การสอบไล่ภาคซ่อม 1 ปีการศึกษา 2551
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 4 ข้อ
แนวคำตอบ พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 อนุ 3 ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337
และประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1547, 1557
สมชายได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ตาม พ.ร.บ.สัญชาติ มาตรา 7(3) จนถึงวันที่ 14 ธันวาคม 2515 ประกาศของคณะปฏิวัติใช้บังคับ สมชายถูกถอนสัญชาติไทย ตาม ปว. ข้อ 1 แม้ภายหลังบิดาจะจดทะเบียนรับรองสมชายเป็นบุตรสัญชาติไทยของสมชายไม่กลับคืนมาอีก เพราะการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผลตั้งแต่วันจดทะเบียน (ป.พ.พ.มาตรา 1557 เดิม) (ฎีกาที่ 3120/2528) แต่เมื่อมีการแก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 1557 การที่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตรให้มีผลเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่วันที่เด็กเกิด
มีผลให้สมชายได้สัญชาติไทย ตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (มาตรา 7(1) ตั้งแต่เกิด
ข้อ 2. นายโฮคนสัญชาติเกาหลีมีถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายในประเทศฟิลิปปินส์ได้สละสัญชาติเกาหลีและได้รับสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต่อมานายโฮถูกถอนสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 โดยในขณะเดียวกันนั้นเองเกิดคดีขึ้นสู่ศาลไทย และประเด็นข้อพิพาทมีว่านายโฮมีความสามารถทำนิติกรรมซื้อเครื่องเชื่อมโลหะจำนวน 10 เครื่องจากนายวิชัยที่กรุงเทพฯ หรือไม่ ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้ง ยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่าศาลไทยควรนำกฎหมายใดขึ้นปรับเป็นหลักในการพิจารณาและวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ว่านี้แนวคำตอบ
ประเด็นข้อพิพาทที่ว่านี้เป็นเรื่องความสามารถของบุคคลซึ่ง มาตรา 10 วรรคแรก พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 กำหนดให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น
โดยเหตุที่ในขณะเกิดคดีข้อพาทที่มีประเด็นว่านายโฮมีความสามารถซื้อเครื่องเชื่อมโลหะจำนวน 10 เครื่อง จากนายวิชัยหรือไม่นั้น นายโฮตกเป็นบุคคลผู้ไร้สัญชาติเพราะถูกถอนสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 จึงต้องใช้กฎหมายประเทศฟิลลิปปินส์ซึ่งนายโฮมีถิ่นที่อยู่บังคับตาม มาตรา 6 วรรคสาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481
ผลจึงเป็นว่าศาลไทยควรนำกฎหมายประเทศฟิลลิปปินส์ขึ้นปรับเป็นหลักในการพิจารณาและวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ว่านี้
ข้อ 3. จากการที่นักศึกษาได้ศึกษาคดีนูเรมเบิร์ก (Nuremberg) ในวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญามาแล้วนั้น ความผิดฐานอาชญากรสงคราม (War Crime) คืออะไร จงอธิบาย
แนวคำตอบ
ความผิดฐานอาชญากรสงคราม (War Crime) คือ การละเมิดกฎหมายหรือประเพณีการทำสงคราม ซึ่งรวมทั้งแต่ไม่จำกัดเฉพาะการฆ่าคนตาย ทารุณกรรม หรือเนรเทศเข้าค่ายใช้งานหรือเพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่นต่อพลเมืองของหรือในอาณาเขตที่ยึดครอง ฆ่าหรือทรมานเชลยศึก หรือบุคคลในทะเลหลวง ฆ่าบุคคลที่ยึดตัวไว้เป็นประกัน ปล้นสาธารณสมบัติ หรือทรัพย์สินเอกชน ทำลายโดยปราศจากความปราณีต่อนครเมือง หมู่บ้าน หรือการทำลายโดยปราศจากความจำเป็นทางทหาร
ข้อ 4. จงบอกเหตุผลที่รัฐผู้รับคำขอสามารถจะยกขึ้นอ้างเมื่อไม่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีสัญชาติของตนมาโดยครบถ้วน
แนวคำตอบ เหตุผลที่รัฐเจ้าของสัญชาติอาจยกขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่ส่งคนของตนให้ตามคำขอคือ
1. รัฐมีหน้าที่คุ้มครองคนของตน
2. เพื่อมิให้เกิดปัญหาความไม่ยุติธรรมทางศาลหรือทางการเมือง
3. เพื่อยืนยันหลักที่ว่าพลเมืองย่อมมีสิทธิอาศัยในดินแดนที่มีสัญชาติและไม่ควรถูกเนรเทศ
4. เพื่อป้องกันปัญหาการยอมลดหรือสละอำนาจอธิปไตยของรัฐ