การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ
ข้อ 1 แอปเปิ้ลเกิดที่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2533 จากมารดาคนสัญชาติไทยและบิดาคนสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โดยบิดาของแอปเปิ้ลนั้นเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทําวิจัยใน ประเทศไทย ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่าแอปเปิ้ลเป็นผู้ที่ได้รับสัญชาติไทยหรือไม่ อย่างไร
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2503
มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ยอมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด
(2) ผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทย โดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ ชอบด้วยกฎหมาย หรือบิดาไม่มีสัญชาติ
(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย”
พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด
(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”
มาตรา 10 “บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย”
ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 537
ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็น
(1) บุคคลผู้ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษ
(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว
(3) บุคคลผู้เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ข้อ 2 บุคคลตามข้อ 1 ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว ไม่ได้สัญชาติไทย เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและสังเฉพาะรายเป็นประการอื่น
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่แอปเปิ้ลเกิดในประเทศไทยโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยนั้น แอปเปิลจะไม่ได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (2) ทั้งนี้เพราะแอปเปิลมิใช่เป็นบุคคล ผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทย แต่แอปเปิ้ลจะได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดนตามมาตรา 7 (3)
และแม้ว่าเเอปเปิ้ลจะเกิดในปี 2533 ภายหลังจากประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผล ใช้บังคับแล้วก็ตาม แอปเปิ้ลก็ยังได้รับสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3) เช่นเดิม ทั้งนี้ เพราะไม่เข้าเงื่อนไขตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 2. ประกอบข้อ 1 (2) เพราะแม้แอปเปิ้ลจะมีบิดา เป็นคนสัญชาติญี่ปุ่น และบิดาเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราวก็ตาม แต่บิดาของแอปเปิ้ลเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เข้าเงื่อนไขของประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 (2)
และเมื่อ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ แอปเปิ้ลย่อมได้รับสัญชาติไทย ตามมาตรา 7 (1) ด้วย เพราะเป็นผู้ที่เกิดโดยมีมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร ประกอบมาตรา 10 ซึ่งบัญญัติว่า มาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้ที่เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย
สรุป
แอปเปิ้ลได้รับสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) และตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ประกอบมาตรา 10
