การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ
ข้อ 1 นายแดนจดทะเบียนสมรสกับนางแดงมีบุตรคือนายดิน ต่อมานายเขียวซึ่งเป็นเพื่อนนายแดนได้มาจดทะเบียนรับนายดินไปเป็นบุตรบุญธรรม ต่อมานายดินจดทะเบียนรับนายสิงโตมาเป็นบุตรบุญธรรม หลังจากนั้นนายดินได้เข้าแย่งการครอบครองที่ดินมีโฉนดของนายเขื่อนจํานวน 1 ไร่ โดยปรากฏ หลังจากนายดินเข้าแย่งการครอบครองที่ดินของนายเขื่อนได้ 7 ปี นายดินป่วยและถึงแก่ความตาย เช่นนี้ยังปรากฏอีกว่าก่อนนายดินตายได้แต่งหนังสือและมีโรงพิมพ์นําไปจัดพิมพ์ โดยจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ให้นายดินเดือนละ 60,000 บาท ดังนี้ จงพิจารณาการตกทอดมรดกของนายดิน ซึ่งยังมีเงินสดใน ธนาคารอีก 120,000 บาท
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1598/27 “การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย แต่ ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน”
มาตรา 1598/29 “การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะ ทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการรับบุตรบุญธรรมนั้น”
มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”
มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”
มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่ กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
แต่ความในวรรคก่อนนี้มีให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมี ผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่า เป็นทายาทชั้นบุตร”
มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”
วินิจฉัย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดกตาย นั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ์ หน้าที่ และความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท
กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นแรกที่ต้องวินิจฉัยคือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดใด ของนายดินที่จะเป็นมรดกตามมาตรา 1600 และตกทอดแก่ทายาท เห็นว่า การที่นายดินได้เข้าแย่งสิทธิการ ครอบครองที่ดินมีโฉนดของนายเขื่อนเป็นเวลา 7 ปีนั้น ย่อมถือว่านายดินได้สิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าว (แต่ ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์) และสิทธิการครอบครองเช่นว่านี้ก็มิใช่สิทธิที่เป็นการเฉพาะตัวของนายดินผู้ตายโดยแท้แต่ อย่างใด (มาตรา 1385) ผู้เป็นทายาทของนายดินจึงเข้าสืบสิทธิการครอบครองเช่นนั้นต่อไปจนครบกําหนด ระยะเวลาตามกฎหมายจนได้ปรปักษ์ในที่ดินดังกล่าวได้ ส่วนค่าลิขสิทธิ์หนังสือของนายดินนั้นก็มิใช่การ เฉพาะตัวของนายดินโดยแท้เช่นกัน สิทธิดังกล่าวจึงตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของนายดิน รวมถึงเงินสดใน ธนาคารจํานวน 120,000 บาทด้วย
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยประการต่อมา มีว่า บุคคลที่มีสิทธิและไม่มีสิทธิรับมรดกของนายดิน มีผู้ใดบ้าง ซึ่งแยกพิจารณาได้ดังนี้
1 นายสิงโต ซึ่งนายดินได้จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม ย่อมถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน และมีสิทธิได้รับมรดกของนายดินเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1629 (1) และมาตรา 1627 ประกอบมาตรา 1598/27
2 นายแดน ซึ่งเป็นบิดาของนายดินและเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายดิน เพราะ ขณะที่นายดินเกิด นายแดนกับนางแดงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย นายแดนจึงมีสิทธิได้รับมรดก ของนายดินตามมาตรา 1629 (2) โดยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1630 วรรคสอง
3 นางแดง ซึ่งเป็นมารดาของนายดิน และเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย นางแดงจึงมีฐานะ เป็นทายาทโดยธรรม และมีสิทธิรับมรดกของนายดินตามมาตรา 1629 (2) โดยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตน เป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1630 วรรคสอง เช่นเดียวกับนายแดน
4 นายเขียว ซึ่งเป็นบิดาบุญธรรมของนายดิน ย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของนายดิน “ราะต้องห้ามตามมาตรา 1598/29 ที่กําหนดว่า การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม ในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุแห่งการรับบุตรบุญธรรมนั้นแต่อย่างใด
ดังนั้น เมื่อนายดินเจ้ามรดกตายลง มรดกทั้งหมดของนายดิน คือ สิทธิครอบครองที่ดินของ นายเขื่อน ค่าลิขสิทธิ์เดือนละ 600,000 บาท และเงินสดในธนาคารจํานวน 120,000 บาท จึงต้องนํามาแบ่งเป็น 3 ส่วน เท่า ๆ กัน ให้แก่นายสิงโต นายแดน และนางแดง ตามมาตรา 1633
