การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LA 404 (LW 401) กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นางสาวต๋อยเป็นลูกจ้างของบริษัท รุ่งเรือง จำกัด มีนายตูเป็นนายจ้าง นายตู่สั่งให้นางสาวต๋อย นำกระดาษซึ่งเป็นเอกสารที่เป็นความลับของบริษัท รุ่งเรือง จำกัด ไปเผาทำลาย แต่นางสาวต๋อย กลับนำไปขายให้นายโตได้เงินมาเป็นจำนวน 10,000 นาท และนำเงินไปใช้จ่ายซื้อของที่ตนเองต้องการ ต่อมานายตูทราบเรื่องจึงต่อว่านางสาวต๋อย นางสาวต๋อยจึงไปขอซื้อเอกสารดังกล่าวคืน จากนายโต และนำมาคืนนายตู่ แต่นายตูก็ออกคำสั่งเลิกจ้างนางสาวต๋อยและไม่จ่ายค่าชดเชย นางสาวต๋อยต่อสู้ว่าเมื่อตนเองนำเอกสารมาคืนแล้ว บริษัท รุ่งเรือง จำกัด ไมเสียหาย นายตู่ จะเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยไมได้ ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของนางสาวต๋อยถูกต้องหรือไม่ อย่างไร

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 119 วรรคแรก นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แกลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่ง

กรณีใด ดังต่อไปนี้

(1)       ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแกนายจ้าง

วินิจฉัย

ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานนั้น หากนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย ให้แก่ลูกจ้างด้วย (มาตรา 118) เว้นถ้าเข้าข้อยกเว้นกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 119 วรรคแรก นายจ้างมีสิทธิที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยให้แกลูกจ้างเมื่อมีการเลิกจ้างได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายตูนายจ้างสั่งให้นางสาวต๋อยลูกจ้างนำกระดาษซึ่งเป็นเอกสาร ที่เป็นความลับของบริษัท รุ่งเรือง จำกัด ไปเผาทำลาย แต่นางสาวต๋อยกลับนำเอกสารดังกล่าวไปขายให้นายโต และนำเงินที่ได้ไปใช้จ่ายซื้อของที่ตนเองต้องการนั้น การกระทำดังกล่าวของนางสาวต๋อยถือเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ดังนั้น นายตูย่อมมีสิทธิเลิกจ้าง นางสาวต่อยและไมจ่ายค่าชดเชยได้ตามมาตรา 119 วรรคแรก (1) และการที่นางสาวต๋อยไปขอซื้อเอกสารดังกล่าว คืนจากนายโต และนำมาคืนนายตู่นายจ้างนั้น หามีผลให้การกระทำของนางสาวต๋อยลูกจ้างที่เป็นความผิดบริบูรณ์แล้ว กลับไม่เป็นความผิดต่อไปอีกไม่ (ฎีกาที่ 2379/2531) ข้อต่อสู้ของนางสาวต๋อยที่ว่าตนเองนำเอกสารมาคืนแล้ว บริษัท รุ่งเรือง จำกัด ไมเสียหาย นายตูจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าซดเชยไมได้จึงไม่ถูกต้อง

สรุป ข้อต่อสู้ของนางสาวต๋อยไม่ถูกต้อง

 

ข้อ 2. นายสนิทเป็นลูกจ้างที่บริษัท ตุ๊กตาของเล่น จำกัด ทำงานมาแล้ว 5 ปี 6 เดือน ได้รับค่าจ้างเดือนละ 24,000 บาท ทำงานตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 12.00 น. และ 12.45 น. ถึง 16.30 น. เนื่องจาก บริษัทประสบกับฐานะทางการเงินที่ขาดทุนอย่างมาก นายอำนาจนายจ้างจึงจำเป็นต้องบอกเลิก สัญญาจ้างนายสนิททันทีในวันที่ 15 กันยายน โดยชำระค่าจ้างให้ 12,000 บาท และค่าจ้างอีก 24,000 บาท ตามกฎหมายให้แกนายสนิทเท่านั้น จากข้อเท็จจริงดังกล่าวมีสิ่งใดที่ไม่ถูกต้องบ้าง และนายสนิทจะเรียกร้องสิทธิอะไรได้อีกหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 17 วรรคสองและวรรคสาม ในกรณีที่สัญญาจ้างไมมีกำหนดระยะเวลา นายจ้าง

หรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะ ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า ก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน ทั้งนี้ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มี กำหนดระยะเวลาด้วย

การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึง เวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้

มาตรา 23 วรรคแรก ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดยกำหนดเวลา เริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงานตามที่กำหนด ในกฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินแปดชั่วโมง ในกรณีที่เวลาทำงานวันใดน้อยกว่าแปดชั่วโมง นายจ้างและ ลูกจ้างจะตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือนั้นไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน วันละเก้าชั่วโมงและเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง เว้นแต่งานที่อาจเป็น อันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่กำหนดในกฎกระทรวงต้องมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่ง ไมเกินเจ็ดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบสองชั่วโมง

มาตรา 27 วรรคแรก    ในวันที่มีการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่าง

การทำงานวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง หลังจากที่ลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมงติดต่อกัน นายจ้างและ ลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักครั้งหนึ่งน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงได้ แต่เมื่อรวมกันแล้ววันหนึ่งต้องไมน้อยกว่า หนึ่งชั่วโมง

มาตรา 30 วรรคแรก ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ได้ปีหนึ่งไมน้อยกว่าหกวันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

มาตรา 67 วรรคแรก ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยมีใช่กรณีตามมาตรา 119 ให้นายจ้าง จ่ายค่าจ้างให้แกลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้าง พึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 30

มาตรา 118 “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปีแต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไมน้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย หนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้าง ตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นแรกที่จะต้องวินิจฉัย คือ เวลาการทำงานและเวลาพักระหว่าง การทำงานของนายสนิทลูกจ้างถูกต้องหรือไม่ เห็นว่า ตามมาตรา 23 วรรคแรก กำหนดให้ลูกจ้างทำงานวันหนึ่ง ไม่เกิน 8 ชั่วโมง เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายอำนาจนายจ้างให้นายสนิททำงานตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 12.00 น. และ 12.45 น. ถึง 16.30 น. รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 7 ชั่วโมง 45 นาที ซึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง เวลาการทำงานของ นายสนิทจึงถูกต้องตามกฎหมาย

ส่วนเวลาพักระหว่างการทำงานนั้น ตามมาตรา 27 วรรคแรก กำหนดให้ลูกจ้างมีเวลาพัก ระหว่างการทำงานวันหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายอำนาจนายจ้างให้นายสนิทลูกจ้าง หยุดพักตั้งแต่เวลา 12.00 น. ถึง 12.45 น. ซึ่งเป็นเวลาเพียง 45 นาทีเท่านั้นไม่ถึง 1 ชั่วโมง เวลาพักระหว่าง การทำงานของนายสนิทลูกจ้างจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

ประเด็นต่อมาที่จะต้องวินิจฉัย คือ การบอกเลิกสัญญาจ้างนายสนิทลูกจ้างถูกต้องหรือม่ และนายสนิทจะเรียกร้องสิทธิอะไรได้อีก เห็นว่า สัญญาจ้างแรงงานระหว่างนายอำนาจนายจ้างกับนายสนิทลูกจ้าง เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้น หากนายจ้างต้องการเลิกจ้างจะต้องทำตามมาตรา 17 วรรคสอง และวรรคสาม คือ นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้ลูกจ้างทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนด การจ่ายค่าจ้างในคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากัน เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป หรือนายจ้าง จะจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าว และให้ลูกจ้างออก จากงานทันทีก็ได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายอำนาจบอกเลิกสัญญาจ้างนายสนิททันทีในวันที่ 15 กันยายน โดยชำระค่าจ้างให้ 12,000 บาท และค่าจ้างอีก 24,000 บาท รวม 36,000 บาทเทานั้น จึงไม่ถูกต้อง หากนายอำนาจต้องการบอกเลิกสัญญาจ้างนายสนิทและให้นายสนิทออกจากงานในทันที นายอำนาจจะต้องชำระ ค่าจ้างของเดือนกันยายน 24,000 บาท และของเดือนตุลาคม 24,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 48,000 บาท ให้แก่นายสนิทตามมาตรา 17 วรรคสาม

และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายสนิททำงานมาแล้วเป็นเวลา 5 ปี 6 เดือน ซึ่งถือว่าครบ 3 ปี แต่ไมครบ 6 ปี ดังนั้นเมื่อนายอำนาจเลิกจ้างนายสนิท นายสนิทย่อมมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118(3) คือ 180 วัน (หรือ 6 เดือน) เมื่อนายสนิทได้รับค่าจ้างเดือนละ 24,000 บาท ดังนั้น นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย ให้นายสนิท (6 เดือน คูณด้วย 24,000 บาท) รวมเป็นจำนวนเงิน 144,000 บาท และนอกจากนินายสนิทยัง มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่นายสนิท ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ (ตามมาตรา 30) อีกด้วยตามมาตรา 67 เมื่อนายสนิทได้รับค่าจ้างเดือนละ 24,000 บาท อัตราค่าจ้างรายวัน (24,000 บาท หารด้วย 30) เท่ากับ 800 บาท ดังนั้นนายสนิทมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับ วันหยุดพักผ่อนประจำปีอีก (800 X 6 วัน) เท่ากับ 4,800 บาท

สรุป จากข้อเท็จจริงดังกล่าวสิ่งที่ไม่ถูกต้อง คือ การที่นายจ้างให้ลูกจ้างพักระหว่างเวลา การทำงานไม่ถึง 1 ชั่วโมง และการที่นายจ้างได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเพียง 36,000 บาท

นายสนิทมีสิทธิที่จะเรียกร้องใน สิ่งดังต่อไปนี้ คือ

(1)       ค่าจ้างเมื่อบอกเลิกสัญญาที่ยังขาดอยู่อีก (48,000 – 36,000) เป็นเงิน 12,000 บาท

(2)       ค่าชดเชยที่นายสนิทมีสิทธิได้รับเป็นเงิน 144,000 บาท

(3)       ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นเงิน 4,800 บาท

 

ข้อ 3. นายสามารถทำงานอยู่ในบริษัท ทับทิมอินดัสตี้ จำกัด ตำแหน่งพนักงานบัญชี มีหน้าที่จัดทำบัญชี และประจำอยู่ในบริษัทฯ ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน ๆ ละ 15,000 บาท นายอำนวยเจ้าของบริษัทฯ ได้มีคำสั่งให้นายสามารถขับรถของบริษัทฯ ไปรับมิสเตอร์จอห์นสันซึ่งเป็นตัวแทนบริษัทคู่ค้าใน ต่างประเทศเพื่อมาเจรจาในเรื่องของธุรกิจตามที่นายอำนวยนัดหมาย และจะเดินทางมาถึงสนามบิน สุวรรณภูมิในเวลา 18.00 น. ของวันอังคาร ถึงวันที่กำหนดนายสามารถออกจากบริษัทฯ เพื่อไปรับ มิสเตอร์จอห์นสันตามเวลา นายสามารถเกรงว่าจะไปไม่ทันจึงขับรถด้วยความเร็วบนทางด่วน รถเสียหลักพุ่งชนกำแพงทางดวนเป็นเหตุให้รถยนต์ที่ขับตามหลังมาเบรกไม่ทันชนอัดรถของ นายสามารถอีกต่อหนึ่ง นายสามารถได้รับบาดเจ็บรุนแรงอาการสาหัสถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเข้าห้อง ไอ.ซี.ยู. ได้รับการรักษาอยู่ 2 เดือน จึงกลับมาทำงานตามปกติ และขอเบิกเงินทดแทนจากนายอำนวย นายอำนวยปฏิเสธการจ่ายอ้างว่าเหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของนายสามารถ ขณะเกิดเหตุ อยู่นอกเวลาทำงาน และให้นายสามารถไปใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคม ดังนี้ นายสามารถจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนหรือไม อย่างไร ให้อธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537

มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้

ประสบอันตราย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแกจิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง

มาดรา 13        เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการ

รักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแกอันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยไม่ชักช้า เมื่อฝ่ายลูกจ้างแจ้งให้ทราบ

มาตรา 15 “กรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานของลูกจ้างตามความจำเป็นตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 18 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทน เป็นรายเดือนไห้แกลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้

(1) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างไมสามารถทำงานติดต่อกันได้ เกินสามวันไมว่าลูกจ้างจะสูญเสียอวัยวะตาม (2) ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถ ทำงานได้ไปจนตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ แต่ต้องไมเกินหนึ่งปี

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอำนวยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งให้นายสามารถลูกจ้างขับรถของ บริษัทฯ ไปรับมิสเตอร์จอห์นสันซึ่งเป็นตัวแทนบริษัทคู่ค้าในต่างประเทศเพื่อมาเจรจาในเรื่องของธุรกิจตามที่ นายอำนวยนัดหมาย จนเป็นเหตุให้นายสามารถได้รับอุบัติเหตุบาดเจ็บรุนแรงอาการสาหัสนั้น ถือได้ว่านายสามารถ ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างตามมาตรา 5 เพราะนายอำนวยนายจ้างมีคำสั่งให้นายสามารถไปทำงานและเป็นงานทีเกี่ยวข้องกับธุรกิจของนายอำนวยเอง แม้การที่นายสามารถได้รับบาดเจ็บรุนแรง

อาการสาหัสนั้น จะเป็นเพราะความประมาทของนายสามารถ และอยู่นอกเวลางานก็ตาม ดังนั้น ข้ออ้างของ นายอำนวยที่ปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทนดังกล่าวจึงฟังไม่ขึ้น และนายสามารถมีสิทธิได้รับเงินทดแทนดังนี้

1.         ค่ารักษาพยาบาล โดยนายอำนวยต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง คือ รวมแล้วไมเกิน 110,000 บาท ในกรณีนี้ถือว่านายสามารถ ประสบอันตรายถึงขั้นบาดเจ็บรุนแรง จึงได้รับค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้น 45,000 บาท และในกรณีรุนแรงอีก ไม่เกิน 65,000 บาท ตามมาตรา 13

2.         ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน โดยนายอำนวยต้องจ่ายตามความจำเป็น ตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ในกรณีนี้นายอำนวยต้องจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ ในการทำงานให้นายสามารถเป็นจำนวนไม่เกิน 20,000 บาท ตามมาตรา 15

3.         ค่าทดแทนในกรณีไม่สามารถทำงานได้ เมื่อนายสามารถต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล เป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งถือว่าติดต่อกันเกิน 3 วัน นายอำนวยจึงต้องจ่ายค่าทดแทนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้าง รายเดือน โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่นายสามารถไม่สามารถทำงานได้ เมื่อนายสามารถได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท

สรุป ข้ออ้างของนายอำนวยฟังไม่ขึ้น และนายสามารถมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ดังนี้

1.         มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้นเป็นจำนวน 45,000 บาท และได้รับเพิ่ม ในกรณีบาดเจ็บรุนแรงอีกไม่เกิน 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 110,000 บ

2.         มีสิทธิได้รับค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานเป็นจำนวน 20,000 บาท

3.         มีสิทธิได้รับค่าทดแทนในกรณีไม่สามารถทำงานได้เป็นจำนวน 18,000 บาท

 

ข้อ 4. ลูกจ้างบริษัท สัมพันธ์อินเตอร์เทรด จำกัด รวมตัวกันยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง มีข้อเรียกร้อง ทั้งหมด 5 ข้อ กำหนดผู้แทนในการเจรจาฝ่ายละ 5 คน ทั้งสองฝ่ายนัดหมายเจรจากันครั้งแรก และเลื่อนไปอีก 1 สัปดาห์ เพี่อเจรจาครั้งที่สอง จนกระทั่งการเจรจาฝานไป 5 ครั้ง ตกลงกันได้ ตามข้อเรียกร้องแล้ว 3 ข้อ อีก 2 ข้อไม่สามารถตกลงกันได้ ดังนี้ กระบวนการเพี่อให้ได้มาซึ่ง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขั้นต่อไปจะเป็นอย่างไร และหากมีการประนอมข้อพิพาทสำเร็จแล้ว ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.  แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

