การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3110 (LAW3010) กฎหมายล้มละลายและฟื้นฟูกิจการ
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ
ข้อ 1. นายหนึ่งทําสัญญากู้ยืมเงินจากนายสองจํานวน 2 ล้านบาท ต่อมาหนี้เงินกู้ถึงกําหนดชําระ นายหนึ่ง ไม่ชําระหนี้ นายสองจึงฟ้องนายหนึ่งเป็นคดีล้มละลาย ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์นายหนึ่งชั่วคราว ในวันที่ 10 มิถุนายน 2564 คดีของนายสองอยู่ในระหว่างการสืบพยาน นอกจากนี้ นายหนึ่งยังมี เจ้าหนี้อีกหนึ่งราย คือ นายสาม ซึ่งนายหนึ่งได้ทําสัญญากู้ยืมเงินจากนายสามจํานวน 3 ล้านบาท เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2564 หนี้ของนายสามถึงกําหนดชําระ นายสามจึงต้องการฟ้องนายหนึ่งให้ ล้มละลายในวันที่ 20 มิถุนายน 2564
ดังนี้ นายสามจะฟ้องนายหนึ่งให้ล้มละลายได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
มาตรา 15 “ตราบใดที่ลูกหนี้ยังมิได้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดจะฟ้องลูกหนี้นั้น เป็นคดีล้มละลายอีกก็ได้ แต่เมื่อศาลได้สั่งในคดีหนึ่งคดีใดให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว ให้จําหน่าย
คดีล้มละลายซึ่งเจ้าหนี้อื่นฟ้องลูกหนี้คนเดียวกันนั้น”
วินิจฉัย
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 15 ได้กําหนดไว้ว่า ก่อนศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้ แต่ละรายจะฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายอีกคดีก็ได้ แต่เมื่อศาลเดียวกันหรือศาลหนึ่งศาลใดได้มีคําสั่งพิทักษ์ ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว ศาลจะต้องสั่งจําหน่ายคดีล้มละลายอื่น ๆ ซึ่งเจ้าหนี้อื่นฟ้องลูกหนี้คนเดียวกันนั้น
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสองฟ้องนายหนึ่งเป็นคดีล้มละลาย ซึ่งคดีนี้ ศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ ทรัพย์ชั่วคราวแล้วนั้น ในขณะที่คดีของนายสองอยู่ในระหว่างสืบพยาน นายสามซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของนายหนึ่ง อีกหนึ่งราย ซึ่งจํานวนเงินที่นายหนึ่งเป็นหนี้นายสามนั้นเป็นเงิน 3 ล้านบาท และหนี้นั้นถึงกําหนดชําระแล้ว มีความต้องการที่จะฟ้องให้นายหนึ่งล้มละลายอีกนั้น เมื่อคดีที่นายสองฟ้องให้นายหนึ่งล้มละลาย ศาลยังไม่มี คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์นายหนึ่งเด็ดขาด ดังนั้น นายสามย่อมสามารถฟ้องให้นายหนึ่งล้มละลายอีกได้ ตามมาตรา 15
สรุป นายสามสามารถฟ้องนายหนึ่งให้ล้มละลายได้
ข้อ 2. นายมะนาวทําสัญญาประนีประนอมยอมความกับนายมะละกอ โดยนายมะนาวตกลงชําระเงินจํานวน 3,000,000 บาท แก่นายมะละกอ โดยขอผ่อนชําระเป็น 6 งวด งวดละ 500,000 บาท กําหนดผ่อน ชําระทุกวันที่ 1 ของทุกเดือน เริ่มผ่อนชําระงวดแรกในเดือนกรกฎาคม 2564 เมื่อผ่อนชําระไปแล้ว 2 งวด ธุรกิจของนายมะนาวประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี จึงทําให้ไม่สามารถชําระหนี้ส่วนที่ เหลือได้อีก ต่อมาหนี้เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความงวดที่ 3 ถึงกําหนดชําระ แต่นายมะนาว ไม่ชําระหนี้ นายมะละกอจึงได้ส่งหนังสือทวงถามให้นายมะนาวชําระหนี้แล้วสองครั้ง แต่นายมะนาวก็ ยังคงเพิกเฉย นายมะละกอจึงฟ้องให้นายมะนาวล้มละลาย ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด นายมะนาวจอ ประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย 1 ล้านบาท เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก ที่ ประชุมเจ้าหนี้ลงคะแนนเสียงด้วยมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมาก ซึ่งมีจํานวนหนี้เท่ากับ 2 ใน 3 ของเจ้าหนี้ ที่ได้เข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนว่ายอมรับคําขอประนอมหนี้ของนายมะนาว
ดังนี้ เหตุใดนายมะนาวต้องขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย และเหตุใดจึงต้องมีการประชุมเจ้าหนี้ ครั้งแรก นอกจากนี้ ถ้าท่านเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ท่านจะรายงานศาลว่า มติของเจ้าหนี้ ในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
มาตรา 6 “ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
“มติพิเศษ” หมายความว่า มติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมาก และมีจํานวนหนี้เท่ากับสามในสี่แห่ง จํานวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้ และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น”
มาตรา 31 วรรคหนึ่ง “เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเร็วที่สุด เพื่อปรึกษาว่าจะควรยอมรับคําขอประนอมหนี้ของลูกหนี้หรือควรขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายและปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไป การประชุมนี้ให้เรียกว่าประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้
1. เหตุที่นายมะนาวต้องขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายนั้น เป็นเพราะว่าหากการขอประนอมหนี้ ก่อนล้มละลายของนายมะนาวเป็นผลสําเร็จ จะทําให้นายมะนาวลูกหนี้จ่ายหนี้น้อยลง และหากนายมะนาวลูกหนี้ ชําระหนี้ตามคําขอประนอมหนี้ครบถ้วนแล้ว จะทําให้นายมะนาวลูกหนี้ไม่ต้องตกเป็นคนล้มละลายและสามารถ
กลับมาทํานิติกรรมได้ตามปกติ
2. เหตุที่ต้องมีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกนั้น เป็นเพราะตามมาตรา 31 วรรคหนึ่งได้กําหนดไว้ว่า เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเรียกประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลาย โดยเร็วที่สุด ซึ่งต้องมีทุกคดีในคดีล้มละลาย เพื่อปรึกษาว่า
