การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2553
คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1. ในคดีมรดกที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของนาย ก. เจ้ามรดก จากจำเลย ในฐานะผู้จัดการมรดก คดีอยู่ระหว่างสืบพยานโจทก์นัดที่สอง ซึ่งโจทก์และจำเลยต่างใช้สิทธิระบุ พยานครั้งแรก และระบุพยานเพิ่มเติมเสร็จสิ้นแล้ว บังเอิญโจทก์ทราบภายหลังว่านาย ก. เจ้ามรดก มีเอกสารเก็บอยู่ในตู้นิรภัยที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขารามคำแหง ในวันที่ 8 กันยายน 2553 โจทก์ในฐานะทายาทของนาย ก. เจ้ามรดกได้นำกุญแจไปขอเปิดตู้นิรภัยที่ธนาคารดังกล่าว ปรากฏว่า ได้พบพินัยกรรมฉบับของนาย ก. เจ้ามรดกแบบเขียนเองทั้งฉบับลงวันที่ 1 มกราคม 2553 ยก ทรัพย์มรดกทั้งปวงให้กับโจทก์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งทำให้จำเลยและทายาทอื่นหมดสิทธิที่จะรับ ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
โจทก์มีความประสงค์ที่จะขอยื่นระบุพยานอ้างพินัยกรรมฉบับดังกล่าวต่อศาล โดยอ้างเหตุว่า โจทก์ไม่สามารถทราบได้ว่ามีเอกสารนี้มาก่อน จึงจำเป็นต้องยื่นเอกสารดังกล่าวนี้ต่อศาลในขณะนี้
ดังนั้น ให้ท่านในฐานะทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคสาม (ให้ร่างแต่ใจความในคำร้องเท่านั้น)
ธงคำตอบ
คำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม (ในกรณีพิเศษ)
ข้อ 1. คดีนี้อยู่ระหว่างการสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกและได้ยื่น บัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ดังความแจ้งแล้วนั้น
ข้อ 2. โจทก์ขอประทานเกราบเรียนต่อศาลว่า โจทก์เพิ่งทราบว่าเจ้ามรดกมีเอกสารเก็บอยู่ที่ ตู้นิรภัยที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขารามคำแหง เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2553 โจทก์ในฐานะทายาทของเจ้ามรดกได้นำ กุญแจไปเปิดตู้นิรภัยดังกล่าว และได้พบพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับของเจ้ามรดก ฉบับลงวันที่ 1 มกราคม 2553 ยกทรัพย์มรดกทั้งปวงให้กับโจทก์แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ประสงค์ที่จะอ้างพินัยกรรมฉบับดังกล่าวเป็นพยานเอกสาร ของโจทก์ เนื่องจากระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานได้ล่วงเลยมาแล้ว แต่โจทก์เพิ่งทราบว่า มีพยานเอกสารนี้อยู่ในภายหลัง โจทก์จึงขอประทานอนุญาตศาลขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมที่ได้แนบมาพร้อม คำร้องนี้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ…..(ลายมือชื่อผู้ร้องหรือทนายโจทก์)…..ผู้ร้อง
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้า (ชื่อนักศึกษา) ทนายผู้ร้องเป็นผู้เรียงและพิมพ์
ลงชื่อ…..(ลายมือชื่อนักศึกษา)…..ผู้เรียงและพิมพ์
หมายเหตุ
(1) การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมในกรณีปกติให้ยื่นเป็น “คำแถลง” ขอระบุพยานเพิ่มเติม ต่อศาล (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 88 วรรคสอง)
(2) การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมในกรณีพิเศษ ให้ยื่นเป็น “คำร้อง” ขออนุญาตระบุพยาน เพิ่มเติมต่อศาล (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม)
ข้อ 2. ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาละเมิดเรียกค่าเสียหายจำนวน 1 ล้านบาท โจทก์ได้ส่งหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ครบกำหนดยื่นคำให้การในวันที่ 15 ตุลาคม 2553 และจำเลยยัง มิได้ยื่นคำให้การ ต่อมาในวันที่ 5 ตุลาคม 2553 โจทก์และจำเลยสามารถตกลงเรื่องค่าเสียหายได้ โดยจำเลยยอมชำระค่าเสียหายตามที่โจทก์เรียกร้อง โจทก์จึงไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับจำเลย อีกต่อไป และมีความประสงค์ที่จะถอนฟ้องคดีนี้เสีย
