การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3107 (LAW 3007) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ
ข้อ 1. นายคําฟ้องให้นายเขียวชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมจํานวนสี่แสนบาท นายเขียวยื่นคําให้การว่า นายเขียวชําระเงินคืนให้นายดําครบถ้วนแล้ว ขอให้ศาลยกฟ้อง ในระหว่างพิจารณาคดี นายดํา ยื่นคําร้องขอแก้ไขคําฟ้อง ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องดังกล่าวนายดําจึงยื่นอุทธรณ์คําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องทันทีโดยไม่ได้โต้แย้งคําสั่งดังกล่าวไว้ก่อน ต่อมาศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาให้นายเขียวชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมจํานวนสี่แสนบาทให้แก่นายดํา นายเขียวยื่นอุทธรณ์ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้ํา ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง
ให้วินิจฉัยว่า
(ก) นายดํายื่นอุทธรณ์คําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องในระหว่างพิจารณาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
(ข) นายเขียวยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้ําได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 1 “ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
(5) “คําคู่ความ” หมายความว่า บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ
มาตรา 18 วรรคห้า “คําสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรานี้ ให้อุทธรณ์และ ฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247
มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย
ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้น หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์
คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”
มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228
(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา
(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น
เป็นต้นไป
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา”
มาตรา 228 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ
(3) ไม่รับหรือคืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งมิได้ทําให้ คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ
คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป
ถ้าคู่ความมิได้อุทธรณ์คําสั่งในระหว่างพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ก็ให้อุทธรณ์ได้ในเมื่อศาลพิพากษาคดีแล้วตามความในมาตรา 223
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้
(ก) การที่นายดำฟ้องให้นายเขียวชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมจํานวนสี่แสนบาท นายเขียวยื่น คําให้การว่านายเขียวชําระเงินคืนให้นายดําครบถ้วนแล้ว ขอให้ศาลยกฟ้อง และในระหว่างพิจารณาคดี นายดํา ยื่นคําร้องขอแก้ไขคําฟ้อง ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องดังกล่าว นายดําจึงยื่น อุทธรณ์คําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องทันทีโดยไม่ได้โต้แย้งคําสั่งดังกล่าวไว้ก่อนนั้น เมื่อคําฟ้องถือเป็น คําคู่ความอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 1 (5) การที่ศาลมีคําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องจึงเป็นคําสั่ง ไม่รับคําคู่ความตามมาตรา 18 ซึ่งไม่ได้ทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากแต่เสร็จไปเฉพาะประเด็นบางข้อ จึงเป็น คําสั่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 (3) ซึ่งไม่ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 ดังนั้น นายดําจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องได้ทันที แม้ไม่ได้โต้แย้งคําสั่งดังกล่าวไว้ก่อน โดยอุทธรณ์ภายในกําหนด 1 เดือนนับแต่วันที่มีคําสั่ง หรืออุทธรณ์ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่มีคําพิพากษาก็ได้
ตามมาตรา 228
(ข) การที่นายคําฟ้องให้นายเขียวชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืม และนายเขียวยื่นคําให้การว่า นายเขียวชําระเงินคืนให้นายดําครบถ้วนแล้ว และเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาให้นายเขียวชําระหนี้ ตามสัญญากู้ยืม นายเขียวยื่นอุทธรณ์ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้ํานั้น ถือเป็นการอุทธรณ์ข้อกฎหมายซึ่งเป็นข้อที่นายเขียว ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ซึ่งโดยหลักแล้ว ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ห้ามไม่ให้นายเขียวอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว
แต่อย่างไรก็ดี เมื่อปัญหาว่าเป็นฟ้องซ้ําหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ที่แม้ว่านายเขียวจะ ไม่ได้ยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น นายเขียวก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ดังนั้น นายเขียวจึงสามารถยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำได้
สรุป
(ก) นายดํายื่นอุทธรณ์คําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องในระหว่างพิจารณาได้
(ข) นายเขียวยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำได้
ข้อ 2. โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินที่จําเลยเช่าจากโจทก์และเรียกค่าเช่าที่ค้างชําระก่อนฟ้อง 30,000 บาท และนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปเดือนละ 3,000 บาท จนกว่าจําเลยและบริวารจะ ออกไปจากที่ดินที่เช่า จําเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอํานาจฟ้อง และจําเลยไม่เคย ค้างชําระค่าเช่าแก่โจทก์ ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างการพิจารณา จําเลยยื่นคําร้องว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของ ที่ดิน หากโจทก์แพ้คดีแล้ว โจทก์จะหลีกเลี่ยงไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ขอให้ศาล สั่งให้โจทก์นําเงินมาวางศาลเพื่อประกันการชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย โจทก์ยื่นคําคัดค้าน ว่า (1) คดีนี้เป็นคดีมโนสาเร่และเป็นคดีฟ้องขับไล่ จําเลยไม่มีสิทธิขอให้นําวิธีการชั่วคราวมาใช้ บังคับ (2) โจทก์ให้จําเลยเช่าที่ดินโดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน โจทก์ใช้สิทธิโดยสุจริต ขอให้ยกคําร้อง
ให้วินิจฉัยว่า คําคัดค้านของโจทก์ตาม (1) และ (2) แต่ละข้อฟังขึ้นหรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 253 วรรคหนึ่ง “ถ้าโจทก์มิได้มีภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานอยู่ในราชอาณาจักรและ ไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือถ้าเป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยง ไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย จําเลยอาจยื่นคําร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาขอให้ศาล มีคําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้ เพื่อการชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้”
มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือ ในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใดๆ ….”
วินิจฉัย
ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 วรรคหนึ่ง กรณีที่จําเลยจะยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราว ก่อนพิพากษา โดยขอให้ศาลมีคําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชําระค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายได้นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ คือ
1. โจทก์ไม่ได้มีภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานอยู่ในราชอาณาจักร และไม่มีทรัพย์สินที่อาจ ถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือ
2. เป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินที่จําเลยเช่าจากโจทก์และเรียกค่าเช่า ที่ค้างชําระก่อนฟ้อง 30,000 บาท และนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปเดือนละ 3,000 บาท จนกว่าจําเลยและ บริวารจะออกไปจากที่ดินที่เช่า จําเลยให้การว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอํานาจฟ้อง และจําเลยไม่เคยค้างชําระ ค่าเช่าแก่โจทก์ ขอให้ยกฟ้องนั้น
(1) ระหว่างการพิจารณา การที่จําเลยยื่นคําร้องว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน หากโจทก์แพ้คดีแล้ว โจทก์จะหลีกเลี่ยงไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ขอให้ศาลสั่งให้โจทก์นําเงินมาวางศาลเพื่อประกันการชําระ ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายนั้น เป็นกรณีที่จําเลยยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ยื่นคําร้องเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254
ดังนั้น แม้คดีนี้จะเป็นคดีมโนสาเร่ (คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท หรือคดีฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 30,000 บาท) ซึ่งต้องห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคําร้องเพื่อขอคุ้มครอง ชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 แต่เมื่อคดีนี้เป็นการขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 จําเลยจึง ร้องขอเพื่อคุ้มครองชั่วคราวได้ ไม่ต้องห้ามแต่อย่างใด ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคําคัดค้านว่า คดีนี้เป็นคดีมโนสาเร่และ เป็นคดีฟ้องขับไล่ จําเลยไม่มีสิทธิขอให้นําวิธีการชั่วคราวมาใช้บังคับนั้น คําคัดค้านของโจทก์ในกรณีนี้จึงฟังไม่ขึ้น
(2) การที่โจทก์คัดค้านว่า โจทก์ให้จําเลยเช่าที่ดินโดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินนั้น โจทก์ใช้สิทธิโดยสุจริต คําคัดค้านของโจทก์กรณีนี้ฟังขึ้น ทั้งนี้เพราะสัญญาเช่าเป็นสัญญาที่ผู้ให้เช่ายินยอมส่งมอบ การครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่จะให้เช่าแก่ผู้เช่า ไม่ใช่สัญญาโอนกรรมสิทธิ์ ฉะนั้นผู้ให้เช่าหาจําต้อง เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะให้เช่าไม่ เพียงแต่มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์ที่ให้เช่าก็เพียงพอแล้ว (ฎีกาที่ 688/2559) และเมื่อจําเลยได้ทําสัญญาเช่ากับโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะผู้ให้เช่าตามสัญญาและ จําเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่าที่ทําไว้กับโจทก์ เมื่อจําเลยไม่ชําระค่าเช่าอันเป็นการผิดสัญญา โจทก์จึงมีอํานาจ ฟ้องคดีนี้ (ฎีกาที่ 5387/2549)
สรุป
คําคัดค้านของโจทก์ตาม (1) ฟังไม่ขึ้น แต่คําคัดค้านของโจทก์ตาม (2) ฟังขึ้น
ข้อ 3. ศาลแพ่งธนบุรีมีคําพิพากษาให้จําเลยชําระเงิน 1,000,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยกับค่า ฤชาธรรมเนียม โดยได้ออกคําบังคับให้จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษา จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําบังคับ โจทก์ซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่สืบทราบว่าจําเลยมีที่ดินแปลงหนึ่งโฉนดเลขที่ 991 ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ โจทก์จึงได้ยื่นคําขอให้บังคับคดีต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ว่าจําเลยเป็นหนี้โจทก์ ตามคําพิพากษาของศาลแพ่งธนบุรีจํานวน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยกับค่าฤชาธรรมเนียม และยังไม่เคยชําระหนี้ให้แก่โจทก์เลย ขอให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ยึดที่ดินของจําเลย โฉนดเลขที่ 991 ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอํานาจของศาลนี้
ให้วินิจฉัยว่า ศาลจังหวัดเชียงใหม่จะออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคําขอของโจทก์ได้หรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 271 วรรคหนึ่ง “ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีซึ่งมีอํานาจกําหนดวิธีการบังคับคดีตาม มาตรา 276 และมีอํานาจทําคําวินิจฉัยชี้ขาดหรือทําคําสั่งในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่ง คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น หรือตามที่มีกฎหมายบัญญัติ”
มาตรา 275 วรรคหนึ่ง “ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะขอให้มีการบังคับคดี ให้ยื่นคําขอฝ่ายเดียว ต่อศาลให้บังคับคดีโดยระบุให้ชัดแจ้งซึ่ง
(1) หนี้ที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษายังมิได้ปฏิบัติตามคําบังคับ
(2) วิธีการที่ขอให้ศาลบังคับคดีนั้น”
มาตรา 276 วรรคหนึ่ง “เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอให้บังคับคดี ถ้าศาลเห็นว่าลูกหนี้ตาม คําพิพากษาได้ทราบหรือถือว่าได้ทราบคําบังคับแล้ว ทั้งระยะเวลาที่กําหนดไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามคําบังคับนั้น ได้ล่วงพ้นไปแล้ว และคําขอได้ระบุข้อความไว้ครบถ้วน ให้ศาลกําหนดวิธีการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวล กฎหมายนี้และตามมาตรา 213 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังต่อไปนี้
(1) ถ้าการบังคับคดีต้องทําโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ศาลออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงาน บังคับคดีและแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบเพื่อดําเนินการต่อไปตามที่กําหนดไว้ในหมายนั้น”
วินิจฉัย
ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดให้ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีซึ่งมีอํานาจกําหนด วิธีการบังคับคดีตามมาตรา 276 คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น หรือตามที่มีกฎหมายบัญญัติ
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลแพ่งธนบุรีมีคําพิพากษาให้จําเลยชําระเงิน 1,000,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยกับค่าฤชาธรรมเนียม จึงถือว่าศาลแพ่งธนบุรีเป็นศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น และเป็นศาลที่มีอํานาจกําหนดวิธีการบังคับคดี และเมื่อการบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงินนั้น เป็นการบังคับคดีที่ ต้องทําโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 276 (1) โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจึงชอบที่ จะต้องยื่นคําขอต่อศาลแพ่งธนบุรีเพื่อให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 และ มาตรา 275 ไม่ใช่ยื่นต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่อันเป็นศาลที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ดังนั้น ศาลจังหวัดเชียงใหม่จะออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคําขอของโจทก์ไม่ได้
สรุป ศาลจังหวัดเชียงใหม่จะออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคําขอของโจทก์ไม่ได้