การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2549

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4002  การว่าความและการจัดทำเอกสารทางกฎหมาย

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัดนัยล้วน จำนวน 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. ในวันที่ 19 ตุลาคม 2549 เวลา 9.00 น. ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ในคดีฟ้องขอให้ ชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย นายเก่ง กล้าหาญ ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนี้และเป็นพยานสำคัญที่จะต้องขึ้น เบิกความเป็นคนแรก ได้ประสบอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์ล้มคว่ำเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2549 และ ได้รับบาดเจ็บรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ทำให้ไม่สามารถมาเบิกความต่อศาลในวันนัดสืบพยานได้ นายเก่งมีความประสงค์จะขอเลื่อนการสืบพยานในวันดังกล่าวออกไปก่อนโดยมีใบรับรองแพทย์ เป็นหลักฐาน 

ขอให้ท่านในฐานะทนายความของนายเก่งร่างคำร้องขอเลื่อนคดีให้ตามความประสงค์ ของตัวความ (ให้ร่างแต่ใจความในคำร้องเท่านั้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงแบบฟอร์มศาล)

ธงคำตอบ

คำร้องขอเลื่อนคดี

ข้อ 1. คดีนี้ศาลนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกในวันนี้ เวลา 09.00 น. แต่เนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็น พยานสำคัญที่จะต้องเบิกความเป็นพยานคนแรกในวันนี้ประสบอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์ล้มคว่ำต้องพักรักษาตัวอยู่ใน โรงพยาบาลไมสามารถมาศาลในวันนี้ได้ รายละเอียดปรากฏตามใบรับรองแพทย์ที่ได้แนบมาพร้อมคำร้องฉบับนี้

ด้วยเหตุดังได้ประทานกราบเรียนมาแล้วข้างต้น โจทก์จึงขอเลื่อนการสืบพยานในวันนี้ออกไป สักนัดหนึ่งเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ลงชื่อ…..(ลายมือชื่อนักศึกษา)…..ทนายโจทก์

คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้า (ชื่อนักศึกษา) ทนายโจทก์เป็นผู้เรียงและพิมพ์

ลงชื่อ…..(ลายมือชื่อนักศึกษา)…..ผู้เรียงแสะพิมพ์

ข้อ 2. นายมั่งมี เหลือล้น ได้เป็นโจทก์ฟ้อง นายสมศักดิ์ สายเสมอ ในคดีแพ่งเรียกให้ชำระเงินคำสินค้า จำนวน 2,000,000 บาท จำเลยได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีแล้ว คดีอยู่ในระหว่างนัดสืบพยานโจทก์ ปรากฏว่า นายมั่งมีและนายสมศักดิ์สามารถตกลงกันได้ โดยนายสมศักดิ์ ยอมผ่อนชำระค่าสินค้าให้ นายมั่งมี เป็นงวด ๆ นายมั่งมีจึงไมประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับนายสมศักดิ์อีกต่อไป และต้องการ ถอนฟ้องคดีนี้ ขอให้ท่านในฐานะทนายความของนายมั่งมี เหลือล้น ร่างคำร้องขอถอนฟ้องคดีนี้ ตามความประสงค์ของตัวความ (ให้ร่างแต่ใจความในคำร้องเท่านั้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงแบบฟอร์มศาล)

ธงคำตอบ

คำร้องขอถอนฟ้อง (ในกรณีจำเลยยื่นคำให้การแล้ว)

ข้อ 1. คดีนี้อยู่ระหว่างการนัดสืบพยานโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยสามารถตกลงกันได้ โดยจำเลยยอมผ่อนชำระค่าสินค้าให้แกโจทก์เป็นงวด ๆ โจทก์จึงไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับจำเลยอีกต่อไป โจทก์จึงขอประทานศาลขอถอนฟ้องคดีนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ลงชื่อ…..(ลายมือชื่อนักศึกษา)…..ทนายโจทก์

คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้า (ชื่อนักศึกษา) ทนายโจทก์เป็นผู้เรียงและพิมพ์

ลงชื่อ……(ลายมือชื่อนักศึกษา)…..ผู้เรียงและพิมพ์

ข้าพเจ้า นายสมศักดิ์ สายเสมอ จำเลย ได้รับสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์แล้ว และไม่ค้าน การขอถอนฟ้องดังกล่าว

