การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4007 นิติปรัชญา

Advertisement

คําแนะนํา

ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. เพราะเหตุใดสํานักกฎหมายประวัติศาสตร์ (Historical School of Law) จึงคัดค้านไม่เห็นด้วยต่อปรัชญากฎหมายธรรมชาติทั้งในแง่วิธีคิดและการปรับใช้ซึ่งมีมิติด้านอุดมการณ์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่ต่อข้อคัดค้านดังกล่าวโดยเฉพาะเมื่ออาศัยฐานคิดของ ปรัชญากฎหมายธรรมชาติร่วมสมัย/สมัยใหม่ร่วมประกอบการพิจารณา

ธงคําตอบ

เหตุที่สํานักกฎหมายประวัติศาสตร์ (Historical School of Law) คัดค้านไม่เห็นด้วยกับ ปรัชญากฎหมายธรรมชาติทั้งในแง่วิธีคิดและการปรับใช้โดยมีมิติด้านอุดมการณ์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องนั้น เป็นเพราะแนวคิดของกฎหมายธรรมชาติสมัยใหม่ มีจุดเด่นในฐานความคิดแบบเหตุผลนิยม (มีเหตุผล) สากลนิยม (หลักสากลหรือประเทศต่าง ๆ ยอมรับ) มีการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีศีลธรรมเชิง กระบวนการ (การมีศีลธรรมภายในกฎหมายหรือเป็นกฎหมายธรรมชาติในเชิงกระบวนการ) ซึ่งนักคิดที่มีแนวความคิด ดังกล่าวที่สําคัญ คือ ลอน ฟุลเลอร์ (Lon Futter)

ลอน ฟุลเลอร์ (Lon Futter) นักคิดคนสําคัญของปรัชญากฎหมายธรรมชาติร่วมสมัย มีผลงาน เรื่อง “ศีลธรรมภายในกฎหมาย” กล่าวว่าสาระสําคัญที่ขาดไม่ได้ของกฎหมายจนกลายเป็น “วัตถุประสงค์” กํากับอยู่ก็คือความจําเป็นที่ต้องมีศีลธรรมดํารงอยู่ในกฎหมาย ดังเงื่อนไขสําคัญ 8 ประการที่ฟุลเลอร์ถือเสมือนว่า เป็นการมีศีลธรรมภายในกฎหมายหรือเป็น “กฎหมายธรรมชาติในเชิงกระบวนการ” ได้แก่

1 จะต้องมีลักษณะทั่วไป

2 จะต้องถูกตีพิมพ์เผยแพร่ให้ปรากฏแก่สาธารณะ

3 จะต้องไม่มีผลย้อนหลัง

4 จะต้องมีความชัดแจ้งและสามารถเข้าใจได้

5 จะต้องไม่เป็นการกําหนดบังคับในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

6 จะต้องไม่มีความขัดแย้งกัน

7 จะต้องมีความมั่นคง แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไป

8 จะต้องมีความกลมกลืนกันระหว่างกฎเกณฑ์ที่ถูกประกาศใช้กับการบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ อันเป็นเรื่องของความสอดคล้องระหว่างการกระทําของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและตัวบทกฎหมายที่ประกาศใช้

ส่วนสํานักกฎหมายประวัติศาสตร์ (Historical School of Law) มีแนวคิดว่า กฎหมาย ไม่ใช่สิ่งที่ผู้มีอํานาจจะกระทําตามอําเภอใจโดยพลการ แต่กฎหมายเป็นผลผลิตของสังคมที่มีรากเหง้าหยังลึก ลงไปในประวัติศาสตร์ของประชาชาติ กําเนิดและเติบโตจากประสบการณ์และหลักประพฤติทั่วไปของประชาชน ซึ่งปรากฏในรูปจารีตประเพณีหรือจิตวิญญาณร่วมของประชาชน กล่าวคือ สํานักคิดนี้อธิบายว่า กฎหมายคือ จิตวิญญาณร่วมกันของชนในชาติ และที่มาของกฎหมายคือ จารีตประเพณี นั่นเอง

