การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า โจทก์นําที่ดินไปขายฝากไว้กับจําเลยในราคา 50,000 บาท มีกําหนด ไถ่ถอนเป็นเวลา 4 เดือน โจทก์ไปขอไถ่ถอนก่อนครบกําหนด แต่จําเลยบ่ายเบี่ยงเรื่อยมาจนเกิน กําหนดเวลาที่โจทก์จะไถ่ถอนที่ดินคืนได้ ขอให้ศาลบังคับจําเลยคืนที่ดินตามสัญญาขายฝาก ให้แก่โจทก์ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า โจทก์ไม่เคยมาขอไถ่ถอนที่ดินคืนจากจําเลยจนล่วงเลยเวลา ที่โจทก์จะไถ่ถอนได้ จึงขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงยื่นคําอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จําเลย คืนที่ดินตามสัญญาขายฝากแก่โจทก์ ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

Advertisement

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า โจทก์นําที่ดินไปขายฝากไว้กับจําเลยในราคา 50,000 บาท มีกําหนดไถ่ถอนเป็นเวลา 4 เดือน โจทก์ไปขอไถ่ถอนก่อนครบกําหนด แต่จําเลยบ่ายเบี่ยงเรื่อยมา จนเกินกําหนดเวลาที่โจทก์จะไถ่ถอนที่ดินคืนได้ ขอให้ศาลบังคับจําเลยคืนที่ดินตามสัญญาขายฝากให้แก่โจทก์ และต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงยื่นอุทธรณ์ ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จําเลยคืนที่ดินตามสัญญาขายฝากแก่โจทก์นั้น ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือคดีนี้โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่

กรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่าคดีนี้เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่สามารถที่จะอุทธรณ์ได้ ทั้งนี้เพราะสัญญาขายฝากนั้นเป็นสัญญาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปเป็นของ ผู้ซื้อฝากคือจําเลยแล้วเพียงแต่ผู้ขายฝาก คือโจทก์มีสิทธิที่จะไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ภายในกําหนดเวลาที่ได้ตกลงกัน
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายฝากยื่นฟ้องเรียกทรัพย์สินตามสัญญาขายฝากคืนถือว่าในขณะที่ฟ้องนั้นทรัพย์สินจึงไม่ใช่ของโจทก์ คดีที่โจทก์ฟ้องจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และเมื่อราคาทรัพย์สินที่ขายฝากมีราคาเพียง 50,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท โจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

สรุป โจทก์จะอุทธรณ์ไม่ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยผิดสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยคืนทรัพย์สิน ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่าไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ขาดนัดพิจารณาและจําเลยขอให้ศาลพิจารณาคดีต่อไป ศาลจึงสืบพยานจําเลยฝ่ายเดียวและนัดฟังคําพิพากษาในอีก 4 เดือนข้างหน้า โจทก์ยื่นคําร้อง ก่อนศาลพิพากษาขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ต่อมาศาลมีคําสั่งอนุญาตให้โจทก์นําคดีขึ้นมาพิจารณาคดีใหม่จําเลยไม่พอใจคําสั่งของศาลจึงยื่นอุทธรณ์ คําสั่งศาลทันทีโดยไม่ได้โต้แย้งคําสั่งศาลมาก่อน ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา
(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใต้โต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น
เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่งระหว่าง
พิจารณา”

วินิจฉัย

คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณานั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ

1. จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี
2. เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป
3. ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228 และเมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์คําสั่งนั้นทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้งคัดค้าน คําสั่งนั้นไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา หรือ คําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 (2)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยผิดสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ ขอให้ศาลบังคับให้ จําเลยคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อแก่โจทก์ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่าไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ขาดนัดพิจารณาและจําเลยขอให้ศาลพิจารณาคดีต่อไปศาลจึงสืบพยานจําเลยฝ่ายเดียวและนัดฟังคําพิพากษาในอีก 4 เดือนข้างหน้านั้น เมื่อโจทก์ยื่นคําร้องก่อนศาลพิพากษาขอให้ศาลพิจารณา คดีใหม่โดยอ้างว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ย่อมถือว่าคดีนี้ยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ดังนั้น เมื่อต่อมาศาลมีคําสั่งอนุญาตให้โจทก์นําคดีขึ้นมาพิจารณาคดีใหม่ คําสั่งของศาลดังกล่าวเป็นคําสั่งในระหว่าง การพิจารณาคดีและไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล จึงถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจําเลยไม่ได้โต้แย้งคําสั่งดังกล่าวไว้ก่อน จําเลยจึงไม่สามารถอุทธรณ์คําสั่งอนุญาตของศาลได้

