การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010 กฎหมายล้มละลาย
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1 ในคดีล้มละลายเรื่องหนึ่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นําที่ดินของลูกหนี้ที่ยึดไว้แล้วนําออกให้นายทศเช่าโดยได้ทําสัญญาเช่ามีกําหนด 6 เดือน ค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท นายทศไม่ชําระค่าเช่า ทั้งหมด 6 เดือน เป็นเงิน 30,000 บาท นอกจากนี้จากการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ พบว่านายทศได้เคยทําสัญญาเช่าที่ดินแปลงเดียวกันนี้มาก่อนที่ลูกหนี้จะถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีนี้ และได้ค้างชําระค่าเช่าลูกหนี้เดิมอีก 3 เดือน เดือนละ 5,000 บาท เป็น 15,000 บาท เช่นเดียวกัน
ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า
(1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีอํานาจนําที่ดินที่ยึดมานั้นออกให้เช่าได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
(2) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีอํานาจทวงถามค่าเช่าที่ค้างไว้แต่เดิมก่อนยึดทรัพย์ที่นายทศค้างชําระหนี้ไว้แต่เดิม 15,000 บาท ไว้ได้หรือไม่ หรือมีวิธีการทําอย่างไรเพื่อให้นายทศชําระหนี้นั้น
(3) ส่วนค่าเช่าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําสัญญาเช่าให้กับนายทศ และนายทศค้างค่าเช่าไม่ชําระหนี้เลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทําประการใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
มาตรา 22 “เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอํานาจ ดังต่อไปนี้
(1) จัดการและจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทําการที่จําเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป
(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้”
มาตรา 119 วรรคหนึ่ง “เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดชําระเงิน หรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ลูกหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังบุคคลนั้นให้ชําระเงินหรือ ส่งมอบทรัพย์สินตามจํานวนที่ได้แจ้งไปและให้แจ้งไปด้วยว่าถ้าจะปฏิเสธ ให้แสดงเหตุผลประกอบข้อปฏิเสธเป็น หนังสือมายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่วันได้รับแจ้งความ มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นหนี้ กองทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ตามจํานวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาด”
วินิจฉัย กรณีตามอุทาหรณ์ เยกวินิจฉัยได้ดังนี้
(1) ตามบทบัญญัติมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้กําหนดไว้โดยชัดแจ้ง แล้วว่า เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ไม่ว่าชั่วคราวหรือเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่มีอํานาจจัดการ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ลูกหนี้หามีอํานาจกระทําการใด ๆ หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนไม่
ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอํานาจนําที่ดินของลูกหนี้ที่ได้ยึดไว้แล้ว ออกให้ นายทศเช่าได้ เพราะถือเป็นการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ประการหนึ่งตามมาตรา 22 (1)
(2) สําหรับค่าเช่าเดิมที่นายทศข้างชําระไว้ 3 เดือน เป็นเงิน 15,000 บาทนั้น ถือเป็นสิทธิ เรียกร้องที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนที่ลูกหนี้จะถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอบที่จะมีหนังสือทวงหนี้ค่าเช่า จํานวน 15,000 บาท จากนายทศได้ตามมาตรา 119 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องแจ้งไปด้วยว่า หากนายทศจะปฏิเสธ ให้แสดงเหตุผลประกอบข้อปฏิเสธเป็นหนังสือมายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับ หนังสือทวงหนี้ มิฉะนั้นให้ถือว่าเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ตามจํานวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาด
(3) ส่วนค่าเช่าใหม่ 6 เดือน เดือนละ 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 30,000 บาท ที่นายทศ ค้างชําระนั้น ถือเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์น้ําที่ดินของลูกหนี้ออกให้เช่าหลังจากลูกหนี้ ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เมื่อนายทศไม่ชําระค่าเช่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่อาจใช้อํานาจตามมาตรา 119 เพื่อทวงให้นายทศชําระค่าเช่าได้ แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจที่จะดําเนินการฟ้องร้อง เป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอํานาจเพื่อเรียกค่าเช่าที่ค้างชําระเป็นคดีต่างหากได้ตามมาตรา 22 (3) เพราะเป็น การฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
สรุป
(1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจนําที่ดินที่ยึดมานั้นออกให้เช่าได้
(2) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจทวงถามค่าเช่าที่ค้างไว้แต่เดิมก่อนยึดทรัพย์ที่นายทศค้างชําระไว้แต่เดิม 15,000 บาท ไว้ได้โดยแจ้งความเป็นหนังสือไปยังนายทศ (3) ค่าเช่าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําสัญญาเช่าให้กับนายทศ และนายทศค้างค่าเช่าไม่ชําระหนี้เลยนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มี เขตอํานาจเพื่อเรียกคาเช่าที่ค้างชําระจากนายทศ
