การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2551
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม
คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 4 ข้อ
แนวคำตอบ
ในวันพฤหัสบดี นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันให้เลิกทำงานเวลา 16.00 น. และให้ทำงานในวันศุกร์ โดยเลิกงานเวลา 18.00 น. นั้น สามารถทำได้ตามมาตรา 23 วรรคแรก และมาตรา 23 วรรคสอง กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่เกินสำหรับลูกจ้างรายวัน นายอำนาจจึงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนคือ 40
บาท คิดหนึ่งเท่าครึ่ง (40 บาทคูณ 3 หาร 2) เป็นจำนวนเงิน 60 บาท สำหรับการทำงานในวันศุกร์ระหว่างเวลา 17.00 น. ถึง 18.00 น. สำหรับนายสมคิดไม่มีสิทธิได้รับ (ดูมาตรา 23 วรรคสอง)สำหรับการทำงานล่วงเวลาในวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ถึง 22.00 น. (จำนวน 4 ชั่วโมง) จะได้รับค่าล่วงเวลาในวันทำงานตามมาตรา 61 ในอัตราหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ดังนั้น นายอำนาจจะได้รับ 240 บาท (60 บาทคูณ 4 ชั่วโมง) และนายสมคิดจะได้รับ 300 บาท (50 บาท หนึ่งเท่าครึ่งคือ 75 บาท คูณ 4 ชั่วโมง)
ข้อ 2 ประธานกรรมการบริษัท วิมานทิพย์ จำกัด ต้องการหารือท่านในฐานะทนายความประจำบริษัทฯ ในกรณีการกระทำของลูกจ้างว่าบริษัทฯ จะเลิกจ้างลูกจ้าง โดยจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างหรือไม่ อย่างไร
(ก) นายกระทิง เป็นพนักงานขับรถ บางครั้งผู้จัดการให้มาทำงานที่สำนักงานใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร แต่บางครั้งให้ไปปฏิบัติงานตามที่ผู้จัดการสั่งในจังหวัดใกล้เคียง ต่อมาบริษัทฯ มีงานก่อสร้างที่จังหวัดนนทบุรี ผู้จัดการจึงสั่งให้นายกระทิงไปทำงานที่นนทบุรีตามโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา นายกระทิงทราบคำสั่งก็ไม่ยอมไปที่จังหวัดนนทบุรี แต่ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ นับแต่มีคำสั่งเกิน 3 วันทุกวัน จึงถูกบริษัทฯ เลิกจ้าง
(ข) นางสาวอ้อย เป็นพนักงานบัญชีของบริษัทฯ มาสายถูกตักเตือนด้วยวาจา ยังมาสายอีก และถูกตักเตือนด้วยวาจาอีก ต่อมาก็ยังมาสายอีก จึงถูกตักเตือนเป็นหนังสือและถูกตัดค่าจ้าง 200 บาท นางสาวอ้อยมาสายอีก ถูกตักเตือนด้วยวาจา นางสาวอ้อยได้กล่าวว่าร้ายผู้จัดการฝ่ายบุคคล จึงถูกตักเตือนเป็นหนังสือ ต่อมา นางสาวอ้อยนำโทรศัพท์ส่วนกลางของบริษัทฯ ไปใช้โทรหาแฟน จึงถูกบริษัทฯ เลิกจ้าง
แนวคำตอบ
(ก) ฎีกาที่ 39/2545 ลูกจ้างทำงานในตำแหน่งพนักงานขับรถ บางครั้งทำงานที่สำนักงานใหญ่กรุงเทพฯ บางครั้งต้องไปปฏิบัติงานโครงการก่อสร้างตามคำสั่งนายจ้างในจังหวัดใกล้เคียง นายจ้างมีคำสั่งให้ไปทำงานที่ จ.นนทบุรี โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ลูกจ้างไม่ไป โดยไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ นับแต่มีคำสั่งจนเกิน 3 วัน การกระทำของลูกจ้างเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร กรณีนี้เป็นเหตุให้เลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(5)
(ข) ฎีกาที่ 1461/2548 ลูกจ้างมาสายถูกตักเตือนด้วยวาจา ลูกจ้างมาสายอีก ถูกตักเตือนด้วยวาจา อีกต่อมา ลูกจ้างมาสายอีก ถูกตักเตือนเป็นหนังสือและตัดค่าจ้าง 200 บาท ลูกจ้างมาสายอีกครั้ง ถูกตักเตือนด้วยวาจา ลูกจ้างก้าวร้าวผู้บังคับบัญชา ถูกตักเตือนเป็นหนังสือ ต่อมานำโทรศัพท์ส่วนกลางไปใช้ส่วนตัว การกระทำผิดในเรื่องก้าวร้าวและเรื่องใช้โทรศัพท์มิใช่การกระทำผิดซ้ำคำเตือน นายจ้างไม่สามารถนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)