สรุป จําเลยจะอุทธรณ์คําสั่งอนุญาตของศาลดังกล่าวไม่ได้

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยกู้ยืมเงินโจทก์จํานวน 200,000 บาท หนี้เงินกู้ถึงกําหนดชําระ จําเลยไม่ชําระหนี้ขอให้ศาลบังคับให้ชําระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์ จําเลยยื่นคําให้การแก้คดีตามกฎหมายในระหว่างการพิจารณาคดีโจทก์ยื่นคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวขอให้ศาลมีคําสั่ง อายัดเงินในธนาคารจํานวน 100,000 บาทของจําเลย ศาลไต่สวนคําร้องของโจทก์และมีคําสั่งให้ อายัดเงินในธนาคารของจําเลย ดังนี้ คําสั่งของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 189 “คดีมโนสาเร่ คือ

(1) คดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา”

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือ ในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 นั้น เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่โจทก์ในการขอให้ศาลมีคําสั่งกําหนด วิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณา หากโจทก์เห็นว่าโจทก์จะได้รับความเสียหาย จากการกระทําของจําเลย โจทก์ก็ชอบที่จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 ได้ แต่การร้องขอ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 นั้น จะต้องมิใช่คดีมโนสาเร่

ตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่าจําเลยกู้ยืมเงินโจทก์จํานวน 200,000 บาท หนี้เงินกู้ ถึงกําหนดชําระจําเลยไม่ชําระหนี้ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์ และจําเลยยื่นคําให้การแก้คดีตามกฎหมายนั้น จะเห็นได้ว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งถือเป็นคดีมโนสาเร่ การที่โจทก์ยื่นคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (1) คือขอให้ศาลมีคําสั่งอายัดเงินในธนาคารจํานวน 100,000 บาทของจําเลยนั้น โจทก์จึงไม่อาจ ใช้สิทธิขอให้ศาลมีคําสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวได้ ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว เมื่อศาลได้ไต่สวนคําร้องของโจทก์และได้มีคําสั่งให้อายัดเงินในธนาคารของจําเลย คําสั่งของศาลดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งของศาลที่ให้อายัดเงินในธนาคารของจําเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคําพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้แก่โจทก์จํานวน 500,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จําเลยไม่พอใจคําพิพากษาของศาลจังหวัด เชียงใหม่จึงยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลจังหวัดเชียงใหม่ต่อศาลอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคําสั่งพิพากษายกคําพิพากษาของศาลจังหวัดเชียงใหม่ และส่งสํานวนไปให้ศาลจังหวัดฝางพิจารณาคดีใหม่ ต่อมาศาลจังหวัดฝางมีคําพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ ดังนี้ ถ้าโจทก์ต้องการจะบังคับคดี โจทก์ต้องออกหมายบังคับคดีที่ศาลใด เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีซึ่งมีอํานาจกําหนดวิธีการ บังคับคดีตามมาตรา 276 และมีอํานาจทําคําวินิจฉัยชี้ขาดหรือทําคําสั่งในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดี ตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในขั้นต้น หรือตามที่มีกฎหมายบัญญัติ

ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้ส่งคดีไปยังศาลชั้นต้นแห่งอื่นที่มิได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งที่อุทธรณ์ หรือฎีกานั้น เพื่อการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา 243 (2) และ (3) ให้ศาลที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งใหม่นั้น เป็นศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดี เว้นแต่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคําพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้แก่โจทก์จํานวน 500,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จําเลยไม่พอใจคําพิพากษาของศาลจังหวัดเชียงใหม่จึงยื่น อุทธรณ์คําพิพากษาของศาลจังหวัดเชียงใหม่ต่อศาลอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคําสั่งพิพากษายกคําพิพากษาของ ศาลจังหวัดเชียงใหม่ และส่งสํานวนไปให้ศาลจังหวัดฝางพิจารณาคดีใหม่ และต่อมาศาลจังหวัดฝางมีคําพิพากษาให้ จําเลยชําระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์นั้น กรณีดังกล่าวถือเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้ส่งคดีไปยังศาลชั้นต้นแห่งอื่นที่มิได้มี คําพิพากษาหรือคําสั่งที่อุทธรณ์นั้นเพื่อการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา 243 (2) กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 วรรคสอง กล่าวคือ ให้ศาลที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งใหม่ ซึ่งคือศาลจังหวัดฝางนั้น เป็นศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดี ดังนั้น ถ้าโจทก์ต้องการจะบังคับคดี โจทก์ต้องออกหมายบังคับคดีที่ศาลจังหวัดฝาง

สรุป โจทก์ต้องขอออกหมายบังคับคดีที่ศาลจังหวัดฝาง

หมายเหตุ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่งตั้งแต่มาตรา 271 เป็นต้นไป ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่หลายครั้ง จนถึงปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560

Advertisement