การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

Advertisement

คําแนะนํา

ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายเมฆมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน คือ นายหมอก นายเมฆให้สิทธิเหนือพื้นดินในที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่นายชายเป็นเวลา 10 ปี และนายเมฆให้สิทธิอาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 456 แก่นางหญิงเป็นเวลา 10 ปี หลังจากให้สิทธิแก่คนทั้งสองแล้วเป็นเวลา 5 ปี นายชายและนางหญิง ก็ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ดังนี้ สิทธิที่นายชายและนางหญิงได้รับเป็นมรดกหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดกตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่และ ความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ สิทธิที่นายชายและนางหญิงได้รับเป็นมรดกหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 กรณีนายเมฆให้สิทธิเหนือพื้นดินแก่นายชายเป็นเวลา 10 ปี

ตามกฎหมายเมื่อนายชายผู้รับสิทธิ (ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดิน) ถึงแก่ความตาย ย่อมไม่ ทําให้สิทธิเหนือพื้นดินระงับสิ้นไป หน้าที่ที่จะต้องให้ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินใช้ประโยชน์เหนือพื้นดินในที่ดินนั้น ไม่ถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยเท้ ดังนั้นเมื่อนายชายถึงแก่ความตาย สิทธิดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอด แก่ทายาทนายเมฆจึงต้องให้ทายาทของนายชายใช้ที่ดินนั้นต่อไปจนครบกําหนด 10 ปีตามสัญญา

2 กรณีนายเมฆให้สิทธิอาศัยในที่ดินแก่นางหญิงเป็นเวลา 10 ปี

ตามกฎหมายสิทธิอาศัยนั้นจะโอนกันไม่ได้แม้โดยทางมรดก ดังนั้น สิทธิอาศัยถือว่า เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย (ผู้รับสิทธิ) โดยแท้ จึงไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท เมื่อนางหญิงผู้รับสิทธิถึงแก่ ความตายทายาทของนางหญิงจึงต้องคืนที่ดินนั้นให้แก่นายเมฆ

สรุป สิทธิเหนือพื้นดินที่นายชายได้รับเป็นมรดก แต่สิทธิอาศัยที่นางหญิงได้รับไม่เป็นมรดก

 

ข้อ 2 นายสิงโตจดทะเบียนสมรสกับนางสวยมีบุตรคือนายช้าง นายเสือ และนายยีราฟ ต่อมานางสวยป่วยตาย นายช้างจดทะเบียนสมรสกับนางนกแต่ไม่มีบุตร นายเสือจดทะเบียนสมรสกับนางแสง มีบุตรคือนายจิ๋ว ส่วนนายยีราฟอยู่กินกับนางเดือนมีบุตรคือนางแจ๋วซึ่งนายยีราฟแจ้งเกิดในสูติบัตร ว่าเป็นบิดา ต่อมานายเสือประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย นายช้างได้จดทะเบียนรับนายจิ๋วมาเป็น บุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมานายสิงโตทําพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ นายยีราฟ แต่ต่อมานายยีราฟและนายช้างประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นนายสิงโตป่วย และถึงแก่ความตายโดยมีเงินสดในธนาคาร 3,000,000 บาท ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนายสิงโต

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1536 วรรคหนึ่ง “เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็น สามี แล้วแต่กรณี

มาตรา 1598/28 “บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับ บุตรบุญธรรมนั้น แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กําเนิดมา…”

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกสําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1634 “ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่งของสายหนึ่ง ๆ ตาม บทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 4 นั้นให้ได้รับส่วนแบ่งมรดกดังนี้

(2) ผู้สืบสันดานในชั้นเดียวกันได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1642 “การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

มาตรา 1698 “ข้อกําหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป

(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทําพินัยกรรม”

มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผล ด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสิงโตได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกคือเงินสดในธนาคาร 3,000,000 บาท ให้แก่นายยีราฟนั้น เมื่อปรากฏว่านายยีราฟผู้รับพินัยกรรมตายก่อนนายสิงโตผู้ทําพินัยกรรม ข้อกําหนดในพินัยกรรมนั้นย่อมตกไป ดังนั้น จึงต้องนําเงิน 3,000,000 บาท ดังกล่าวกลับคืนสู่กองมรดกเพื่อแบ่งปัน ให้แก่ทายาทโดยธรรมของนายสิงโตต่อไปตามมาตรา 1698 (1), 1699 และมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง และกรณีดังกล่าวนี้ นางแจ่วซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายยีราฟได้รับรองแล้วและเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายยีราฟ ตาม มาตรา 1627 และมาตรา 1629 (1) จะเข้ามารับมรดกแทนที่ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 1642 ซึ่งกําหนด ไว้ว่า การรับมรดกแทนที่กันนั้นให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรมเท่านั้น

