การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2552

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4008 กฎหมายที่ดิน

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

Advertisement

ข้อ 1. ผู้มีสิทธิในที่ดินแต่ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ จะโอนที่ดินนั้นได้หรือไม่ ตามกฎหมายที่ดิน  

ธงคำตอบ

อธิบาย

ผู้มีสิทธิในที่ดินตามกฎหมายที่ดินแต่ยังไม่มีกรรมสิทธิ์” หรือ ผู้มีสิทธิในที่ดินโดยมีเพียง สิทธิครอบครอง” หมายถึง ผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการ ออกให้ คือ หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ใบจอง (น.ส.2)ใบไต่สวน (น.ส.5) เป็นต้น

การจะพิจารณาวาผู้มีสิทธิในที่ดินตามกฎหมายที่ดินแต่ยังไม่มีกรรมสิทธิ์จะโอนที่ดินต่อไป ได้หรือไม่ มีหลักคือ ให้พิจารณาว่าที่ดินนั้นได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วหรือไม่ ถ้ามี ก็สามารถโอนได้ตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 “ที่ดินที่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำ ประโยชน์แล้วให้โอนกันได้

ดังนั้น ผู้มีสิทธิในที่ดินตามกฎหมายที่ดินแต่ยังไม่มีกรรมสิทธิ์จะโอนที่ดินได้หรือไม่ สามารถแยกพิจารณาดังนี้

1.ที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)

หนังสือรับรองการทำประโยชน์ คือ หนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำ ประโยชน์แล้วตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 1 ดังนั้น เมื่อที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นที่ดิน ที่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว จึงสามารถโอนไห้แก่กันได้ตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 9 เว้นแต่ในบางกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติห้ามโอนไว้ เช่น ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 31 และมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เป็นต้น

2.         ที่ดินที่มีใบจอง (น.ส.2)

ใบจอง เป็นเพียงหนังสือที่แสดงว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ดินได้รับอนุญาตให้เข้าครอบครอง ที่ดินของรัฐชั่วคราว แต่ที่ดินดังกล่าวยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วจนกว่าจะได้รับ โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ดังนั้น สำหรับที่ดินที่มีใบจองหรือที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้จับจองนั้น ถ้ายังไมได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตจะโอนไม่ได้ เว้นแต่ จะตกทอดทาง มรดกตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 8 วรรคสอง

3.         ที่ดินที่มีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)

ที่ดินที่มีหลักฐานการแจ้งการครอบครองนั้น จะทำการโอนทางทะเบียนไม่ได้ เนื่องจาก ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 9 เว้นแต่จะเป็นการตกทอดทาง มรดก แต่อย่างไรก็ดี ที่ดินที่มีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง แม้จะโอนกันไม่ได้ตามกฎหมายที่ดิน แตกสามารถ โอนกันได้ตามกฎหมายแพ่งโดยการส่งมอบการครอบครองให้แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378

ดังนั้น ผู้มีสิทธิในที่ดินตามกฎหมายที่ดินแต่ยังไม่มีกรรมสิทธิ์จะโอนที่ดินให้แกกันได้เฉพาะ ที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ส่วนที่ดินที่มีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง หรือใบจอง เมื่อยังไมได้ รับคำรับรองจากนายอำเภอว่า ได้ทำประโยชน์แล้ว จึงไม่สามารถโอนให้แก่กันได้


ข้อ 2. นายเพชรครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินแปลงหนึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2493 โดยไม่มีหนังสือสำคัญ แสดงสิทธิในที่ดิน ใน พ.ศ. 2538 ได้มีประกาศเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินนายเพชรได้ไปแจ้ง การครอบครองที่ดินแต่ไม่ได้ไปนำพนักงานเจ้าหน้า ที่ทำการรังวัดที่ดินจึงไม่ได้รับโฉนดที่ดิน ใน พ.ศ. 2544 นายเพชรได้ยกที่ดินแปลงนั้นตีใช้หนี้ให้แก่นายเงิน นายเงินได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตลอดมา ขณะนี้นายเงินได้ไปยื่นคำขอออกโฉนดที่ดิน ดังนี้ อยากทราบว่า นายเงินจะขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม
 เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 27 ตรี เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศกำหนดท้องที่และวันเริ่มต้นของการสำรวจ ตามมาตรา 58 วรรคสอง ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับโดยไม่มี หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายทีดิน พ.ศ. 2497 หรือผู้ซึ่งรอคำสั่งผ่อนผันจากผู้ว่าราชการจังหวัดตามมาตรา 27 ทวิ แต่ได้ครอบครอง และทำประโยชน์นที่ดินนั้นติดต่อมาจนถึงวันทำการสำรวจรังวัดหรือพิสูจน์สอบสวน ถ้าประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้นให้แจ้งการครอบครองที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ ที่ดินนั้นตั้งอยู่ภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันปิดประกาศ ถ้ามิได้แจ้งการครอบครองภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ได้มานำหรือส่งตัวแทนมานำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการ สำรวจรังวัดตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศกำหนด ให้ถือว่ายังประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้น

