 23 – 24 ห้องสมุดประชาชน คือ สถาบันบริการสารสนเทศที่มีหน้าที่จัดหาสื่อความรู้พื้นฐานต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับประชาชนทั่วไปทุกวัย โดยไม่คิดค่าบริการ ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ การศึกษานอกระบบโรงเรียน ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตลอดชีวิต ส่งเสริมการรักการอ่าน ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ส่งเสริมและเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่น ฯลฯ ตัวอย่างของห้องสมุดประชาชน เช่น ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี ห้องสมุดธนาคารศรีนคร ห้องสมุดนีลสัน เฮย์ เป็นต้น

14.  หน่วยงานใดมีหน้าที่กำหนดเลขสากลประจำหนังสือ (ISBNให้กับสิ่งพิมพ์ที่ผลิตในประเทศไทย

(1) ศูนย์เอกสารแห่งประเทศไทย

(2) หอสมุดแห่งชาติ

(3) ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี   

(4) หอจดหมายเหตุ

ตอบ 2 หน้า 24 – 25(คำบรรยาย) หอสมุดแห่งชาติมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้

1.    เป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวม สงวนรักษา จัดระบบ และให้บริการมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมของชาติทุกรูปแบบ เช่น ต้นฉบับเพลงไทยและเพลงสากล ตัวพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ ฯลฯ

2.    เผยแพร่และบริการสารสนเทศที่ได้รวบรวมไว้แก่นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย และบุคคลทั่วไป

3.    เป็นศูนย์ข้อมูลและกำหนดหมายเลข ISSN และ ISBN

4.    รับมอบสิ่งพิมพ์ทุกเล่มที่จัดพิมพ์ขึ้นภายในประเทศ เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัย

5.    รวบรวมและจัดพิมพ์บรรณานุกรมแห่งชาติ

6.    สงวนรักษาสื่อความรู้และความคิดของคนในชาติ เพื่อเป็นมรดกของชาติ

15.  ข้อใดคือเครือข่ายระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

(1) RU LIBNET      

(2) RU LINET 

(3) RAM LI NET    

(4) RAM LIBNET

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

16.  ข้อใดเป็นระบบที่ใช้เพื่อการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

(1) OPAC (Online Publisher Assess Catalog)

(2) OPAC (Online Public Access Catalog)

(3)   OPAC (Online People Access Catalog)    

(4) OPAC (Online Power Access Catalog)

ตอบ 2 หน้า 29219227 – 228288 เครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลของสำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยรามคำแหง จะใช้ระบบสืบค้นข้อมูลที่เรียกว่า “OPAC” (Online Public Access Catalogซึ่งเป็นระบบสืบค้นรายการหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดในรูปแบบรายการออนไลน์ (Online Catalogจากฐานข้อมูลในรูปที่อ่านได้ด้วยคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์โดยเลือกใช้คำสั่งจากเมนูหลักที่กำหนดไว้ในปัจจุบันผู้ใช้บริการสำนักหอสมุดกลางๆ สามารถค้นหารายการหนังสือจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ในห้องสมุดผ่านระบบ OPAC โดย Telnet ไปยัง www.library.lib.ru.ac.th และ login : library หรือสืบค้นผ่าน WebOPAC โดยพิมพ์ข้อมูล www.lib.ru.ac.th จากนั้นรายละเอียดทางบรรณานุกรมก็จะปรากฏบนจอภาพ

17.  อยากทราบรายชื่อหนังสือใหม่ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง จะดูได้จากที่ใดบน Web page ของสำนักหอสมุดกลางฯ   

(1) Favourite Links

(2)   Reference Services     

(3) Library Services     

(4) About Library

ตอบ 3 หน้า 30 – 32 หากผู้ใช้บริการต้องการทราบรายชื่อหนังสือใหม่ (ประจำเดือน) จากเว็บไซต์ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง สามารถทำได้โดยเข้าไปสืบค้นสารสนเทศผ่านระบบ WebOPAC ด้วยการพิมพ์ชื่อเว็บไซต์คือ http://www.lib.ru.ac.th จากนั้นผู้ใช้จะเข้าสู่หน้าจอ Home Page ของสำนักหอสมุดกลางฯแล้วให้คลิกเลือกเมนู Library Services ซึ่งเป็นบริการ ประเภทต่าง ๆ ของสำนักหอสมุดกลางฯ ก็จะสามารถเข้าไปดูรายชื่อหนังสือใหม่ (ประจำเดือน)ได้

18.  ข้อใดคือความหมายของห้องสมุดดิจิตอล (Digital Libraries)

(1)   ห้องสมุดที่มีการจัดการทรัพยากรสารสนเทศจากสื่อชนิดต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปของอิเลกทรอนิกส์

(2)   ห้องสมุดที่แปลงรูปสารสนเทศ มีเฉพาะ eBook, eJournal, eNewspaper และ e– Document

(3)   แหล่งรวบรวมและให้การส่งเสริมทรัพยากรสารสนเทศที่มีรูปแบบเป็นดิจิตอลและสื่อประสม

(4)   แหล่งสารสนเทศที่มีการจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร

ตอบ 1 หน้า 42 – 57(คำบรรยาย) ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Librariesหมายถึง ห้องสมุดที่มีการจัดการทรัพยากรสารสนเทศจากสื่อชนิดต่างๆ ให้อยู่ในรูปดิจิตอลหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการนำเสนอในรูปของสื่อผสม (Multimediaทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงหรือสืบค้นสารสนเทศ ได้ด้วยการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (ISP) นอกจากนี้ขอบเขตของห้องสมุดดิจิตอลยังอาจกว้างไกลไปถึงแหล่งสะสมสารสนเทศที่สามารถ เชื่อมโยงถึงกันได้ในลักษณะของเครือข่ายใยแมงมุม (WWWโดยไม่ต้องคำนึงถึงสื่อในรูปลักษณ์ ต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของข้อมูลหรือสารสนเทศเหล่านั้นก็ได้

19.  ข้อใดไม่ใช่ข้อดีของห้องสมุดดิจิตอล

(1)   ช่วยเพิ่มความสามารถในการค้นคืนสารสนเทศในลักษณะของเอกสารฉบับเต็มและเมต้าดาต้า

(2)   เพิ่มความสามารถในการจัดส่งเอกสารทั้งในด้านรูบแบบและความเร็วในการจัดส่งเอกสาร

(3)   ช่วยให้สามารถเข้าถึงเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

(4)   ผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบการจัดส่งเอกสารดิจิตอลได้หลายวิธีและลดขนาดพื้นที่ในการจัดเก็บ

ตอบ 2 หน้า 43(คำบรรยาย) ข้อดีของห้องสมุดดิจิตอล มีดังนี้

1.    ค้นคืนสารสนเทศได้จากที่ห่างไกลทุกมุมโลก

2.    เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

3.    สืบค้นสารสนเทศได้หลายรูปแบบ เช่น เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)สื่อผสม (Multimedia)เมต้าดาต้า ฯลฯ

4.    สามารถใช้บริการจัดส่งเอกสารดิจิตอลแบบออนไลน์

5. ลดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร

6. สามารถพิมพ์สำเนาได้ตามที่ต้องการ

20.  ข้อใดเป็นกระบวบการของการรวบรวมและการสืบค้นสารสนเทศในรูปของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จากห้องสมุดดิจิตอล

(1)   สืบค้นโดยผ่านเซิร์ฟเวอร์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการระบุที่อยู่ของเว็บหรือที่เรียกว่า URL Address

(2)   สืบค้นโดยการกำหนดคำค้นหรือที่เรียกว่า Keyword ตามความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศเอง

(3)   สืบค้นโดยการให้หัวข้อเรื่องที่ต้องการหรือที่เรียกว่า Subject Heading ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญ

(4)   สืบค้นโดยผ่านรายการออนไลน์หรือที่เรียกว่า WebOPAC เพื่อให้ได้รายการทรัพยากรสารสนเทศ

ตอบ 1 หน้า 45 ห้องสมุดดิจิตอลมีกระบวนการเก็บรวบรวมและสืบค้นสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายใยแมงมุม (WWWหรือเว็บไซต์ กล่าวคือ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงหรือสืบค้นสารสนเทศ ในรูปของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยผ่านเซิร์ฟเวอร์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยระบุที่อยู่ของเว็บไซต์หรือตำแหน่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า “URL Address” (Uniform Resource Locationทั้งนี้สารสนเทศที่ปรากฏบนหน้าจอแรกของเว็บจะเรียกว่า “โฮมเพจ” (Home Pageซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกรายการที่ต้องการค้นคว้าต่อไปได้

21.  รายการ“http://www.lib.ru.ac.th/service/interUbrary_loan” เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

(1) การถ่ายโอนสารสนเทศแก่ผู้ขอรับบริการ     

(2) การใข้บริการรมระหว่างห้องสมุด

(3)   การเข้าถึงข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ 

(4) การให้บริการช่วยเหลือผู้ใช้ห้องสมุด

ตอบ 2 (คำบรรยาย) บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary Loan Serviceเป็นบริการที่สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหงจัดขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับเอกสารสิ่งพิมพ์ที่ต้องการจากห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยผู้ใช้สามารถ เข้าไปศูรายละเอียดในการขอยืมผานระบบ WebOPAC ที่เว็บไซต์ http://www.lib.ru.ac.th แล้วคลืกเลือกเมนู Services ไปที่ Library Services ก็จะพบการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด ดังรายการที่ให้มาข้างต้น

22. อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใดมากที่สุด     

(1) การทหารและการวิจัย

(2) การพาณิชย์และการขนส่ง   

(3) การศึกษาและวิทยาศาสตร์  

(4) การปกครองและกฎหมาย

ดอน 1 หน้า 47 – 48. (คำบรรยาย) ในปี พ.ศ. 2512กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนสนับสมุนโครงการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาร์พาเน็ต (ARPAnetขึ้น เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลทางการทหารในช่วงสงครามเย็น และเพื่อเชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ของหนวยงานในมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ซึ่งเป็นประโยขนํสำหรับงานวิจัย จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2526 จึงพัฒนามาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันก็ได้มีการนำอินเทอร์เน็ต มาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

23.  ข้อใดใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งหรือที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

