การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4008 กฎหมายที่ดิน

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

Advertisement

ข้อ 1. นายหนึ่งครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินแปลงหนึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2496 โดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดิน เมื่อประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ นายหนึ่งไม่ได้แจ้งการครอบครองตามที่ กฎหมายกำหนด แต่ก็ยังคงครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตลอดมา ใน พ.ศ. 2542 ได้มีประกาศ เดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน นายหนึ่งได้ไปแจ้งการครอบครองที่ดินแต่ไม่ได้ไปนำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำ การสำรวจรังวัดที่ดินจึงไม่ได้รับโฉนดที่ดิน ใน พ.ศ. 2550 นายหนึ่งได้ขายที่ดินให้แก่นายสอง โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองที่บ้านของนายหนึ่ง แล้วส่งมอบที่ดินให้นายสองครอบครอง ขณะนี้นายสองมีความจ่าเป็นจึงนำที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดิน ดังนี้ อยากทราบว่านายสองจะขอ ออกโฉนดที่ดินได้หรือไม เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 27 ตรี เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศกำหนดท้องที่และวันเริ่มต้นของการสำรวจ ตามมาตรา 58 วรรคสอง ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับโดย ไมมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 หรือผู้ซึ่งรอคำสั่งผ่อนผันจากผู้ว่าราชการจังหวัดตามมาตรา 27 ทวิ แต่ได้ ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินนั้นติดต่อมาจนถึงวันทำการสำรวจรังวัดหรือพิสูจน์สอบสวน ถ้าประสงค์จะได้ สิทธิในที่ดินนั้น ให้แจ้งการครอบครองที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ ที่ดินนั้นตั้งอยู่ภายในกำหนดเวลาสามสิบวัน นับแต่วันปิดประกาศ ถ้ามิได้แจ้งการครอบครองภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ได้มานำหรือส่งตัวแทนมานำ พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจรังวัดตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศกำหนด ให้ถือว่ายังประสงค์ จะได้สิทธิในที่ดินนั้น

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย

มาตรา 59 ทวิ ผู้ซึ่งครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันทีประมวลกฎหมายนี้ใช้ บังคับโดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ไม่รวมถึงผู้ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี ถ้ามีความจำเป็นจะขอ ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะราย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ประมวลกฎหมายนี้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าสิบไร ถ้าเกินห้าสิบไร่จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด

ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย

วินิจฉัย

ตามประมวลกฎหมาผุที่ดินมาตรา 59 ทวิ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ที่จะขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายไว้ดังนี้

1.         จะต้องเป็นผู้ครอบครองก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินช้บังคับ โดยไม่มีหนังสือสำคัญ แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 5 และรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องจากบุคคลดังกล่าวด้วย

2.         ต้องไม่ใช่ผู้ซึ่งไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี กล่าวคือ ผู้ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี จะไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามมาตรา 59 ทวิ ไม่ได้

3.         มีความจำเป็นต้องออกโฉนดที่ดิน และพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควร และต้องมีเนื้อที่ ไมเกิน 50 ไร่ ถ้าเกิน 50 ไร จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้วาราชการจังหวัด

กรณีตามอุทาหรณ์ นายสองจะขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ เห็นว่า นายหนึ่งครอบครองและ ทำประโยชน์ในที่ดินแปลงหนึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2496 โดยไมมีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดิน เมื่อประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ นายหนึ่งก็ไมได้ไปแจ้งการครอบครองตามที่กฎหมายกำหนด กรณีเช่นนี้ถือว่านายหนึ่งเป็นผู้ครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ก่อนวันที่ ใ ธันวาคม พ.ศ. 2497) โดยไมมี หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯ

ต่อมาได้ความว่า ในปี พ.ศ. 2542 ได้มีประกาศซองทางราชการเพื่อเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า นายหนึ่งได้ไปแจ้งการครอบครองที่ดิน แต่ไม่ได้ไปนำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจ รังวัดที่ดิน กรณีเช่นนี้ต้องถือว่า นายหนึ่งเป็นผู้ซึ่งได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรีแล้ว แม้นายหนึ่งจะไม่ได้ไปนำพนักงานเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจรังวัดที่ดินอันทำให้ไม่ได้รับโฉนดที่ดินตามมาตรา 58 วรรคสามก็ตาม ทั้งนี้ก็ เพราะเหตุว่าตามมาตรา 27 ตรี ใช้คำว่า หรือ” แสดงว่าปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ระหว่างให้ไปแจ้งการ ครอบครองที่ดินหรือมานำพนักงานเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจรังวัดที่ดิน ดังนั้น นายหนึ่งจึงเป็นบุคคลผู้มีสิทธิ ขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิวรรคแรก

และเมื่อในปี พ.ศ. 2550 นายหนึ่งได้ขายที่ดินให้แก่นายสอง และส่งมอบที่ดินให้นายสอง ครอบครองแล้ว กรณีนี้จึงถือว่า นายสองเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ต่อเนื่องจากนายหนึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิวรรคสอง ดังนั้น เมื่อนายสองมีความจำเป็นต้องออกโฉนดที่ดินจึงมีสิทธิขอออก โฉนดที่ดินได้เป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิวรรคแรก

สรุป นายสองขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายได้


ข้อ 2. นายอาทิตย์ได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดิน ทางราชการออกใบจองให้ในวันที่ 13 มิถุนายน 2546 ใน พ.ศ. 2549 นายอาทิตย์ได้ยกที่ดินแปลงนั้นตีใช้หนี้ให้แก่นายศุกร์ นายศุกร์ได้ดรอบครอง และทำประโยชน์ต่อมา และได้รับโฉนดที่ดินจากทางราชการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2552 ขณะนี้ นายศุกร์ต้องการจะยกที่ดินให้แก่นายพุธซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเพียงคนเดียว ดังนี้ อยากทราบว่านายศุกร์จะจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่นายพุธได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 58 ทวิ วรรคแรก วรรคสองและวรรคห้า เมื่อได้สำรวจรังวัดทำแผนที่ หรือพิสูจน์ สอบสวนการทำประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แกบุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้นครอบครอง เป็นที่ดินที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้

บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้ได้ คือ

(3) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทำประโยชน์นที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไมมีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

ภายในสิบบีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ห้าม มิให้บุคคลตามวรรคสอง (3) ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือโอนให้แก่ทบวงการเมือง องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือโอนให้แก่สหกรณ์เพื่อชำระหนี้โดยได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนสหกรณ์

พ.ร.บ. ให้ใช้ประ มวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง ที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้จับจอง แต่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตจะโอนไปไม่ได้เว้นแต่จะตกทอดโดยทางมรดก

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายอาทิตย์เป็นผู้ครอบครองที่ดินที่มีใบจอง โดยทางราชการออกใบจอง ให้ในวันที่ 13 มิถุนายน 2546 ซึ่งที่ดินที่มีใบจองนี้เป็นที่ดินที่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำ ประโยชน์แล้ว นายอาทิตย์ผู้ครอบครองจึงโอนให้ใครไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดทางมรดกตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 8 วรรคสอง

เมื่อได้ความว่า ใน พ.ศ. 2549 นายอาทิตย์ได้ยกที่ดินแปลงนั้นตีใช้หนี้ให้แก่นายศุกร์ การยกที่ดินแปลงดังกล่าวจึงเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 8 วรรคสอง ทั้งก็มิใช่เป็นการตกทอดทางมรดก แต่อย่างใด ดังนั้น แม้นายศุกร์จะได้ครอบครองและทำประโยชน์ต่อเนื่องมาก็ไม่ทำให้นายศุกร์เป็นผู้มีสิทธิ ครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน

แต่อย่างไรก็ดี การยกที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครองให้แกกันนั้น มีผลทำให้นายศุกร์ เป็นผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ภายหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2497) ซึ่งการที่ นายศุกร์ครอบครองและทำประโยชน์ต่อเนื่องมาจนไต้รับโฉนดที่ดินจากทางราชการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2552 นั้น กรณีเช่นนี้ ถือว่านายศุกร์เป็นผู้ได้รับโฉนดที่ดินเนื่องจากเป็นผู้ครอบครองที่ดินและทำประโยชน์ในที่ดินภายหลัง วันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับและไมมีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมาย ว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 วรรคสอง(3) นายศุกร์จึงอยูในบังคับ ห้ามโอนที่ดินภายในกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิวรรคห้า เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 58 ทวิวรรคห้าตอนท้าย

ดังนั้น การที่นายศุกร์ประสงค์จะจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นายพุธ จึงไม่สามารถ โอนได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิวรรคห้า เพราะเป็นการโอนภายในกำหนดเวลา 10 ปีนับแต่ ได้รับโฉนดที่ดิน ทั้งกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นของกฎหมาย เพราะมิใช่การโอนโดยการตกทอดทางมรดกแต่อย่างใด

สรุป นายศุกร์จะจดทะเบียนโอนที่ดินให้แกนายพุธไม่ได้


ข้อ3
 นายเอกและนายโทเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน 2 แปลง โดยมีเนื้อที่ติดต่อกัน นายเอกถึงแก่ความตาย โดยทายาทยังไม่ได้จดทะเบียนรับมรดก หลังจากเสร็จพิธีศพได้ 1 เดือน นายโทได้ปรึกษากับทายาท ของนายเอกว่าควรจะรวมที่ดินทั้ง 2 แปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกันเพื่อจะได้ถือโฉนดที่ดินเพียงฉบับเดียว และง่ายต่อการจดทะเบียนนิติกรรมในภายหน้า ซึ่งทายาทของนายเอกทุกคนก็เห็นด้วย ดังนี้ อยากทราบว่า กรณีดังกล่าวจะขอรวมที่ดินได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 79 “ผู้มิสิทธิในที่ดินประสงค์จะแบ่งแยกที่ดินออกเป็นหลายแปลง หรือรวมที่ดิน หลายแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกัน ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม มาตรา 71

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย ผู้ที่มีสิทธิในที่ดินสามารถขอรวมที่ดินหลายแปลงเข้าเป็นแปลง เดียวกันได้ โดยยื่นคำขอพร้อมด้วยหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 79) หากเข้าหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งการรวมที่ดินหลายแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกันมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญอยู่ 5 ประการ ซึ่งอยู่ ภายใต้คำสั่งของกรมที่ดิน ที่ 12/2500 เรื่องการรวมโฉนดที่ดิน ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 กล่าวคือ

1.         ต้องเป็นที่ดินที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ประเภทเดียวกัน เว้นแต่โฉนดแผนที่ กับโฉนดที่ดินให้รวมกันได้

2.         ต้องมิชื่อผู้ถีอกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดที่ดินเหมือนกันทุกฉบับ และยังมีชีวิตอยู่ทุกคน

3.         ต้องเป็นที่ดินที่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน ไม่มิที่ดินของผู้อื่นหรือที่สาธารณประโยชน์มาคั่นอยู่

4.         ต้องเป็นที่ดินในจังหวัดเดียวกัน แม้จะต่างตำบล ต่างอำเภอก็ให้รวมกันได้ เมื่อรวม โฉนดแล้วให้ถือว่าที่ดินส่วนใดอยูในเขตตำบลอำเภอใดมากก็ให้ใช้ตำบลและอำเภอนั้น สำหรับโฉนดที่ดินแปลงใหม่

