การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2552

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นายเปียกเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลของห้างสรรพสินค้าถูกดีสวยมาก ได้ถูกนายจ้างเลิกจ้าง จึงมาขอปรึกษาท่านในฐานะพนักงานตรวจแรงงาน โดยอ้างว่า

(1)       ปี พ.ศ. 2551 นายเปียกเคยถูกพักงาน กรณีกระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างฐานสูบบุหรี่ในห้างสรรพสินค้า นายเปียกยอมรับการกระทำผิด นายจ้างจึงสั่งพักงาน นายเปียกอ้างว่าไม่ได้รับเงินค่าจ้างระหว่างการพักงานตามกฎหมาย

(2)       ปี พ.ศ. 2552 นายเปียกได้ใช้ให้นายหนุ่มลูกน้องไปจ่ายกับข้าวให้แก่ร้านอาหารของนายเปียกเองในตอนเช้าและตอนบ่ายเป็นเวลา 10 วัน นายจ้างจึงเลิกจ้างนายเปียกและไม่จ่ายค่าชดเชยให้

ให้ท่านให้คำแนะนำนายเปียกตามกฎหมายแรงงาน

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 116 ในกรณีที่นายจ้างทำการสอบสวนลูกจ้างซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ห้ามมิให้นายจ้างสั่งพักงานลูกจ้างในระหว่างการสอบสวนดังกล่าว เว้นแต่จะมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างให้อำนาจนายจ้างสั่งพักงานลูกจ้างได้ ทั้งนี้ นายจ้างจะต้องมีคำสั่งพักงานเป็นหนังสือระบุ ความผิดและกำหนดระยะเวลาการพักงานได้ไม่เกินเจ็ดวันโดยต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบก่อนการพักงาน

ในระหว่างการพักงานตามวรรคแรก ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แกลูกจ้างตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือตามที่นายจ้างและลูกจ้างได้ตกลงกันไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทั้งนี้ อัตราดังกล่าต้องไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนถูกพักงาน

มาตรา 117 เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ปรากฏว่าลูกจ้างไม่มีความผิด ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานนับแต่วันที่ลูกจ้างถูกสั่งพักงานเป็นต้นไป โดยให้คำนวณเงินที่นายจ้างจ่าย ตามมาตรา 116 เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามมาตรานี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละลิบห้าต่อปี

มาตรา 583 ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นำพา ต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณก็ดี ละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทำความผิดอย่างร้ายแรงก็ดี หรือทำประการอินอัน ไม่สมแกการปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้

วินิจฉัย

(1) กรณีตามอุทาหรณ์ นายเปียกถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เมื่อนายเปียกยอมรับว่าตนกระทำความผิดจริง นายจ้างก็มีอำนาจลงโทษนายเปียกได้ด้วยการพักงาน ดังนั้น การพักงานตามฟ้องของนายจ้างจึงเป็นการพักงานเนื่องจากการลงโทษทางวินัยแก่นายเปียกเพราะนายเปียก กระทำความผิดตามที่แถลงรับ มิใช่กรณีที่นายจ้างสั่งพักงานระหว่างทำการสอบสวนลูกจ้างซึ่งถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดตามมาตรา 116 และมาตรา 117 (ฎ. 9330/2542)

 (2) กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเปียกได้ใช้ให้นายหนุ่มลูกน้องไปจ่ายกับข้าวให้แก่ร้าน อาหารของนายเปียกเองในตอนเช้าและตอนบ่ายเป็นเวลา 10 วัน เป็นการแสวงหาประโยชน์จากหน้าที่การงาน เพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นเกินสมควรที่ผู้บังคับบัญชาจะพึงกระทำและเสียหายแก่นายจ้า ถือว่าทุจริตต่อหน้าที่ นายเปียกทุจริตต่อหน้าที่เป็นการกระทำผิดหน้าที่ของลูกจ้าง นายจ้างเลิกจ้างนายเปียกได้ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ทั้งเป็นกรณีที่ลูกจ้างกระทำการไม่สมแกการปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยทุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 นายจ้างไมต้องจ่ายค่าเสียหาย ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่นายเปียก (ฎ. 2695/2529)