สรุป
มรดกของนายดิน จะตกทอดแก่นายสิงโต นายแดน และนางแดง ดังนี้คือ
1 มีสิทธิครอบครองที่ดินที่ได้แย่งการครอบครองมาเท่า ๆ กัน
2 ได้รับค่าลิขสิทธิ์คนละ 20,000 บาทต่อเดือน
3 ได้รับเงินสดในธนาคารคนละ 40,000 บาท
ข้อ 2 นายเมฆและ น.ส.ฟ้า อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายหมอก และ น.ส.เดือน ซึ่งนายเมฆให้คนทั้งสองใช้นามสกุลของตน นายหมอกจดทะเบียนสมรสกับนางดาว มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ น.ส.ฝน ซึ่ง น.ส.ฝนได้จดทะเบียนรับ ด.ญ.เนปจูนมาเป็นบุตรบุญธรรม ส่วน น.ส.เดือน มี ด.ช.พลูโตเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมา น.ส.ฝน และ น.ส.เดือนเดินทางไปต่างจังหวัด และประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต พอนายหมอกทราบข่าวก็หัวใจวายตายในเวลาต่อมา นายหมอกมีมรดก เป็นเงินสดในธนาคารจํานวน 4,000,000 บาท จงแบ่งมรดกของนายหมอก
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”
มาตรา 1604 วรรคแรก “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”
มาตรา 1620 วรรคแรก “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”
มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”
มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่ กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่า เป็นทายาทชั้นบุตร”
มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
(2) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629
(3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่หรือ ถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา 1629 (1) แต่มีทายาทตามมาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิ ได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง”
มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้า ผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย”
มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายหมอกตายลงโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ เงินสดในธนาคารจํานวน 4,000,000 บาท ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1620 วรรคแรก ซึ่งบุคคลที่มีสิทธิและไม่มีสิทธิรับ มรดกของนายหมอก แยกพิจารณาได้ดังนี้
1 นายเมฆ ซึ่งเป็นบิดาของนายหมอก แต่เป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายหมอก เพราะขณะที่นายหมอกเกิด นายเมฆกับ น.ส.ฟ้าเป็นสามีภริยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น นายเมฆจึงไม่ มีสิทธิรับมรดกของนายหมอก เพราะตามมาตรา 1629 (2) ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกนั้นจะต้องเป็น บิดาและมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
2 น.ส.ฟ้า ซึ่งเป็นมารดาของนายหมอก และเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายหมอก เพราะตามมาตรา 1546 บุคคลที่เกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น น.ส.ฟ้า จึงมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) และมีสิทธิรับมรดกของนายหมอก โดยจะ ได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1630 วรรคสอง
3 น.ส.ฝน ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหมอก เพราะเกิดขณะที่นายหมอก กับนางดาวจดทะเบียนสมรสกัน ดังนั้น น.ส.ฝนจึงมีสิทธิได้รับมรดกของนายหมอกในฐานะทายาทโดยธรรมตาม มาตรา 1629 (1) แต่เมื่อ น.ส.ฝนถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก จึงถือว่า น.ส.ฝน ไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่ เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงไม่อาจรับมรดกได้ตามมาตรา 1604 วรรคแรก
และแม้ว่า น.ส.ฝนจะได้จดทะเบียนรับ ด.ญ.เนปจูนมาเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อ ด.ญ.เนปจูนมิใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของ น.ส.ฝน ดังนั้น ด.ญ.เนปจูนจึงไม่สามารถเข้ารับมรดกแทนที่ น.ส.ฝน ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643 ได้
4 น.ส.เดือน ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับนายหมอก และมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 (3) แต่เมื่อปรากฏว่านายหมอกเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมในลําดับก่อนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ น.ส.เดือน ซึ่งถือเป็นทายาทโดยธรรมลําดับถัดลงไป จึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกตามมาตรา 1630
5 นางดาว ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายหมอก เพราะได้จดทะเบียนสมรสกัน ถูกต้องตามกฎหมาย จึงถือเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย และมีสิทธิได้รับมรดก ของนายหมอกกิ่งหนึ่งตามมาตรา 1635 (2)
ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของนายหมอกมีเพียง 2 คนคือ น.ส.ฟ้า ซึ่งเป็นมารดาของนายหมอก และนางดาวซึ่งเป็นคู่สมรสของนายหมอก มรดกของนายหมอกคือเงินสดในธนาคาร จํานวน 4,000,000 บาท จึงตกได้แก่ น.ส.ฟ้า และนางดาวคนละกึ่งหนึ่ง คือ คนละ 2,000,000 บาท ตามมาตรา 1629 (2) และวรรคสอง ประกอบมาตรา 1635 (2)
สรุป
มรดกของนายหมอก คือ เงินสดในธนาคารจํานวน 4,000,000 บาท จะตกได้แก่ น.ส.ฟ้า และนางดาวคนละ 2,000,000 บาท
ข้อ 3 นายชัยและนางชอบเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายขาวและนายดํานายขาวจดทะเบียนสมรสกับนางเขียวแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน นายขาวและนางเขียวจึงได้ไปรับนายไก่ มาเป็นบุตรบุญธรรม โดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย นายชัยได้ทําพินัยกรรมยกบ้าน 1 หลัง ราคา 300,000 บาท ให้กับนายดํา แต่ทรัพย์มรดกอื่น ๆ นายชัยไม่ได้ทําพินัยกรรมยกให้กับใคร ต่อมา นายชัยถึงแก่ความตาย นายชัยมีทรัพย์มรดกคือบ้าน 1 หลัง ราคา 300,000 บาท ตามพินัยกรรม และเงินสด 600,000 บาท นายขาวทําหนังสือสละมรดกทั้งหมดของนายชัย โดยมอบไว้แก่ ผู้อํานวยการเขตบางซื่อ ส่วนนายดําได้เอาเงินมรดกไปเป็นของตนเองโดยทุจริตจํานวน 500,000 บาท
ดังนี้ให้ท่านแบ่งมรดกของนายชัย
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1605 “ทายาทคนใดยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้น โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทําให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเลย แต่ ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น
มาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่ง เฉพาะอย่าง ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น”
มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
มาตรา 1615 วรรคสอง “เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้น สืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ แต่ผู้สืบสันดานนั้น ต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น”
มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”
มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา1635”
มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”
มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายชัยเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย นายชัยมีมรดกคือ บ้าน 1 หลัง ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม และเงินสด 600,000 บาท ดังนี้ ทรัพย์มรดกของนายชัยจะตกได้แก่ใครบ้าง แยกพิจารณา ได้ดังนี้คือ
กรณีเงินสด 600,000 บาท ที่นายชัยมิได้ระบุไว้ในพินัยกรรม ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรม ของนายชัย ซึ่งได้แก่
1 นายขาวและนายดํา ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1)
2 นางชอบ ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับมรดกในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง โดยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1) ดังนั้นนายขาว นายดํา และนางชอบ จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน คือคนละ 200,000 บาท ตามมาตรา 1633
สําหรับนายดํานั้น เมื่อเจ้ามรดกตายได้เอาเงินมรดกไปเป็นของตนโดยทุจริตจํานวน 500,000 บาท ถือเป็นการยักย้ายทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้ ดังนั้น นายดําจึงต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกของนายชัยใน ฐานะทายาทโดยธรรมเลยตามมาตรา 1605 วรรคแรก และเป็นมรดกที่นายดําถูกกําจัดมิให้ได้รับจํานวน 200,000 บาท นั้น จะต้องนําคืนกองมรดกแล้วนําไปแบ่งให้แก่นายขาวและนางชอบคนละ 100,000 บาท ดังนั้น บายขาย นางชอบจะได้รับมรดกของนายชัยคนละ 300,000 บาท
แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายขาวได้ทําหนังสือสละมรดกทั้งหมดของนายขับมอบไว้แต่ ผู้อํานวยการเขตบางซื่อ ซึ่งเป็นการสละมรดกที่ได้ทําถูกต้องตามกฎหมายตามมาตรา 1612 ดังนั้น นายเก่ซึ่งเป็น บุตรบุญธรรม และมีฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1627 ประกอบมาตรา 1629 (1) จึงมีสิทธิสืบมรดกได้ตามสิบ, ของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนที่นายขาวผู้สละมรดกจะได้รับคือ 300,000 บาท ตามมาตรา 1615 วรรคสอง
สําหรับบ้าน 1 หลังราคา 300,000 บาท ถือเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างที่นาย ทําพินัยกรรมยกให้กับนายดําโดยเฉพาะ จึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 1605 วรรคสอง คือ บ้านจะตกได้แก่นายดํา ในฐานะผู้รับพินัยกรรม โดยนายดําจะไม่ถูกกําจัดมิให้รับมรดกในส่วนนี้
สรุป
มรดกของนายชัยที่เป็นเงินสด 600,000 บาท ตกได้แก่นางชอบและนายไก่คนละ 300,000 บาท ส่วนบ้าน 1 หลัง ราคา 300,000 บาท ตกได้แก่นายดําตามพินัยกรรม
ข้อ 4 นางแก้วมีมารดาชื่อนางเกด นางแก้วอยู่กินกันฉันสามีภริยากับนายชาติโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกัน 2 คน ชื่อ นายใหญ่กับนายเล็ก นายใหญ่จดทะเบียนสมรสกับนางยุ้ย มีบุตร 1 คน ชื่อ ด.ช.น้อย นายใหญ่และนางยุ้ยได้จดทะเบียนรับ ด.ญ.ก้อยมาเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย หลังจากนั้นนายใหญ่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย ต่อมานางแก้วถึงแก่ความตาย นางแก้วมีทรัพย์มรดกคือ เงินสด 900,000 บาท นายเล็กได้ทําพินัยกรรมปลอมว่า นางแก้วทําพินัยกรรม ทรัพย์มรดกทั้งหมดให้นายเล็กแต่เพียงผู้เดียว ดังนี้จงแบ่งมรดกของนางแก้ว
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1604 วรรคแรก “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”
มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ
(5) ผู้ที่ปลอม ทําลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด”
มาตรา 1620 วรรคแรก “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”
มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”
มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”
มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่ กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่า เป็นทายาทชั้นบุตร”
มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”
มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”
มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”
มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอัน ไร้ผลด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเล็กได้ปลอมพินัยกรรมว่า นางแก้วทําพินัยกรรมยกทรัพย์ มรดกทั้งหมดให้นายเล็กแต่เพียงผู้เดียวนั้น นายเล็กย่อมถูกกําจัดมิให้ได้รับมรดกทั้งหมดของนางแก้วฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (5) ดังนั้นจึงต้องนําทรัพย์มรดกคือ เงินสด 900,000 บาท ไปแบ่งให้แก่ทายาท โดยธรรมของนางแก้วต่อไปตามมาตรา 1620 วรรคแรก
ตามข้อเท็จจริง ทายาทโดยธรรมของนางแก้วตามมาตรา 1629 ที่มีสิทธิได้รับมรดกดังกล่าว ของนางแก้ว แยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ
1 นางเกด เป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนางแก้ว และเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) จึงมีสิทธิได้รับมรดก และจะได้รับส่วนแบ่งมรดกเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1630 “รรคสอง
2 นายใหญ่ เป็นบุตรของนางแก้ว ซึ่งถือเป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมตาม มาตรา 1629 (1) จึงมีสิทธิได้รับมรดกของนางแก้ว แต่เมื่อปรากฏว่านายใหญ่ได้ถึงแก่ความตายก่อนนางแก้ว เจ้ามรดก ย่อมถือว่านายใหญ่ไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย และไม่อาจรับมรดกได้ตาม มาตรา 1604 วรรคแรก
แต่อย่างไรก็ดี เมื่อปรากฏว่านายใหญ่มีบุตรคือ ด.ช.น้อย ซึ่งถือเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ของนายใหญ่ ด.ช.น้อยจึงมีฐานะเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายใหญ่ ดังนั้น เมื่อนายใหญ่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตาม มาตรา 1629 (1) ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย ด.ช.น้อยจึงมีสิทธิรับมรดกของนางแก้วแทนที่นายใหญ่ได้ ตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643 ส่วน ด.ญ.ก้อย แม้จะเป็นบุตรบุญธรรมของนายใหญ่ แต่ไม่ใช่ผู้สืบสันดาน โดยตรงของนายใหญ่ ด.ญ.ก้อยจึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่นายใหญ่
และในส่วนของนายชาตินั้น เมื่อนายชาติมิได้ทําการจดทะเบียนสมรสกับนางแก้ว จึงมิใช่สามี ที่ชอบด้วยกฎหมาย นายชาติจึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรมและไม่มีสิทธิรับมรดกของนางแก้ว
เมื่อบุคคลที่มีสิทธิได้รับมรดกของนางแก้ว มี 2 คน คือ นางเกดมารดา และ ด.ช.น้อย ซึ่งเข้ารับ มรดกแทนที่นายใหญ่ ดังนั้น มรดกของนางแก้วคือ เงินสดจํานวน 900,000 บาท จึงตกได้แก่ นางเกด และ ด.ช.น้อย คนละเท่า ๆ กัน คือคนละ 450,000 บาท ตามมาตรา 1629 (1) (2) ประกอบมาตรา 1630 วรรคสอง และมาตรา 1633
สรุป
มรดกของนางแก้ว คือ เงินสด 900,000 บาท ตกทอดแก่นางเกดและ ด.ช.น้อย คนละ 450,000 บาท