ลงชื่อ…..(ลายมือชื่อนายสมศักดิ์ สายเสมอ)….จำเลย

ข้อ 3. ข้อเท็จจริงตามสำนวนการสอบสวนในคดีอาญาเรื่องหนึ่งได้ความว่าเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2549 เวลาประมาณ 17.00 น. นายโรจน์ นายชิน และนายตุ้ม ได้ชักชวน ด.ญ.ฤทัย อายุ 14 ปี ให้นั่งรถจักรยานยนต์ไปเที่ยว ครั้นเมื่อไปถึงบ้านร้างแห่งหนึ่งในตำบลยุ้งทลาย อำเภออูทอง จังหวัด สุพรรณบุรี นายโรจน์กับพวกทั้ง 3 คน ได้ฉุดกระชากลาก ด.ญ.ฤทัย เข้าไปในบ้านร้างดังกล่าว แล้วช่วยกันจับ ด.ญ.ฤทัย ขึงพืดไว้ แล้วจากนั้นก็ผลัดเปลี่ยนกันข่มขืนกระทำชำเราจนสำเร็จ ความใคร่คนละหนึ่งครั้ง เมื่อข่มขืนเสร็จจึงพา ด.ญ.ฤทัย ไปส่งที่บ้าน ต่อมาวันที่ 1 กันยายน 2549 มารดาของ ด.ญ.ฤทัย เห็นว่าบุตรสาวไม่สบายจึงสอบถาม ได้ความว่าถูกข่มขืนมาดังกล่าว จึงพา ด.ญ.ฤทัย ไปแจ้งความต่อพันตำรวจโท บุญลือ พนักงานสอบสวน

ต่อมาวันที่ 10 กันยายน 2549 เจ้าพนักงานจับนายชินได้ที่จังหวัดกาญจนบุรี และในวันที่ 11 กันยายน 2549 จับนายโรจน์ ได้นำส่งพันตำรวจโท บุญลือ พนักงานสอบสวน ชั้นสอบสวนทั้งสองคน ให้การรับสารภาพและถูกนำตัวไปฝากขังไว้ที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีในคดีหมายเลขดำที่ พ. 427/2549

สมมติว่านักศึกษาเป็นพนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรีเจ้าของสำนวนคดีนี้ ให้ร่างคำฟ้องคดีดังกล่าว เฉพาะเนื้อหาคดีเท่านั้น

ป. อาญา มาตรา 276 ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยหญิงอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้หรือโดยทำให้หญิงเข้าใจผิดว่าตน เป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษ…

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปีนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยร่วม กระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ต้องระวางโทษ…

มาตรา 277 ผู้ใดกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิงนั้น จะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษ…

ธงคำต

คำฟ้องอาญา

ข้อ 1. เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2549 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 และ ที่ 2 กับพวกที่ยังไม่ได้ตัว มาฟ้องอีกหนึ่งคนได้บังอาจร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายฉุดกระชากลาก ด.ญ.ฤทัย อายุ 14 ปี ผู้เสียหาย ซึ่งมิใช่ ภรรยาของจำเลยทั้งสองกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องแล้วกระทำชำเราผู้เสียหาย โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน อันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง โดยผู้เสียหายไม่ยินยอม (4 คะแนน)

เหตุเกิดที่ตำบลยุ้งทลาย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (1 คะแนน)

ข้อ 2. ต่อมาวันที่ 10 กันยายน 2549 เวลากลางวัน เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 2 ได้และในวันที่ 11 กันยายน 2549 เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 ได้ นำส่งพนักงานสอบสวนทำการสอบสวน (2 คะแนน)

ชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองให้การวับสารภาพ (1 คะแนน)

ระหว่างสอบสวนจำเลยถูกควบคุมตัวมาตลอด ขณะนี้ต้องขังอยู่ตามหมายขังของศาลนี้ ตามคดี หมายเลขดำที่ พ. 427/2549 ขอศาลเบิกตัวจำเลยทั้งสองมาพิจารณาพิพากษาลงโทษตามกฎหมายต่อไป (2 คะแนน)

 

ข้อ 4. นักศึกษามีความเข้าใจในเรื่องมรรยาททนายความว่าอย่างไร และมรรยาทของทนายความที่มีต่อ ทนายความด้วยกันเป็นอย่างไร หากผิดมรรยาทจะมีกระบวนการดำเนินการอย่างไร ให้อธิบาย

ธงคำตอบ

มรรยาททนายความ หมายถึง จรรยาบรรณที่กำหนดเป็นข้อปฏิบัติและข้อห้ามปฏิบัติ ในการประกอบวิชาชีพทนายความ (Professional Ethics) มรรยาททนายความจึงเป็นข้อบังคับที่เป็นแนวทาง ในการประกอบวิชาชีพทนายความ ซึ่งทนายความทุกคนต้องเคร่งครัดถือปฏิบัติตามเพื่อให้วิชาชีพทนายความ เป็นวิชาชีพที่ผดุงความยุติธรรมได้อย่างแท้จริง (2 คะแนน)

ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความต่อทนายความด้วยกันมีเรื่องหลักอยู่

