การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ
ข้อ 1 นางสมใจเกิดที่จังหวัดอุดรธานีเมื่อปี พ.ศ. 2493 จากบิดามารดาเป็นญวนอพยพซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ต่อมานางสมใจได้อยู่กิน ฉันสามีภริยากับนายสมัยคนสัญชาติไทยโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และเกิดบุตรชาย 1 คนก่อน ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วย ว่านางสมใจและบุตรชาย 1 คนนั้นได้หรือเสียสัญชาติไทยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508
มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด
(1) ผู้เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย
(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย” ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337
“ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด บิดาหรือมารดานั้นเป็น
(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”
พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด
(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”
มาตรา 10 “บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ นางสมใจและบุตรชายได้หรือเสียสัญชาติไทยหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้
กรณีของนางสมใจ
จากข้อเท็จจริง นางสมใจเกิดในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2493 จากบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และเกิดก่อนวันที่ประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยหลักนางสมใจ ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนตามมาตรา 7 (3)
แต่เมื่อประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับแล้ว นางสมใจจะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) เพราะบิดามารดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
กรณีบุตรชายของนางสมใจ
จากข้อเท็จจริง บุตรชายของนางสมใจเกิดในประเทศไทยก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515) โดยหลักบุตรชายของนางสมใจย่อมได้ สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนตามมาตรา 7 (3)
และเมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ ย่อมมีผลทําให้บุตรชายของ นางสมใจได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ประกอบมาตรา 10 เพราะเกิดโดยมารดามีสัญชาติไทย (ขณะเกิดนางสมใจเป็นผู้มีสัญชาติไทย) แม้ว่านางสมใจจะถูกถอนสัญชาติไทยใน ภายหลังก็ตาม
สรุป
นางสมใจจะได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติฯ มาตรา 7 (3) แต่จะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1.(3) ส่วนบุตรชายของนางสมใจจะได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ประกอบมาตรา 10
ข้อ 2 นายโฮคนสัญชาติเกาหลีมีถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายในประเทศฟิลิปปินส์ได้สละสัญชาติเกาหลี และได้รับสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต่อมานายโฮถูกถอนสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 โดยในขณะเดียวกันนั้นเองเกิดคดีขึ้นสู่ศาลไทย และประเด็นข้อพิพาทมีว่านายโฮมีความสามารถ ทํานิติกรรมซื้อเครื่องเชื่อมโลหะจํานวน 10 เครื่องจากนายวันชัยที่กรุงเทพฯ หรือไม่ ให้ท่านวินิจฉัย พร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า ศาลไทยควรนํากฎหมายใดขึ้นปรับเป็นหลักในการ พิจารณาและวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทฯ ที่ว่านี้
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481
มาตรา 6 วรรคสาม “สําหรับบุคคลผู้ไร้สัญชาติ ให้ใช้กฎหมายภูมิลําเนาของบุคคลนั้นบังคับ ถ้าภูมิลําเนาของบุคคลนั้นไม่ปรากฏ ให้ใช้กฎหมายของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่บังคับ”
มาตรา 10 วรรคหนึ่ง “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อมเป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า ศาลไทยควรนํากฎหมายใดขึ้นปรับเป็นหลักใน การพิจารณาและวินิจฉัย เห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทที่ว่า นายโฮจะมีความสามารถทํานิติกรรมซื้อเครื่องเชื่อมโลหะ จากนายวันชัยที่กรุงเทพฯ ได้หรือไม่นั้น ถือเป็นเรื่องความสามารถของบุคคล ซึ่งโดยหลักแล้วย่อมเป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้นตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง
แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายโฮคนสัญชาติเกาหลีมีถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายในประเทศฟิลิปปินส์ โดยได้สละสัญชาติเกาหลีและได้รับสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ซึ่งในขณะเกิดข้อพิพาทที่ว่านี้นายโฮได้ตกเป็น บุคคลไร้สัญชาติ เพราะนายโฮได้ถูกถอนสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 ดังนี้ การจะนํากฎหมาย ประเทศใดมาปรับแก่ข้อพิพาทดังกล่าว จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 6 วรรคสาม ซึ่งมีหลักคือ
1 ถ้าปรากฏภูมิลําเนาของบุคคลผู้ไร้สัญชาติ ให้ใช้กฎหมายภูมิลําเนาของบุคคลนั้นบังคับหรือ
2 ถ้าไม่ปรากฏภูมิลําเนาของบุคคลผู้ไร้สัญชาติ ให้ใช้กฎหมายของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่บังคับ