ดังนั้น ให้ท่านในฐานะทนายความของโจทก์ร่างคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องคดีให้แก่โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 (ให้ร่างแต่ใจความในคำบอกกล่าวเท่านั้น)
ธงคำตอบ
คำบอกกล่าวขอถอนฟ้อง
ข้อ 1. คดีนี้โจทก์ได้ส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้จำเลยแล้ว ครบกำหนดยื่นคำให้การในวันที่ 15 ตุลาคม 2553 และจำเลยยังมิได้ยื่นคำให้การ รายละเอียดปรากฏในสำนวนแล้วนั้น
ข้อ 2. บัดนี้โจทก์และจำเลยสามารถตกลงกันได้โดยจำเลยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ตามที่โจทก์เรียกร้อง โจทก์จึงขอถอนฟ้องจำเลยเสีย ขอศาลได้โปรดอนุญาต และขอความกรุณาศาลได้โปรดสั่งคืน ค่าธรรมเนียมให้แก่โจทก์ด้วย
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ……..(ลายมือชื่อโจทก์หรือนักศึกษา)……..ผู้บอกกล่าว (หรือโจทก์)
คำบอกกล่าวฉบับนี้ ข้าพเจ้า (ชื่อนักศึกษา) ทนายโจทก์ เป็นผู้เรียงและพิมพ์
ลงชื่อ……..(ลายมือชื่อนักศึกษา)……ผู้เรียงและพิมพ์
หมายเหตุ
(1) การขอถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การต้องทำเป็น “คำบอกกล่าว” เป็นหนังสือยื่น
ต่อศาล ซึ่งเมื่อศาลได้รับคำบอกกล่าวขอถอนฟ้อง กรณีนี้ศาลย่อมมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนไปได้เลยโดย ไม่จำเป็นต้องสอบถามจำเลย เนื่องจากในชั้นนี้จำเลยยังไม่ได้ยื่นคำให้การ จำเลยยังไม่ได้เข้ามาในคดี
(2) การขอถอนฟ้องภายหลังจากจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีแล้ว ต้องทำเป็น “คำร้อง” ยื่นต่อศาล ซึ่งเมื่อศาลได้รับคำร้องแล้ว ศาลจะอนุญาตให้ถอนหรือไม่อนุญาตก็ได้ ในกรณีที่ศาลเห็นสมควร อนุญาตให้ถอนฟ้องได้นั้น ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่ง ศาลต้องฟังคำชี้แจงของจำเลย หรือผู้ร้องสอด (ถ้ามี) เสียก่อน
ดังนั้น การขอถอนฟ้องในกรณีหลังนี้ เพื่อความรวดเร็วไม่ต้องรอให้ศาลสอบถามจำเลยว่าจะ คัดค้านการถอนฟ้องหรือไม่ จำเลยอาจบันทึกคำยินยอมให้โจทก์ถอนฟ้องต่อท้ายคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ก็ได้
ข้อ 3. คดีอาญาเรื่องหนึ่งได้ความว่า เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2553 เวลาประมาณ 20 นาฬิกาเศษ นายแดง กับนายดำ ได้ร่วมกันใช้อาวุธปืนขนาด .38 ยิงนายขาว ในขณะที่นายขาวนั่งรับประทานอาหารอยูที่ ร้านอาหารข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 นัด กระสุนถูกบริเวณลำตัวทะลุออกด้านหลังทั้งสามนัด แล้วทั้งนายแดงและนายดำพากัน หลบหนีไป ส่วนนายขาวนั้นมีพลเมืองดีนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษา นายขาวจึงไม่ถึงแก่ความตาย เพียงแต่ได้รับอันตรายสาหัส เมื่อพนักงานสอบสวนมาตรวจสถานที่เกิดเหตุ พบหัวกระสุนปืน จำนวน 3 หัว ตกอยู่ที่พื้น จึงยึดเป็นของกลาง ต่อมาวันที่ 1 กันยายน 2553 เวลา 07.00 นาฬิกา นายแดงถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับได้นำส่งพนักงานสอบสวน ชั้นสอบสวนนายแดงให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนจึงนำตัวนายแดงไปฝากขังที่ศาลอาญาตามหมายขังที่ ฝ. 424/2553 และต่อมา พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนการสอบสวนส่งพนักงานอัยการ สำนักงานคดีอาญา และ พนักงานอัยการได้มีคำสั่งพ้องนายแดงในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
หากนักศึกษาเป็นพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบ นักศึกษาจะเรียงคำพ้องคดีนี้อย่างไร ให้เรียงเฉพาะ เนื้อหาคำพ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 158(5) เท่านั้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงแบบพิมพ์คำฟ้อง
ป. อาญา มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา…
ป. อาญา มาตรา 80 ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หริอกระทำไปตลอดแล้วแต่ การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด
ธงคำตอบ
ถ้าข้าพเจ้าเป็นพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบคดีนี้ ข้าพเจ้าจะเรียงคำพ้องคดีนี้ ดังต่อไปนี้
คำฟ้องอาญา
ข้อ 1. เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2553 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยนี้กับพวกที่ยังไมได้ตัว มาฟ้องได้บังอาจร่วมกันใช้อาวุธปีนขนาด .38 ยิงนายขาวผู้เสียหาย โดยเจตนาฆ่าจำนวน 3 นัด กระสุนถูกบริเวณ ลำตัวผู้เสียหาย จำเลยกับพวกได้ลงมือกระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลเพราะผู้เสียหายได้รับ การรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที ผู้เสียหายจึงไม่ถึงแก่ความตายสมดังเจตนาของจำเลยกับพวก เพียงแต่ได้รับ อันตรายสาหัส รายละเอียดบาดแผลปรากฏตามรายงานการชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้อง
เหตุเกิดที่ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ข้อ 2. ตามวันเวลาดังกล่าวในฟ้องข้อ 1. พนักงานสอบสวนยึดหัวกระสุนปืนจำนวน 3 หัว ตกอยู่ที่พื้นเป็นของกลาง และต่อมาวันที่ 1 กันยายน 2553 เวลากลางวัน เจ้าพนักงานจับจำเลยนี้ได้ และได้นำส่ง พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้ว
ชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ ของกลาง เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้
ระหว่างสอบสวน จำเลยถูกควบคุมตัวตลอดมา ขณะนี้ต้องขังอยู่ตามหมายขังที่ ฝ. 424/2523 ของศาลนี้ จึงขอศาลเบิกตัวจำเลยมาพิจารณาพิพากษาลงโทษตามกฎหมายต่อไป
ข้อ 4. นายสมชาย ทนายความตกลงรับจ้างว่าความให้แก่นายเอกจำเลยในคดีอาญาข้อหาลักทรัพย์ ซึ่งคดี ดังกล่าว ศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 1 กันยายน 2553 เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ นายสมชาย ทนายความไม่ไปศาล และไม่มีทนายความอื่นมาศาล ทำให้ศาลไม่สามารถสืบพยานโจทก์ได้ โดย นายสมชายทนายความอ้างว่า นายเอกจำเลยแจ้งว่าได้ดำเนินการว่าจ้างทนายความคนใหม่แล้ว
ให้วินิจฉัย ข้ออ้างของนายสมชายทนายความ รับฟังไต้หรือไม่ และการที่นายสมชายทนายความ ไม่ไปศาล มีความผิดตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 หรือไม่ อย่างไร
ธงคำตอบ
ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 หมวด 3 เรื่องมรรยาท
ต่อตัวความ
ข้อ 12. “การกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ อันอาจทำให้เสื่อมเสียประโยชน์
ของลูกความ
(1) จงใจขาดนัด หรือทอดทิ้งคดี
(2) ……………………….”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสมชาย ทนายความ รับเป็นทนายความให้แก่นายเอกแล้ว แต่ ไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ โดยอ้างว่า นายเอกจำเลยแจ้งว่าได้ดำเนินการว่าจ้างทนายความคนใหม่แล้วนั้น ข้อข้างชองนายสมชายทนายความรับฟังไม่ได้ ทั้งนี้เพราะแม้นายเอกจำเลยจะได้ดำเนินการว่าจ้างทนายความ คนใหม่แล้วก็ตาม แต่นายสมชายทนายความก็ยังมีหน้าที่ต้องไปศาล เพื่อทำหน้าที่ทนายความให้แก่นายเอกจำเลย จนกว่าศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนตัวจากการเป็นทนายความ จึงจะถือว่าหมดหน้าที่ของทนายความ
และการที่นายสมชายทนายความไม่ไปศาลตามกำหนดนัด ย่อมเล็งเห็นได้ว่าอาจทำให้เสื่อมเสีย ประโยชน์ของนายเอกลูกความและต่อกระบวนการพิจารณาซองศาล จึงถือว่าเป็นการทอดทิ้งคดี ดังนั้นการกระทำ ของนายสมชายดังกล่าว จึงเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาท ทนายความฯ ข้อ 12.(1)… (เทียบได้ตามคำสั่งสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความที่ 9/2548)
สรุป ข้ออ้างของนายสมชายทนายความรับฟังไม่ได้ และการกระทำของนายสมชายทนายความ ที่ไม่ไปศาลนั้น ถือว่าเป็นการทอดทิ้งคดี มีความผิดตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความฯ ข้อ 12.(1)