เหตุผลที่แนวคิดของสํานักกฎหมายประวัติศาสตร์อธิบายเช่นนั้น เพราะพื้นฐานที่มาของเยอรมัน ในขณะนั้นได้รับอิสรภาพจากการปกครองของฝรั่งเศส ทําให้เกิดการปลุกกระแสความรักชาติด้วยอารมณ์ หัวใจ และจิตวิญญาณความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ และความพยายามสร้างกฎหมายที่กําเนิดและเกิดขึ้นมา จากประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชาติที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันของคนเยอรมัน โดยมีพื้นฐานที่เกิดขึ้นมา พร้อม ๆ กับจารีตประเพณีที่คนในชาติปฏิบัติกันมาตั้งแต่ต้น กําเนิดและเติบโตหยังลึกลงไปในจิตวิญญาณของ ชนในชาติที่พร้อมจะยึดถือและปฏิบัติร่วมกัน กฎหมายของสํานักคิดนี้จึงถือเป็นจิตวิญญาณร่วมกันของคน ในชาตินั้น และมีที่มาจากจารีตประเพณีที่มีความแตกต่างกับชาติอื่น ๆ และถือว่ากฎหมายของชาติหนึ่งจะนํา กฎหมายของอีกชาติหนึ่งมาใช้ไม่ได้

มองโดยภาพรวมแล้วแนวความคิดของสํานักกฎหมายประวัติศาสตร์ เน้นไปที่เรื่องราวของอดีต เกือบทั้งหมด แม้นกระทั่งสิ่งที่เรียกว่า “จิตสํานึกร่วมของประชาชน” (Common Consciousness of the People) การที่จะรู้ถึงจิตสํานึกร่วมของประชาชนได้ก็โดยการศึกษาถึงภูมิประวัติศาสตร์ของชนชาตินั้น ๆ เป็นสํานักที่ยกย่อง เชิดชูประวัติศาสตร์ รากฐานของสังคมในอดีต หรือการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในลักษณะอารมณ์แบบโรแมนติก (Romantic) ให้ความสําคัญกับอดีตมากเกินไปจนละเลยต่อการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม รวมถึงการละเลยถึงภูมิปัญญาของปัจเจกชน

หมายเหตุ สําหรับทัศนะของนักศึกษานั้น จะเห็นด้วยหรือไม่ต่อข้อคัดค้านดังกล่าว เป็น อิสระทางความคิดของนักศึกษา เพียงแต่การแสดงออกควรเน้นถึงจุดเด่นและจุดด้อยของความคิดอนุรักษนิยม หรือชาตินิยมทางกฎหมาย เมื่อเปรียบเทียบกับความคิดแบบสากลนิยม/มนุษยนิยมในปรัชญากฎหมายธรรมชาติ สมัยใหม่

 

ข้อ 2. สรุปอธิบายความหมายพื้นฐานของความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice) จากการพิจารณาเปรียบเทียบข้อถกเถียงเรื่องความยุติธรรมทางสังคมของรอลส์ (John Rawls) และนอซิค (Robert Nozick) ในทรรศนะของนักศึกษา เราควรยึดตัวแบบความคิดเรื่องความยุติธรรมทางสังคมของ ฝ่ายใดดังกล่าวเป็นหลักในการปรับใช้เพื่อการแก้ปัญหาสังคม เมื่อคํานึงถึงสภาพความเป็นจริงของ สังคมไทยที่มีปัญหาเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอย่างสูง

ธงคําตอบ

ความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice) หรือ “ความยุติธรรมในการแบ่งสันปันส่วน” หรือ “ความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ” เป็นเรื่องเกี่ยวข้องโดยตรงกับวิถีทางจําแนกหรือแบ่งปันสิ่งซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์ หรือสิ่งอันมีคุณค่าในสังคม (เช่น ทรัพย์สิน, รายได้, ความสุข, การได้รับความพึงพอใจ, การได้รับการศึกษา) ให้แก่สมาชิกของสังคมอย่างถูกต้องเหมาะสม หรืออย่างเป็นธรรม ทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมายสําคัญที่สุดในการ สร้างสรรค์ และคงไว้ซึ่งความสมานฉันท์/กลมกลืนของสังคมโดยรวม

สูตรต่าง ๆ ที่ใช้เป็นรากฐานหรือเกณฑ์การแบ่งสันปันส่วนนี้ ล้วนสะท้อนมาจากแนวความคิด หรือความเชื่อของนักปรัชญาแต่ละท่านซึ่งเชื่อว่าสูตรดังกล่าวจะนํามาซึ่งความสงบเรียบร้อย ความกลมกลืนหรือ ความยุติธรรมให้เกิดแก่สังคม ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวได้แก่แนวความคิดแบบอนุรักษนิยมของโรเบิร์ต นอซิค (Nozick) และแนวคิดแบบก้าวหน้าของจอห์น รอลส์ (John Rawls)