(1) URL : Uniform Resource Location

(2) IP : Internet Protocol Address

(3) TCP Transmission Control Protocol  

(4) DNS : Domain Name Server

ตอบ 2 (คำบรรยาย) IP (Internet Protocol Addressคือ หมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต ซึ่ง IP Address ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดที่คั่นด้วย เครื่องหมายจุด เช่น 203.144.44.0 เพื่อกำหนดตำแหน่งหรือที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนเครือข่ายอินเทอร์เนิต ทั้งนี้เลข IP ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต้องไม่ซํ้ากัน

24.  บริษัท 3BB, TOT และ True เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตในข้อใดมากที่สุด

(1)   ช่วยผู้ใช้เชื่อมต่อเครื่องเข้ากับอินเทอร์เน็ต  

(2) ควบคุมการส่งแฟ้มข้อมูล

(3) สนับสนุนใช้เทคโนโลยีลารสนเทศระยะไกล   

(4) กำหนดตำแหน่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

ตอบ 1 หน้า 49 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิซย์ (Internet Service Provider : ISPคือ บริษัทเอกชนที่ให้บริการเชื่อมต่อผู้ใช้เข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยมีรูปแบบและราคาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกซื้อบริการได้เป็นรายชั่วโมง โดยมีการเก็บค่าใช้จ่ายตามจำนวนครั้ง ที่เชื่อมต่อและเวลาที่ใช้งานจริง หรืออาจจ่ายเป็นรายเดือนก็ได้ ซึ่งบริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น บริษัท True Corporation (Truewifi True Internet), Loxinfo, Samart, 3BB, ANET, TOT, TT&T, Idea Net, Internet Thailand เป็นต้น

25.  ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการบริการบนอินเทอร์เน็ต

(1)   การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol)

(2)   บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (eCommerce)

(3)   การแลกเปลี่ยนความรู้และการเรียนรู้ (Usernet)

(4)   ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (eMail)

ตอบ 3 หน้า 50 – 55 การบริการบนอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่

1.    บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (File Transfer ProtocolFTP)

2.    บริการขอใข้คอมพิวเตอร์ระยะไกล (Telnet)

3.    บริการสนทนาผ่านเครือข่ายหรือแชท (Chat)

4.    บอร์ดแสดงความคิดเห็นหริอเว็บบอร์ด (Web board)

5.    บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (eMail)

6.    บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (eCommerce)

7.    บริการเว็บไซต์ (Websiteหรือเครือข่ายใยแมงมุม (WWW)

26.  Internet Explorer เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

(1) Web browser เพื่อเชื่อมโยงการสื่อสาร     

(2) โปรแกรมช่วยงานการตอบคำถาม

(3) Software สำหรับการแสดงผลข้อมูล   

(4) ระบบปฏิบัติการเก็บข้อมูล

ตอบ 1 หน้า 4655(คำบรรยาย) Web browser คือ โปรแกรมดูเอกสารบน WWWโดยเว็บเบราเซอร์ สามารถใช้เปิดเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ หรือเปิดดูสื่อต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยภาพและเสียง รวมทั้ง สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารให้เข้าถถึงสารสนเทศบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เบ็ตได้ ตัวอย่างของ Web browser เช่น Internet Explorer, Netscape Navigator เป็นต้น

27.  “365 ปาฏิหาริย์แห่งการขอบคุณ” จัดเป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด

(1) หนังสือสารคดี    

(2) หนังสือบันเทิงคดี

(3) หนังสืออ้างอิง     

(4) หนังสือคำสอนทางศาสนา

ตอบ2 หน้า 70 หนังสือบันเทิงคดี (Fictionหมายถึง หนังสือที่เขียนขึ้นจากจินตนาการหรือประสบการณ์ของผู้แต่ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินและข้อคิดคติชีวิต ในแง่มุมต่าง ๆ ได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์ เช่น “365 ปาฏิหาริย์แห่งการขอบคุณ” เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์จริงของผู้แต่ง คือ จอห์น คราลิค เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับผู้ที่รู้สึกท้อแท้สิ้นหวังให้พบแสงสว่างในชีวิตเช่นเดียวกับผู้แต่ง

28.  ส่วนใดแสดงเค้าโครงการนำเสนอเนื้อเรื่องของหนังสือ

(1)   หน้าปกใน

(2) บทนำ

(3) บรรณานุกรม     

(4) สารบัญ

ตอบ 2 หน้า 79 หน้าบทนำ (Introductionเป็นส่วนที่ผู้เขียนหนังสือนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง โดยให้ข้อมูล เพื่อปูพื้นความเข้าใจเนื้อหาของหนังสือ อาจกล่าวถึงประวัติ ความหมาย และรายละเอียดอื่นๆ ที่เป็นใจความสำคัญของเรื่องและการจัดลำดับเนื้อหาในตัวเล่ม ทั้งนี้หนังสือบางเล่มอาจไม่มีส่วนที่เป็นบทนำ แต่จะนำไปรวมเขียนไว้กับสวนที่เป็นคำนำ

29.  ส่วนใดของหนังสือพิมพ์ที่ช่วยสร้างความเข้าใจเรื่องราวของข่าวได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

(1) โปรยข่าว   

(2) ภาพถ่าย   

(3) พาดหัวข่าว

(4) ความนำ

ตอบ 2 หน้า 82 ส่วนประกอบที่สำคัญของหนังสือพิมพ์มี 3 ส่วนได้แก่

1.    พาดหัวข่าว (Headlineเป็นอักษรตัวดำหนาขนาดใหญ่ที่อยู่ส่วนบนสุดของหน้ากระดาษ มักเป็นข้อความสั้นๆ ที่สรุปสาระสำคัญที่มีอยู่ในเนื้อข่าว และถือว่าเป็นส่วนที่สะดุดตาผู้อ่าน และจูงใจผู้อ่านให้อยากรู้ว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง

2.    ความนำ (Leadอาจเรียกว่า วรรคนำหรือโปรยข่าว เป็นย่อหน้าแรกของข่าวแต่ละข่าว มักเป็นประโยคสั้น ๆ กะทัดรัด ชัดเจน เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้ติดตามอ่านข่าวนั้น ตลอดทั้งเรื่อง

3.    ภาพถ่าย (Photographsเป็นส่วนประกอบที่น่าสนใจและสำคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ เนื่องจากสามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้เป็นอย่างดี ช่วยจัดหน้าหนังสือพิมพ์ ให้น่าอ่าน และช่วยสร้างความเข้าใจเรื่องราวของข่าวได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

30.  ข้อใดเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่ได้มาจากการตัดบทความที่น่าสนใจจากหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร

(1) กฤตภาค   

(2) รูปภาพ     

(3) จุลสาร

(4) แผ่นพับ

ตอบ 1 หน้า 83200 กฤตภาค (Clippingเป็นบทความที่น่าสนใจ เหตุการณ์สำคัญ หรือเรื่องราว ต่าง ๆ ที่บรรณารักษ์เลือกตัดมาจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสาร แล้วนำมาผนึกติดกับกระดาษแข็งที่มีขนาดเท่า ๆ กัน โดยประโยชน์ของกฤตภาคคือ จะให้สารสนเทศใหม่ๆ ที่ไม่อาจ พบได้ในหนังสือทั่วไป และใช้เป็นส่วนเสริมเนื้อหาความรู้จากหนังสือให้ทันสมัย ซึ่งวิธีการจัดเก็บ กฤตภาคอาจใช้วิธีจัดเก็บเดียวกับจุลสาร นั่นคือ จัดเก็บโดยกำหนดหัวเรื่อง แล้วนำหัวเรื่อง เดียวกันเก็บใส่แฟ้ม ปิดป้ายชื่อหัวเรื่องที่แฟ้ม จากนั้นนำไปเก็บไว้ในตู้เก็บเอกสารเรียงตาม ลำดับอักษรหัวเรื่อง

31.  ข้อใดเป็นหน้าสำคัญที่สุดของหนังสือ ใช้ประโยชน์ในการทำบันทึกหลักฐานประกอบการค้นคว้าที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้น ๆ อย่างสมบูรณ์

(1)   หน้าชื่อเรื่อง     

(2) หน้าปกใน  

(3) หน้าลิขสิทธิ์

(4) หน้าบรรณานุกรม

ตอบ 2 หน้า 73 – 75 หน้าปกใน (Title Pageเป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญที่สุดของหนังสือ เพราะให้รายละเอียดทางบรรณานุกรมเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้น ๆ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ได้แก่ ชื่อเรื่อง ชื่อรองหรือสวนขยายชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ครั้งที่พิมพ์หรือฉบับพิมพ์ และลักษณะของ การพิมพ์ (สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ และปีที่พิมพ์)

32. ส่วนใดของหนังสือที่เป็นบัญชีคำ จัดเรียงตามลำดับอักษรพร้อมระบุเลขหน้าที่คำนั้นๆ ปรากฏอยู่

(1)   อภิธานศัพท์    

(2) เชิงอรรถ    

(3) ดรรชนี      

(4) สารบัญ

ตอบ 3 หน้า 81 ดรรชนี (Indexเป็นบัญชีคำหรือหัวข้อเรื่องย่อย ๆ ที่ปรากฏในหนังสือ โดยมีการจัดเรียงคำตามลำดับอักษรพร้อมระบุเลขหน้าที่คำหรือข้อความนั้นปรากฏอยู่ โดยทั่วไป ดรรชนีมักอยู่ท้ายเล่มของหนังสือ นอกจากหนังสือบางประเภท เช่น สารานุกรม จะมีดรรชนี แยกเป็นอีกเล่มหนึ่งต่างหาก ทั้งนี้ดรรชนีจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้อ่านค้นหาเรื่องที่ต้องการ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วว่าอยู่ที่หน้าใดของหนังสือ

33.  ข้อใดเป็นส่วนที่เพิ่มเติมจากเนื้อเรื่องซึ่งไม่สามารถที่จะนำไปเขียนไว้ในเนื้อเรื่องได้ เนื่องจากจะทำให้เนื้อหาขาดตอน แต่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องซึ่งผู้อานควรจะได้ทราบ

(1)   บรรณานุกรม   

(2) ดรรชนี      

(3) อภิธานศัพท์

(4) ภาคผนวก

ตอบ 4 หน้า 80338 ภาคผนวก (Appendixเป็นส่วนที่จัดไว้ท้ายเล่มของหนังสือหรืออยู่ในตอนท้ายของรายงาน เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมนอกเหนือจากส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง เช่น ตาราง แผนภูมิ แบบสอบถาม แผนสถิติ ภาพหรือข้อมูลที่ช่วยเสริมเนื้อหาบางตอนของหนังสือหรือรายงานให้สมบูรณ์และทันสมัยขึ้น

34.  ข้อใดไม่ใช่ความหมายของหนังสืออ้างอิง

(1)   แหล่งสรรพความรู้มีเนื้อหาหลายประเภทหลายสาชาวิชา

(2)   รวมความรู้จัดเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบตามลักษณะของความรู้พื้นฐาน

(3)   ใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศเบื้องต้น มีรูปเล่มใหญ่เป็นพิเศษ

(4)   รวบรวมข้อเท็จจริงและความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง

ตอบ 3 หน้า 70114 – 115 หนังสืออ้างอิง เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อใช้ค้นคว้าหาสารสนเทศหรือข้อเท็จจริงบางประการ หรือหาคำตอบเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากกว่าที่จะใช้อ่านตลอดทั้งเล่ม จึงเป็นหนังสือที่มีขอบเขตควาวรู้กว้างขวางในทุกแขนงวิชา มีการจัดเรียง เนื้อหาไว้อย่างเป็นระบบตามลักษณะของความรู้พื้นฐาน จัดทำขึ้นโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ ในสาชาวิชานั้น ๆโดยเฉพาะ และเป็นหนังสือที่ไม่สามารถยืมออกนอกห้องสมุดได้ โดยทั่วไป จะมีการจัดทำรูปเล่มของหนังสือด้วยความนประณีต ใช้กระดาษพิมพ์ที่มีคุณภาพดี และมักมีรูปภาพประกอบสวยงาม

35.  ข้อใดคือความหมายของคำนำทาง (Guide Word)

(1)   อักษรที่เจาะริมหน้ากระดาษหรือพิมพ์ไว้ที่สันหนังสือ

(2)   คำที่ปรากฏอยู่กลางหน้าของพจนานุกรมหรือสารานุกรม

(3)   คำที่ปรากฎอยู่ที่ส่วนบนสุดทางซ้ายและขวามือแต่ละหน้า

(4)   ส่วนที่ชี้แนะให้ไปอ่านเรื่องที่ต้องการจากรายการอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตอบ 2 หน้า 115 คำนำทาง (Guide Word/Running Wordคือ คำหรืออักษรที่ปรากฏอยู่ตรงกลาง หน้ากระดาษหรืออยู่มุมหน้ากระดาษทุกหน้า โดยเฉพาะหนังสือประเภทพจนานุกรมและ สารานุกรม เพื่อบอกให้ทราบว่าในหน้านั้น ๆ ขึ้นต้นด้วยอักษรตั้งแต่ตัวใดถึงตัวใด

36.  ข้อใดให้คำเต็มของตัวย่อ “ASEAN

(1) สารานุกรม 

(2) พจนานุกรม

(3) นามานุกรม

(4) บรรณานุกรม

ตอบ 2 หน้า 117 – 118120 พจนานุกรม (Dictionaryคือ หนังสือที่รวมคำในภาษา มีการเรียง ตามลำดับอักษร ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวสะกด วิธีการออกเสียง ชนิดของคำ ให้ความหมาย ของคำ วิธีใช้คำ คำสแลง คำที่มีความหมายเหมือนกัน คำตรงกันข้าม บางเล่มมีการให้ประวัติ ของคำ ชีวประวัติของบุคคล หรือสถานที่สำคัญ พร้อมภาพประกอบ เช่น Webster’s Third New International Dictionary of the English Language เป็นพจนานุกรมฉบับสมบูรณ์ เล่มแรกของสหรัฐอเมริกาที่รวบรวมคำศัพท์ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบันทั้งที่เป็นภาษาเขียน ภาษาพูด คำเก่าที่ล้าสมัย และคำย่อสำคัญๆ เป็นต้น

37.  ข้อใดให้สารสนเทศเกี่ยวกับ “ฉนวนกาซา (Gaza Strip)”

(1)   พจนานุกรม     

(2) หนังสือแผนที่     

(3) หนังสือนำเที่ยว

(4) สารานุกรม

ตอบ 2 หน้า 148151 – 152 หนังสือแผนที่ (Atlas หรือ Mapใช้เป็นคู่มือในการค้นข้อมูลทาง ภูมิศาสตร์เกี่ยวกับอาณาเขต สถานที่ตั้ง จำนวนผลิตผล สภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ จำนวนประชากร และรายละเอียดอื่นๆ ของประเทศหรือเมืองนั้น ๆ ซึ่งลักษณะเฉพาะของหนังสือแผนที่ก็คือ แสดงรายละเอียดทางภูมิศาสตร์โดยใช้ภาพลายเส้น เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ แทนคำอธิบายที่เป็นตัวอักษร พร้อมกับระบุมาตราส่วนที่ใช้ด้วย

38.  ข้อใดใช้เป็นมาตรฐานของการเขียนและการใช้คำในภาษาไทยในปัจจุบัน

(1)   พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525

(2)   พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

(3)   พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554

(4)   พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2556

ตอบ 3 หน้า 118 – 119(คำบรรยาย) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ถือเป็นฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุดที่ออกเผยแพร่แทบฉบับ พ.ศ. 2542 ด้งนั้นจึงนับเป็นพจนานุกรมฉบับสมบูรณ์ และทันสมัยที่สุดของประเทศไทยที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งใช้เป็นแบบฉบับหรือมาตรฐานในการเขียนหนังสือและการใช้คำในภาษาไทย โดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับคำอย่างสมบูรณ์ เช่น ตัวสะกดที่ถูกต้อง การอ่าน ออกเสียงคำยาก ชนิดของคำ ความหมายของคำ ประวัติหรือ ที่มาของคำ คำตรงกันข้ามหรือคำคู่ และวิธีใช้คำ

39.  อยากทราบใครเป็น “ประธานาธิบดีที่จนที่สุดในโลก” จะหาสารสนเทศได้จากข้อใด

(1)   Who is who in the World   

(2) Facts of the World

(3) Guinness Book of World Records

14) World Almanac

ตอบ 3 หน้า 141 The Guinness Book of World Records เป็นหนังสือคู่มือทั่วไปที่รวบรวมเรื่องราว ที่สนองความใคร่รู้ในเรื่องของความเป็นที่สุดในโลก เช่น ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด สูงที่สุด เตี้ยที่สุด ยาวที่สุด จนที่สุด ฯลฯ โดยแบ่งข้อมูลออกเป็นหัวเรื่องกว้าง ๆ พร้อมให้คำอธิบายข้อเท็จจริง อย่างสั้นๆ มีรูปภาพสีและขาวดำประกอบเป็นจำนวนมาก และให้ดรรชนีช่วยค้นเรื่องอย่างละเอียด

40.  ข้อใดคือหนังสือที่รวบรวมข้อมูลด้านตัวเลขการส่งออกทุ่งกุลาดำของไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเทศที่ส่งออกกุ้งกุลาดำอันดับ 1 ของโลกในปีที่ผ่านมา

(1)   หนังสือคู่มือ     

(2) สมพัตสร   

(3) บรรณานุกรม     

(4) สารานุกรม

ตอบ 2 หน้า 144-145 ปฏิทินเหตุการณ์รายปี สมพัตสร หรือปูมปฏิทิน (Almanacเป็นหนังสือที่รวบรวม ความรู้เบ็ดเตล็ดหลายด้านและสถิติทั่วไปในรอบหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาจนถึงปีปัจจุบันของทุกประเทศ ในโลกโดยจะให้ข้อมูลอย่างสังเขปครอบคลุมเรื่องราวเกี่ยวกับปฏิทินลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น ในรอบปี ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจการพาณ์ชย์ การเมือง สถิติต่าง ๆ ในรูปของตาราง เป็นต้น

41.  ข้อใดคือลักษณะเฉพาะของหนังสือแผนที่

(1)   แสดงรายละเอียดที่เป็นลายเส้น ใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ แทนคำอธิบาย

(2)   สิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวทั้งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและที่ปรุงแต่งขึ้น

(3)   ให้ประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคและท้องถิ่นต่าง ๆ

(4)   ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพทางภูมิศาสตร์ สถานที่น่าสนใจสำหรับการท่องเที่ยว

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

42.  ข้อใดให้รายชื่อหนังสือเกี่ยวกับ “โรคไวรัสอีโบลา หรือไข้เลือดออกอีโบลา”

(1) หนังสือสารานุกรม      

(2) หนังสือนามานุกรม

(3) หนังสือบรรณานุกรม   

(4) หนังสือดรรชนี

ตอบ 3 หน้า 164 หนังสือบรรณานุกรม (Bibliographyเป็นหนังสืออ้างอิงที่รวบรวมรายชื่อหนังสือ หรือทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ทั้งที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งที่จัดทำเป็นตัวเล่มหนังสือ หรืออาจปรากฏที่ท้ายเล่มหนังสือหรือท้ายบทแต่ละบท เพื่อทำหน้าที่ เป็นเอกสารอ้างอิง โดยบรรณานุกรมจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง ชื่อสิ่งพิมพ์หรือ ทรัพยากรสารสนเทศรูปแบบอื่น ๆ ชื่อผู้ผลิต (สำนักพิมพ์) สถานที่ผลิต ปีที่ผลิต ลักษณะรูปเล่ม และราคา บางเล่มอาจมีบรรณนิทัศน์สังเขปและบทวิจารณ์ประกอบอยู่ด้วย

43.  ข้อใดไม่ใช่ความหมายและลักษณะของการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ

(1)   การจัดเก็บหนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันถูกจัดเอาไว้ด้วยกัน และเนื้อหาใกล้เคียงกันจะอยู่ใกล้กัน

(2)   กำหนดสัญลักษณ์ใช้แทนเนื้อหา ซึ่งเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือทั้งตัวเลขและตัวอักษรผสมกัน

(3)   การจัดระบบการจัดเก็บที่สะดวกแก่การทำงานของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและการค้นหาหนังสือ

(4)   การให้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ จัดเก็บเป็นระบบเดียวกันโดยยึดเนื้อหาสาระเป็นสำคัญ