มาตรา 16 “เมื่อได้รับข้อเรียกร้องแล้ว ให้ฝ่ายที่รับข้อเรียกร้องแจ้งชื่อตนเอง หรือผู้แทน เป็นหนังสือให้ฝ่ายที่แจ้งข้อเรียกร้องทราบโดยมิชักช้า และให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ ได้รับข้อเรียกร้อง

มาตรา 18 “ถ้านายจ้างหรือสมาคมนายจ้างกับลูกจ้างหรือสหภาพแรงงาน สามารถตกลง เกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 ได้แล้ว ให้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้าง และผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการของสหภาพแรงงาน แล้วแต่กรณี และให้นายจ้าง ประกาศข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยเปิดเผยไว้ ณ สถานที่ที่ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องทำงานอยู่ เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน โดยเริ่มประกาศภายในสามวันนับแต่วันที่ได้ตกลงกัน

ให้นายจ้างนำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามวรรคแรกมาจดทะเบียนต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่ง อธิบดีมอบหมายภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ตกลงกัน

มาดรา 21 “ในกรณีที่ไม่มีการเจรจากันภายในกำหนดตามมาตรา 16 หรือมีการเจรจากันแล้ว แต่ตกลงกันไม่ได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ถือว่าได้มีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น และให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องแจ้งเป็น หนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่พ้นกำหนดตามมาตรา 16 หรือนับแต่เวลาที่ตกลงกันไมได้แล้วแต่กรณี

มาตรา 22 วรรคแรกและวรรคสอง เมื่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับแจ้งตาม มาตรา 21 แล้ว ให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้อง และ ฝ่ายรับข้อเรียกร้องตกลงกันภายในกำหนดห้าวันนับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้ง

ถ้าได้มีการตกลงกันภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา 18 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ผู้แทนลูกจ้างบริษัท สัมพันธ์อินเตอร์เทรด จำกัด และผู้แทนฝ่าย นายจ้างได้มีการเจรจากันเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 16 ซึ่งมีการเจรจากันหลายครั้ง และยังเหลือข้อเรียกร้อง อีก 2 ข้อที่ยังตกลงกันไม่ได้นั้น ถือว่าได้มีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างตามกฎหมายขั้นตอนต่อไป ก็คือต้องปฏิบัติตามมาตรา 21 โดยให้ฝ่ายที่แจ้งข้อเรียกร้องคือ ฝ่ายลูกจ้าง แจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ตกลงกันไม่ได้

ซึ่งเมื่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับแจ้งตามมาตรา 21 แล้ว ให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้อง (ฝ่ายลูกจ้าง) และฝ่ายรับข้อเรียกร้อง (ฝ่าย นายจ้าง) ตกลงกันภายในกำหนด 5 วันนับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้งดังกล่าว

และหากพนักงานประนอมข้อพิพาททำการไกล่เกลี่ยจนมีการตกลงกันได้สำเร็จภายใน 5 วัน (การประนอมข้อพิพาทสำเร็จ) กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติตามมาตรา 18 คือ ให้ทั้งสองฝ่ายทำข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างนั้นเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้แทนนายจ้าง และผู้แทนลูกจ้าง และให้นายจ้างประกาศข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างโดยเปิดเผยไว้ ณ สถานที่ที่ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องทำงานอยู่ โดยเริ่มประกาศภายใน 3 วัน และติดประกาศไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 30 วันนับแต่วันที่ได้ตกลงกัน และให้นายจ้างนำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นั้นไปจดทะเบียนต่ออธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมแรงงานมอบหมายภายใน 15 วันนับแต่วันที่ตกลงกันได้

สรุป กระบวนการเพี่อให้ได้มาซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจะเป็นอย่างไร และหากมีการ ประนอมข้อพิพาทสำเร็จแล้วทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้นเป็นไปตามที่ได้อธิบายข้างต้น

Advertisement