(1) ที่ประชุมเจ้าหนี้จะยอมรับคําขอประนอมหนี้ของลูกหนี้หรือไม่
(2) หรือควรขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย
(3) และปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไป
3. ในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก ซึ่งเป็นการประชุมเรื่องการขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ก่อน ล้มละลายตามมาตรา 31 นั้น มติที่ใช้จะต้องเป็น “มติพิเศษ” ตามมาตรา 6 คือ
(1) เป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมาก คือ ต้องมีเสียงของเจ้าหนี้มากกว่ากึ่งหนึ่งของเจ้าหนี้
ที่ออกเสียงลงคะแนน และ
(2) มีจํานวนหนี้ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ที่ได้ออกเสียงลงคะแนน
แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงคะแนนเสียงด้วยมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมาก ซึ่งมีจํานวนหนี้เท่ากับ 2 ใน 3 ของเจ้าหนี้ที่ได้เข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนว่ายอมรับคําขอ ประนอมหนี้ของนายมะนาวลูกหนี้เท่านั้น จึงไม่ถือว่าเป็นมติพิเศษ มติของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สรุป ถ้าข้าพเจ้าเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ข้าพเจ้าจะรายงานศาลว่า มติของเจ้าหนี้ในการ
ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อ 3. ในวันที่ 10 มกราคม 2564 นายเล็กทําสัญญาขายรถยนต์ให้นายใหญ่ 1 คัน ราคา 500,000 บาท โดยนายใหญ่ได้ออกเช็คสั่งจ่ายชําระราคารถยนต์มอบไว้ให้แก่นายเล็ก เช็คฉบับดังกล่าวลงวันที่ สั่งจ่ายเงินวันที่ 10 ตุลาคม 2564 ต่อมานายใหญ่กลายเป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงถูกเจ้าหนี้รายอื่น ฟ้องล้มละลาย ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 เจ้าหนักงานพิทักษ์ ทรัพย์ได้ดําเนินการโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามกฎหมายและประกาศให้เจ้าหนี้ทั้งหลาย มายื่นขอรับชําระหนี้ในวันที่ 1 กันยายน 2564 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าในขณะที่มีการโฆษณาคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด นายเล็กได้เดินทางไปฉีดวัคซีนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า นายเล็กจะสามารถยื่นคําขอรับชําระหนี้ตามเช็คจํานวน 500,000 บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้หรือไม่ ภายในกําหนดระยะเวลาเท่าใด จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
มาตรา 91 วรรคหนึ่ง “เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคําขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ถ้าเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกําหนดเวลาให้อีกได้ ไม่เกินสองเดือน”
มาตรา 94 “เจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชําระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาล มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกําหนดชําระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่
คดีไม่ได้
(1) หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับ
(2) หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแต่ไม่รวมถึงหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทําขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดําเนินต่อไปได้”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเล็กทําสัญญาขายรถยนต์ให้นายใหญ่ 1 คัน ราคา 500,000 บาท ในวันที่ 10 มกราคม 2564 โดยนายใหญ่ได้ออกเช็คสั่งจ่ายชําระราคารถยนต์มอบไว้แก่นายเล็กลงวันที่สั่งจ่ายเงิน วันที่ 10 ตุลาคม 2564 นั้น ถือว่าวันที่เกิดมูลหนี้ตามเช็ค คือ วันที่ 10 มกราคม 2564 ซึ่งเป็นวันก่อนที่ศาลจะมี คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (วันที่ 8 มิถุนายน 2564) แม้ว่าเช็คฉบับดังกล่าวจะลงวันที่สั่งจ่ายเงินเป็นวันที่ 10 ตุลาคม 2564 ก็เป็นแค่เพียงกําหนดเวลาใช้เงินเท่านั้น ดังนั้น นายเล็กจึงสามารถยื่นคําขอรับชําระหนี้ตามเช็ค จํานวน 500,000 บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ เพราะมูลแห่งหนี้ดังกล่าวได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาล มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นจะยังไม่ถึงกําหนดชําระก็ตาม ตามมาตรา 94
และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในขณะที่มีการโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น นายเล็กได้ เดินทางไปฉีดวัคซีนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา กรณีเช่นนี้ย่อมถือว่านายเล็กเป็นเจ้าหนี้ซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักร นายเล็กจึงสามารถยื่นคําขอรับชําระหนี้ตามเช็คจํานวน 500,000 บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ภายใน กําหนดระยะเวลา 4 เดือนนับแต่วันโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คือวันที่ 1 กันยายน 2564 ตามมาตรา 91
สรุป ถ้านายเล็กสามารถยื่นคําขอรับชําระหนี้ตามเช็คจํานวน 500,000 บาท ต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ได้ภายในกําหนด 4 เดือนนับแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 ซึ่งเป็นวันโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด