การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นายมนัสเป็นลูกจ้างทำงานมาแล้ว 4 ปี 4 เดือน ได้รับคาจ้างเดือนละ 10,000 บาท ต่อมาเกิดเหตุ โรงงานไฟไหม้เพราะเหตุสุดวิสัย นายจ้างจึงปิดกิจการชั่วคราวเป็นเวลา 5 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน แต่นายจ้างเห็นว่าต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากและใช้เวลาดำเนินการเป็นเวลานาน นายจ้างจึงแจ้งให้ นายมนัสไปทำงานกับนายสกลที่ จ.นครปฐม ซึ่งเป็นงานลักษณะเดียวกันและได้รับค่าจ้างเท่ากัน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม นายมนัสเห็นว่าการที่นายจ้างสั่งให้ย้ายการทำงานจากหัวหมากไปทำงานที่ จ.นครปฐมนั้น ส่งผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติคือ ต้องคอยดูแลบิดามารดาซึ่งชราภาพ และรับส่งบุตร นายมนัสจึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งโดยทำหนังสือบอกเลิกสัญญาต่อนายจ้างในวันที่ 5 กรกฎาคม และขอรับค่าชดเชยพิเศษเป็นจำนวนเงิน 30,000            บาท เช่นนี้ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 13 “ในกรณีที่กิจการใดมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างเนื่องจากการโอน รับมรดก หรือด้วยประการอื่นใด หรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอนหรือควบกับนิติบุคคลใด สิทธิต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมเช่นใด ให้ลูกจ้างมีสิทธิเช่นว่านั้นต่อไป และให้นายจ้างรับไป ทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ

มาตรา 75 “ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการ ชั่วคราว โดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่มิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แกลูกจ้างไมน้อยกว่าร้อยละห้าสิบของ ค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน

มาตรา 118 “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แกลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไมครบหกปี ให้จ่ายไมน้อยกว่าค่าจ้างอัตรา สุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและ ไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดของสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้าง ไมได้ทำงานและไมได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

มาตรา 120 วรรคแรก ในกรณีที่นายจ้างจะย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น อันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า ไมน้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ ในการนี้ ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วยให้ลูกจ้าง มิสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้างหรือวันที่นายจ้างย้ายสถาน-ประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ ได้รับตามมาตรา 118

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายจ้างปิดกิจการชั่วคราว เนื่องจากโรงงานไฟไหม้เพราะเหตุสุดวิสัยนั้น ถือเป็นกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดเป็นการชั่วคราวเพราะเหตุสุดวิสัยซึ่งตามกฎมายแรงงานมาตรา 75 ให้สิทธิแก่นายจ้างสามารถหยุดกิจการได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินให้แกลูกจ้างระหว่างที่นายจ้าง ไมได้ให้ลูกจ้างทำงาน

และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายจ้างได้แจ้งให้นายมนัสไปทำงานกับนายสกลในงานลักษณะ เดียวกัน และได้รับค่าจ้างเท่ากัน จึงเป็นกรณีการเปลี่ยนตัวนายจ้างตามมาตรา 13 ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ นายจ้างใหม่ คือ นายสกลรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ

ดังนั้น ตามข้อเท็จจริงจึงไม่ใช่กรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น อันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวตามมาตรา 120 วรรคแรก ซึ่งจะทำให้ ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง และมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 120 แต่อย่างใด

ดังนั้น การที่นายมนัสเห็นว่าการที่นายจ้างสั่งให้ย้ายการทำงาน ส่งผลกระทบสำคัญต่อการ ดำรงชีวิตตามปกติชองตน จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง และขอรับค่าชดเชยพิเศษเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท เท่ากันที่กำหนดไว้ในมาตรา 118(3) คือ 180 วัน ตามมาตรา 120 วรรคแรกนั้นจึงไม่ถูกต้อง เพราะกรณีดังกล่าว ไม่ใช่กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการตามมาตรา 120 และกรณีนี้ถือว่านายมนัสได้สมัครใจลาออกเอง ไม่ใช่นายจ้างเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง ดังนั้น นายมนัสจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้น

สรุป การกระทำของนายมนัสไม่ถูกต้องตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 2. นายชายและนางหญิงเป็นสามีภริยากัน ทำงานเป็นลูกจ้างได้รับค่าจ้างรันละ 240 บาท ทำงาน วันจันทร์ถึงรันศุกร์ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. นายจ้างมีความจำเป็นที่จะต้องส่งสินค้าให้ ลูกค้า ณ ต่างประเทศ จึงมีคำสั่งให้นายชายและนางหญิงมาทำงานในวันเสาร์ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 21.00 น. และให้นายชายมาทำงานในวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 12.00 น. นางหญิง เห็นว่ามีงานเยอะจะทำไม่ทันจึงมาทำงานในวันอาทิตย์ด้วย เช่นนี้จะได้รับค่าตอบแทนอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 25        ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด เว้นแต่ในกรณีที่ลักษณะหรือ

สภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแกงาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดได้เท่าที่จำเป็น

นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดได้สำหรับกิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล หรือกิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

เพื่อประโยชน์แกการผลิต การจำหน่าย และการบริการ นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานนอกจาก ที่กำหนดตามวรรคหนึ่งและวรรคสองในวันหยุดเท่าที่จำเป็น โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป

มาตรา 62 “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดตามมาตรา 28 มาตรา 29 หรือ มาตรา 30 ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แกลูกจ้างในอัตราดังต่อไปนี้

(2) สำหรับลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่า สองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

มาตรา 63 “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลา ในวันหยุดให้แกลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้าง ตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายชายและนางหญิงจะได้รับค่าตอบแทนอย่างไร เห็นว่า การที่นายจ้าง มีค่าสั่งให้นายชายและนางหญิงมาทำงานในวันเสาร์และอาทิตย์นั้นเป็นไปตามมาตรา 25 กล่าวคือ เป็นกรณีที่ นายจ้างมีความจำเป็นที่จะต้องส่งสินค้าให้ลูกค้า ณ ต่างประเทศ หากหยุดส่งจะเสียหายแก่งาน จึงต้องให้ลูกจ้าง มาทำงานในวันหยุด ดังนั้น นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แกลูกจ้าง ซึ่งพิจารณาได้ดังนี้

ตามข้อเท็จจริง นายชายและนางหญิงทำงานวันจันทร์ถึงวันศุกร์ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง

17.000  น. รวม 8 ชั่วโมง ได้รับค่าจ้างวันละ 240 บาท อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงจึงเท่ากับ 30 บาท (240 ÷ 8) เมื่อได้ความว่า นายจ้างให้นายชายและนางหญิงมาทำงานในวันเสาร์ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 21.00 น. นายชายและ นางหญิงจะได้รับค่าตอบแทน ดังนี้คือ

การทำงานตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 08.00 น. (2 ชั่วโมง) และตั้งแต่เวลา 17.00 น. ถึง

21.000 น. (4 ชั่วโมง) รวมเป็นระยะเวลา 6 ชั่วโมง นั้น ถือเป็นกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ตามมาตรา 63 นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แกนายชายและนางหญิงไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้าง ต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ เมื่อนายชายและนางหญิงได้รับค่าจ้างเฉลี่ยชั่วโมงละ 30 บาท คิดเป็นสามเท่าคือ 90 บท (30 X 3) เป็นเวลา 6 ชั่วโมง จึงคิดเป็นจำนวนเงินได้ 540 บาท (90 X 6)

ส่วนเวลาตั้งแต่ 08.00 น. ถึง 17.00 น. (8 ชั่วโมง) ถือเป็นกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งไม่มี สิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด (นายชายและนางหญิงได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน) มาทำงานในวันหยุดตามมาตรา 62(2) นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แกนายชายและนางหญิงเพิ่มจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตรา ค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำ เมื่อนายชายและนางหญิงได้รับค่าจ้างเฉลี่ยชั่วโมงละ 30 บาท คิดเป็น สองเท่าคือ 60 บาท (30 X 2) เป็นเวลา 8 ชั่วโมง จึงคิดเป็นจำนวนเงินได้ 480 บาท (60 X 8) ดังนั้น นายจ้างจะ ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่นายชายและนางหญิงจากการมาทำงานในวันเสาร์คนละ 1,020 บาท (540 + 480)

