การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2553
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010 กฎหมายล้มละลาย
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยสวน จํานวน 3 ข้อ
ข้อ 1 ในคดีล้มละลาย เมื่อศาลสั่งประทับรับฟ้องไว้แล้ว ขั้นตอนต่อไปศาลจะต้องดําเนินการอย่างไรต่อไป
ในคดีล้มละลายศาลส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องไปให้จําเลยทราบ แต่จําเลยไม่มายื่นคําให้การ และไม่มาในวันนัดพิจารณา ศาลจึงสั่งว่าจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การและขาดนัดพิจารณา คําสั่ง ของศาลชอบหรือไม่ เพราะเหตุใด
ในคดีล้มละลาย ศาลส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องเกินกว่า 7 วัน เป็นการส่งที่ชอบด้วย กระบวนการพิจารณาแล้วหรือไม่ เพราะเหตุใด
ในคดีล้มละลาย เมื่อศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จําเลยได้มายื่นคําร้องขออนุญาตยื่นคําให้การ
ถ้าท่านเป็นศาลท่านจะอนุญาตหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
ในคดีล้มละลาย เมื่อศาลสั่งประทับรับฟ้องไว้แล้ว ขั้นตอนต่อไปศาลจะต้องดําเนินการตาม มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งบัญญัติเป็นหลักไว้ว่า
“เมื่อศาลสั่งรับฟ้องคดีล้มละลายไว้แล้วให้กําหนดวันนั่งพิจารณาเป็นการด่วน และให้ออก หมายเรียกและส่งสําเนาคําฟ้องไปยังลูกหนี้ให้ทราบก่อนวันนั่งพิจารณาไม่น้อยกว่า 7 วัน”
จากหลักกฎหมายดังกล่าว เมื่อศาลสั่งประทับรับฟ้องไว้แล้ว ศาลจะต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
1 ศาลจะต้องกําหนดวันนั่งพิจารณาเป็นการด่วน ซึ่งกําหนดวันนั่งพิจารณาหมายความว่า
(1) นัดสืบพยานโจทก์
(2) นัดสืบพยานจําเลย หรือ
(3) นัดสืบทั้งพยานโจทก์และพยานจําเลยในวันเดียวกัน
2 ส่งสายเรียกและสําเนาคําฟ้องไปให้จําเลยทราบไม่น้อยกว่า 7 วัน ดังนั้น เมื่อศาล ส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องให้จําเลยทราบเกินกว่า 7 วัน จึงเป็นการส่งที่ชอบด้วยกระบวนการพิจารณาแล้ว ตามหลักของมาตรา 13
ซึ่งในคดีล้มละลายนั้น เมื่อศาลส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องให้จําเลยทราบแล้ว จําเลยจะ มายื่นคําให้การหรือไม่ก็ได้ถือเป็นสิทธิของจําเลย ดังนั้น การที่จําเลยไม่มายื่นคําให้การและศาลสั่งว่าจําเลยขาด นัดยื่นคําให้การจึงเป็นคําสั่งที่ไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตามจําเลยอาจขาดนัดพิจารณาได้ ถ้าจําเลยไม่มาในวันนัด พิจารณา ดังนั้น เมื่อจําเลยไม่มาในวันนัดพิจารณา การที่ศาลสั่งว่าจําเลยขาดนัดพิจารณาจึงเป็นคําสั่งที่ชอบแล้ว ตามหลักมาตรา 13
ส่วนประเด็นที่ว่า ในคดีล้มละลาย เมื่อศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จําเลยได้มายื่นคําร้อง ขออนุญาตยื่นคําให้การนั้น ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะไม่อนุญาตให้จําเลยยื่นคําให้การ เพราะถ้าจําเลยประสงค์จะยื่น คําให้การจะต้องยื่นก่อนวันนั่งพิจารณา ตามคําพิพากษาฎีกาที่ 597/2523
หมายเหตุ ฎีกาที่ 59712523 การดําเนินกระบวนพิจารณาคดีฟ้องให้ล้มละลายนั้น กฎหมาย ไม่ได้กําหนดวันยื่นคําให้การเหมือนคดีแห่งกรรมตา ฉะนั้นจําเลยจะยื่นคําให้การหรือไม่อื่นก็ได้ และหากจําเลย ประสงค์จะยื่นคําให้การ ก็มีโอกาสยืนได้ถึง 7 วันเป็นอย่างน้อยก่อนวันนั่งพิจารณา แต่คดีนี้ปรากฏว่าจําเลย ไม่มาศาลในวันนั่งพิจารณาและไม่ยื่นคําให้การ ทั้งนี้ได้ร้องขอเลื่อนหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลก่อนลงมือ สืบพยาน เพิ่งจะมาศาลภายหลังเมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว ฉะนั้นที่ศาลมีคําสั่งไม่อนุญาตให้จําเลยยื่นคําให้การ จึงชอบแล้ว
ข้อ 2 นายแสนสุข ถูกธนาคารเอก ฟ้องคดีล้มละลาย และศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต่อมาก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเข้าจัดการทรัพย์สินของนายแสนสุข เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่า นางสวยเจ้าหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินจํานวน 3 แสนบาทได้มาอ้อนวอน นายแสนสุขว่าเดือดร้อนเงิน ขอให้ชําระหนี้แก่ตนก่อน นายแสนสุขเกรงใจนางสวย จึงมอบแหวนเพชรที่มีอยู่ให้แก่นางสวยไป เป็นการชําระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่า การชําระหนี้ดังกล่าวทําให้เจ้าหนี้อื่น ๆ เสียเปรียบ จึงยื่นฟ้องนางสวย ขอให้ส่งมอบแหวนเพชรคืนเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ ดังนี้
1 หากท่านเป็นศาลจะสั่งอย่างไร เพราะเหตุใด
2 หากศาลสั่งเพิกถอนการโอนแล้ว นางสวย จะยืนขอรับชําระหนี้จํานวน 3 แสนบาทได้หรือไม่
และต้องยื่นภายในระยะเวลาใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
มาตรา 22 “เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ขอ) มีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) จัดการและจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทําการที่จําเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป
(2) เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น
(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้”
