การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2551

 ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

Advertisement

ข้อ 1. ธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กำหนดไว้ว่า คำพิพากษาของศาล เป็นเพียงเครื่องช่วยในการวินิจฉัยหลักกฎหมายระหว่างประเทศเท่านั้น ศาลฯ ต้องตัดสินตามหลักกฎหมายที่มีอยู่แล้ว แต่จากการศึกษาถึงที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ เห็นว่าคำพิพากษาของศาลเป็นที่มาประการหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น นักศึกษาจงอธิบายให้ชัดเจนถึงประเด็นดังกล่าวนี้ว่าคำพิพากษา ของศาลอาจเป็นที่มาได้อย่างไร

ธงคำตอบ

คำพิพากษาของศาล มีอิทธิพลในการสร้างกฎหมายภายในอย่างมาก แต่คำพิพากษาของศาล ยังไม่ถือว่าเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นเพียงแต่แหล่งที่มาอีกประการหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ ไม่ใช่แหล่งที่มาโดยตรงเหมือนเช่นสนธิสัญญาและจารีตประเพณีระหว่างประเทศ กล่าวคือ คำพิพากษาของศาลใน คดีก่อนเป็นเพียงวิธีการเสริมที่ช่วยผู้พิพากษาหรืออนุญาโตตุลาการในการใช้กฎหมายหรือแปลความหมายของกฎหมายเท่านั้น

อย่างไรก็ตามคำพิพากษาของศาลมีบทบาทในการบัญญัติกฎหมายระหว่างประเทศโดยทางอ้อม ในกรณีดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจทำให้เป็นหลักกฎหมายได้ในที่สุด

1. ในการใช้หลักกฎหมายบังคับคดี ศาลอาจจะต้องตีความตัวบทกฎหมายซึ่งสามารถถือเป็น หลักกฎหมายในการบังคับคดีในครั้งต่อไปได้

2.         ในบางกรณีศาลอนุญาโตตุลาการหรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอาจจะได้รับมอบหมายจากคู่กรณีให้สร้างกฎเกณฑ์ในการตัดสินให้ ในกรณีที่ไม่สามารถนำหลักกฎหมายใดมาตัดสินได้ กฎเกณฑ์เหล่านั้น จะกลายเป็นหลักกฎหมายต่อมาได้

3.         การยึดถือคำพิพากษาของศาลในคดีก่อน ๆ มาเป็นบรรทัดฐานหรือมาตรฐานในการ พิจารณาคดี แม้ว่าไม่ผูกพันศาลที่จะต้องตัดสินคดีตามคำพิพากษาเดิม แต่ทางปฏิบัติหากข้อเท็จจริงทำนองเดียวกัน ศาลมักจะตัดสินตามแนวคำพิพากษาเดิมที่ตัดสินไว้ และจะกลายเป็นหลักกฎหมายในที่สุด

 

ข้อ 2. จากข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า รัฐ ไมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำสนธิสัญญาฉบับหนึ่ง ตั้งแต่เริ่มต้น แต่ต่อมารัฐ สนใจที่จะเข้ามาเป็นภาคีของสนธิสัญญานั้นในภายหลัง ท่านในฐานะที่ผ่านการศึกษา ในเรื่องสนธิสัญญามาแล้ว จะให้คำปรึกษาแก่รัฐ ว่ามีวิธีการที่จะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง เพื่อที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในสนธิสัญญาฉบับนี้ และต้องอธิบายให้รัฐ เข้าใจอย่างละเอียดถึงวิธีการดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย

ธงคำตอบ

ข้าพเจ้าจะให้คำแนะนำแก่รัฐ ว่า แม้รัฐ จะไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำสนธิสัญญา ตั้งแต่เริ่มต้น รัฐ ก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในสนธิสัญญาในภายหลังได้โดยวิธีการดังต่อไปนี้

1.         การลงนามภายหลัง (Deferred Signature) เป็นกรณีที่รัฐไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมใน การทำสนธิสัญญานั้นแต่แรก แต่เข้ามามีส่วนในขั้นตอนหลังจากการเจรจาผ่านไปแล้วและอยู่ในระยะของขั้นตอนที่ 2 คือการลงนาม การลงนามภายหลังนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเข้าร่วม แต่ต่างกันตรงที่การเข้าร่วมนั้นจะมี ผลผูกพันนับแต่มีการปฏิญญาขอเข้าร่วมในสนธิสัญญา ส่วนการลงนามภายหลังนี้รัฐที่ลงนามภายหลังยังไม่มี พันธกรณีตามสนธิสัญญา เพราะจะต้องให้สัตยาบันก่อนจึงจะถือว่าเป็นภาคีสนธิสัญญาและมีผลผูกพันรัฐนั้น