ข้อ 3 ลูกจ้างของบริษัท S.C. ผลิตเหล็กกล้า จำกัด ต้องการยื่นข้อเรียกร้องให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงให้สหภาพแรงงานผู้ประกอบการผลิตเหล็กกล้าเป็นผู้แจงข้อเรียกร้องให้ขั้นตอนอยู่ในระหว่างการาเจรจานายจ้างเกิดความสงสัยว่าลูกจ้างของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้นเป็นสมาชิกสหภาพฯ ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ นายจ้างจึงทำหนังสือยื่นคำร้องให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานตรวจรับรองให้ ระหว่างนี้นายจ้างได้ทำการโยกย้ายนายสมเกียรติลูกจ้างซึ่งนายจ้างทราบว่าเป็นกรรมการสหภาพแรงงานดังกล่าวไปประจำอยู่ที่จังหวัดเชียงรายอันเป็นสาขาหนึ่งของนายจ้าง ดังนี้ หากพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานตอบกลับนายจ้างว่าจำนวนลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องไม่ครบจำนวนตามกฎหมาย ผลจะเป็นอย่างไร และการโยกย้ายหน้าที่การงาน นายสมเกียรตินั้นถือว่านายจ้างกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่
แนวคำตอบ หลักกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13, 15, 31
จากข้อเท็จจริง การเรียกร้องให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างหรือลูกจ้างสามารถทำได้ตามมาตรา 13 โดยให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องทำเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบและได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง โดยสหภาพแรงงานตามมาตรา 15 วรรคแรก กฎหมายกำหนดให้มีจำนวนสมาชิกที่เป็นลูกจ้างมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด หากนายจ้างสงสัยสามารถยื่นคำร้องให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานตรวจรับรองให้ได้ ตามมาตรา 15 วรรคสาม ในระหว่างที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13-29 ห้ามนายจ้างโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้างตามมาตรา 31 วรรคแรก แต่ตามข้อเท็จจริงระหว่างมีการเจรจาและตรวจรับรองจากเจ้าพนักงานนายจ้างสั่งโยกย้ายนายสมเกียรติไปทำงานที่ จ.เชียงราย ซึ่งจากผลการตรวจสอบของ จพง. พบว่า จำนวนลูกจ้างไม่ครบตามกฎหมายมาตรา 15 วรรคแรก ทำให้การยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างไม่สมบูรณ์ การสั่งโยกย้ายนายสมเกียรติจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายมาตรา 31
ข้อ 4 บริษัท สยามพัฒนาการโยธา จำกัด เป็นบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างทางและถนนของทางราชการ มีนายต้นเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ ตำแหน่งวิศวกรโยธา ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน ๆ ละ 20,000 บาท บริษัทฯ ได้สั่งให้นายต้นเข้าไปทำงานบริเวณที่มีการก่อสร้างถนนซึ่งต้องตัดผ่านภูเขาที่ลาดชันและมีร่องเหว ขณะทำงานเกิดพายุรุนแรง เมื่อภายหลังจากที่พายุสงบแล้วพบว่า นายต้นสูญหายไปไม่พบตัว ดังนี้ ภรรยาของนายต้นจะเรียกร้องอะไรได้บ้าง
แนวคำตอบ หลักกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2534 มาตรา 5, 16, 18(4), 18 วรรคสี่
นายต้นสูญหายไประหว่างการทำงานให้กับนายจ้าง เมื่อเกิดพายุทำให้นายต้นสูญหายไปถือว่าเป็นการสูญหายซึ่งต้องรอระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วันนับแต่วันที่เกิดเหตุตามมาตรา 5 ดังนั้น ภริยานายต้นจึงต้องรอจนถึง 120 วันก่อน และจะมีสิทธิได้รับค่าทำศพตามมาตรา 16 เป็นจำนวน 100 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันสูงสุด (203 บาท) คือ 20,300 บาท และมีสิทธิได้รับค่าทดแทนตามมาตรา 18(4) คือ ร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนมีกำหนด 8 ปี คือ 20,000 x 60 ÷ 100 = 12,000 บาท ต่อเดือนมีกำหนด 8 ปี แต่ตามมาตรา 18 วรรคสี่กำหนดให้การจ่ายค่าทดแทนต้องไม่น้อยกว่าค่าทดแทนรายเดือนต่ำสุดและไม่น้อยกว่าค่าทดแทนรายเดือนสูงสุดตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการประกาศกำหนด (เท่ากับต่ำสุด 2,000 สูงสุด 9,000 บาท) ดังนั้น ภริยานายต้นจึงได้ค่าทดแทนจำนวน 9,000 บาทต่อเดือนมีกำหนด 8 ปี