และในกรณีที่นายจ้างให้นายชายมาทำงานในวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 12.00 น. นายชายจะได้รับค่าตอบแทน ดังนี้คือ

การทำงานตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 08.00 น. (2 ชั่วโมง) ถือเป็นกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้าง ทำงานล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา 63 นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่นายชายไม่น้อยกว่าสามเท่าของ อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำ เมื่อนายชายได้รับค่าจ้างเฉลี่ยชั่วโมงละ 30 บาท คิดเป็นสามเท่า คือ 90 บาท (30 X 3) เป็นเวลา 2 ชั่วโมง จึงคิดเป็นจำนวนเงินได้180 บาท (90 X 2)

ส่วนเวลาตั้งแต่ 08.00 น. ถึง 12.00 น. (4 ชั่วโมง) ถือเป็นกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่ง ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดมาทำงานในวันหยุดตามมาตรา 62(2) นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด ให้แกนายชายเพิ่มจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำ  เมื่อนายชายได้รับค่าจ้างเฉลี่ยชั่วโมงละ 30 บาท คิดเป็นสองเท่าคือ 60 บาท (30 X 2) เป็นเวลา 4 ชั่วโมง จึงคิดเป็นจำนวนเงินได้ 240 บาท (60 X 4) ด้งนั้น นายจ้างจะต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่นายชายจากการมาทำงาน ในวันอาทิตย์เป็นจำนวน 420 บาท (180 + 240)

สำหรับนางหญิงซึ่งมาทำงานในวันอาทิตย์ด้วยนั้น เมื่อนายจ้างไม่ได้สั่งให้มาทำงาน นางหญิง ย่อมไมได้รับค่าตอบแทน เพราะถือเป็นการมาทำงานเองโดยพลการ

ด้งนั้น จากข้อเท็จจริงด้งกล่าวนายชายจะได้รับค่าตอบแทนจากการมาทำงานในวันเสาร์และ อาทิตย์รวมทั้งสิ้น 1,440 บาท (1,020 + 420) ส่วนนางหญิงจะได้รันค่าตอบแทนจากการมาทำงานในวันเสาร์เป็น จำนวน 1,020 บาท

สรุป นายชายจะได้รับค่าตอบแทนเป็นจำนวนเงิน 1,440 บาท ส่วนนางหญิงจะได้รับค่าตอบแทน เป็นจำนวนเงิน 1,020 บาท

 

ข้อ 3. นายจ้างมีคำสั่งให้นายวิศวะซึ่งเป็นลูกจ้างได้รับค่าจ้างเดือนละ 18,000 บาท ไปตรวจดูการก่อสร้างงาน ที่จังหวัดเชียงราย นายวิศวะนั่งรถทัวร์คืนวันศุกร์เวลา 21.00 น. จากกรุงเทพฯ ไป จ.เชียงราย นายวิศวะได้ดื่มสุราและหลับไม่ได้สติ ปรากฏว่ารถทัวร์พลิกคว่ำทำให้นายวิศวะได้รับบาดเจ็บสาหัส ทำให้ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลา 5 เดือน นายจ้างเห็นว่านายวิศวะดื่มสุราจนไม่ได้สติจึง ไม่จ่ายเงินทดแทนให้ เช่นนี้นายวิศวะจะต่อสู้และมีสิทธิอย่างไรหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้

ประสบอันตราย” หมายความวา การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแกกายหรือผลกระทบแกจิตใจ หรือถึงแกความตายเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แกนายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง

มาตรา 13        เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการ

รักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแกอันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 15 “กรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลัง การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานของลูกจ้างตามความจำเป็น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 18 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทน เป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี ด้งต่อไปนี้

(1) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรบกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถท่างานติดต่อกันได้ เกินสามวันไม่ว่าลูกจ้างจะสูญเสียอวัยวะตาม (2) ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถ ท่างานได้ไปจนตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี

มาตรา 22 “นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง เพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(1) ลูกจ้างเสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติดอื่นจนไม่สามารถครองสติได้