2.         ภาคยานุวัติหรือการเข้าร่วม (Adhesion) คือ การที่รัฐหนึ่งรัฐใดไม่ได้เข้ามามีส่วนใน การทำสนธิสัญญาตั้งแต่แรก แต่เมื่อสนธิสัญญาผ่านขั้นตอนการลงนามจนมีผลใช้บังคับ และมิได้ระบุห้ามการ ภาคยานุวัติไว้ รัฐนั้นก็อาจเข้าไปร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญานั้นในภายหลังหลังจากระยะเวลาการลงนามได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยยอมรับผูกพันตามสิทธิและหน้าที่ที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา ซึ่งมีผลผูกพันนับแต่วันทำภาคยานุวัติ ไม่มีผลย้อนหลังแต่อย่างใด

อนุสัญญากรุงเวียนนาฯ ค.ศ. 1969 ได้กำหนดว่า ความยินยอมของรัฐที่จะรับพันธกรณี ตามสนธิสัญญาด้วยการทำภาคยานุวัติ จะทำได้ในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้

1)         สนธิสัญญานั้นกำหนดไว้โดยตรงให้มีการทำภาคยานุวัติได้

2)         ทุกรัฐที่เป็นภาคีของสนธิสัญญานั้นตกลงให้มีการภาคยานุวัติได้

การเข้าร่วมหรือภาคยานุวัติสามารถกระทำได้ 3 วิธี คือ

1) การทำสนธิสัญญาพิเศษระหว่างรัฐที่เข้าร่วมกับรัฐภาคีสนธิสัญญาเดิม ซึ่งต้องมีภารให้สัตยาบันตามปกติ

2)         โดยการแลกเปลี่ยนปฏิญญา (Declaration) คือรัฐที่เข้าร่วมทำปฏิญญาขอเข้าร่วม และรัฐคูสัญญาทำปฏิญญารับเข้าร่วม และต้องมีการให้สัตยาบันปฏิญญาด้วย

3)         โดยรัฐที่ขอเข้าร่วมส่งคำปฏิญญาฝ่ายเดียวไปยังรัฐบาลที่สนธิสัญญากำหนดให้ เป็นผู้รับเรื่องและแจ้งให้ภาคีสนธิสัญญาทราบ การเข้าร่วมวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องให้ สัตยาบันอีก เว้นแต่รัฐที่ขอเข้าร่วมจะระบุว่าตนขอเข้าร่วมภายใต้ข้อสงวนในการ ให้สัตยาบัน วิธีที่สามนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

 

ข้อ 3. จงอธิบายว่าสภาพบุคคลของรัฐจะเกิดขึ้นได้อย่างไร และเมื่อรัฐมีสภาพบุคคลของความเป็นรัฐตาม กฎหมายระหว่างประเทศแล้ว จะสามารถติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่นได้โดยอัตโนมัติหรือไม่

ธงคำตอบ

สภาพบุคคลของรัฐ หรือรัฐในฐานะที่เป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ จะเกิดขึ้นได้เมื่อ มีเงื่อนไขหรือองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการดังต่อไปนี้ คือ

1.         ดินแดน กล่าวคือ รัฐต้องมีดินแดนให้ประชาชนได้อยู่อาศัย ซึ่งดินแดนของรัฐนั้นรวม ทั้งพื้นดิน ผืนน้ำ และท้องฟ้าเหนือดินแดนด้วย ดินแดนไมจำเป็นต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกัน อาจจะเป็นดินแดน โพ้นทะเลก็ได้ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศก็ไม่ได้กำหนดขนาดของดินแดนไว้ ฉะนั้นรัฐจะมีดินแดนมากน้อยเพียงใด ไม่ใช่ข้อสำคัญ แต่ต้องมีความแน่นอนมั่นคงถาวร และกำหนดเขตแดนไว้แน่นอนชัดเจน

2.         ประชากร กล่าวคือ มีประชากรอาศัยอยู่ในดินแดนที่มีความแน่นอน ซึ่งกฎหมายระหว่าง ประเทศก็ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องมีจำนวนประชากรมากน้อยเท่าไร เพียงแต่ต้องมีจำนวนมากพอสมควรที่จะสามารถ ดำรงความเป็นรัฐได้ ซึ่งประชากรที่อาศัยอยู่ในดินแดนของรัฐนี้ไม่จำเป็นต้องมีชนชาติเดียวกัน อาจมีเชื้อชาติ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน แต่มีความผูกพันทางนิตินัยกับรัฐ คือ มีสัญชาติเดียวกัน

