การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2552
คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1. ในฐานะที่นักศึกษาได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคนกรุงเทพฯให้นักศึกษาอธิบาย อย่างละเอียดว่ากรุงเทพมหานครกับกฎหมายปกครองมีความเกี่ยวข้องหรือมีความ สัมพันธ์ต่อกันอย่างไร
ธงคำตอบ
กรุงเทพมหานครกับกฎหมายปกครองมีความเกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้คือ
“กฎหมายปกครอง” คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงาน ทางปกครองและเจ้าหน้าที่ชองรัฐ ซึ่งอำนาจและหน้าที่ในทางปกครองนั้น ได้แก่ อำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะซึ่งเป็นกิจกรรมของฝ่ายปกครอง
รวมทั้งการใช้อำนาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ในการออกกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือการกระทำทางปกครองในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การทำสัญญาทางปกครอง เป็นต้น
ตัวอย่างกฎหมายปกครอง เช่น พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง เป็นต้น
“กรุงเทพมหานคร” ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครนั้น ได้กำหนดให้ กรุงเทพมหานครเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานทางปกครองประเภทหนึ่งและมีอำนาจ หน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อยชองประชาชน การทะเบียน การสาธารณสุข การคมนาคมขนส่ง การผังเมือง การศึกษาและส่งเสริมการกีฬา เป็นต้น ซึ่งอำนาจหน้าที่ดังกล่าว คืออำนาจหน้าที่การจัดทำบริการสาธารณะ นั่นเอง
และในการดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะต่าง ๆ ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้นั้น เพื่อให้ การจัดทำบริการสาธารณะเกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการจัดทำ กรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร จึงจำเป็นต้องมีการออกกฎ หรือออกคำสั่งทางปกครอง หรือการกระทำอื่นใดในทางปกครองเพื่อมาบังคับใช้กับบุคคลซึ่งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งการกระทำการ ดังกล่าวนั้นเรียกว่า การใช้อำนาจทางปกครอง
แต่อย่างไรก็ตาม ในการใช้อำนาจทางปกครองเพื่อดำเนินการต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครนั้นจะต้องใช้อำนาจและหน้าที่เฉพาะเท่าที่กฎหมายระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครได้กำหนดไว้เท่านั้น และนอกจากนั้นถ้าการใช้อำนาจทางปกครอง ได้ไปเกี่ยวพันกับกฎหมายปกครองอื่น ๆ ที่ได้กำหนดกฎเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติในการใช้อำนาจทางปกครองไว้ การใช้อำนาจทางปกครองดังกล่าวก็ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กฎหมายปกครองอื่น ๆ นั้นกำหนดไว้ด้วย
ตัวอย่างเช่น ถ้ากรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะใช้อำนาจทางปกครอง เพื่อที่จะออกกฎ หรือคำสั่งทางปกครอง ถ้าจะให้กฎหรือคำสั่งทางปกครองที่ออกมานั้นเป็นกฎหรือคำสั่งทางปกครอง ที่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่ผู้ออกกฎหรือคำสั่งทางปกครองจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และขั้นตอนที่กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้กำหนดไว้
เช่น ตามมาตรา 13 ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่ผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่ตนมีอำนาจพิจารณาทางปกครองจะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ หรือ ตามมาตรา 30 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้โอกาสคู่กรณีได้ทราบ ข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และให้คู่กรณีได้มีโอกาสโต้แย้ง และแสดงพยานหลักฐานของตน เป็นต้น
และถ้าการใช้อำนาจทางปกครองของกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือ เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายตามที่กฎหมายระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร หรือกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองซึ่งเป็นกฎหมายปกครองได้กำหนดไว้ ย่อมก่อให้เกิด ข้อพิพาททางปกครองหรือที่เรียกว่า “คดีปกครอง” ขึ้น
ก็จะต้องนำคดีพิพาทนั้นไปฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้ ศาลปกครองเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ทั้งนี้เพราะศาลปกครองเป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองตามกฎหมาย จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งเป็นกฎหมายปกครองประเภทหนึ่ง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากรุงเทพมหานครย่อมมีความเกี่ยวข้อง และมีความสัมพันธ์กับกฎหมาย ปกครอง ดังที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น
ข้อ 2. นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ส่วนหนึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ไปเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอบ้าง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้าง ปลัดเทศบาลบ้างฯ
จงอธิบายว่ากฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมีส่วนเกี่ยวข้องกับปลัดอำเภอตั้งแต่ สมัครสอบเข้าเป็นปลัดอำเภอจนกระทั่งเกษียณอายุราชการอย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างให้ชัดเจน
ธงคำตอบ
กฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองนั้น ย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องกับนักศึกษาที่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วไปเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอ ทั้งนี้เพราะ
“กฎหมายปกครอง” นั้น นอกจากจะเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงาน ทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการใช้อำนาจทางปกครองเพื่อการออกกฎ
คำสั่งทางปกครองหรือการดำเนิน กิจกรรมทางปกครองอื่น ๆ แล้ว ยังเป็นกฎหมายที่บัญญัติหลักในการจัดองค์กรของการบริหารราชการแผ่นดิน และการจัดระเบียบในการบริหารงานของเจ้าหน้าที่ภายในองค์กรนั้นด้วย
ส่วน “วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองนั้น หมายถึง การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง หรือกฎและรวมถึงการดำเนินการ ใด ๆ ในทางปกครองตามกฎหมายนี้
ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากบทนิยามหรือความหมายทั่ว ๆ ไปของกฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครองแล้ว จะเห็นได้ว่า กฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ปลัดอำเภอในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐฝายปกครองนับตั้งแต่การสมัครสอบเข้าเป็นปลัดอำเภอจนกระทั่งเกษียณ อายุราชการ กล่าวคือ
ในการสมัครสอบเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอนั้น คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ การประกาศ รายชื่อของผู้มีสิทธิในการสอบและการประกาศรายชื่อผู้ที่สอบได้ รวมทั้งวิธีการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอนั้น ก็จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายปกครอง คือ กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน และกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองกำหนดไว้
และในกรณีที่ได้มีการเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอแล้ว ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น ก็จะต้อง เกี่ยวข้องกับกฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตลอดเวลา เช่น
ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของปลัดอำเภอ หรือในกรณีที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นไปอีก เช่น ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นนายอำเภอ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของบุคคล ดังกล่าว ก็จะต้องทราบว่ากฎหมายปกครองต่าง ๆ เช่น พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ร.น. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน หรือกฎหมายปกครองอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เช่น กฎหมายเกี่ยวกับองค์กรปกครองสวนท้องถิ่นนั้น ได้บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ในทางปกครองแก่บุคคลเหล่านั้นไว้อย่างไร เพื่อทีจะทำให้บุคคลเหล่านั้นได้ใช้ อำนาจปกครองได้อย่างถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
นอกจากนั้นในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของปลัดอำเภอ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครองอื่น ๆ (ในกรณีที่ได้รับเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น) นั้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องของการใช้อำนาจทางปกครอง เพื่อออกกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือเพื่อดำเนินการทางปกครองในรูปแบบอื่น ๆ
เช่น การกระทำทางปกครองที่เรียกว่า ปฏิบัติการ ทางปกครอง เป็นต้น ดังนั้นถ้าจะให้การใช้อำนาจทางปกครองดังกล่าว เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน และวิธีการตามที่กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้กำหนดไว้ด้วย
ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ปลัดอำเภอจะใช้อำนาจทางปกครอง เพื่อออกคำสั่งทางปกครอง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ปลัดอำเภอจะต้องทราบว่า กฎหมายปกครองได้บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ในการออกคำสั่งทางปกครองในเรื่องดังกล่าวแก่ปลัดอำเภอหรือไม่ หรือถ้ามีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ไว้ กฎหมายได้บัญญัติหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือขั้นตอนในการออกคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้นไว้หรือไม่อย่างไร
ทั้งนี้เพราะถ้าปลัดอำเภอได้ใช้อำนาจทางปกครองและออกคำสั่งทางปกครองตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อำนาจไว้ รวมทั้งได้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กฎหมายได้กำหนดไว้ คำสั่งทางปกครองที่ออกมานั้น ก็จะเป็นคำสั่งทางปกครอง ที่ชอบด้วยกฎหมาย
แต่ถ้าปลัดอำเภอได้ออกคำสั่งทางปกครองมาโดยที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้หรือ ออกคำสั่งทางปกครองมา โดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือวิธีการที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ค่าสั่งทางปกครองนั้น ก็จะเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดข้อพิพาททางปกครองขึ้นมาได้
ข้อ3. จงอธิบายสาระสำคัญของหลักกระจายอำนาจปกครองโดยวิธีการกระจายอำนาจปกครองแบบพื้นที่ (หรืออาณาเขต) กับวิธีการกระจายอำนาจปกครองแบบกิจการ (หรือเทคนิค) ว่ามีอย่างไร และ ทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ธงคำตอบ
“หลักกระจายอำนาจทางปกครอง” คือ หลักการที่ราชการบริหารส่วนกลางได้มอบอำนาจ ปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่นซึ่งมิใช่องค์กรของราชการบริหารส่วนกลาง เพื่อไปจัดทำบริการสาธารณะบางอย่าง โดยมีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของส่วนกลาง แต่จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลเท่านั้น
การกระจายอำนาจ มีได้ 2 รูปแบบ คือ
1. การกระจายอำนาจตามเขตแดนหรือตามพื้นที่ (หรือกระจายอำนาจตามอาณาเขต) เป็นวิธีการกระจายอำนาจให้แก่ส่วนท้องถิ่น โดยให้ส่วนท้องถิ่นได้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาแยกต่างหากจากส่วนกลาง และให้มีสภาพเป็นนิติบุคคล เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น แล้วส่วนกลางก็จะมอบอำนาจให้องค์กรส่วนท้องถิ่นนั้นไปดำเนินจัดทำกิจการบริการสาธารณะ ตามอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ โดยจะมีการกำหนดขอบเขตหรือพื้นที่ไว้ ซึ่งโดยหลักทั่วไปองค์กรส่วนท้องถิ่นนั้นก็จะ ไปจัดทำกิจการนอกเขตหรือนอกพื้นที่ที่กำหนดไวัไม่ได้ นอกจากจะมีกฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้โดยเฉพาะ
ซึ่งวิธีการกระจายอำนาจให้แก่ส่วนท้องถิ่นวิธีนี้ กระท่าโดยการมอบอำนาจการจัดทำกิจการบริการสาธารณะหลาย ๆ อย่างให้แก่ส่วนท้องถิ่นไปจัดทำโดยเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นเอง และด้วยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นเพื่อสนองตอบต่อความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ
สาระสำคัญของหลักการกระจายอำนาจตามเขตแดนหรือตามพื้นที่ ได้แก่
1) มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากและเป็นอิสระจากราชการ บริหารส่วนกลางมีงบประมาณ และเจ้าหน้าที่เป็นของตนเอง เพื่อจัดทำบริการสาธารณะตามที่ได้รับมอบหมาย
2) มีการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญของการกระจายอำนาจตามเขตแดนหรือ ตามพื้นที่ กล่าวคือ บุคลากรหรือผู้บริหาร รวมทั้งสมาชิกสภาต่าง ๆ จะต้องมาจากการเลือกตั้งจากราษฎรใน ท้องถิ่นนั้น
3) มีความเป็นอิสระในการดำเนินงานต่าง ๆ ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยไม่ต้องรับคำลังหรืออยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของส่วนกลาง ซึ่งความเป็นอิสระในที่นี้ให้รวมถึงความเป็น อิสระในเรื่องงบประมาณและเจ้าหน้าที่ด้วย โดยส่วนกลางจะมีอำนาจแต่เพียงการกำกับดูแลให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
2. การกระจายอำนาจทางบริการหรือทางเทคนิค เป็นวิธีการกระจายอำนาจ โดยที่ส่วนกลาง จะมอบบริการสาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวให้แก่องค์กรที่มีการจัดตั้งขึ้นโดยมิได้อยู่ในสังกัดของ ส่วนกลาง ได้แก่ องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน รับไปดำเนินงานด้วยเงินทุนและด้วยเจ้าหน้าที่ ขององค์การนั้น ๆ เช่น การมอบอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเดินรถไฟทั่วทั้งประเทศให้แก่องค์การของรัฐคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือการมอบอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น
การกระจายอำนาจทางบริการหรือทางเทคนิคนั้น จะมีสาระสำคัญคล้ายกับหลัก กระจายอำนาจทางเขตแดนหรือพื้นที่ เพียงแต่การกระจายอำนาจทั้งสองวิธีมีข้อแตกต่างกัน ดังนี้คือ
(ก) การกระจายอำนาจทางบริการหรือกิจการไม่ถือเอาอาณาเขตเป็นข้อจำกัดอำนาจ หน้าที่เป็นหลักสำคัญเหมือนกับการกระจายอำนาจทางเขตแดน ซึ่งองค์การอาจจัดทำกิจการได้ทั่วทั้งประเทศ หรือ ทำเฉพาะเขตใดเขตหนึ่งก็ได้ ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์การนั้น
(ข) การกระจายอำนาจทางบริการหรือกิจการไม่ถือว่าการเลือกตั้งผู้บริหารเป็นเงื่อนไข ในการจัดตั้งองค์กรที่ได้รับการกระจายอำนาจทางบริการ ซึ่งต่างจากการกระจายอำนาจทางเขตแดนที่ผู้บริหาร ต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น
ข้อ 4. นายโชคดี ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับการร้องเรียนจากผู้ปกครองของนักเรียนว่านายโชคดีให้จัดหาคอมพิวเตอร์แก่ โรงเรียนหรือบริจาคเงินเพื่อจัดหาคอมพิวเตอร์แก่โรงเรียน ทำให้ผู้ปกครองหลายคนเดือดร้อน
อธิบดีกรมสามัญศึกษาจึงออกคำสั่งย้ายนายโชคดีไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยม ประจำจังหวัดอื่นทีใกล้เคียง นายโชคดีเห็นว่าคำสั่งย้ายไปดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่เปิดโอกาสให้ตน ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานใดๆ เลย
จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ดังนี้ ท่านเห็นว่าข้ออ้างของนายโชคดีถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบายตามหลักกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ธงคำตอบ
ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น “คำสั่งทางปกครอง”หมายความว่า
(1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และ การรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ
(2) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
และตามมาตรา 30 วรรคแรก บัญญัติว่า
“ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาส ที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสโต้แย้ง และแสดงพยานหลักฐานของตน”
ตามบทบัญญัติมาตรา 30 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น การที่เจ้าหน้าที่จะต้องให้คู่กรณีมีโอกาสได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และให้คู่กรณีได้มีโอกาส โต้แย้ง และแสดงพยานหลักฐานของตนนั้น จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการพิจารณาทางปกครอง คือ การดำเนินการเพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง และคำสั่งทางปกครองนั้นอาจจะไปกระทบสิทธิของคู่กรณีเท่านั้น คู่กรณีจึงจะได้รับสิทธิดังกล่าว
ตาม ปัญหา การที่อธิบดีกรมสามัญศึกษาได้ออกคำสั่งย้ายนายโชคดี ตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดหนึ่งไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมประจำ จังหวัดอื่นที่ใกล้เคียงนั้น ถือว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงคำสั่งเกี่ยวกับการบริหารงานภายในหน่วยงาน หรือในกรมเดียวกัน และมีผลเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงภารกิจในการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น
คำสั่งดังกล่าวยังไม่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือ หน้าที่ของบุคคล คือยังไม่มีผลทำให้สิทธิและประโยชน์ในฐานะการเป็นข้าราชการของนายโชคดีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนั้นคำสั่งย้ายนายโชคดีของอธิบดีกรมสามัญศึกษาลังกล่าวจึงไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง ตามความหมาย ของคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5(1) และเมื่อไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง อธิบดีกรมสามัญศึกษาจึงไม่ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา 30 วรรคแรก
คือไม่ต้องให้นายโชคดีได้ทราบข้อเท็จจริงของคำสั่งนั้น และไม่ต้องให้นายโชคดีได้มี โอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานแต่อย่างใด และให้ถือว่าคำสั่งย้ายดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
สรุป ข้ออ้างของนายโชคดีที่ว่าคำสั่งย้ายดังกล่าว เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครองนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่ถูกต้องตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น