สรุป ข้าพเจ้าจะให้ค่าแนะนำนกนายเปียกตามกฎหมายแรงงานว่า

(1)       การพักงานของนายจ้างชอบด้วยกฎหมาย นายเปียกไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน

(2)       การกระทำของนายเปียกเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่นายเปียก

 

ข้อ 2. นายหนึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัททำงานมาแล้ว 2 ปี 5 เดือน ได้รับค่าจ้างเดือนละ 10,000 บาท ต่อมา นายหนึ่งป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังต้องลาป่วยรักษาตัวติดต่อกันถึง 6 เดือน นายจ้างจึงมีคำสั่ง เลิกจ้างนายหนึ่ง เช่นนี้จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้นายหนึ่งหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มดรองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 19 เพื่อประโยชน์ในการคำนวณระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นับวันหยุด วันลา วันที่นายจ้างอนุญาตให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของลูกจ้าง และวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงาน เพื่อประโยชน์ของนายจ้าง รวมเป็นระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างด้วย

มาตรา 32 วรรคแรก ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง…

มาตรา 57 วรรคแรก ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยตามมาตรา 32 เท่ากับ อัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันทำงาน

มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แกลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไมครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรา สุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายหนึ่งป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังต้องลาป่วย 6 เดือน ซึ่งโดยหลักแล้ว ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันลาป่วยไมเกิน 30 วันทำงานตามมาตรา 32 วรรคแรก ประกอบมาตรา 57 วรรคแรก เมื่อนายหนึ่งลาป่วย 6 เดือน ก็จะมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันลาป่วยเป็น จำนวนเงิน 10,000 บาท

สำหรับการคำนวณระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างนั้นตามมาตรา 19 ให้นับวันหยุด วันลา เป็นระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างด้วย เมื่อได้ความว่า นายหนึ่งลาป่วยเป็นเวลา 6 เดือน บวกกับระยะเวลา การทำงานของนายหนึ่ง 2 ปี 5 เดือน ถือว่านายหนึ่งได้ทำงานรวมเวลาแล้วทั้งสิ้น 2 ปี 11 เดือน

ส่วนประเด็นที่นายจ้างต้องการเลิกจ้างนายหนึ่ง เนื่องจากป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังจน ไม่สามารถทำงานได้ถึง 6 เดือน นายจ้างก็สามารถเลิกจ้างได้ (ฎ. 2985/2527) แต่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก นายหนึ่ง กล่าวคือ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามระยะเวลาการทำงานด้วย เมื่อได้ความว่า นายหนึ่งทำงาน มาแล้ว 2 ปี 11 เดือน อันถือว่านายหนึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน (3 เดือน) นายหนึ่งได้รับค่าจ้างเดือนละ 10,000 บาท ดังนั้น นายจ้างจึง ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับนายหนึ่งเป็นจำนวน (3 เดือน คูณด้วย 10,000 บาท) เท่ากับ 30,000 บาท ตามมาตรา 118(2)

สรุป นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้แก่นายหนึ่ง เป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท

 