ความยุติธรรมทางสังคมแบบอนุรักษนิยม เป็นความยุติธรรมที่เน้นความสําคัญของระเบียบ แบบแผนสังคม กฎหมาย สิทธิส่วนบุคคลในแง่ของอิสรภาพ-ทรัพย์สิน ความเหมาะสมในแง่ผลงานความสามารถ หรือคุณธรรมบุคคลที่แตกต่างกัน โดยเน้นว่า บุคคลที่มีความสามารถมาก มีความขยันขันแข็งมาก มีผลงานมาก ย่อมมีรายได้-ทรัพย์สินมากกว่าบุคคลอื่น รัฐบาลไม่ควรไปเอาทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้นเพื่อมาแบ่งสันปันส่วน ให้แก่คนจน ซึ่งตัวอย่างนักคิดที่ส่งเสริมเนวคิดแบบอนุรักษนิยมนี้ ได้แก่ โรเบิร์ต นอซิค (Robert Nozick) โดย นอซิคชี้ให้เห็นว่า มนุษย์จะมีความแตกต่างกัน ความเป็นเอกเทศของคนจะแตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างกันของคน ย่อมทําให้คนมีที่มามีรายได้ที่แตกต่างกัน

ความยุติธรรมทางสังคมแบบก้าวหน้า เป็นแนวความคิดที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยมองว่าสังคมที่เป็นอยู่ไม่มีความยุติธรรมในเรื่องของรายได้ความมั่งคั่งต่าง ๆ ดังนั้นความยุติธรรมทางสังคม แบบก้าวหน้าจึงเน้นเรื่องความเสมอภาคหรือความต้องการอันจําเป็นที่เสมอเหมือนกันของมนุษย์ ดังนั้นรัฐหรือรัฐบาล ควรจะสนองตอบต่อความจําเป็นของมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องไปมองที่ความสามารถ ผลงาน หรือรายได้ ของบุคคล ซึ่งนักคิดที่ส่งเสริมแนวคิดแบบก้าวหน้านี้ได้แก่ จอห์น รอลส์ (John Rawls) โดยจอห์น รอลส์ มีความเห็นว่า ความยุติธรรมทางสังคมแบบอนุรักษนิยมที่มีลักษณะแบบตัวใครตัวมัน ใครดีใครได้ จะเป็นอันตราย ต่อสังคม และเขาก็ได้สรุปว่า หลักความยุติธรรมที่มนุษย์ควรได้รับจะต้องประกอบด้วยหลักการสําคัญ 2 ข้อ คือ

1 หลักอิสระเสรีภาพอันเท่าเทียม กล่าวคือ มนุษย์แต่ละคนจําต้องมีสิทธิเท่าเทียมกัน ในเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างมากที่สุด ซึ่งเทียบเคียงได้กับเสรีภาพอันคล้ายคลึงกันในบุคคลอื่น ๆ

2 หลักความเสมอภาคโอกาสอันเท่าเทียม กล่าวคือ ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ และสังคมต้องได้รับการจัดระเบียบให้เป็นธรรม

หมายเหตุ จากการพิจารณาเปรียบเทียบเรื่องความยุติธรรมทางสังคมของรอลส์ (Rawts) และนอซิค (Nozick) เราควรยึดตัวแบบความคิดเรื่องความยุติธรรมทางสังคมของฝ่ายใดเป็นหลักในการปรับใช้ เพื่อแก้ปัญหาสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมอย่างสูงนั้นเป็นอิสระทางความคิดของนักศึกษา โดยควรอธิบาย ให้เห็นว่าตัวแบบความคิดใดดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นมีแนวโน้มในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้อย่างแท้จริง

 

ข้อ 3. วิเคราะห์และวิจารณ์บทสรุปเรื่องทวิลักษณ์หรือการมีมาตรฐานสองชั้น (Double Standard) ทางกฎหมาย/อํานาจในปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิม และการเริ่มก่อตัวหรือพัฒนาวัฒนธรรม เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ/ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในสังคมไทยสมัยใหม่นับแต่ยุคสมัย ร.4 – ร.5 ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากปรัชญากฎหมายดั้งเดิมดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