2 เรื่อง

ประการแรก คือ การแย่ง หรือกระทำการใดในลักษณะประมูลคดีที่มีทนายความอื่นว่าต่าง แก้ต่างอยู่แล้วมาว่า หรือรับหรือสัญญาว่าจะรับว่าต่าง แก้ต่างในคดีที่รู้ว่ามีทนายความอื่นว่าอยู่แล้ว เว้นแต่

(1)       ได้วับความยินยอมจากทนายความที่ว่าความอยู่ในเรื่องนั้นแล้ว

(2)       มีเหตุผลอันควรเชื่อว่าตัวความได้ถอนทนายความคนก่อนจากการเป็นทนายความ

ของเขาแล้ว หรือ

(3)       ทนายความผู้ว่าความในเรื่องนั้นปฏิเสธ หรือแสดงความไม่สมัครใจที่จะว่าความในคดี นั้นต่อไปแล้ว (ข้อบังคับสภาทนายความฯ ข้อ 16)

การยินยอมตกลง หรือให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ค่านายหน้าหรือบำเหน็จรางวัลใด ๆ ด้วย ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ แกผู้ที่หาคดีความหรือนำคดีความมาให้ หรือมีคนประจำสำนักงานดำเนินการจัดหา คดีความมาให้ว่า โดยทนายความผู้นั้นคิดค่าส่วนลดของค่าจ้างให้หรือให้เงินเดือนหรือเงินจำนวนหนึ่งจำนวนใด หรือ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างใด ๆ แกผู้ที่หาคดีความมาให้นั้น แม้บุคคลผู้หาคดีความมาให้โดยลักษณะดังกล่าว จะเป็นเสมียนหรือลูกจ้างประจำสำนักงานของทนายความผู้นั้นก็ตาม ก็เสมือนหนึ่งเป็นการแย่งชิงคดีมาทำ ซึ่งเป็น ลักษณะที่ต้องห้าม (ข้อบังคับสภาทนายความฯ ข้อ 19)

ประการที่สอง การประกอบอาชีพ ดำเนินธุรกิจ หรือประพฤติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ศีลธรรมอันดีหรือเป็นการเสอมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของทนายความ เพราะอาชีพทนายความเป็นอาชีพ ที่ต้องได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ และความเคารพยกย่องจากสังคม หากทนายความผู้ใดประกอบอาชีพหรือดำเนิน การอื่นใดที่ส่อไปในทางเป็นที่รังเกียจของสังคมย่อมเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม (ข้อบังคับสภาทนายความฯ ข้อ 18)

การประกาศโฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นประกาศโฆษณาใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1)       อัตราค่าจ้างว่าความ หรือไมเรียกร้องค่าว่าความ เว้นแต่เป็นการประกาศโฆษณาของ ทนายความที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ซึ่งสภาทนายความ สถาบัน สมาคม องค์การ หรือ ส่วนราชการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการเอง หรือ

(2)       ชื่อ คุณวุฒิ ตำแหน่ง ถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงาน อันเป็นไปในทางโอ้อวด ชักชวนให้ผู้ที่มี อรรถคดีมอบคดีให้ว่าต่างหรือแก้ต่าง เว้นแต่เป็นการแสดงชื่อ คุณวุฒิ ตำแหน่ง ถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงาน ตามสมควร โดยสุภาพ (ข้อบังคับสภาทนายความฯ ข้อ 17)

พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 กำหนดให้ทนายความต้องประพฤติตนตามข้อบังคับ วาด้วยมรรยาททนายความโดยการกำหนดมรรยาททนายความให้สภาทนายความตราเป็นข้อบังคับ ทนายความผู้ใด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับที่สภาทนายความตราขึ้น ให้ถือว่าทนายความผู้นั้นประพฤติผิดมรรยาท ทนายความ ทนายความที่ฝ่าฝืนหรือไมปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความดังกล่าว จะต้องได้รับโทษ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 52 โทษผิดมรรยาททนายความ มีอยู่ 3 สถาน ได้แก่

(1)       ภาคทัณฑ์

(2)       ห้ามทำการเป็นทนายความมีกำหนดไม่เกินสามปี หรือ

(3)       ลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ (2 คะแนน)

ในกรณีที่ประพฤติผิดมรรยาททนายความเล็กน้อยและเป็นความผิดครั้งแรก ผู้มีอำนาจ

สั่งลงโทษดังกล่าวได้แก่ คณะกรรมการมรรยาททนายความ คณะกรรมการสภาทนายความ และสภานายกพิเศษ แห่งสภาทนายความ เห็นว่ามีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้ โดยว่ากล่าวตักเตือน หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือ ไว้ก่อนก็ได้ (1 คะแนน)

Advertisement