ข้อ 2 นายกันได้ทําสัญญาเป็นหนังสือกู้ยืมเงินจากนายแก้วจํานวน 3 แสนบาท นายกันจึงถูกนายแก้วฟ้องเป็นคดีแพ่งขอให้ศาลพิพากษาให้นายกันชําระหนี้ตามสัญญากู้ คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลแพ่ง ต่อมานายกันถูกนายกิ่งเจ้าหนี้อีกรายฟ้องเป็นคดีล้มละลาย และศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนายกัน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายจึงยื่นคําร้องต่อศาลแพ่งเข้ามาดําเนินคดีนี้แทนลูกหนี้
นายแก้วคัดค้านว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ใช่ลูกหนี้ตามสัญญากู้จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในคดีนี้ ไม่อาจยื่นคําร้องเข้ามาดําเนินคดีแทนลูกหนี้ได้ หากท่านเป็นศาลจะสังคําร้องของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์และคําคัดค้านของนายแก้วเจ้าหนี้อย่างไร เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
มาตรา 22 “เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอํานาจ ดังต่อไปนี้
(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้”
มาตรา 25 “ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาล ในขณะที่มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําขอโดยทําเป็นคําร้อง ศาลมีอํานาจงดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ หากข้าพเจ้าเป็นศาลจะสังคําร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และคําคัดค้าน ของนายแก้วเจ้าหนี้อย่างไรนั้น เห็นว่า คดีที่นายแก้วฟ้องให้ศาลแพ่งพิพากษาให้นายกันชําระหนี้ตามสัญญากู้นั้น เป็นคดีที่มีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและค้างพิจารณาอยู่ในศาล ในขณะที่ศาลสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนายกัน แม้ว่าตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (3) จะบัญญัติให้อํานาจแก่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจแต่ผู้เดียวในการประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับ ทรัพย์สินของลูกหนี้ นับแต่เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่ตามมาตรา 25 ได้ให้อํานาจแก่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ในการเข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้
ดังนั้น โดยนัยมาตรา 25 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเข้ามาดําเนินคดีแทนนายกัน ลูกหนี้ได้ รวมถึงมีสิทธิยื่นคําร้องต่อศาลให้งดการพิจารณาหรือขอให้ศาลสั่งเป็นประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ ดังนั้น หากข้าพเจ้าเป็นศาลจะสั่งรับคําร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดําเนินคดีแทนลูกหนี้และยกคําคัดค้าน ของนายแก้วเจ้าหนี้
สรุป หากข้าพเจ้าเป็นศาลจะสั่งรับคําร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และสั่งยกคําคัดค้าน ของนายแก้วเจ้าหนี้
ข้อ 3 การพิจารณาเพื่อแต่งตั้งผู้ทําแผนในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เรื่องหนึ่ง ผู้ร้องขอเสนอนายเอกเป็นผู้ทําแผน ผู้คัดค้านเสนอนายโทเป็นผู้ทําแผน ศาลจึงมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุม เจ้าหนี้เพื่อเลือกบุคคลใดระหว่างนายเอกและนายโทให้เป็นผู้ทําแผน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรียกประชุมเจ้าหนี้แล้ว ปรากฏว่า ถึงวันนัดประชุมเจ้าหนี้ไม่มีเจ้าหนี้มาร่วมประชุม เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์จึงรายงานเพื่อขอให้ศาลมีคําสั่งยกคําร้องขอ
ให้ท่านวินิจฉัยว่าศาลจะมีคําสั่งตามที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานขอได้หรือไม่ ประการใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
มาตรา 90/17 วรรคสี่ “ถ้าที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่อาจมีมติเลือกผู้ทําแผนได้ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผนอีกครั้งหนึ่ง เว้นแต่ในกรณีที่เห็นสมควรศาลจะมี คําสั่งยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการก็ได้”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลจะมีคําสั่งตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานขอได้หรือไม่ ประการใด เห็นว่า ตามบทบัญญัติมาตรา 90/17 วรรคสี่ ได้กําหนดไว้แล้วว่า ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้ทําแผนนั้น ถ้า ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่อาจมีมติเลือกผู้ทําแผนได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้ทําแผน อีกครั้งหนึ่ง เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรให้ยกเลิกกาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า กลได้มีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ เพื่อเลือกระหว่างนายเอกหรือนายโทให้เป็นผู้ทําแผน แต่เมื่อถึงวันประชุม ปรากฏว่าไม่มีเจ้าหนี้มาประชุมซึ่งถือว่า ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่อาจมีมติเลือกผู้ทําแผนได้ ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเรียกประชุมเจ้าหนี้ เพื่อเลือกผู้ทําแผนอีกครั้งหนึ่ง เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรให้ยกเล็กคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะรายงานขอให้ศาลมีคําสั่งยกเลิกคําร้องขอของผู้ร้องขอไม่ได้ และศาลจะมีคําสั่งตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขอมาไม่ได้เช่นกัน
สรุป ศาลจะมีคําสั่งตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานขอไม่ได้