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายจ้างมีคำสั่งให้นายวิศวะซึ่งเป็นลูกจ้างไปตรวจตูการก่อสร้างงานที่ จังหวัดเชียงราย และเกิดเหตุรถทัวร์พลิกคว่ำจนนายวิศวะได้รับบาดเจ็บสาหัสนั้น ถือได้ว่านายวิศวะประสบ อันตรายเนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างตามมาตรา 5 และการที่นายจ้างเห็นว่านายวิศวะดื่มสุราจน ไม่ได้สติจึงไมจ่ายเงินทดแทนให้นั้นไมถูกต้อง เพราะการที่นายวิศวะดื่มสุรานั้นอยู่ในช่วงระหว่างเดินทางไป ทำงานและไม่เกี่ยวกับการทำงานแต่อย่างใดจึงไม่ถือเป็นกรณีตามมาตรา 22(1) ที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าทดแทน ดังนั้น นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทดแทนให้นายวิศวะ ดังนี้

1.         ค่ารักษาพยาบาล โดยนายจ้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง คือรวมแล้วไม่เกิน 110,000 บาท ในกรณีนี้ถือว่านายวิศวะประสบ อันตรายถึงขั้นบาดเจ็บรุนแรง จึงได้รับค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้น 45,000 บาท และในกรณีรุนแรงอีกไม่เกิน 65,000      บาท ตามมาตรา 13

2.         ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน โดยนายจ้างต้องจ่ายตามความจำเป็น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดไวในกฎกระทรวง ในกรณีนี้นายจ้างต้องจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานให้นายวิศวะ เป็นจำนวนไม่เกิน 20,000 บาท และหากต้องผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูฯ นายจ้างต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการ ผ่าตัดอีกไม่เกิน 20,000 บาท

3.         ค่าทดแทนในกรณีไมสามารถทำงานได้ กล่าวคือ เมื่อนายวิศวะต้องรักษาตัวอยู่ใน โรงพยาบาลเป็นเวลา 5 เดือน ซึ่งถือว่าติดต่อกันเกิน 3 วัน นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทดแทนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่นายวิศวะไม่สามารถท่างานได้ เมื่อนายวิศวะได้รับค่าจ้างเดือนละ18,000   บาท ร้อยละ 60 ของ 18,000 จึงเท่ากับ 10,800 บาท แต่เมื่อค่าทดแทนดังกล่าวมากกว่าค่าทดแทนรายเดือน สูงสุดตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมกำหนด คือไม่เกินเดือนละ 9,000 บาท จึงต้องลดลงมาเหลือ 9,000 บาท โดยต้องจ่ายเป็นเวลา 5 เดือน รวมเป็นเงิน 45,000 บาท (9,000 X 5)

สรุป นายวิศวะต่อสู้ได้ว่าการที่นายจ้างไม่จ่ายเงินทดแทนให้นั้นไมถูกต้อง และเมื่อนายวิศวะ ประสบอันตรายย่อมได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน โดยมีสิทธิได้รับเงินทดแทนดังนี้

1.         มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้นเป็นจำนวน 45,000 บาท และได้รับเพิ่มในกรณี บาดเจ็บรุนแรงอีกไมเกิน 65,000 บาท

2.         มีสิทธิได้รับค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานเป็นจำนวนไม่เกิน 40,000 บาท

3.         มีสิทธิได้รับค่าทดแทนในกรณีไมสามารถทำงานได้เป็นจำนวน 45,000 บาท

 

ข้อ 4. ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งมีลูกจ้างจำนวน 200 คน ถ้าลูกจ้างมีความประสงค์ต้องการเรียกร้อง ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จะต้องมีขั้นตอนในการคำเนินการอย่างไจนสำเร็จ ตามที่ได้มีกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ จงอธิบาย

ธงคำตอบ

ในกรณีที่ลูกจ้างมีความประสงค์ต้องการเรียกร้อง ให้ผ่ายนายจ้างแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ ดังนี้คือ

ฝายลูกจ้างจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องนั้นไปยังฝ่ายนายจ้าง โดยทำเป็นหนังสือแจ้ง ไปยังฝ่าย นายจ้าง (มาตรา 13 วรรคแรก) และข้อเรียกร้องดังกล่าวจะต้อง