ข้อ 3. นายอุดมและนายสมใจเป็นลูกจ้างทำงานในตำแหน่งพนักงานขนส่งสินค้า ได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน เดือนละ 8,000 บาท ได้ค่าครองชีพเดือนละ 3,000 บาท ทำงานมานาน 3 ปีกว่า วันที่ 2 ตุลาคม 2552 นายจ้างมีคำสั่งให้นายอุดมและนายสมใจขับรถนำสินค้าไปส่งให้กับลูกค้าที่จังหวัดน่าน นายอุดมจึงขอนั่งเฝ้าสินค้าด้านกระบะท้ายรถ และนายสมใจเป็นผู้ขับระหว่างทางนายอุดมดื่มสุรา จนไม่สามารถครองสติได้เกิดพลัดตกจากรถเสียชีวิต ส่วนนายสมใจขับรถหักหลบรถจักรยานยนต์ ที่ออกมาตัดหน้ากะทันหัน รถพลิกคว่ำเป็นเหตุให้นายสมใจศีรษะกระแทกพวงมาลัยขาหัก นิ้วหัวแม่เท้าข้างซ้ายขาด 1 นิ้ว (6 เดือน) รักษาตัวในโรงพยาบาลนาน 3 เดือน อยากทราบว่า ภริยานายอุดมมีสิทธิอย่างไรและนายสมใจมีสิทธิได้รับอะไรบ้างตามกฎหมายเงินทดแทน

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5 ในพระราชบัญญัตินี้

ประสบอันตราย หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแกความตายเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชนให้แกนายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง

มาตรา 13 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษา พยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่ จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 15 กรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานของลูกจ้างตามความจำเป็นตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 18 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทน เป็นรายเดือนให้แกลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้

(1)       ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างไมสามารถทำงานติดต่อกันได้ เกินสามวันไม่ว่าลูกจ้างจะสูญเสียอวัยวะตาม (2) ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถ ทำงานได้ไปจนตลอดระยะเวลาที่ไมสามารถทำงานได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี

(2)       ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วน

ของร่างกายโดยจ่ายตามประเภทของการสูญเสียอวัยวะและตามระยะเวลาที่ต้องจ่ายให้ตามที่กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการประกาศกำหนด แต่ต้องไม่เกินสิบปี

มาตรา 20        เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแกความตายหรือสูญหาย ให้

บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากนายจ้าง

(2) สามีหรือภริยา

มาตรา 22        นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง

เพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(1)           ลูกจ้างเสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติดอื่นจนไม่สามารถครองสติได้

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายอุดมและนายสมใจทำงานได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน ๆ ละ 8,000 บาท ค่าครองชีพเดือนละ 3,000 บาท ทั้งนายอุดมและนายสมใจได้ค่าจ้างเท่ากันเดือนละ 11,000 บาท วันที่ 3 เมษายน ทั้งสองคนนำสินค้าไปส่งให้ลูกค้าของนายจ้างที่จังหวัดน่าน โดยนายสมใจเป็นคนขับและนายอุดมเป็นคนเฝ้าสินค้าท้ายรถกระบะ ระหว่างทางนายอุดมดื่มสุราครองสติไม่ได้พลัดตกจากรถเสียชีวิต กรณีจึงเป็นเหตุยกเว้นที่นายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าทดแทน เนื่องจากในขณะปฏิบัติงานในหน้าที่นายอุดมได้ดื่มสุราจนไม่สามารถครองสติได้ ถือเป็น ข้อยกเว้นตามมาตรา 22(1) ภริยานายอุดมจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน

ส่วนนายสมใจ คนขับรถหักหลบรถจักรยานยนต์ที่ออกมาตัดหน้ากะทันหัน รถพลิกคว่ำ นายสมใจศีรษะกระแทกพวงมาลัย ขาหัก นิ้วหัวแม่มือข้างซ้ายขาด 1 นิ้ว กรณีจึงถือว่านายสมใจประสบอันตราย เนื่องจากการทำงานให้แกนายจ้างตามมาตรา 5 โดยจะได้รับการคุมครองโดยมีสิทธิดังต่อไปนี้

1.         ค่ารักษาพยาบาล เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษา พยาบาลทันทีและให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินอัตราที่กำหนด ในกฎกระทรวงหรือไมเกิน 45,000 บาท หากนายสมใจได้รับอันตรายรุนแรง (สาหัส) จะได้รับเพิ่มอีกไมเกิน 65,000 บาท ตามมาตรา 13

2.         ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน โดยนายจ้างต้องจ่ายตามหลักเกณฑ์วิธีการและ อัตราที่กำหนดไนกฎกระทรวงในกรณีนี้นายสมใจจะได้รับเป็นจำนวน 20,000 บาท ตามมาตรา 15