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายโฮบุคคลไร้สัญชาติและไม่ปรากฏว่ามีภูมิลําเนาอยู่ที่ใด กรณี เช่นนี้จึงต้องใช้กฎหมายประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นกฎหมายทนายโฮมีถิ่นที่อยู่บังคับตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 มาตรา 6 วรรคสาม
ผลจึงเป็นว่า ศาลไทยจึงควรนํากฎหมายประเทศฟิลิปปินส์ขึ้นปรับเป็นหลักในการพิจารณา และวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทว่าด้วยความสามารถของนายโฮที่ว่านี้
สรุป
ศาลไทยควรนํากฎหมายประเทศฟิลิปปินส์ขึ้นปรับเป็นหลักในการพิจารณาและวินิจฉัย ประเด็นข้อพิพาทว่าด้วยความสามารถของนายโฮ
ข้อ 3 นายปิแอร์คนสัญชาติฝรั่งเศสได้ปลอมเช็คธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส และได้นําเช็คฉบับดังกล่าวมาขึ้นเงินในประเทศไทย ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่าการ กระทําของนายปิแอร์เป็นความผิดตามกฎหมายใดหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายปิแอร์คนสัญชาติฝรั่งเศสได้ปลอมเช็คธนาคารแห่งหนึ่งใน ประเทศฝรั่งเศส และได้นําเช็คฉบับดังกล่าวมาขึ้นเงินที่ประเทศไทยนั้น การกระทําของนายปิแอร์ดังกล่าวถือเป็น ความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า “White Collar Crimes” ซึ่งหมายถึง การกระทําความผิด โดยบุคคลที่แต่งตัวสะอาดโก้หรู มีตําแหน่งหน้าที่ในการทํางาน เช่น ข้าราชการ นักธุรกิจ และสมุห์บัญชี เป็นต้น
ซึ่งลักษณะของการกระทําความผิดประเภทนี้ มักเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น การทุจริต การยักยอก หรือฉ้อโกง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจและการค้าต่าง ๆ รวมตลอดถึงการขโมยหรือบิดเบือนบัญชีบริษัทหรือ ปลอมแปลงสัญญาหรือตั๋วเงิน ไม่ว่าจะเป็นตัวแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเช็ค เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พวกพ่อค้า หรือนักธุรกิจที่โกงหรือหลบเลี่ยงการเสียภาษีให้แก่รัฐ สมุห์บัญชีฉ้อโกงบริษัทที่ประกอบการธุรกิจหรือการค้าต่าง ๆ การกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าควบคุมในตลาดมืด เป็นต้น
สรุป
การกระทําของนายปิแอร์ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศ (International Fraud) ที่เรียกว่า “White Collar Crimes”
ข้อ 4 ในปัจจุบันการวินิจฉัยคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนในประเด็นแห่งคดีว่าเป็นความผิดทางการเมืองหรือไม่นั้นไม่มีหลักกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความผิดทางการเมืองบัญญัติหรือกําหนดไว้ จึงอยาก ทราบว่าการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีดังกล่าวข้างต้น มีแนวปฏิบัติของประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับการนี้ ไว้บ้างหรือไม่ อย่างไร ให้ท่านอธิบายโดย ชัดเจนและครบถ้วน
ธงคําตอบ
ในปัจจุบันการวินิจฉัยคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน ในประเด็นแห่งคดีว่าเป็นความผิดทางการเมือง หรือไม่นั้น มีแนวปฏิบัติหรือหลักการของประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับการนี้ ดังนี้
(1) ในกรณีที่ศาลที่วินิจฉัยคดีดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่มีหลักกฎหมายภายใน เกี่ยวกับความผิดทางการเมืองบัญญัติไว้โดยตรง ก็จะนําหลักกฎหมายดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย ตัวอย่างเช่น หลัก กฎหมายของประเทศฝรั่งเศสที่มีหลักว่า การจะเป็นความผิดทางการเมืองจะต้องเป็นการกระทําที่กระทบต่อ ธรรมนูญการปกครองและรัฐบาลโดยมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลง หรือล้มล้างหลักการปกครองของประเทศใน หลักใหญ่ (นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ) หรือหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษที่มีหลักว่า การจะเป็น ความผิดทางการเมืองได้นั้น จะต้องเป็นการกระทําความผิดในขณะที่ไม่มีความสงบทางการเมือง ระหว่าง คณะบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป โดยต่างฝ่ายต่างพยายามที่จะบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับระบบการปกครอง ตามที่ฝ่ายตนต้องการ เป็นต้น
(2) ในกรณีที่ศาลที่วินิจฉัยคดีดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่ไม่มีหลักกฎหมายภายใน เกี่ยวกับความผิดทางการเมืองบัญญัติไว้โดยตรง ก็ต้องอาศัยคําพิพากษาของศาลแห่งประเทศนั้นเป็นหลัก
พิจารณา ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยไม่มีหลักกฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางการเมืองไว้โดยตรง ก็ต้องอาศัย คําพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นหลักพิจารณา เพราะตามหลักกฎหมายไทยในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้นคําพิพากษา ศาลอุทธรณ์ให้ถือเป็นที่สุดทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ดังเช่น คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดี นายพลท้าวมาทิ้งระเบิดที่นครเวียงจันทน์เพื่อทําการ ดอํานาจในประเทศลาว แต่ไม่สําเร็จ จึงหนีเข้ามาใน เมืองไทยโดยขอลี้ภัยทางการเมือง แต่ทางฝ่ายรัฐบาลสาวๆอเห้รัฐบาลไทยส่งตัวนายพลท้าวมาและพรรคพวก กลับไปดําเนินคดี แต่ศาลไทยปฏิเสธไม่ยอมส่งตัวให้ โดยถือว่านายพลท้าวมาและพรรคพวกเป็นผู้ต้องหาทาง การเมือง เป็นต้น