ตอบ 4 หน้า 183 – 189 ห้องสมุดโดยทั่วไปจะมีการจัดเก็บหนังสือซึ่งเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นสือสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ทั้งนี้การจัดเก็บ หนังสือจะพิจารณาเนื้อหาสาระของหนังสือเป็นสำคัญ โดยจะมีการกำหนดสัญลักษณ์ซึ่งอาจ เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือทั้งตัวเลขและตัวอักษรผสมกัน เพื่อแสดงเนื้อหาของหนังสือแต่ละประเภท และเพื่อเป็นเครื่องหมายระบุตำแหน่งของหนังสือทุกเล่มในห้องสมุด ซึ่งหนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันจะมีสัญลักษณ์เหมือนกันและวางอยู่ในที่เดียวกัน ส่วนหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์กันจะมีสัญลักษณ์ใกล้เคียงกันและวางอยู่ใกล้กัน สำหรับทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่ใช่ สื่อสิ่งพิมพ์จะจัดเก็บโดยแยกตามประเภทของทรัพยากรและกำหนดสัญลักษณ์ให้ตามความเหมาะสม

44.  ข้อใดคือสัญลักษณ์ที่ใช้เพื่อระบุตำแหน่งการจัดวางหนังสือที่แน่นอนในห้องสมุด

(1) เลขประจำหนังสือ

(2) เลขเรียกหนังสือ  

(3) เลขมาตรฐานสากล

(4) เลขหมู่หนังสือ

ตอบ 2 หน้า 194197(คำบรรยาย) เลขเรียกหนังสือ (Call Numberเป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย เฉพาะของหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด โดยเลขเรียกหนังสือที่ปรากฏบนสันหนังสือ ตอนล่างจะเป็นเครื่องชี้บอกการจัดเก็บและตำแหน่งการจัดวางหนังสือที่แน่นอนในห้องสมุด ซึ่งจะช่วยให้การจัดเรียงหนังสือบนชั้นเป็นหมวดหมู่ และทำให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นหา หนังสือเล่มที่ต้องการจากชั้นหนังสือได้อย่างรวดเร็ว

45.  ข้อใดใช้เป็นประเด็นการพิจารณาหนังสือเพื่อการจัดหมวดหมูหนังสือที่เป็นมาตรฐาน

(1)   หัวข้อสำคัญของเนื้อเรื่อง  

(2) เนื้อหาสาระ

(3) ข้อเท็จจริงของเนื้อหา  

(4) คำสำคัญของเนื้อเรื่อง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

46.  ต้องการค้นหาหนังสือเกี่ยวกับ “Arab Springการลุกฮือที่เปลี่ยนโฉมหน้าการเมืองของโลกอาหรับ”จะหาได้จากหมวดใดของการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ และแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(1)   แบบ DC หมวด 400แบบ LC หมวด H    

(2) แบบ DC หมวด 300แบบ LC หมวด J

(3) แบบ DC หมวด 600แบบ LC หมวด 

(4) แบบ DC หมวด 500แบบ LC หมวด H

ตอบ 2 หน้า 186 – 190 ระบบการจัดหมูหนังลือที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่

1.    ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้(DDC หรือ DCซึ่งจะมีการแบ่งสรรพวิทยาการ ในโลกออกเป็น 10 หมวดใหญ่ โดยมีสัญลักษณ์เป็นเลขอารบิก 3 ตัวตั้งแต่ 100 – 000 เพื่อแสดงเนื้อหาของหนังสือ

2.    ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (LCC หรือ LCจะมีภารแบ่ง สรรพวิทยาการออกเป็น 20 หมวดใหญ่ ใดยใช้อักษร – (ยกเว้น I, 0, X, Y) เป็นสัญลักษณ์แสดงเนื้อหา และจะใช้สัญลักษณ์ของการจัดหมู่หนังสือเป็นแบบผสมคือ มีทั้งตัวอักษรโรมันและเลขอารบิกผสมกัน จากโจทย์ เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์ทางด้านการเมืองหรือรัฐศาสตร์ ดังนั้นจึงมีการจัดหมู่หนังสือแบบ DC ในหมวด 300 และแบบ LC ในหมวด J

47.  ข้อใดเป็นสัญลักษณ์ช่วยให้การจัดเรียงหนังสือบนชั้นเป็นหมวดหมู่และสะดวกต่อการค้นหาหนังสือ

(1)   เลขรหัสหนังสือ 

(2) เลขประจำหนังสือ

(3) เลขเรียกหนังสือ  

(4) เลขทะเบียนหนังสือ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 44. ประกอบ

ข้อ 48. – 51.    จงพิจารณาสัญลักษณ์ต่อไปนี้

TP

1373.6

.S244

2013

48.  สัญลักษณ์นี้เรียกว่าอะไร

(1)   เลขหมู่หนังสือ  

(2) เลขเรียกหนังสือ

(3) เลขประจำหนังสือ

(4) เลขรหัสหนังสือ

ตอบ 2 หน้า 189 – 191194 – 196(คำบรรยาย) เลขเรียกหนังสือตามระบบการจัดหมู่หนังสือ แบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (LCC หรือ LCประกอบด้วย

1.    เลขหมู่หนังสือ จะใช้อักษรโรมัน – (ยกเว้น I, 0, X, Vเป็นสัญลักษณ์แสดงเนื้อหา ของหนังสือ และใช้เลขอารบิกตั้งแต่ 1 – 9999 กับทศนิยมอีกไม่จำกัดตำแหน่งในการ จัดจำแนกเรื่องของหนังสือ

2.    เลขผู้แต่ง ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลข

3.    อักษรชื่อเรื่อง เป็นพยัญชนะตัวแรกของชื่อหนังสือ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

TP และ 1373.เลขหมู่หนังสือ ซึ่งอักษร TP แสดงว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์

.S244 เลขประจำหนังสือ ประกอบด้วย เลขผู้แต่งและอักษรชื่อเรื่อง

2013 ปีที่พิมพ์ คือ ปีที่หนังสือได้รับการจัดพิมพ์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ห้องสมุดทราบความทันสมัยของหนังสือว่าเป็นหนังสือเก่าหรือใหม่

49.  สัญลักษณ์นี้เป็นรูปแบบการอัดหมวดหมู่หนังสือด้วยระบบใด

(1) ระบบ LCC 

(2) ระบบ DDC

(3) ระบบ UDC

(4) ระบบ NLM

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

50. ข้อใดคือเลขหมู่หนังสือ

(1) TP

(2) TP 1373.6

(3) TP 1373.6 .S244     

(4) TP 1373.6 .S244 2013

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ

51. หมายเลข 2013 เป็นสัญลักษณ์เพื่อสื่ออะไร 

(1) ปีที่จัดพิมพ์หนังสือ

(2) ปีที่จัดฃื้อหนังสือ 

(3) ปีแสดงความทันสมัยของหนังสือ   

(4) ปีที่ลงทะเบียนหนังสือ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ

52.  ข้อใดไม่ใช่วิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้นที่ถูกต้อง

(1) จัดเรียงหนังสือจากซ้ายมือไปขวามือ    

(2) จัดเรียงตามขนาดของหนังสือ

(3) จัดเรียงจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก      

(4) จัดเรียงตามหมวดหมู่ของหนังสือ

ตอบ 2 หน้า 194 – 195197 วิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้นในห้องสมุด จะพิจารณาจากเลขเรียก หนังสือจากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง และจะพิจารณาจัดลำดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน โดยห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอี้จะเรียงลำดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก ส่วนห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจะพิจารณาเรียงลำดับตาม ตัวอักษร – ก่อน ต่อเมื่อตัวอักษรซํ้ากันจึงค่อยเรียงลำดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก แต่ถ้าเลขหมู่ซํ้ากัน ก็ให้พิจารณาจากอักษรผู้แต่ง ถ้าอักษรผู้แต่งเหมือนกันให้พิจารณาจาก เลขประกอบอักษรผู้แต่งจากเลขน้อยไปหาเลขมาก และถ้าเลขผู้แต่งเหมือนกันอีกก็ให้พิจารณา จากอักษรชื่อเรื่อง

53.  ข้อใดเป็นวิธีการจัดเก็บวารสารฉบับย้อนหลังซึ่งเป็นวารสารเก่าแก่แต่มีคุณค่า

(1) ให้เลือกเก็บเฉพาะฉบับที่มีบทความน่าสนใจ  

(2) เอามาจัดรวมเย็บเล่มเมื่อครบปี

(3)   แปรรูปโดยเก็บไว้ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์

(4) เก็บไว้จนครบปีแล้วมัดรวมกัน

ตอบ 2 หน้า 198 – 199 วิธีการจัดเก็บวารสารมี 2 ลักษณะ ดังนี้

1.    วารสารฉบับใหม่ คือ วารสารฉบับล่าสุดที่ห้องสมุดได้รับ โดยห้องสมุดจะจัดเรียงไว้บนชั้นเอียง ตามลำดับอักษรของชื่อวารสารจากซ้ายไปขวา และติดป้ายชื่อวารสารกำกับไว้ที่ชั้นตรงกับตำแหน่งของวารสาร

2.    วารสารฉบับย้อนหลัง คือ วารสารที่ไม่ใช่ฉบับล่าสุด เพราะมีฉบับที่ใหม่กว่าพิมพ์ออกมาอีก โดยทั่วไปห้องสมุดจะจัดรวมไว้กับวารสารย้อนหลังฉบับก่อนๆ โดยนำไปเย็บรวมเป็นเล่ม เมื่อได้รับครบปีแล้ว จากนั้นให้นำไปจัดเรียงไว้บนชั้นตามลำดับอักษรของชื่อวารสาร

54.  จุลสารและกฤตภาคเป็นสิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษมีวิธีการจัดเก็บอย่างไร

(1)   กำหนดเลขหมู่ จัดเรียงไว้บนชั้นหนังสือ     

(2) จัดใส่แฟ้ม เรียงตามลำดับเลขหมู่

(3)   กำหนดหัวเรื่อง จัดใส่แฟ้ม เก็บไว้ในตู้เอกสาร     

(4) จัดเรียงรวมกัน ให้สัญลักษณ์พิเศษ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 30. ประกอบ

55.  ข้อใดไม่ใช้เป็นเครื่องมือช่วยการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ

(1)   Metadata

(2) MARC Format

(3) Card Catalog

(4) Online Catalog

ตอบ 2 หน้า 217219227 – 228234 วิธีการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด มีดังนี้

1.    สืบค้นด้วยบัตรรายการ (Card Catalogในห้องสมุด

2.    สืบค้นด้วยรายการออนไลน์ (Online Catalogซึ่งเป็นการบันทึกข้อมูลของหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดไว้ในฐานข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์

3.    สืบค้นด้วยเมต้าดาด้า (Metadataผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

56.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ Online Catalog

(1)   บันทึกรายการของหนังสือในฐานข้อมูลห้องสมุด

(2) บันทึกรายการเรียกใช้โดยคอมพิวเตอร์

(3) รายการทุกประเภทจัดเก็บผ่านทางคอมพิวเตอร์

(4) ข้อมูลที่ต้องการเรียกใช้ได้จากเมนูที่กำหนด

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 16. และ 55. ประกอบ

57.  ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาใช้ระบบใดเพื่อช่วยผู้ใช้ในการค้นหารายการหนังสือในห้องสมุด

(1)   Online Library Network     

(2)   Online Library Resources

(3) Online Information Catalog 

(4)   Online Public Access Catalog

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

58.  ท่านสามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้อย่างไร

(1) สืบค้นผ่าน WebOPAC สู่ www.lib.ru.ac.th     

(2)   สืบค้นผ่าน Web page สู่ OPAC

(3) สืบค้นผ่าน INNOPAC ไปยัง RAMLINET  

(4)   สืบค้นผ่าน Telnet ไปยัง R.uLibrary

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

59.  ข้อใดไม่เป็นวิธีการหาหนังสือในห้องสมุดโดยวิธีการสืบค้นผ่านออนไลน์

(1)   ผู้ใช้ป้อนคำหรือหัวข้อเรื่องที่ต้องการสืบค้น จะปรากฎผลการสืบค้นได้ผ่านทางจอภาพ

(2)   ให้ดูสถานภาพของหนังสือด้วยว่าอยู่บนชั้นพร้อมให้บริการสามารถยืมออกได้หรือไม่

(3)   ผู้สืบค้นมีทางเลือกในการสืบค้นหลายทาง ให้เลือกทางเลือกในการสืบค้น และพิมพ์คำค้นลงไป

(4)   เมื่อสืบค้นข้อมูลบรรณานุกรมได้แล้ว ต้องจด Call Number เพื่อไปหาหนังสือบนชั้นในห้องสมุด

ตอบ 2 หน้า 227 – 228(คำบรรยาย) ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลผ่านรายการออนไลน์ด้วยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบ OPAC ได้จากหลาย ๆ ทางเลือก โดยใช้คำสั่งจากเมนูหลักของ บัตรรายการออนไลน์ ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง (Author)ชื่อเรื่อง (Title)หัวเรื่อง (Subject Heading)คำสำคัญ (Keyword)เลขเรียกหนังสือ (Call Number). เลขประจำหนังสือสากล (ISBNและเลขประจำวารสาร (ISSNซึ่งเมื่อผู้ใช้เลือกทางเลือกในการสืบค้นได้แล้ว ให้พิมพ์คำค้น หรือหัวข้อเรื่องลงไป ก็จะปรากฏผลการสืบค้นข้อมูลทางบรรณานุกรมผ่านทางจอภาพ จากนั้นให้ผู้ใช้จดเลขเรียกหนังสือ (Call Numberเพื่อไปหาหนังสือบนชั้นในห้องสมุด

60.  การสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะจาก WWW จะต้องใช้ปัจจัยข้อใด เพื่อนำไปสู่การสืบค้นที่มีประสิทธิภาพ      

(1) Search Engine

(2)   Metadata     

(3) Dublin Core Project      

(4) Internet

ตอบ 2 หน้า 217234245 เมต้าดาต้า (Metadataคือ การลงรายการทางบรรณานุกรมสำหรับ การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือ เว็บไซต์ โดยจะให้รายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศที่มีมากมายมหาศาลบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต เพื่อช่วยจัดการข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ทำให้การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ มีประสิทธิภาพและมีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ

61.  การใช้หัวเรื่อง (Subject Headingsเพื่อค้นหาทรัพยากรสารสนเทศจะใช้เมื่อใด

(1)   เมื่อไม่แน่ใจว่าประเด็นสำคัญของเอกสารคืออะไร

(2)   เมื่อไม่เข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ของเนื้อเรื่อง

(3)   เมื่อจำเลขมาตรฐานสากลของหนังสือ (ISBNไม่ได้

(4)   เมื่อไม่ทราบชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศ

ตอบ 4 หน้า 251 การใช้หัวเรื่องเพื่อค้นหาสารสนเทศที่ต้องการ ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักไม่ทราบชื่อผู้แต่ง หรือชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศ ดังนั้นผู้ใช้จึงจำเป็นต้องค้นหาหัวข้อเรื่องที่ต้องการโดยใช้ หัวเรื่องซึ่งเป็นคำ วลี หรือชื่อเฉพาะต่างๆ ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือแต่ละเล่ม ส่วนการสืบค้นสารสนเทศในฐานข้อมูลจะใช้คำสำคัญ (Keywordในการค้นหาเอกสาร

62.  ข้อใดไม่สามารถกำหนดเป็นคำค้น (Keywordได้

(1) ชื่อเฉพาะ   

(2) กลุ่มคำ/วลี 

(3) ภาษาถิ่น    

(4) ศัพท์เทคนิค

ตอบ 3 หน้า 262268(คำบรรยาย) การใช้หัวเรื่องค้นหาสารสนเทศทางออนไลน์ เป็นการสืบค้น สารสนเทศจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม (CDROM)ฐานข้อมูล (Databaseและการค้นคืนสารสนเทศในระบบเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Webโดยผู้ใช้มักคิดคำ ขึ้นใช้เอง เรียกว่า “คำสำคัญ” (Keywordซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้

1. เป็นคำนาม คำประสม กลุ่มคำหรือวลี ศัพท์เทคนิค และชื่อเฉพาะที่ผู้ใช้กำหนดขึ้นเองเพื่อใช้แทนเนื้อเรื่อง

2.    ควรเป็นคำที่สั้นกะทัดรัด ได้ใจความ และมีความหมายชัดเจนหรือเฉพาะเจาะจง

3.    การใช้คำสำคัญในการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ ควรใช้ในกรณีทีผู้ใช้ไม่ทราบชื่อผู้เขียน หรือชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศ ฯลฯ

63.  ข้อใดไม่ถูกต้องสำหรับลักษณะของหัวเรื่องใหญ่

(1) สามานยนาม     

(2) เป็นคำประสม     

(3) เป็นคำเฉพาะ     

(4) เป็นคำพูดเดียว

ตอบ 4 หน้า 252 – 254(คำบรรยาย) การกำหนดคำค้นที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่มีลักษณะดังนี้

1.    คำนามคำเดียวหรือคำโดด (คำสามานยนาม) เช่น ปลา นก คอมพิวเตอร์ ฯลฯ

2.    คำประสมที่เป็นคำนาม 2 คำเชื่อมด้วย “andกับ”และ” ที่มีเนื้อหาสาระสองด้าน คล้อยตามไปในทางเดียวกัน เช่น อิทธิพลและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

3. คำประสมที่เป็นคำนาม 2 คำซึ่งมีเนื้อหาค้านกัน เช่น ศาสนาและวิทยาศาสตร์ ความดีและความชั่ว ฯลฯ

4.    คำนามที่ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาคและคำคุณศัพท์ที่ขยายคำแรกให้สื่อความหมายดีขึ้น เช่น เคมีวัตถุ ฯลฯ

5. กลุ่มคำหรือวลี เช่น ไก่ชนอินเตอร์ ไก่แก่แม่ปลาช่อน ไก่ย่างห้าดาว ฯลฯ

6. คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ (คำวิสามานยนาม) เช่น ชื่อบุคคล ชื่อวงดนตรื ชื่อสัตว์ ชื่แม่น้ำ ฯลฯ

64.  ข้อไดไม่จัดเป็นหัวเรื่องกลุ่มคำ

(1)   ไก่แก่แม่ปลาช่อน    

(2) ไก่ย่างห้าดาว     

(3) ไก่แจ้ซารามอ    

(4) ไก่ชนอินเตอร์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ

65.  ข้อใดคือหัวเรื่องย่อยแบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์

(1)   ประเพณีการปลูกเรือน—ชาวดอย     

(2) การศึกษา—ไทย

(3)   ยุโรป—ประวัติศาสตร์—ศตวรรษที่ 19

(4) ภาษาจีน—กวางตุ้ง

ตอบ 2 หน้า 254 – 257 หัวเรื่องย่อย เป็นคำหรือวลีที่ใช้เป็นหัวเรื่องย่อยเพื่อขยายหัวเรื่องใหญ่ ให้เห็นชัดเจนหรือเฉพาะเจาะจงขึ้น โดยหัวเรื่องย่อยจะมีขีดสั้น 2 ขีด (—) อยู่ข้างหน้าคำ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1.    แบ่งตามวิธีเขียน เช่น คณิตศาสตร์—คู่มือเตรียมสอบ ฯลฯ

2.    บอกลำดับเหตุการณ์ โดยแบ่งตามปีคริสต์ศักราช ยุคสมัย หรือแผ่นดิน เช่น ไทย—ประวัติศาสตร์ไทย—กรุงศรีอยุธยา1893 – 2310 ฯลฯ

3.    แบ่งตามขอบเขตของเนิ้อหา เช่น บรรณารักษศาสตร์—การประชุมเศรษฐศาสตร์—ประวัติ ฯลฯ

4.    แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ เช่น การศึกษา—ไทยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว—ไทย ฯลฯ

66.  ข้อใดไม่ควรใช้เป็นคำค้นสำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับ “การพัฒนาธุรกิจครอบครัวสู่ธุรกิจมหาชน”

(1)   การเข้าสูตลาดหลักทรัพย์—ไทย

(2) วาณิชธนกิจ—ไทย

(3) ธุรกิจของเอกชน—การลงทุน      

(4) ธุรกิจครอบครัว—ไทย

ตอบ 3 (ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ) หากผู้ใช้ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ “การพัฒนาธุรกิจครอบครัวสู่ธุรกิจมหาชน” ควรเลือกใช้คำค้นจากบัญชีหัวเรื่องย่อยที่มีความหมายเฉพาะเจาะจง และเกี่ยวข้องกับเนื้อหา เช่น การเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์—ไทยวาณิชธนกิจ—ไทย,ธุรกิจครอบครัว—ไทย เป็นต้น

67.  ข้อใดไม่จัดเป็นคำเชื่อมที่ใช้ในตรรกะบูลีน (Boolean Logic)

(1)   not 

(2) with 

(3) and  

(4) or

ตอบ 2 หน้า 262268 การใช้คำสำคัญในการค้นหาสารสนเทศทางออนไลน์มีวิธีการดังนี้

1.    ใช้วิธีการสืบค้นข้อมูลเช่นเดียวกับการใช้หัวเรื่อง

2. การค้นคืนสารสนเทศอาจแสดงผล ต่างกันในแต่ละฐานข้อมูล

3. สามารถใช้คำสำคัญโดยผสมคำหัวไปกับคำวิสามานยนาม

4.    ใช้ตรรกะของบูลีน (Boolean Logicโดยใช้คำว่า และ (and)หรือ (or)ไม่ใช่ (not) เพื่อเชื่อมโยงการสืบค้นให้มีประสิทธิภาพ

68.  ข้อใดเป็นการใช้คำค้นเพื่อค้นหาสารสนเทศทางออนไลน์

(1)   การค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศจากแหล่งบริการสารสนเทศ

(2)   การค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้ร่วมกันในเครื่อข่ายสมาชิก

(3)   การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์

(4)   การค้นหาทรัพยากรสารสนเทศจากชั้นหนังสือของห้องสมุด

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 62. ประกอบ

69.  ข้อใดเป็นวิธีการเสาะแสวงหาความรู้ของมนุษย์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องต่างๆ อย่างถ่องแท้

(1)   การอ่าน  

(2) การฟัง

(3) การเสวนา  

(4) การศึกษา

ตอบ 4 หน้า 274 การศึกษา คือ การเสาะแสวงหาความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ อย่างถ่องแท้ ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทั้งทางวิชาการและเรื่องที่อยู่ในความสนใจของแต่ละ บุคคล ซึ่งจะช่วยให้บุคคลมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาได้

70.  การอ่านตำราเรียนเพื่อให้เข้าใจในเนื้อหาจะต้องใช้ทักษะการอ่านแบบใด

(1) การอ่านเพื่อประเมินค่าและวิจารณ์

(2) การอ่านเพื่อหาคำตอบ

(3) การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด 

(4) การอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้

ตอบ 3 หน้า 276 การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด เป็นจุดมุงหมายของผู้อ่านที่ต้องการข้อมูลเรื่องใด เรื่องหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง โดยผู้อ่านต้องมีสมาธิ สามารถแยกหรือรวมประเด็นหลักและ ประเด็นย่อยได้ รวมทั้งสามารถจดบันทึกจากการอ่าน ทำให้ผู้อ่านต้องใช้ทักษะหลายอย่าง ประกอบกัน ได้แก่ ทักษะการอ่าน การแยกและรวมประเด็น การสังเกต และการใช้คำหรือ ประโยค เพื่อให้สามารถหาความสัมพันธ์ของข้อความที่ต้องการเก็บรายละเอียดได้ เช่น การอ่านตำราเรียนเพื่อให้เข้าใจในเนื้อหา

71.  อ่านคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์เรื่อง “หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน” เป็นการอ่านแบบใด

(1) การอ่านแบบคร่าว ๆ   

(2) การอ่านเพื่อรับรู้ข่าวสาร

(3) การอ่านเพื่อประเมินค่าและวิจารณ์

(4) การอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้

ตอบ 2 หน้า 275 การอ่านเพื่อรับรู้ข่าวสาร เป็นการอ่านที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรืออ่านเพื่อต้องการ รู้เหตุการณ์และความเป็นไปที่เกิดขึ้นรอบตัว เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ อ่านประกาศ อ่านแจ้งความโฆษณา ฯลฯ การอ่านแบบนี้จะใช้เวลาไม่มาก มักอ่านเพื่อจับประเด็นคร่าว ๆ หรือมุ่งจับรายละเอียดก็ได้ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้อ่าน

72.  ข้อใดเป็นการอ่านที่ผู้อ่านต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน

(1) การอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้  

(2) การอ่านเพื่อรับรู้ข่าวสาร

(3) การอ่านเพื่อประเมินค่าและวิจารณ์

(4) การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด

ตอบ3 หน้า 276 การอ่านเพื่อประเมินค่าและวิจารณ์ เป็นการอ่านระดับสูง โดยผู้อ่านต้องสามารถประเมินค่าหรือวิจารณ์ข้อเขียนเหล่านั้นได้ว่าถูกต้องน่าเชื่อถือหรือไม่ มีข้อเท็จจริงหรือมีคุณค่า เพียงไร และให้แนวคิดใหม่หรือไม่ ดังนั้นการอ่านแบบนี้ผู้อ่านจึงต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ เรื่องที่อ่าน มีสมาธิในการอ่าน และมีวิจารณญาณเพื่อพินิจพิเคราะห์ข้อเขียนอย่างละเอียดลึกซึ่ง

73.  ผู้ฟังที่ดีควรมีจรรยาบรรณในการฟังคำบรรยายอย่างไร

(1) ให้ฟังคำบรรยายจากวิทยากรที่น่าเชื่อถือเท่านั้น

(2) ไม่ควรฟังเรื่องที่ยากไกลตัวเกินไป

(3) ให้ทำใจเปิดกว้างและไม่ดูหมิ่นเรื่องที่ผู้อื่นพูด 

(4) พยายามทำจิตให้นิ่งเป็นหนึ่งเดียว

ตอบ 3 หน้า 277 – 278 จรรยาบรรณของการเป็นผู้ฟังที่ดี มีดังนี้

1. เปิดใจกว้าง ไม่ดูหมิ่น เรื่องที่ผู้อื่นพูด

2. ไม่ดูหมิ่นผู้พูดว่าเป็นผู้ที่ไม่น่าเชื่อถือเพราะไม่มีคุณวุฒิหรือวัยวุฒิ

3. ไม่ดูหมิ่นตนเองว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัวเกินไป หรือเป็นเรื่องยาก ซึ่งตนเองมีทักษะความรู้น้อยเกินไป

4.    ไม่ทำจิตให้ฟุ้งซ่าน แต่ให้ทำจิตเป็นหนึ่งเดียว แล้วฟังเรื่องที่พูดตั้งแต่ต้นจนจบ

74. การสอบถามความรู้จากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ จัดเป็นวิธีการศึกษาค้นคว้าเช่นไร

(1) เดินตามเส้นทางหัวใจนักปราชณ์  

(2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(3) การสดับฟังเพื่อเป็น “พหูสูต”

(4) การเสวนาสัตบุรุษ

ตอบ 4 หน้า 278(คำบรรยาย) การไต่ถามหรือการเสวนา เป็นการเข้าไปปรึกษาเสวนาหาคำตอบ หรือขอคำชี้แนะจากผู้รู้หรือผู้มีประสบการณ์ เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและการเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน จนก่อให้เกิดความแจ่มแจ้งแห่งข้อสงสัยนั้น ดังนั้นการเสวนาจึงเป็นการออกจากตนเองไปสู่ผู้อื่น นั่นคือ เปิดประตูความคิดของตนเองไปสู่ความคิดของผู้อื่น เพื่อเรียนรู้แบ่งปัน ความรู้ที่มีในตัวตนไปสู่ความรู้ที่แจ้งชัด ดังคำของนักปราชญ์พที่ว่า บัณทิต คือ คนฉลาดที่ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาย่อมเข้าคบหาสัตบุรุษ หรือเรียกว่า “การเสวนาสัตบุรุษ”

75.  วัตถุประสงค์ของการบันทึกเรื่องราวไว้ในสื่อต่างๆ ที่มนุษย์ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณคืออะไร

(1) ผลิตสื่อสะสมไว้ในหอสมุดแห่งชาติ

(2) รักษาขั้นตอนประเพณีของมนุษยชาติ

(3) จรรโลงอารยธรรมของมนุษย์ให้คงอยู่ตลอดไป

(4) สืบค้นไม่ให้ลบเลือนหลงลืม

ตอบ 4 หน้า 278 – 279281 ด้วยเหตุที่การแสวงหาความรู้ที่ได้จากการอ่าน การฟัง หรือการไต่ถาม อาจมีการลบเลือนหรือหลงลืมได้ มนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณจึงคิดสัญลักษณ์ขึ้นแทนคำพูด และมีการบันทึกเรื่องราวไว้ในสื่อต่างๆกัน เช่น ดินเหนียว หนังสัตว์ ผ้า กระดาษ ฯลฯ ดังนั้นการจดบันทึกจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดของมนุษย์ในการสืบสานและจรรโลงเรื่องราวต่าง ๆ ไว้มิให้ถูกลบเลือนและสลายไปในที่สุด

76.  ข้อไดไม่เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้า

(1)   เกิดความรู้ รู้ความจริง เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ

(2)   เกิดปัญญาสามารถเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ได้ เข้าใจปัญหา

(3)   เกิดจิตสำนึกเข้าใจตนเองที่สัมพันธ์กับสรรพสิ่งเหนือปัญหาทั้งหลาย

(4)   เกิดความคิดนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ

ตอบ 3 หน้า 275 การคึกษาค้นคว้าเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้ของมนุษย์ ควรไปให้ถึง 3 ระดับ ได้แก่

1.    ระดับเกิดความรู้ คือ รู้ความจริง ด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ

2.    ระดับเกิดปัญญา คือ สามารถเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ได้

3.    ระดับเกิดจิตสำนึก คือ เข้าใจตนเองที่สัมพันธ์กับสรรพสิ่งทั้งหลาย แล้วนำไปเป็นประโยชน์ ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ

77.  ข้อมูลที่ได้มาจากหนังสือ ตำรา หรือจากวารสาร จัดได้ว่าเป็นข้อมูลระดับใด

(1) ระดับปฐมภูมิ      

(2) ระดับทุติยภูมิ     

(3) ระดับตติยภูมิ     

(4) ระดับฐานภูมิปัญญา

ตอบ 2 หน้า 287(คำบรรยาย) แหล่งที่มาของข้อมูลในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1.    ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sourcesเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ได้รับจากบุคคลโดยตรง เช่น ประสบการณ์ของตนเอง อัตชีวประวัติ เอกสารที่บันทึกด้วยลายมือ บันทึกส่วนตัว บทสัมภาษณ์ พระราชหัตถเลขา พระบรมราโชวาท แบบสอบถาม สุนทรพจน์ ข่าวในหนังสิอพิมพ์ ฯลฯ

2.    ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sourcesเป็นข้อมูลอันดับรองที่อ้างอิงหรือปรุงแต่งจากข้อมูลปฐมภูมิ หรือจัดเนื้อหาใหม่เพื่อสะดวกแก่การค้นคว้า เช่น หนังสืออ้างอิง ตำรา บทความจากวารสาร ฯลฯ