ข้อ 2 นายสุดหล่อคนสัญชาติไทยได้ทําสัญญาซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จํานวน 100 เครื่องจากนายเอเดนคนสัญชาติอเมริกันซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ที่กรุงเทพฯ โดยทําสัญญาฉบับนี้กันที่ประเทศสิงคโปร์ และขณะทําสัญญานั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดก็อยู่ที่สิงคโปร์ เมื่อซื้อขายกันแล้วปรากฏว่าโปรเซสเซอร์ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง 100 เครื่องนั้นอยู่ในสภาพชํารุดใช้การไม่ได้ นายสุดหล่อจึงขอเปลี่ยน แต่นายเอเดนไม่ยอมเปลี่ยนให้โดยโต้แย้งว่าตนในฐานะผู้ขายไม่จําต้องรับผิดในกรณีการชํารุดที่ว่านี้ ข้อเท็จจริงปรากฏอีกว่าคู่สัญญาไม่ได้แสดงเจตนาไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายว่าจะให้ใช้กฎหมาย ของประเทศใดบังคับแก่สัญญาฉบับนี้ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า หากศาลไทยรับข้อพิพาทที่ว่านี้ไว้พิจารณา ศาลไทยควรจะนํากฎหมายของประเทศใดขึ้นปรับแก้ ข้อพิพาทที่ว่านี้ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481
มาตรา 13 วรรคหนึ่ง “ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสําหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสําคัญหรือ ผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่อาจหยังทราบเจตนาชัดแจ้งหรือโดยปริยายได้ ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน กฎหมายที่จะใช้บังคับก็ได้แก่กฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่งคู่สัญญา ถ้าคู่สัญญา ไม่มีสัญชาติอันเดียวกัน ก็ให้ใช้กฎหมาย เห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น”
วินิจฉัย
โดยหลักแล้ว การจะพิจารณาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับแก่สาระสําคัญหรือผล ของสัญญานั้น กรณีเป็นไปตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง ซึ่งอาจแยกพิจารณา เป็นกรณีตามลําดับได้ดังนี้
1 กรณีที่คู่สัญญาแสดงเจตนาไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้นํากฎหมายของประเทศใดมาใช้บังคับ ก็ให้นํากฎหมายของประเทศนั้นมาใช้บังคับ
2 กรณีที่ไม่อาจทราบเจตนาโดยชัดแจ้งหรือปริยายของคู่สัญญาเกี่ยวกับกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่สัญญา
(ก) ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติเดียวกัน ให้ใช้กฎหมายสัญชาติของคู่สัญญามาใช้บังคับ (ข) ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติเดียวกัน กรณีเช่นนี้ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้นมาใช้บังคับ
กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลไทยควรจะนํากฎหมายของประเทศใดขึ้นปรับแก่ข้อพิพาทที่ว่า นายเอเดน (ผู้ขาย) จะต้องรับผิดในความจํารุดบกพร่องในทรัพย์สิน (เครื่องคอมพิวเตอร์) ที่ซื้อขายกันเพียงใดหรือไม่ อันเป็นปัญหาในเรื่องผลของสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคู่สัญญาไม่ได้แสดงเจตนาไว้โดยชัดแจ้งหรือโดย ปริยายว่าให้นํากฎหมายประเทศใดมาใช้บังคับแก่ผลของสัญญา จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาโดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยายได้ว่าคู่สัญญาจะให้ใช้กฎหมายใดบังคับแก่ข้อพิพาทนี้ และเมื่อทั้งนายสุดหล่อและนายเอเดน คู่สัญญาก็ไม่ได้มีสัญชาติเดียวกัน กรณีเช่นนี้กฎหมายที่จะใช้บังคับจึงได้แก่ กฎหมายประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็น กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญาฉบับนี้ได้ทําขึ้นตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง
ดังนั้น หากได้ความว่าศาลไทยรับข้อพิพาทที่ว่านี้ไว้พิจารณา ศาลไทยจึงควรนํากฎหมาย ประเทศสิงคโปร์ขึ้นมาปรับใช้แก่ข้อพิพาทดังกล่าว
สรุป
ศาลไทยควรนํากฎหมายประเทศสิงคโปร์ขึ้นมาปรับใช้แก่ข้อพิพาทดังกล่าวข้างต้น