ลักษณะที่สําคัญของปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิม คือ ตั้งอยู่บนกระแสความคิดพื้นฐานในลักษณะ ธรรมนิยม หลักการคือกฎหมายต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับธรรมะหรือศีลธรรม ซึ่งตั้งอยู่บนหลักพุทธธรรม พระธรรมศาสตร์ ทศพิธราชธรรม รวมทั้งหลักจตุรธรรมแห่งกฎหมายไทย อันเป็นธรรมนิยมแบบพุทธ ขณะเดียวกัน ก็ถูกทับซ้อนด้วยความคิดอํานาจนิยมที่ผูกติดกับอิทธิพลความคิดฝ่ายพราหมณ์หรือฮินดู หลักเทวราช และความเป็น จริยธรรมการเมืองแทนสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผสมผสานหรือคู่ขนานกลมกลืนกันไป ธรรมนิยมแบบพุทธจะเป็น กระแสหลักในสมัยสุโขทัย เห็นได้จากมีการแปลความธรรมะออกมาเป็นกฎหมายหรือคําสั่งของพ่อขุนรามคําแหง ส่วนธรรมนียมแบบพราหมณ์หรือแบบฮินดูก็มีอิทธิพลอย่างมากในสมัยอยุธยา เป็น ไปไม่ได้ และเมื่อพิจารณาจากภาพรวมทางความคิดแล้ว ข้าพเจ้าเห็นด้วยต่อบทสรุปเรื่องการมีมาตรฐาน สองชั้นหรือสองมาตรฐาน (Double Standard) ทางอํานาจหรือกฎหมายในปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิม ทั้งนี้เพราะ ถึงแม้ตามหลักปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิมนั้น จะตั้งอยู่บนกระแสความคิดพื้นฐานในลักษณะธรรมนิยม แต่ในขณะ เดียวกันก็ถูกทับซ้อนด้วยความคิดอํานาจนิยมที่ผูกติดกับอิทธิพลความคิดฝ่ายพราหมณ์หรือฮินดู ลัทธิเทวราช รวมทั้งแนวความคิดระบบศักดินา ซึ่งมีอิทธิพลเป็นอย่างมากในสมัยอยุธยา จนทําให้การใช้พระราชอํานาจของ พระมหากษัตริย์หรือกฎหมายในปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิมมีลักษณะเป็นมาตรฐานสองชั้นที่ซับซ้อน ตัวอย่างเช่น ในสมัยอยุธยานั้น พระราชโองการของพระมหากษัตริย์จะไม่ใช่คําสั่งของมนุษย์ผู้มีอํานาจสูงสุดในแผ่นดินอีกต่อไป แต่กลายเป็นเทวโองการที่มนุษย์ธรรมดาไม่อยู่ในฐานะที่จะขัดแย้งหรือวิจารณ์หรือแม้แต่จะแสดงความคิดเห็น ในทางใดทั้งสิ้น เป็นต้น (นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ได้อย่างอิสระ โดยให้เหตุผลที่เหมาะสม)

– สําหรับการก่อตัวหรือพัฒนาวัฒนธรรมเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อัน เท่าเทียมกันในสังคมไทยสมัยใหม่ มิได้รับอิทธิพลทางความคิดจากปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิมดังกล่าวนั้นแต่ อย่างใด แต่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากการปฏิรูปบ้านเมืองให้เป็นสมัยใหม่แบบตะวันตกตามแนวคิดเสรีนิยม ตะวันตก ความคิดพุทธศาสนาแบบมนุษยนิยม สมัย ร.4) รวมทั้งบริบทการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนับจาก การทําสัญญาเบาริงในสมัย ร.5 ที่ได้รับพลังกดดันจากอํานาจทุนภายนอก คือ มหาอํานาจตะวันตก

ซึ่งการก่อตัวหรือพัฒนาวัฒนธรรมเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ดังกล่าว ทําให้เกิดแผนการปฏิรูปสังคมไทยให้เข้าสู่แบบวิถีสังคมสมัยใหม่แบบตะวันตก และแผนปฏิรูปสังคมนับว่าเป็น เหตุที่มาของการปฏิรูปสถาบัน และองค์กรต่าง ๆ ตามมา รวมทั้งการปฏิรูประบบราชการ การคลัง และโดยเฉพาะ การปฏิรูปกฎหมาย ทําให้ปรัชญากฎหมายไทยแบบเดิมที่อิงอยู่กับพระธรรมศาสตร์ได้เสื่อมลงอย่างมาก พร้อมกันนั้น ปรัชญากฎหมายตะวันตกก็เริ่มปรากฏตัวขึ้น

 

Advertisement