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย

มาตรา 59 ทวิ ผู้ซึ่งครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้ บังคับโดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ไม่รวมถึงผู้ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี ถ้ามีความจำเป็นจะขอ ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะราย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ประมวลกฎหมายนี้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าสิบไร่ ถ้าเกินห้าสิบไร่จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย

วินิจฉัย

ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ที่จะขอออกโฉนดที่ดิน แบบเฉพาะรายไว้ดังนี้

1.         จะต้องเป็นผู้ครอบครองก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยไม่มีหนังสือสำคัญ แดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 5 และรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครอง แะทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องจากบุคคลดังกล่าวด้วย

2.         ต้องไม่ใช่ผู้ซึ่งไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี กล่าวคือ ผู้ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี จะไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามมาตรา 59 ทวิ ไม่ได้

3.         มีความจำเป็นต้องออกโฉนดที่ดิน และพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควร และต้องมีเนื้อที่ ไมเกิน 50 ไร่ ถ้าเกิน 50 ไร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด

กรณีตามอุทาหรณ์ นายเงินจะขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ เห็นว่า นายเพชรครอบครองและ ทำประโยชน์ในที่ดินแปลงหนึ่ง ตั้งแต พ.ศ. 2493 โดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน กรณีถือว่า นายเพชรเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยไม่มี หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

ต่อมาได้ความว่า ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีประกาศของทางราชการเพื่อเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ในท้องที่นั้น ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า นายเพชรได้ไปแจ้งการครอบครองที่ดินแต่ไม่ได้ไปนำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำ การสำรวจรังวัดที่ดิน กรณีเช่นนี้ต้องถือว่า นายเพชรเป็นผู้ซึ่งได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรีแล้ว แม้นายเพชรจะ ไม่ได้ไปนำพนักงานเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจรังวัดที่ดิน อันทำให้ไม่ได้รับโฉนดที่ดินตามมาตรา 58 วรรคสาม ก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่าตามมาตรา 27 ตรี ใช้คำว่า หรือ” แสดงว่า ให้ปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ระหว่าง ให้ไปแจ้งการครอบครองที่ดินหรือมานำพนักงานเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจรังวัดที่ดิน ดังนั้น นายเพชรจึงเป็น บุคคลผู้มีสิทธิขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายได้ตามมาตรา 59 ทวิ วรรคแรก

และเมื่อใน พ.ศ. 2544 นายเพชรได้ยกที่ดินแปลงดังกล่าวตีใช้หนี้ให้แก่นายเงิน กรณีจึงถือว่า นายเงินเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ต่อเนื่องมาจากนายเพชรตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิ วรรคสอง ดังนั้น นายเงินจึงสามารถนำที่ดินไปยื่นขอออกโฉนดแบบเฉพาะรายได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 ทวิ วรรคแรก เพราะต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น

สรุป นายเงินขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายได้


ข้อ 3. เมื่อ พ.ศ. 2540 นายเสือได้ขายที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก
นายสิงห์ โดยทำสัญญาซื้อขายกันเองแล้วมอบที่ดินให้นายสิงห์ครอบครอง ใน พ.ศ. 2550 นายสิงห์ได้รับ โฉนดที่ดินจากทางราชการ ขณะนี้นายสิงห์ตกลงจะขายที่ดินนั้นให้แกนางนก ดังนี้ อยากทราบว่า นายสิงห์จะจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 4 ทวิ นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ การโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา 58 ทวิ วรรคแรก วรรคสองและวรรคห้า เมื่อได้สำรวจรังวัตทำแผนที่ หรือพิสูจน์ สอบสวนการทำประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ แล้วแต่กรณีให้แกบุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้นครอบครอง เป็นที่ดินที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้

บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้ได้ คือ

(3) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทำประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และไมมีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

ภายในสิบปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ห้าม มิให้บุคคลตามวรรคสอง (3) ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือโอนให้แกทบวงการเมือง องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือโอนให้แกสหกรณ์เพื่อชำระหนี้โดยได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนสหกรณ์

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเสือขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แกนายสิงห์ โดยทำสัญญาซื้อขายกันเอง ถือเป็นการโอนที่ไมทำตามกฎหมายที่ดินมาตรา 4 ทวิ ที่กำหนดว่า การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่” การชื้อขายดังกล่าวจึงมีผลเป็นโมฆะ ส่งผลไห้นายสิงห์เป็นเพียงผู้ครอบครองโดยพลการ ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ

ซึ่งการที่นายสิงห์ครอบครองและทำประโยชน์ต่อเนื่องมาจนได้รับโฉนดจากทางราชการ ใน พ.ศ. 2550 กรณีถือว่านายสิงห์เป็นผู้ได้รับโฉนดที่ดินเนื่องจากเป็นผู้ครอบครองที่ดินและทำประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับและไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไมมีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตาม กฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (3) นายสิงห์ จึงอยู่ในบังคับที่ห้ามโอนที่ดินภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 58 ทวิ วรรคห้าตอนท้าย

ดังนั้น การที่นายสิงห์ประสงค์จะโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นางนกจึงไม่สามารถโอนได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เพราะเป็นการโอนภายในกำหนดเวลา 10 ปีนับแต่ ได้รับโฉนด ทั้งไมเข้าข้อยกเว้นของกฎหมาย เพราะไมใช่การโอนโดยตกทอดทางมรดกแต่อย่างใด

สรุป นายสิงห์จะจดทะเบียนขายที่ดินให้แกนางนกไม่ได้


ข้อ 4. นายตุลาขายที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินให้แก
นายกันยาเมื่อ พ.ศ. 2552 โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเอง แสะมอบที่ดินพร้อมโฉนดที่ดินให้แกนายกันยา ขณะนี้นายตุลาต้องการจะได้ที่ดินคืนจึงนำเงิน ค่าที่ดินไปคืนให้แกนายกันยา แสะเรียกเอาที่ดินคืน แต่นายกันยาไมยอม นายตุลาจึงตัดสินใจ จะฟ้องเรียกที่ดินคืน แต่ก่อนฟ้องได้ไปขออายัดที่ดินไว้ ดังนี้ อยากทราบว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ จะสั่งรับอายัดไว้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 83 “ผู้ใดมีส่วนได้เสียในที่ดินใดอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มี การเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ มีความประสงค์จะขออายัดที่ดิน ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอได้นำมาแสดงแล้ว ถ้าเห็นสมควรเชื่อถือ ก็ให้รับอายัดไว้มีกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ลังรับอายัด เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือวาการอายัด สิ้นสุดลง และผู้นั้นจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันอีกไมได้

ถ้าผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านว่า การอายัดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ สอบสวนพยานหลักฐานเท่าที่จำเป็น เมื่อเป็นที่เชื่อได้ว่าได้รับอายัดไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจสั่งให้ยกเลิกการอายัดนั้น และแจ้งให้ผู้ขออายัดทราบ

วินิจฉัย

การอายัด” หมายถึง การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับ ที่ดินไว้เป็นการชั่วคราวเพื่อให้มีการไปดำเนินการทางศาล ดังนั้น ถ้าที่ดินแปลงใดถูกอายัดจะมีการจดทะเบียน เกี่ยวกับที่ดินนั้นไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นการจดทะเบียนที่เป็นการปลดเปลื้องภาระผูกพัน เช่น ที่ดินที่ถูกอายัด แต่จะมีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองไถ่ถอนขายฝาก กรณีเช่นนี้ ยอมให้จดทะเบียนได้ เพราะเป็นการทำให้ที่ดินปลอดจากภาระผูกพัน

ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการอายัดไว้ดังนี้

1. ผู้ขออายัดจะต้องมีส่วนได้เสียในที่ดินโดยตรงอันอาจฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินได้

2.         พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งรับอายัดไว้ได้มีกำหนด 30 วันนับแต่วันที่สั่งรับอายัด

3.         เมื่อครบกำหนด 30 วัน แล้วผู้ขออายัดยังไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งอายัด ที่ดิน ให้ถือว่าการอายัดสิ้นสุดลง ผู้นั้นจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันนี้อีกไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ นายตุลาจะขออายัดที่ดินได้หรือไม เห็นว่า การที่นายตุลาขายที่ดินให้แก่ นายกันยาโดยทำสัญญาซื้อขายกันเอง การซื้อขายดังกล่าวถือว่าไมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 กำหนดว่า การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ” ดังนั้นเมื่อการซื้อขายระหว่างนายตุลาและนายกันยาไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงตกเป็นโมฆะ กรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงยังคงเป็นของนายตุลาอยู่ ดังนั้น เมื่อการซื้อขาย ตกเป็นโมฆะ นายตุลาจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิขออายัดที่ดินตามมาตรา 83 ได้แต่อย่างใด

สรุป พนักงานเจ้าหน้าที่จึงสั่งรับอายัดไว้ไม่ได้

Advertisement