1.         มีรายชื่อ และ

2.         มีลายมือชื่อ (ลายเซ็น) ของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในจำนวนไม่นอยกว่า ร้อยละ 15 ของลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อสถานประกอบการมีลูกจ้างจำนวน 200 คน ในกรณีเช่นนี้จะต้องมีลูกจ้าง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของลูกจ้างทั้งหมด 

และถ้าลูกจ้างได้เลือกตั้งผู้แทนเพี่อเข้าร่วมเจรจาไว้แล้วให้ระบุชื่อผู้แทนที่จะเข้าร่วมเจรจา ไม่เกิน 7 คน พร้อมกับการแจ้งข้อเรียกร้องด้วย แต่ถ้าหากลูกจ้างยังมิได้เลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างก็มีสิทธิยื่นข้อเรียกร้องไปก่อน และเลือกตั้งผู้แทนตามไปในภายหลังก็ได้ (มาตรา 13 วรรคสาม)

ทั้งนี้ เมื่อนายจ้างได้รับข้อเรียกร้องแล้ว ต้องแจ้งชื่อตนเองหรือผู้แทนเป็นหนังสือให้ฝ่ายลูกจ้าง ทราบโดยมิชักช้า และให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มเจรจากันภายใน 3 วัน นับแต่วันที่นายจ้างได้รับข้อเรียกร้อง (มาตรา 16)

ในกรณีที่สามารถตกลงกันได้จะต้องดำเนินการดังนี้

การทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและการจดทะเบียนข้อตกลง (มาตรา 18)

1.         ให้นายจ้างและลูกจ้างทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้ตกลงร่วมกันเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการของสหภาพแรงงาน แล้วแต่กรณี

2.         ให้นายจ้างติดประกาศข้อตกลงดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยภายใน 3 วัน นับแต่ที่ตกลงกัน เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน

3.         ให้นายจ้างนำข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างไปจดทะเบียนต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดี มอบหมายภายใน 15 วัน

ผลผูกพันข้อตกลง (มาตรา 19)

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้ตกลงร่วมกันใหม่นี้ จะมีผลผูกพันและใช้บังคับได้กับ นายจ้างและลูกจ้างที่ได้ร่วมลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตลอดจนถึงมีผลผูกพันกับลูกจ้าง ซึ่งได้ลงคะแนนเลือกตั้งผู้แทนเข้าร่วมเจรจากับอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ส่วนลูกจ้างที่ไมได้เข้าร่วมในการเจรจาตั้งแต่ต้น หรือไม่ได้ลงคะแนนเลือกตั้งผู้แทน โดยทั่วไปแล้วจะไม่ได้รับสิทธิตามข้อตกลงใหม่แต่อย่างใด (มาตรา 19 วรรคแรก)

แต่ถ้าลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องเกินกว่า 2 ใน 3 ของลูกจ้างทั้งหมด หรือลูกจ้างที่ เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้นเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานในกิจการประเภทเดียวกัน ซึ่งเข้าเป็นตัวแทนร่วมเจรจา แทนลูกจ้าง เกินกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกของสหภาพแรงงานนั้น ดังนี้ ให้ถือว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับใหม่นี้มีผลใช้บังคับกับลูกจ้างและนายจ้างที่ทำงานในกิจการประเภทเดียวกันทั้งหมด

และถ้าผู้แทนลูกจ้างเป็นผู้เจรจากับฝ่ายนายจ้างเองและมีลูกจ้างเกี่ยวกับข้อเรียกร้องนั้น เกินกว่า 2 ใน 3 ถือว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับใหม่นี้มีผลใช้บังคับกับลูกจ้างทุกคนในกิจการนั้น (ซึ่งรวมถึงลูกจ้าง 1 ใน 3 ที่ไม่ได้เข้าร่วมในการเรียกร้องด้วย)

ห้ามทำสัญญาขัดกับข้อตกลง (มาตรา 20)

ภายหลังจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ตลอดเวลาที่ข้อตกลงมีผลใช้ บังคับอยู่ ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่ การทำสัญญาจ้างนั้นจะให้คุณแกลูกจ้างยิ่งกว่าเดิม เช่นนี้นายจ้างสามารถที่จะทำได้

Advertisement