5.         ต้องเป็นที่ดินในเขตสำนักงานที่ดินเดียวกัน

กรณีตามอุทาหรณ์ นายโทและทายาทของนายเอกจะขอรวมที่ดินได้หรือไม่นั้น เห็นว่า ที่ดิน 2 แปลงซึ่งนายโทและนายเอกเป็นเจ้าของร่วมกันนั้น ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน คือ นายโทและนายเอก เมื่อปรากฏ ตามข้อเท็จจริงว่า นายเอกได้ถึงแกความตายโดยมีทายาทของนายเอกเข้ารับมรดกในที่ดินนั้น แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน รับมรดก ในกรณีดังกล่าวนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินถึงแกความตาย อันถือว่าผู้ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน มีชีวิตอยู่ไม่ครบทุกคน จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ประการที่ 2 ของการรวมที่ดินหลายแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกัน ดังนั้น นายโทและทายาทของนายเอกจึงขอรวมที่ดินเข้าเป็นแปลงเดียวกันไม่ได้

สรุป นายโทและทายาทของนายเอกจะขอรวมที่ดินเข้าเป็นแปลงเดียวกันไม่ได้


ข้อ 4. อยากทราบว่า การขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกลงในโฉนดที่ดินกรณีเป็นผู้จัดการมรดก โดย พินัยกรรมมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คำตอบ

อธิบาย

โดยหลักแล้ว การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกอาจมีได้หลายกรณี กล่าวคือ ผู้จัดการมรดกโดย คำสั่งศาล ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม และผู้จัดการมรดกโดยมติของทายาท

สำหรับผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ถ้าต้องการจะจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกลงใน หนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดิน มีขั้นตอนการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 82 ดังนี้

1. ผู้จัดการมรดกต้องยื่นคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานต่อไปนี้

1) หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน เช่น โฉนดที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์

2)         หลักฐานการตายของเจ้ามรดก

3)         หลักฐานการเป็นผู้จัดการมรดก คือ พินัยกรรม

4)         บัญชีเครือญาติ

2.         พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน และในกรณีนี้ถือเป็นผู้จัดการมรดกโดย ทางอื่นนอกจากคำสั่งศาล คือ เป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องประกาศเป็นหนังสือก่อน มีกำหนด 30 วัน (มาตรา 81 วรรคสอง ประกอบมาตรา 82 วรรคแรก)

3.         เมื่อประกาศตาม ข้อ 2. แล้ว ถ้าไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียน ตามคำขอให้ได้เลย แต่ถ้ามีผู้โต้แย้งคัดค้านให้พนักงานเจ้าหน้าที่รอเรื่องไว้ และให้คูกรณีไปดำเนินการทางศาล หลังจากนั้น ถ้าศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดประการใด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการไปตามนั้น

ข้อ 4. อยากทราบว่า การขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกลงในโฉนดที่ดินกรณีเป็นผู้จัดการมรดก โดย พินัยกรรมมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คำตอบ

อธิบาย

โดยหลักแล้ว การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกอาจมีได้หลายกรณี กล่าวคือ ผู้จัดการมรดกโดย คำสั่งศาล ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม และผู้จัดการมรดกโดยมติของทายาท

สำหรับผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ถ้าต้องการจะจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกลงใน หนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดิน มีขั้นตอนการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 82 ดังนี้

1. ผู้จัดการมรดกต้องยื่นคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานต่อไปนี้

1) หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน เช่น โฉนดที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์

2)         หลักฐานการตายของเจ้ามรดก

3)         หลักฐานการเป็นผู้จัดการมรดก คือ พินัยกรรม

4)         บัญชีเครือญาติ

2.         พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน และในกรณีนี้ถือเป็นผู้จัดการมรดกโดย ทางอื่นนอกจากคำสั่งศาล คือ เป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องประกาศเป็นหนังสือก่อน มีกำหนด 30 วัน (มาตรา 81 วรรคสอง ประกอบมาตรา 82 วรรคแรก)

3.         เมื่อประกาศตาม ข้อ 2. แล้ว ถ้าไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียน ตามคำขอให้ได้เลย แต่ถ้ามีผู้โต้แย้งคัดค้านให้พนักงานเจ้าหน้าที่รอเรื่องไว้ และให้คูกรณีไปดำเนินการทางศาล หลังจากนั้น ถ้าศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดประการใด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการไปตามนั้น

Advertisement