3.         รัฐบาล กล่าวคือ มีคณะบุคคลที่ใช้อำนาจเหนือดินแดนและประชากรมาทำการบริหารงาน ทั้งภายโนและภายนอกรัฐ จัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน จัดระเบียบการปกครองภายใน รักษาความสงบเรียบร้อย ในดินแดนของตน ดำเนินการป้องกันประเทศ ส่งเสริมความเจริญของประเทศ และรักษาสิทธิผลประโยชน์ของประชาชน

4.         อำนาจอธิปไตย กล่าวคือ รัฐลามารถที่จะดำเนินการต่าง ๆ ได้อย่างอิสระทั้งภายใน และภายนอกรัฐ อำนาจอิสระภายใน หมายถึง อำนาจของรัฐในการจัดกิจการภายในประเทศได้อย่างอิสระเสรีแต่ พียงผู้เดียว โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก ส่วนอำนาจอิสระภายนอก หมายถึง อำนาจของรัฐในการ ติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่นได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องฟังคำสั่งจากรัฐอื่น และได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคกับรัฐอื่น

เมื่อเป็นรัฐและมีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว การจะติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่น ได้จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองสภาพความเป็นรัฐจากรัฐที่ตนเข้าไปทำการติดต่อด้วย

สำหรับการรับรองรัฐนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         การรับรองโดยพฤตินัย เป็นลักษณะการรับรองชั่วคราว โดยไม่ได้ไปดำเนินการอย่างเป็น ทางการหรือกระทำอย่างชัดแจ้ง เช่น การทำข้อตกลงชั่วคราวหรือมีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างไมเป็นทางการ จากนั้นจึงให้การรับรองโดยนิตินัยต่อไป

2.         การรับรองโดยนิตินัย เป็นการรับรองรัฐอย่างถาวรซึ่งรัฐแสดงออกมาอย่างชัดแจ้งที่จะ เข้าไปดำเนินความสัมพันธ์กับรัฐใหม่อย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้ การรับรองรัฐไม่มีแบบพิธีเป็นพิเศษ อาจจะกระทำไดโดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้

 

ข้อ 4. จงอธิบายวิธีการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธีที่เรียกว่า การไกล่เกลี่ย” (Mediation) ว่ามีลักษณะอย่างไร และแตกต่างจากวิธีที่เรียกว่า Good Office อย่างไร

ธงคำตอบ

การไกลเกลี่ย (Mediation) เป็นกรณีที่รัฐที่สามหรือบุคคลที่สามเป็นผู้ติดต่อให้คูกรณีมีการเจรจากัน และตนก็เข้าร่วมในการเจรจาด้วย รวมทั้งสามารถเสนอแนวทางในการยุติข้อพิพาทให้คู่กรณีพิจารณาได้ด้วย แต่ไม่ผูกพันรัฐคู่พิพาท ซึ่งอาจจะยอมรับแนวทางการไกล่เกลี่ยนั้นหรือไมก็ได้ เพราะกระบวนการไกล่เกลี่ยนั้นขึ้นอยู่กับพื้นฐานของความสมัครใจของทุกฝ่า ย

การไกลเกลี่ยรูปนี้มีลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ

1.         ผู้เสนอตัวหรือผู้รับการไกล่เกลี่ยเป็นไปด้วยความสมัครใจ

2.         ข้อเสนอการไกลเกลี่ยรัฐคู่พิพาทอาจจะรับหรือไมก็ได้

ส่วน Good Offices เป็นกรณีที่รัฐที่สามหรือบุคคลที่สามเข้ามาอำนวยความสะดวกให้คูกรณี ทำการเจรจากันโดยตรง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นกรณีที่รัฐที่สามเข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะตัวกลางเพื่อโน้มน้าว ชักจูง ประสานให้คู่กรณีมาพบกัน เพื่อตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างกัน โดยตนไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเจรจาหรือเสนอ ข้อยุติแต่อย่างใด เป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกจัดให้มีการเจรจากันเท่านั้น เช่น จัดสถานที่เจรจาให้ เป็นต้น

การไกล่เกลี่ย (Mediation) กับ Good Offices ต่างกันตรงที่รัฐที่ทำหน้าที่ Good Offices จะ ไมเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงในการระงับข้อพิพาทเช่นรัฐที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย

Advertisement