มาตรา 24 “เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้กระทําการใด ๆ เกี่ยวกับ ทรัพย์สิน หรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้ทําตามคําสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 91 วรรคแรก “เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคําขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ถ้าเจ้าหนีอยู่นอกราชอาณาจักร เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกําหนดเวลาให้อีกได้ ไม่เกินสองเดือน”
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้าม ชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ
วินิจฉัย
โดยหลักในคดีล้มละลายนั้น เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต่อลูกหนี้แล้ว ย่อมมีผลทําให้ ลูกหนี้หมดสิทธิกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 24 โดย อํานาจในการจัดการทรัพย์สินจะไปตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 22 ดังนั้น การกระทําใดที่ลูกหนี้กระทําไปโดยฝ่าฝืนมาตรา 24 ย่อมถือเป็นนิติกรรมที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแสนสุขลูกหนี้มอบแหวนเพชรชําระหนี้ให้แก่นางสวยเจ้าหนี้ ภายหลังจากถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น ถือเป็นการกระทําที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 24 นิติกรรม การโอนแหวนเพชรดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่มีผลให้หนี้ระงับแต่อย่างใด ดังนั้น
1 ศาลต้องสั่งเพิกถอนการโอนและให้นางสวยส่งมอบแหวนเพชรคืนแก่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เพื่อรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะการโอนแหวนเพชรเพื่อชําระหนี้ดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แหวนเพชรจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของนายแสนสุขลูกหนี้
2 นางสวยเจ้าหนี้อาจยื่นคําขอรับชําระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ภายในกําหนด เวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 91 วรรคแรก เพราะ เมื่อการชําระหนี้ตกเป็นโมฆะ หนี้เงินกู้จํานวน 3 แสนบาท จึงยังไม่ระงับ แต่นางสวยไม่อาจขอรับชําระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 92 ได้ เพราะการชําระหนี้ดังกล่าวไม่ใช่การชําระหนี้ที่ทําให้เจ้าหนี้เสียเปรียบตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 115 ซึ่งเป็นกรณีที่การชําระหนี้นั้นเกิดขึ้นก่อนศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแต่อย่างใด (ตามนัยคําพิพากษาฎีกาที่ 3169/2531)
สรุป
1 หากข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจะสั่งเพิกถอนการโอนและให้นางสวยส่งมอบแหวนเพชร คืนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
2 นางสวยอาจยื่นคําขอรับชําระหนี้จํานวน 3 แสนบาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ โดยต้องยื่นภายในกําหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ข้อ 3 คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เรื่องหนึ่ง ภายหลังจากศาลมีคําสั่งตั้งผู้ทําแผนแล้ว นาย ก. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในมูลหนี้เงินกู้ที่นาย ก. ให้ลูกหนี้กู้ยืมไปในขณะที่นาย ก. ได้รู้ถึง การที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาคําขอรับชําระหนี้ของนาย ก. แล้ว เห็นว่าหนี้ที่นาย ก. มาขอรับชําระหนี้เป็นหนี้ที่นาย ก. ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเมื่อนาย ก. ได้รู้ถึง การที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงมีคําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ของนาย ก.
ให้ท่านวินิจฉัยว่า คําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
มาตรา 90/27 วรรคแรก “เจ้าหนี้อาจขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกําหนดชําระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่หน ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้”
วินิจฉัย
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 90/27 วรรคแรก บัญญัติให้เจ้าหนี้อาจขอรับชําระหนี้ในการ ฟื้นฟูกิจการได้ ถ้ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกําหนดชําระทร์มีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่
1 เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือ
2 เป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นาย ก. เจ้าหนี้ได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในมูลหนี้เงินกู้ แม้หนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้ที่นาย ก. ให้ลูกหนี้กู้ยืมไปในขณะที่นาย ก. ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ตาม ก็ไม่ต้องห้ามที่ นาย ก. จะขอรับชําระหนี้ตามมาตรา 90/27 วรรคแรก ดังนั้น คําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สรุป
คําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หมายเหตุ หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เป็นข้อยกเว้นที่เจ้าหนี้จะขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 94(2) ไม่ได้เท่านั้น มิได้เป็นข้อยกเว้นที่ เจ้าหนี้จะขอรับชําระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 วรรคแรกด้วยแต่อย่างใด