การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ
ข้อ 1 นายดลอยู่กินกับนางปราง โดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกันคือ นายดินและนายดุล ซึ่งนายดลได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา ต่อมานายชิดเพื่อนสนิทนางปรางได้มาจดทะเบียนรับนายดิน ไปเป็นบุตรบุญธรรมของตนเอง นายดินนั้นเป็นเจ้าของบทประพันธ์นวนิยายเรื่อง บุพเพอาละวาด ซึ่งสํานักพิมพ์ตกลงให้ค่าลิขสิทธิ์ปีละ 500,000 บาท เป็นเวลาเจ็ดปี นอกจากนี้นายดินยังมีที่ดิน เนื้อที่ 1 ไร่ ซึ่งนายดินได้จดทะเบียนสิทธิอาศัยให้นายแดงไป ต่อมานายดินถึงแก่ความตายโดยยังมี เงินสดในธนาคารอีก 1,200,000 บาท และหลังจากนายดินได้รับค่าลิขสิทธิ์ในบทประพันธ์มาได้ 2 ปี เช่นนี้จงแบ่งมรดกของนายดิน
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”
มาตรา 1598/29 “การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะ ทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการรับบุตรบุญธรรมนั้น”
มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”
มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”
มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน”
มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่ กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร”
มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในสําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น อนที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”
วินิจฉัย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดกตาย นั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท
กรณีตามอุทาหรณ์ จะเห็นได้ว่ามรดกของนายดินผู้ตายตามมาตรา 1600 ซึ่งจะตกทอดแก่ ผู้เป็นทายาทนั้น ได้แก่
1 สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นสิทธิที่เจ้ามรดกมีอยู่ก่อนตายและมิใช่เป็นการ เฉพาะตัวของผู้ตาย ดังนั้น เงินตอบแทนค่าลิขสิทธิ์อีก 5 ปี ๆ ละ 500,000 บาท จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท
2 สิทธิอาศัยของนายแดง ซึ่งนายดินได้จดทะเบียนให้นายแดงได้อยู่อาศัยในที่ดิน ซึ่ง หน้าที่ที่จะต้องผูกพันต่อการจดทะเบียนสิทธิอาศัยให้แก่นายแดงนั้นไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย ดังนั้น จึงเป็น มรดกตกทอดแก่ทายาท
3 เงินสดในธนาคาร 1,200,000 บาท
4 ที่ดิน 1 แปลงเนื้อที่ 1 ไร่
ส่วนบุคคลใดบ้างที่มีสิทธิและไม่มีสิทธิในการรับมรดกดังกล่าวของนายดินนั้น แยกพิจารณา ได้ดังนี้
1 นายดุล ซึ่งเป็นบิดาของนายดินนั้น เมื่อนายดลมิได้จดทะเบียนสมรสกับนางปราง นายดลจึงเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายดิน และแม้ว่านายดลจะได้รับรองว่านายดินเป็นบุตรโดยได้แจ้งเกิด ในสูติบัตรว่าเป็นบิดาตามมาตรา 1627 ก็ตาม นายดลก็มิใช่ทายาทโดยธรรมตามนัยของมาตรา 1629 (2) ดังนั้น นายดลจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายดิน
2 นางปราง ซึ่งเป็นมารดาของนายดินนั้น ถือเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) จึงมีสิทธิรับมรดกของนายดิน ทั้งนี้เพราะนางปรางแม้จะมิได้จดทะเบียนสมรสกับนายดล แต่ก็ถือว่าเป็นมารดา ที่ชอบด้วยกฎหมายของนายดินตามมาตรา 1546
3 นายชิด ซึ่งเป็นบิดาบุญธรรมของนายดินนั้น ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ของนายดิน เพราะต้องห้ามตามมาตรา 1598/29 ที่กําหนดว่า การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดก ของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรม
4 นายดุล ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนายดินและเป็นทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 (3) นั้น เมื่อนายดินมีทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกตามมาตรา 1629 (2) คือนางปราง น เยดุลจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายดินตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง
ดังนั้น มรดกของนายดินทั้งหมดจึงตกได้แก่นางปรางแต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 1633
สรุป
มรดกของนายดิน ซึ่งได้แก่ค่าตอบแทนจากลิขสิทธิ์อีก 5 ปี ที่ดิน 1 แปลงเนื้อที่ 1 ไร่ หน้าที่ที่ต้องให้นายแดงมีสิทธิอาศัยในที่ดินแปลงดังกล่าว และเงินสด 1,200,000 บาท ตกได้แก่นางปรางแต่เพียง ผู้เดียว
ข้อ 2 นายเมฆจดทะเบียนสมรสกับนางฟ้า มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายหมอกและ น.ส.ฝน นายหมอกจดทะเบียนสมรสกับนางเดือน แต่ทั้งคู่ไม่มีบุตรด้วยกันจึงร่วมกันจดทะเบียนรับ ด.ญ.ดาว มาเป็น บุตรบุญธรรม ต่อมานายเมฆแอบไปมีความสัมพันธ์กับ น.ส.น้ำ มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ด.ช.ลม ซึ่งนายเมฆเลี้ยงดู ด.ช.ลม อย่างดี หลังจากนั้นนายหมอกเดินทางไปต่างจังหวัดและประสบอุบัติเหตุ เสียชีวิต พอนายเมฆทราบข่าวก็หัวใจวายตายในเวลาต่อมา นายเมฆมีมรดกเป็นเงินสดจํานวน 3 ล้านบาท จงแบ่งมรดกของนายเมฆ
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”
มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”
มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635”
มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ขอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”
มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”
มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ 1 หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”
มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายเมฆถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ มรดกของนายเมฆ คือเงินสด 3 ล้านบาท ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม และทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิรับมรดกของนายเมฆ ได้แก่ นายหมอก และ น.ส.ฝน บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ด.ช.ลม ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายเมฆบิดาได้รับรองแล้ว (นายเมฆเลี้ยงดู ด.ช.ลม เป็นอย่างดี) ตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 และนางฟ้าซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย โดยนางฟ้าจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1) ส่วน น.ส.น้ำ ไม่มีสิทธิรับมรดก ของนายเมฆเพราะมิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเมฆจึงมิใช่ทายาทโดยธรรมของนายเมฆตามนัยมาตรา 1629 วรรคท้าย
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่านายหมอกได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก นายหมอกจึงไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ดังนั้น นายหมอกจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของ นายเมฆตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง และนางเดือนภริยาของนายหมอกกับ ด.ญ.ดาว ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของ นายหมอกจะเข้ารับมรดกแทนที่นายหมอกก็ไม่ได้ เพราะทั้งสองมิใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของนายหมอกตาม มาตรา 1639 และมาตรา 1643
ดังนั้น มรดกของนายเมฆ คือเงินสดจํานวน 3 ล้านบาท จึงตกได้แก่ น.ส.ฝน ด.ช.ลม และ นางฟ้า โดยทั้งสามจะได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือคนละ 1 ล้านบาท ตามมาตรา 1633
สรุป
มรดกของนายเมฆจํานวน 3 ล้านบาท จะตกได้แก่ น.ส.ฝน ด.ช.ลม และนางฟ้า โดยทั้งสามจะได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ล้านบาท
ข้อ 3 นายแดงจดทะเบียนสมรสกับนางเหลือง มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายส้มและนายแสด นายสมอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยากับ น.ส.ขาว มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ด.ญ.ชมพู โดยนายส้มเสีย 19 ด.ญ.ชมพูอย่างดี นายแสดติดการพนันอย่างหนัก นายแดงจึงทําพินัยกรรมตัดนายแสดไม่ให้รับมรดก ของตนมอบไว้กับนางเหลือง หลังจากนั้นนายแสดเลิกเล่นการพนันได้ นายแดงจึงทําหนังสือ ถอนการตัดนายแสดมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมานายส้มป่วยและถึงแก่ความตาย พอนายแดง ทราบข่าวก็หัวใจวายตาย นายแดงมีมรดกเป็นเงินสดจํานวน 6 ล้านบาท จงแบ่งมรดกของนายแดง
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิ์ได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”
มาตรา 1608 วรรคหนึ่ง “เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้ แต่ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง
(1) โดยพินัยกรรม
(2) โดยทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่”
มาตรา 1609 “การแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดกนั้นจะถอนเสียก็ได้ ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทําโดยพินัยกรรม จะถอนเสียได้ก็แต่โดยพินัยกรรมเท่านั้น”
มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”
มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635”
มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”
มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”
มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”
มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหาสิทธิดังนั้นไม่
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายแดงถึงแก่ความตาย มรดกซึ่งเป็นเงินสดจํานวน 6 ล้านบาท ของนายแดงย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรม และบุคคลที่มีสิทธิรับมรดกของนายแดงได้แก่บุคคลใดบ้างนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้
1 นางเหลือง ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายแดง มีสิทธิรับมรดกของนายแดง บฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย
2 นายส้ม ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายแดง โดยหลักแล้วย่อมมีสิทธิรับมรดก ของนายแดงในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) แต่เมื่อปรากฏว่า นายส้มได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ดังนั้น นายส้มจึงไม่อาจรับมรดกของนายเเดงได้ เพราะนายส้มไม่มีสถานภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายส้มมีบุตรคือ ด.ญ.ชมพู ซึ่งแม้ ด.ญ.ชมพู จะเป็นบุตรนอกกฎหมายของนายส้ม แต่เมื่อนายส้มได้รับรองว่า ด.ญ.ชมพูเป็นบุตรโดยการเลี้ยงดู ด.ญ.ชมพู เป็นอย่างดีตามมาตรา 1627 อีกทั้ง ด.ญ.ชมพูเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายส้ม ดังนั้น ด.ญ.ชมพูจึงมีสิทธิ์ รับมรดกแทนที่นายสมในการรับมรดกของนายแดงได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643
3 นายแสด ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายแดงนั้น ไม่มีสิทธิรับมรดกของนายแดงในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ทั้งนี้เพราะนายแดงเจ้ามรดกได้ทําพินัยกรรมตัดมิให้นายแสดรับมรดก โดยถูกต้องตามมาตรา 1608 แล้ว และแม้ว่าภายหลังนายแดงจะได้ทําหนังสือถอนการตัดมิให้รับมรดกนั้นมอบไว้แก่
พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่การถอนดังกล่าวกระทําไม่ถูกต้องตามมาตรา 1609 คือไม่ได้ถอนโดยพินัยกรรม ดังนั้น จึงยังถือว่านายแสดถูกตัดมิให้รับมรดกเช่นเดิม
ส่วน น.ส.ขาว ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของนายแดงจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายแดง
ดังนั้น มรดกของนายแดงซึ่งเป็นเงินสดจึงตกได้แก่ ด.ญ.ชมพูซึ่งเข้ารับมรดกแทนที่นายส้ม และนางเหลืองคู่สมรสของเจ้ามรดก โดยนางเหลืองจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1) ดังนั้น ด.ญ.ชมพูและนางเหลืองจึงได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่า ๆ กันคือคนละ 3 ล้านบาท ตามมาตรา 1633
สรุป
มรดกของนายแดงตกได้แก่นางเหลืองและ ด.ญ.ชมพู คนละ 3 ล้านบาท
ข้อ 4 นางเกดมีบุตรชาย 3 คน คือ นายพัน นายหมื่นและนายแสน นายพันอยู่กินกันกับนางสาวพลอยโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ นางสาวเพ็ญ นางสาวเพ็ญใช้นามสกุลของ มารดาตั้งแต่เกิดโดยนายพันให้การอุปการะนางสาวเพ็ญมาโดยตลอด นางเกดล้มป่วยเป็นโรคมะเร็ง นายหมื่นดูแลปรนนิบัตินางเกดเป็นอย่างดี นางเกดจึงทําพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดของตน ให้กับนายหมื่นแต่เพียงผู้เดียว ต่อมานายพันประสบอุบัติเหตุตาย หลังจากนั้นนางเกดถึงแก่ความตาย นางเกดมีทรัพย์มรดกทั้งสิ้น 300,000 บาท นายหมื่นไม่อยากรับมรดกของนางเกดแต่เพียงผู้เดียว นายหมื่นจึงได้สละมรดกของนางเกดในฐานะผู้รับพินัยกรรมโดยทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตบางซื่อ
ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนางเกด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1608 วรรคท้าย “แต่เมื่อบุคคลใดได้ทําพินัยกรรมจําหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดแล้ว ให้ถือว่าบรรดาทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรม เป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก”
มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ”
มาตรา 1618 “ถ้าทายาทโดยธรรมผู้ที่ได้สละมรดกไม่มีผู้สืบสันดานที่จะรับมรดกได้ หรือ ผู้รับพินัยกรรมได้สละมรดก ให้ปันส่วนแบ่งของผู้ที่ได้สละมรดกนั้น ๆ แก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดกต่อไป”
มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”
มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”
มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน”
มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ สวนแบ่งทั้งหมด”
มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย”
มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”
มาตรา 1698 “ข้อกําหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป (3) เมื่อผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม”
มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผล ด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี
วินิจฉัย
ตามอุทาหรณ์ เมื่อนางเกดเจ้ามรดกถึงแก่ความตายมีทรัพย์มรดกคือเงินจํานวน 300,000 บาท ซึ่งนางเกดได้ทําพินัยกรรมยกให้แก่นายหมื่นเพียงผู้เดียวเท่านั้น โดยหลักแล้วเงินจํานวน 300,000 บาท ย่อม ตกได้แก่นายหมีนในฐานะผู้รับพินัยกรรม ส่วนนายพันและนายแสนซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมซึ่งไม่ได้รับประโยชน์จาก พินัยกรรมถือว่าเป็นการถูกตัดมิให้รับมรดกโดยปริยายตามมาตรา 1608 วรรคท้าย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อนายหมื่น ได้ทําหนังสือสละมรดกของนางเกดในฐานะผู้รับพินัยกรรมมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตบางซื่อ ถือว่าเป็นการสละมรดก โดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1612 ดังนั้น ข้อกําหนดในพินัยกรรมดังกล่าวจึงตกไป จึงต้องนําเงินมรดก ทั้งหมดจํานวน 300,000 บาท ไปแบ่งปันให้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายตามมาตรา 1698 (3), 1699 ประกอบ มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง
สําหรับทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของนางเกด ได้แก่ นายพัน นายหมื่น และนายแสน ในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1618 โดยนายหมื่นแม้จะสละมรดกในฐานะผู้รับ พินัยกรรม แต่ก็ยังคงมีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมอยู่ และเมื่อทั้ง 3 คน เป็นทายาทโดยธรรมใน ลําดับเดียวกัน จึงมีสิทธิได้รับมรดกในส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือ คนละ 100,000 บาท ตามมาตรา 1633
แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายพันได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย นายพันจึงไม่อาจ รับมรดกของนางเกด และเมื่อนายพันมีบุตรคือนางสาวเพ็ญซึ่งนายพันได้ให้การรับรองโดยให้การอุปการะมาโดยตลอด และเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง ดังนั้น นางสาวเพ็ญจึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่นายพันในการรับมรดกของนางเกด ตามมาตรา 1627 มาตรา 1639 และมาตรา 1643
ดังนั้น มรดกทั้งหมดของนางเกดคือเงินสด 300,000 บาท จึงตกได้แก่ นายหมื่น นายแสน และนางสาวเพ็ญในฐานะผู้รับมรดกแทนที่นายพัน คนละ 100,000 บาท
สรุป
มรดกของนางเกด 300,000 บาท ตกได้แก่ นางสาวเพ็ญ นายหมื่น และนายแสน คนละ 100,000 บาท