3.    ข้อมูลตติยภูมิ (Tertiary Sourcesเป็นข้อมูลขั้นรองลงมาที่รวบรวมขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหา ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิอีกทีหนึ่ง เช่น ข้อมูลใน CDROM ฐานข้อมูลออนไลน์ข้อมูลใน Google ฯลฯ

78.  ข้อใดเป็นขั้นตอนที่ทำเพื่อรวบรวมสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำรายงานแล้วบันทึกลงในบัตร

(1) ทำบัตรบันทึกข้อมูล    

(2) ทำบัตรบรรณานุกรม

(3) วางโครงเรื่อง      

(4) เรียบเรียงเนื้อหา

ตอบ 1 หน้า 291 – 294297 การทำบัตรบันทึกข้อมูล เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากที่มีการรวบรวม บรรณานุกรมจากแหล่งข้อมูลมาแล้ว โดยผู้ทำรายงานจะเริ่มอ่านสารสนเทศเหล่านั้น ซึ่งในขณะที่อ่านก็ให้บันทึกข้อมูลลงในบัตรไปด้วย เพื่อรวบรวมเนื้อหาสารสนเทศให้ได้มากที่สุด จากนั้นจึงนำข้อมูลจากบัตรบันทึกเหล่านั้นมาผสมผสานกับความคิดของผู้ทำรายงาน นล้วนำมาเรียบเรียงเป็นเนื้อหาของรายงานตามโครงเรื่องที่วางไว้ต่อไป

79.  ข้อใดเป็นขั้นตอนที่ต้องทำต่อจากการสำรวจแหล่งข้อมูลโดยใช้เครื่องมือค้นหาข้อมูลที่เหมาะสมแล้ว

(1) การทำบัตรบรรณานุกรม     

(2) การเรียบเรียงเนื้อหา

(3) การทำบัตรบันทึกข้อมูล      

(4) การวางโครงเรื่อง

ตอบ 1 หน้า 289(IS 103 เลขพิมพ์ 53345 หน้า 247 – 248) หลังจากที่มีการสำรวจแหล่งข้อมูล โดยใช้เครื่องมือค้นหาข้อมูลที่เหมาะสมแล้ว ผู้ทำรายงานควรบันทึกข้อมูลในรูปของบัตรบรรณานุกรม ซึ่งจุดมุ่งหมายในขั้นตอนของการทำบัตรบรรณานุกรม มีดังนี้

1.    เพื่อรวบรวมหรืออ้างอิงรายชื่อแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้า

2.    เพื่อนำมาเขียนรายการเอกสารอ้างอิง (บรรณานุกรม) ไว้ท้ายรายงาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ทำรายงานทำรายการอ้างอิงได้สะดวกขึ้น

3.    เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม

4.    เพื่อเป็นแหล่งตรวจสอบหลักฐานของข้อเท็จจริงในรายงาน

5.    เพื่อนำไปค้นหาหนังสือ วารสาร และสารสนเทศอื่น ๆ ก่อนลงมืออ่านและทำบัตรบันทึกต่อไป

80.  หลังการอ่านและบันทึกเอกสารเล่มที่ใช้ประกอบรายงาน ควรทำสิ่งใด

(1) วางโครงเรื่องและเรียบเรียงเนื้อหา  

(2) เรียบเรียงเอกสารและวางโครงเรื่อง

(3) ทำบัตรบรรณานุกรมและเรียบเรียงเนื้อหา      

(4) ทำบัตรรายการและวางโครงเรื่อง

ตอบ 1 หน้า 295297(ดูคำอธิบายข้อ 78. ประกอบ) หลังจากที่มีการอ่านข้อมูลและบันทึกเอกสาร เล่มที่ใช้ประกอบรายงานอย่างสั้น ๆ ในบัตรบันทึกแล้ว ผู้ทำรายงานจะทำการวางโครงเรื่อง ซึ่งเป็นการวางแผนเสนอเนื้อหาและสร้างกรอบความคิด เพื่อให้การเสนอเนื้อหาเป็นไปตามลำดับ ไม่สับสนวกวน โดยจะเริ่มจากการนำบัตรบันทึกข้อมูลมาจัดแยกเป็นกลุ่ม ๆ ตามลำดับให้ สัมพันธ์กัน แล้วจึงเขียนโครงเรื่องซึ่งประกอบด้วยความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อย จากนั้นก็เรียบเรียงเนื้อหาของรายงาน โดยใช้ข้อมูลจากบัตรบันทึกมาเรียบเรียงเป็นเนื้อหา ตามโครงเรื่องที่วางไว้ และหากรายงานมีเนื้อหายาวมาก ควรแบ่งเนื้อหาออกเป็นบทหรือตอน

81. การวางโครงเรื่องจะได้ความรู้จากขั้นตอนใดมากที่สุด    

(1) การรวบรวมบรรณานุกรม

(2) การเรียบเรียงเนื้อหา    

(3) การสำรวจข้อมูล 

(4) การทำบันทึกข้อมูล

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 80. ประกอบ

82. แหล่งข้อมูลใดที่นักศึกษานิยมใช้ในการเขียนรายงานในปัจจุบันมากที่สุด

(1) ระดับปฐมภูมิ      

(2) ระดับทุติยภูมิ     

(3) ระดับตติยภูมิ     

(4) ระดับฐานภูมิปัญญา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ

83.  ในกรณีที่ผู้เขียนรายงานไม่สามารถหาคำได้ดีกว่าเนื้อหาเดิมเพื่อมาเขียนรายงานควรทำอย่างไร

(1) ให้เขียนแบบถอดความ

(2) ให้เขียนแบบลอกความ

(3) ให้เขียนแบบสรุปความ

(4) ให้เขียนแบบย่อความ

ตอบ 2 หน้า 293, (IS 103 เลขพิมพ์ 53345 หน้า 257, 260 – 261) บัตรบันทึกแบบลอกความ (Quotationจะเหมาะกับข้อความหรือข้อเท็จจริงที่ชัดแจ้ง เช่น สูตรทางคณิตคาสตร์ ความหมายหรือคำนิยามในเชิงวิชาการ กวีนิพนธ์ พระบรมราชโองการ ฯลฯ โดยมีข้อควรระวัง คือ ต้องคัดลอกทุกอย่างให้เหมือนต้นฉบับ ตอนใดที่คัดลอกมาทั้งหมดให้คร่อมไว้ด้วย เครื่องหมายอัญประกาศ (“_  ”) แต่ถ้าคัดลอกมาเพียงบางส่วนให้ใช้เครื่องหมายจุด 3 จุด (…) แทนข้อความที่ละไว้ โดยใส่ไว้ก่อนหรือหลังข้อความนั้น ซึ่งบัตรบันทึกชนิดนี้จะกระทำเมื่อ

1.    ผู้ทำรายงานไม่สามารถหาคำพูดได้ดีกว่าเนื้อหาเดิม

2.    เนื้อหาเดิมได้วางระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีการไว้อย่างดีแล้วจึงไม่ควรดัดแปลง

3.    เนื้อหาเดิมบรรยายถึงแนวคิดหรือวาทะสำคัญของผู้แต่งจึงไม่ควรดัดแปลง

84.  การอ่านบทความภาษาอังกฤษจากวารสารแล้วนำมาเขียนโดยใช้คำพูดของตนเองเป็นภาษาไทย จัดเป็นการบันทึกแบบใด

(1) แบบสรุปความ    

(2) แบบถอดความ   

(3) แบบย่อความ     

(4) แบบลอกความ

ตอบ 2 หน้า 292(คำบรรยาย) บัตรบันทึกแบบถอดความหรือถ่ายความ (Paraphraseเป็นการเขียนข้อความใหม่ให้ได้ใจความและสาระสำคัญครบถ้วน รวมทั้งต้องคงความหมายและขอบเขต ของข้อมูลเดิมเอาไว้ โดยใช้สำนวนคำพูดของตนเอง ซึ่งการบันทึกข้อมูลลงบนบัตรด้วยวิธีนี้ จะช่วยอธิบายเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เช่น การถอดความจากบทร้อยกรองหรือกวีนิพนธ์ ถอดความจากบทความภาษาอังกถษเป็นภาษาไทย เป็นต้น

85.  ในกรณีผู้เขียนรายงานต้องเก็บความหรือนำความรู้ความคิดของผู้อื่นมาประกอบเนื้อหา จะต้องทำอย่างไร จึงถูกต้องตามหลักวิชาการ

(1) กล่าวคำขอบคุณในหน้าประกาศคุณูปการ   

(2) ระบุแหล่งสารสนเทศในเนื้อหา

(3) เสนอรายชื่อหนังสือในรูปของเชิงอรรถ  

(4) อ้างที่มาของแหล่งความรู้ทุกครั้ง

ตอบ 4 หน้า 297 – 298(คำบรรยาย) ขณะเรียบเรียงเนื้อหารายงาน หากต้องมีการเก็บความ อ้างใจความ หรือนำความรู้ความคิดของผู้อื่นมาประกอบเนื้อหาของรายงาน ผู้ทำรายงาน จะต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลทุกครั้ง เช่น การอ้างอิงระบบนาม-ปี (Authordate)เชิงอรรถบรรณานุกรม ฯลฯ โดยมีเหตุผลคือ เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นการให้เกียรติ และเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าของข้อมูล เป็นหลักฐานเสริมความนำเชื่อถือ เพื่อให้ผู้ที่สนใจใช้ตรวจสอบความถูกต้องและค้นคว้าเพิ่มเติมได้ และเพื่อแก้ปัญหาการลักลอบ นำความรู้ความคิดของผู้อื่นมาเป็นของตน ทั้งนี้หากผู้ทำรายงานไม่แสดงการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลจะถือว่าเป็น “การละเมิดหรือโจรกรรมทางวิชาการหรือการขโมยความคิด”

86.  ข้อใดเป็นรูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (CiteinTextที่ถูกต้องตามแบบ APA

(1) (ชื่อ-สกุลปีที่พิมพ์หน้า)   

(2) (ชื่อ-สกุล ปีที่พิมพ์ หน้า)

(3) ชื่อ-สกุลปีที่พิมพ์หน้า     

(4) ชื่อ-สกุล. ปีที่พิมพ์. หน้า

ตอบ 1 หน้า 298 การอ้างอิงระบบนาม-ปี (Authordate หรอ CiteinTextเป็นการอ้างอิงที่มาของข้อมูลไว้ในวงเล็บ โดยแทรกลงในเนื้อหาของรายงานตรงที่มีการน้าข้อความมาอ้างอิง ซื่งมีรูปแบบการอ้างอิงตามคู่มือ APA คือ (ข้อ-นามลกุลผู้แต่งปีที่,พิมพ์หน้าที่อ้างอิง) เช่น (สุดสาย ตรีวานิช2556หน้า 52) เป็นต้น