3.         ค่าทดแทนในกรณีไม่สามารถทำงานได้ เมื่อนายสมใจต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล เป็นเวลา 3 เดือน นายสมใจจะได้รับค่าทดแทนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ นายสมใจไมสามารถไปทำงานได้ เมื่อนายสมใจได้รับค่าจ้างเดือนละ 11,000 บาท ร้อยละ 60 ของ 11,000 บาท เท่ากับ 6,600 บาท และคูณกับระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ (6,600 คูณ ด้วย 3) เท่ากับ 19,800 บาท ตามมาตรา 18(1)

4.         ค่าทดแทนในกรณีที่ต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกาย โดยจะได้รับในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน เมื่อนายสมใจได้รับค่าจ้างเดือนละ 11,000 บาท ร้อยละ 60 ของ 11,000 บาทเท่ากับ 6,600 บาท เมื่อนายสมใจนิ้วหัวแม่เท้าข้างซ้ายขาด 1 นิ้ว ระยะเวลาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง คือ 6 เดือน ในกรณีนี้นายสมใจจะได้รับค่าทดแทนเดือนละ 6,600 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตามมาตรา 18(3)

สรุป ภริยานายอุดมไมมีสิทธิได้รับเงินทดแทนเป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 22(1)

ส่วนนายสมใจมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ดังนี้

1.         ค่ารักษาพยาบาลในขั้นแรกไม่เกิน 45,000 บาท หากรุนแรง (สาหัส) จะได้รับ เพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาท รวมเป็นจำนวนไม่เกิน 110,000 บาท

2.         ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นจำนวน 20,000 บาท

3.         ค่าทดแทนในกรณีไม่สามารถท่างานได้เป็นจำนวน 19,800 บาท

4.         ค่าทดแทนในกรณีที่ต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกาย เดือนละ 6,600 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

ข้อ 4 นายจ้างแสะลูกจ้างบริษัทเอสเตส ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำกัด ได้ตกลงกันจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องการจ่ายค่าครองชีพ และโบนัสให้กับลูกจ้างโดยนายจ้างตกลงจ่ายค่าครองชีพ ให้ลูกจ้างทุกเดือน ๆ ละ 3,000 บาท กำหนดจ่ายโบนัสให้ลูกจ้างทุกปี ๆ ละ 2 เดือน ในข้อตกลง กำหนดระยะเวลาให้มีผลผูกพันกันสองปี หลังจากนั้นเป็นเวลา 3 ปี นายจ้างประสบปัญหาทาง เศรษฐกิจจึงตัดสินใจเรียกหัวหน้างานแต่ละฝ่ายมาเจรจาและให้ลงชื่อตกลงในการเปลี่ยนแปลง เรื่องค่าครองชีพโดยลดลงเหลือ 1,000 บาท และไม่จ่ายโบนัสให้อีก ดังนี้การตกลงระหว่างนายจ้าง และหัวหน้างานในการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นถูกต้องและมีผลผูกพันลูกจ้าง หรือไม ตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

มาตรา 12 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีผลใช้บังคับภายในระยะเวลาที่นายจ้างและ ลูกจ้างได้ตกลงกัน แต่จะตกลงกันให้มีผลใช้บังคับเกินกว่าสามปีไม่ได้ ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลาไว้ให้ถือว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับหนึ่งปีนับแต่วันที่นายจ้างและลูกจ้างได้ตกลงกัน หรือนับแต่วันที่ นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน แล้วแต่กรณี

ในกรณีที่ระยะเวลาที่กำหนดตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสิ้นสุดลง ถ้ามิได้มีการ เจรจาตกลงกันใหม่ ให้ถือว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นมีผลใช้บังคับต่อไปอีกคราวละหนึ่งปี

มาตรา 13 วรรคแรกและวรรคสอง การเรียกร้องให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพ การจ้าง หรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนายจ้างหรือลูกจ้างต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือ ให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ

ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง นายจ้างต้องระบุชื่อผู้เข้าร่วมในการเจรจา โดยจะระบุ ชื่อตนเองเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาหรือจะตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาก็ได้ ถ้านายจ้างตั้งผู้แทนเป็น ผู้เข้าร่วมในการเจรจา ผู้แทนของนายจ้างต้องเป็นกรรมการผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือลูกจ้างประจำของนายจ้าง กรรมการของสมาคมนายจ้างหรือกรรมการของสหพันธ์นายจ้างและต้องมีจำนวนไม่เกินเจ็ดคน

มาตรา 15 เมื่อได้รับข้อเรียกร้องแล้ว ให้ฝ่ายที่รับข้อเรียกร้องแจ้งชื่อตนเอง หรือผู้แทน

เป็นหนังสือให้ฝ่ายที่แจ้งข้อเรียกร้องทราบโดยมิชักช้า และให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ ได้รับข้อเรียกร้อง

มาตรา 18 ถ้านายจ้างหรือสมาคมนายจ้างกับลูกจ้างหรือสหภาพแรงงาน สามารถตกลงเกี่ยวกับ ข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 ไต้แล้ว ให้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายจ้างหรือ ผู้แทนนายจ้าง และผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการของสหภาพแรงงาน แล้วแต่กรณี และให้นายจ้างประกาศข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยเปิดเผยไว้ ณ สถานที่ที่ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องทำงานอยู่เป็นเวลาอย่างน้อย สามสิบวัน โดยเริ่มประกาศภายในสามวันนับแต่วันที่ไต้ตกลงกัน

ให้นายจ้างนำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามวรรคแรก มาจดทะเบียนต่ออธิบดี หรือ ผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ตกลงกัน

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายจ้างและลูกจ้างได้จัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่าย ค่าครองชีพและโบนัส มีผลผูกผันตามข้อตกลงนั้น คือ 2 ปี ซึ่งตามมาตรา 12 กำหนดว่า หากนายจ้างและลูกจ้าง ตกลงกันกำหนดระยะเวลาผูกผันตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็สามารถทำได้ แต่กำหนดเวลาผูกผันได้ไม่เกิน 3 บี และหากครบกำหนดเวลานั้นแล้วยังไม่มีการตกลงกันใหม่ให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันอีก คราวละ 1 ปี ซึ่งตามข้อเท็จจริงดังกล่าว นายจ้างและลูกจ้างปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันมา 3 ปี นายจ้างประสบ ปัญหาทางเศรษฐกิจจึงเรียกหัวหน้างานแต่ละฝ่ายมาเจรจาและลงชื่อเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนี้ การตกลงระหว่างนายจ้างและหัวหน้างานดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 13 วรรคแรก กำหนดให้การ แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนายจ้างหรือลูกจ้างสามารถทำได้โดยจัดทำข้อเรียกร้องเป็นหนังสือ ต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งกรณีนี้นายจ้างเป็นฝ่ายมีความประสงคเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้าง ต้องปฏิบัติตามมาตรา 13 วรรคสอง คือ ทำข้อเรียกร้องเป็นหนังสือและระบุชื่อผู้แทนในการเจรจาไม่เกิน 7 คน ต่อลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างรับข้อเรียกร้องแล้วต้องปฏิบัติตามมาตรา 16 คือ ระบุชื่อผู้แทนที่เข้าร่วมในการเจรจากลับไป และจัดให้มีการเจรจาภายใน 3 วัน นับแต่วันรับข้อเรียกร้อง และเมื่อตกลงกันได้ให้ทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อ ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างปิดประกาศภายใน 3 วันและปิดประกาศไว้เป็นเวลา 30 วัน นายจ้าง ต้องนำข้อตกลงนี้ไปจดทะเบียนต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน 15 วันตามมาตรา 18

สรุป การตกลงระหว่างนายจ้างและหัวหน้างานดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์

Advertisement