ข้อ 3 จงอธิบายความผิดอาชญากรรมคอเชิ้ตขาว (White Collar Crimes) มาโดยละเอียดพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ธงคําตอบ
ความผิดฐานอาชญากรรมคอเชิ้ตขาว (White Collar Crimes) หรืออาชญากรรมทาง เศรษฐกิจ หรือความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศ หมายถึง การกระทําความผิดที่ผู้กระทําความผิดเป็น บุคคลที่มีบุคลิกลักษณะที่น่าเชื่อถือ มีตําแหน่งหน้าที่การงาน และมีฐานะทางสังคม โดยใช้โอกาสทางวิชาชีพ ตําแหน่งหน้าที่การงาน เละฐานะชื่อเสียงของตนมาเป็นประโยชน์ในการกระทําความผิดลักษณะของการกระทําความผิดประเภทนี้นั้นจะไม่ใช่ความผิดที่มีลักษณะรุนแรงหรือน่ากลัว แต่เป็นการกระทําที่ใช้กลอุบาย และช่องว่างทางวิชาชีพในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยความเสียหาย ที่เกิดขึ้นมักมีมูลค่ามหาศาล ซึ่งจะกระทบต่อสังคมและความมั่นคงของประเทศ เช่น ความผิดฐานคอร์รัปชั่น ความผิดเกี่ยวกับการเงินการธนาคาร การยักยอก การฉ้อโกง ความผิดเกี่ยวกับภาษีอากร รวมทั้งความผิดเกี่ยวกับ การผลิตและการค้ายาเสพติด เป็นต้น
ข้อ 4 จงบอกและอธิบายมาโดยครบถ้วนถึงข้อยกเว้นเพื่อปฏิเสธไม่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนว่ามีกี่กรณี อะไรบ้าง
ธงคําตอบ
การส่งผู้ร้ายข้ามแดน คือ การที่รัฐซึ่งบุคคลนั้นไปปรากฏตัวอยู่ส่งมอบตัวผู้ต้องหา หรือ ผู้ซึ่งต้องคําพิพากษาให้ลงโทษแล้วไปยังรัฐซึ่งผู้นั้นต้องหาว่าได้กระทําความผิดอาญา หรือถูกพิพากษาให้ลงโทษ ทางอาญาแล้ว ในดินแดนของรัฐที่ขอให้ส่งตัว
โดยทั่วไปแล้ว เมื่อรัฐหนึ่งร้องขอแล้ว รัฐที่รับคําขอก็ควรจะส่งตัวให้ตามคําขอ อย่างไรก็ดี มีข้อยกเว้นอยู่ 3 กรณีที่รัฐที่รับคําขออาจปฏิเสธไม่ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ได้แก่
1 ลักษณะของความผิด กล่าวคือ หากเป็นความผิดในลักษณะต่อไปนี้ รัฐนั้นก็สามารถ ยกเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธไม่ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนได้ เช่น เป็นความผิดทางการเมือง ความผิดต่อกฎหมายพิเศษ ความผิดต่อกฎหมายการพิมพ์ ความผิดต่อศาสนา เพราะความผิดเหล่านี้มิได้ก่อให้เกิดภยันตรายต่อชีวิต ร่างกาย อันจะถือเป็นภัยร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติแต่อย่างใด และยังมีหลักสากลกําหนดไว้อีกว่า หากเป็นความผิดเหล่านี้ ห้ามส่งผู้ร้ายข้ามแดน
2 สัญชาติของผู้กระทําผิด โดยใช้หลักที่ว่าคนสัญชาติของรัฐใด ก็ควรใช้กฎหมายของรัฐนั้น ลงโทษ ถ้ามีการส่งตัวไปให้รัฐอื่นลงโทษ ก็เท่ากับว่าเป็นการยอมลดหรือสละอํานาจอธิปไตยของรัฐผู้รับคําขอ
3 ฐานะพิเศษบางประการของผู้กระทําผิด มีอยู่ 4 ประการ
1) บุคคลที่ถูกสั่งให้ปล่อยตัวแล้ว กล่าวคือ ถ้าบุคคลผู้ถูกขอให้ส่งตัวนั้นถูกศาลใด ศาลหนึ่งพิจารณาในความผิดที่ขอให้ส่งตัวมาแล้ว และศาลได้พิพากษายกฟ้องปล่อยตัวไปแล้ว หรือศาลได้ พิพากษาลงโทษและผู้นั้นได้รับโทษแล้ว รัฐผู้รับคําขอย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธการส่งตัวได้
2) มีโทษประหารชีวิตเพียงสถานเดียว ถ้าความผิดที่ขอให้ส่งตัวนั้น เป็นความผิด ที่มีโทษหนักคือโทษประหารชีวิตสถานเดียว รัฐที่รับคําขอขอบที่จะปฏิเสธการส่งตัวนั้นได้ เพราะถือหลัก มนุษยธรรมว่า รัฐไม่ควรยอมเป็นเครื่องมือช่วยรัฐอื่นโดยส่งคนที่เข้ามาอยู่ในรัฐตนไปให้รัฐอื่นประหารชีวิตเสีย
3) ความผิดที่ขัดกับหลักศีลธรรมของรัฐที่รับคําขออย่างร้ายแรง เช่น การค้าทาส รัฐที่รับคําขอย่อมปฏิเสธที่จะส่งตัวทาสไปให้รัฐที่มีคําขอได้
4) บุคคลในคณะทูต ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้ให้เอกสิทธิ์และ ความคุ้มกันทางการทูต ในการที่จะไม่ถูาฟ้องคดีอาญาในประเทศที่ไปประจําอยู่