87.  ข้อใดเป็นการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาที่ถูกต้อง

(1) สุดสาย ตรีวานิช2556หน้า 52

(2) (สุดสาย ตรีวานิช 2556 ; หน้า 52)

(3) (สุดสาย ตรีวานิช2556หน้า 52)     

(4) สุดสาย ตรีวานิช. 2556. หน้า 52

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 86. บระกอบ

88.  ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

(1) ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศ     

(2) เป็นองค์ประกอบของรูปแบบรายงาน

(3) ให้แหล่งสารสนเทศที่สามารถค้นคว้าได้อีก   

(4) ป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 85. ประกอบ

89.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการคัดลอก “พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ” มาประกอบการเขียนรายงานโดยใส่ไว้ในเนื้อหา

(1)   ให้อ้างอิงที่มาของข้อมูลโดยแทรกลงไปในเนื้อหาทันที โดยอ้างอิงแบบนาม-ปี

(2)   ให้ใช้คำพูดของตนเอง แต่คงความหมายและขอบเขตเนื้อเรื่องเดิมไว้ทุกอย่าง

(3)   ให้แสดงแหล่งที่มาของข้อมูลเดิมเพื่อเป็นหลักฐานที่ใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้า

(4)   ให้คัดลอกทุกอย่างเหมือนต้นฉบับ แล้วคร่อมไว้ด้วยเครื่องหมาย “…” (อัญประกาศ)

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 83.84.85. และ 86. ประกอบ

90.  ผู้แต่งหนังสือที่มีฐานันดรศักดิ์หรือบรรดาศักดิ์ เขียนบรรณานุกรมอย่างไรจึงจะถูกต้อง

(1) สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ศ.ดร. ม.ร.ว.    

(2) เปรม ติณสูลานนท์พลเอก

(3) คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยาดร.

(4) นายแพทย์ สรวิชญ์ สุบุญร้อยเอก

ตอบ 2 หน้า 313 – 315317 – 318(คำบรรยาย) รูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมหนังสือที่ถูกต้องตามแบบแผนของคู่มือ APA คือ

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่,พิมพ์). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.

–     ในกรณีที่ผู้แต่งเป็นคนไทยและมีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ สมณศักดิ์หรือยศ ให้ลงชื่อและนามสกุลของผู้แต่ง คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,ตามด้วยฐานันดรศักดิ์หรือยศ เช่น สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ม.ร.ว. กษมา วรวรรณ ณ อยุธยาคุณหญิง เปรม ติณสูลานนท์พลเอก เป็นต้น

–     ในกรณีที่ผู้แต่งเป็นคนไทย ให้ลงชื่อและนามสกุลโดยไม่ต้องระบุคำน้าหน้าข้อบุคคล เช่น นาย/นาง/นางสาวดร.นายแพทย์ผศ./รศ. เป็นต้น

–     ในกรณีที่ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศให้ลงชื่อสกุล (Last Nameก่อน แล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาคและชื่อต้น (First Nameเช่น Newston, J.w. (2012). Exploring market opportunitiesOxford : Hart Pub.

91.  ข้อใดเป็นรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรมถูกต้องตามรูปแบบสากล

(1)   ชื่อผู้แต่งชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์ปีที่พิมพ์.

(2)   ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. สถานทีพิมพ์ : สำนักพิมพ์ปีที่พิมพ์.

(3)   ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.

(4)   ชื่อผู้แต่ง(ปีที่พิมพ์)ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์.

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 90. ประกอบ

92.  ข้อใดเป็นการเขียนบรรณานุกรมสำหรับหนังสือที่ถูกต้อง

(1) สุดสาย ตรีวานิช2556สุขาภิบาลอุตสาหกรรมอาหาร. กรุงเทพมหานคร ซีเอ็ด.

(2) สุดสาย ตรีวานิช. 2556. สุขาภิบาลอุตสาหกรรมอาหาร. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ด.

(3)   สุดสาย ตรีวานิช(2556)สุขาภิบาลอุตสาหกรรมอาหาร. กรุงเทพมหานคร ซีเอ็ด.

(4) สุดสาย ตรีวานิช. (2556). สุขาภิบาลอุตสาหกรรมอาหาร. กรุงเทพมหานคร  ซีเอ็ด.

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 90. ประกอบ

93.  การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์/เว็บไซด์ข้อใดถูกต้อง

(1) สุดสาย ตรีวานิช2556สุขาภิบาลอุตสาหกรรมอาหาร. ค้นจาก http://guru.google.co.th/guru/ เมื่อ 31 ตุลาคม 2557

(2)   สุดสาย ตรีวานิช. 2556. สุขาภิบาลอุตสาหกรรมอาหาร. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2557จาก http://guru.google.co.th/guru/

(3)   สุดสาย ตรีวานิช. (2556)สุขาภิบาลอุตสาหกรรมอาหาร. ค้นจาก http://guru.google.co.th/guru/ เมื่อ 31 ตุลาคม 2557

(4)   สุดสาย ตรีวานิช. (2556). สุขาภิบาลอุตสาหกรรมอาหาร. ค้นเมื่อ 31 ตุลาดม 2557จาก http://guru.google.co.th/guru/

ตอบ 4 หน้า 328 รูปแบบการลงรายการอ้างอิงทางบรรณานุกรมสำหรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ แหล่งข้อมูลออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตและซีดีรอม คือ ชื่อผู้แตง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ค้นเมื่อ ระบุวันที่ค้นข้อมูลที่อยู่ของเอกสาร (URL) เช่น สุดสาย ตรีวานิช. (2556). สุขาภิบาลอุตสาหกรรมอาหาร. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2557จาก http://guru.google.co.th/guru/

94.  การลงรายการทางบรรณานุกรมสำหรับหนังสือที่เขียนโดยชาวต่างชาติข้อใดถูกต้อง

(1)   Jason WNewston2012. Exploring market opportunitiesOxford Hart Pub.

(2)   Jason WNewston, (2012), Exploring market opportunitiesOxford ; Hart Pub.

(3)   Newston, J.W. (2012). Exploring market opportunitiesOxford Hart Pub.

(4)   Newston, Jason W. 2012. Exploring market opportunitiesOxford : Hart Pub.

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 90. ประกอบ

95.  การกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการทำรายงานและขอบเขตของเนื้อหาจะปรากฏที่ส่วนใดของรายงาน

(1) ส่วนประกอบตอนต้น   

(2) คำนำ

(3)   ส่วนประกอบตอนท้าย

(4) บทนำ

ตอบ 2 หน้า 336 หน้าคำนำ (Prefaceเป็นหน้าที่แจ้งให้ผู้อ่านได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการทำรายงาน ขอบเขตเนื้อหาของรายงาน และแสดงคำขอบคุณผู้ที่มีคุณูปการหรือผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการให้ข้อมูลจนทำให้การทำรายงานนั้นสำเร็จ

96. หน้าบอกตอนควรอยู่ก่อนส่วนใดของรายงาน

(1) คำนำ บทนำ

(2)   สารบัญ เนื้อหา 

(3) ภาคผนวก บรรณานุกรม    

(4) เนื้อหา ภาคผนวก

ตอบ 3 หน้า 334 – 338 ส่วนประกอบของรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้

1.    ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกนอก หน้า,ชื่อเรื่อง หน้าคำนำ หน้าสารบัญ และหน้าสารบัญตารางและภาพประกอบ โดยปกนอกและหน้าชื่อเรื่องจะใช้ข้อความเดียวกัน

2.    ส่วนที่เป็นเนื้อหา ได้แก่ ข้อความที่คัดลอกมา การอ้างอิง บันทึกเพิ่มเติม (เช่น เชิงอรรถ) ตาราง และภาพประกอบ

3.    ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ หน้าบอกตอน บรรณานุกรม ภาคผนวก และอภิธานศัพท์

97.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับส่วนที่เป็นเนื้อหาของรายงาน

(1)   รายงานขนาดยาวควรแบ่งเนื้อหาออกเป็นบทหรือตอน

(2)   การเรียบเรียงเนื้อหาในรายงานเป็นไปตามลักษณะของโครงเรื่องที่กำหนด

(3)   ต้องขออนุญาตเจ้าของผลงานก่อนเขียนเพื่ออ้างอิงอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

(4)   การเรียบเรียงเนื้อหาต้องมีการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใข้ในการแสดงเหตุผล

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 80. และ 85. ประกอบ

98.  ข้อใดที่ผู้อ่านรายงานใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง

(1) บทคัดย่อ   

(2) บรรณานุกรม     

(3) คำนำ 

(4) ภาคผนวก

ตอบ 2 (IS 103 เลขพิมพ์ 53345 หน้า 275) บรรณานุกรม เป็นส่วนที่สำคัญยิ่งของรายงาน เนื่องจาก เป็นรายการที่แสดงหลักฐานประกอบการศึกษาค้นคว้า ทำให้ผู้อ่านรายงานสามารถตรวจสอบ ข้อมูลย้อนหลังได้ ทั้งนี้รายการบรรณานุกรมจะนิยมจัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้เขียนหนังสือ หรือผู้เขียนบทความ ถ้ามีรายชื่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้เรียงลำดับภาษาไทยมาก่อน

99.  ผู้ทำรายงานควรกล่าวขอบคุณบุคคลที่ให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถามไว้ที่ส่วนใดของรายงาน

(1) หน้าคำนำ  

(2) ก่อนบทนำ 

(3) หน้าปกหลัง

(4) หน้าคำนิยม

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ

100. ข้อใดจัดเรียงส่วนประกอบของรายงานได้ถูกต้อง

(1)   หน้าชื่อเรื่อง คำนำ สารบัญ เนื้อหา บรรณานุกรม ภาคผนวก

(2)   หน้าชื่อเรื่อง สารบัญ คำนำ เนื้อหา ภาคผนวก บรรณานุกรม

(3)   หน้าชื่อเรื่อง คำนำ สารบัญ เนื้อหา ภาคผนวก บรรณานุกรม

(4)   หน้าชื่อเรือง สารบัญ คำนำ เนื้อหา บรรณานุกรม ภาคผนวก

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 96. ประกอบ

Advertisement