ในส่วนของทายาทโดยธรรมของนายสิงโตนั้น บุตรทั้ง 3 คน ได้แก่ นายช้าง นายเสือ และ นายยีราฟ ต่างก็เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายสิงโตเจ้ามรดกตามมาตรา 1536 วรรคหนึ่ง จึงเป็นทายาทโดยธรรม ในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ที่มีสิทธิรับมรดกของนายสิงโต แต่เมื่อปรากฏว่า นายช้าง นายเสือ นายยีราฟ รวมทั้งนางสวยภริยาของนายสิงโตได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก จึงไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาท ของนายสิงโต เพราะไม่มีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น จึงต้องพิจารณาการเข้ารับมรดกแทนที่ตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643 ซึ่งได้ กําหนดไว้ว่า ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้น มีผู้สืบสันดานและเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง ก็ให้ผู้สืบสันดานคนนั้นเข้ารับมรดกแทนที่ได้ ซึ่งกรณีตามอุทาหรณ์ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีนายจิ๋ว แม้นายจิ๋วจะเป็นบุตรบุญธรรมของนายช้างแต่ไม่อาจเข้ารับมรดกแทนที่นายช้างได้ เพราะมิใช่สืบสันดานโดยตรงของนายช้างตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643 แต่เมื่อนายจิ๋วเป็นบุตรที่ชอบด้วย กฎหมายของนายเสือ แม้ต่อมาจะเป็นบุตรบุญธรรมของนายช้างก็ตาม ย่อมไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้ กําเนิดมา ดังนั้น นายจิ๋วจึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่นายเสือเพื่อรับมรดกของนายสิงโตได้ตามมาตรา 1598/28, 1629 (1) และมาตรา 1639

กรณีนางแจ๋ว แม้นางแจ๋วจะรับมรดกแทนที่ในพินัยกรรมไม่ได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา 1642 แต่ในส่วนที่นางแจ๋วเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายยีราฟรับรองแล้ว นางแจ๋วจึงเป็นทายาทในฐานะผู้สืบสันดาน โดยตรงของนายยีราฟตามมาตรา 1627 และมาตรา 1629 (1) ดังนั้น นางแจ๋วจึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่นายยีราฟ เพื่อรับมรดกของนายสิงโตได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643

และเมื่อมีผู้รับมรดกแทนที่นายเสือและนายยีราฟเพื่อรับมรดกของนายสิงโต 2 คน ดังนั้น นายจิวและนางแจ่ว จึงได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของนายสิงโตเท่า ๆ กัน คือ คนละ 1,500,000 บาท ตามมาตรา 1634 (2)

สรุป

มรดกของนายสิงโตจํานวน 3,000,000 บา! ตกได้แก่นายจิ๋วและนางแจ๋วคนละ 1,500,000 บาท

 

ข้อ 3 นายเด่นมีภริยาชอบด้วยกฎหมายชื่อนางเดือน มีบุตรคือนางสาวดาว และนายเด่นยังจดทะเบียนรับนายโชคเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย นายโชคมีบุตรชอบด้วยกฎหมายชื่อนายลาภ ต่อมานายโชคประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย หลังจากนั้น 1 ปี นายเด่นถึงแก่ความตายโดยมี ทรัพย์มรดกเป็นเงิน 300,000 บาท นายเด่นมิได้ทําพินัยกรรมไว้ บิดามารดาถึงแก่ความตาย ไปก่อนแล้ว หลังเสร็จพิธีศพนางสาวดาวเบียดบังเอาเงินอันเป็นทรัพย์มรดกของนายเด่นไปเป็น ของตนเอง 200,000 บาท ให้วินิจฉัยพร้อมให้เหตุผลประกอบว่า ทรัพย์มรดกของนายเด่นตกทอดแก่ผู้ใด เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1605 “ทายาทคนใดยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้น โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทําให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเลย แต่ถ้าได้ยกย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น

มาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะกิ่ง เฉพาะอย่าง ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง  แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้ เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายเด่นถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ มรดกของนายเด่น คือเงิน 300,000 บาท ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ซึ่งทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิ รับมรดกของนายเด่น ได้แก่ นางสาวดาวบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) นายโชคซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1627 และมาตรา 1629 (1) และนางเดือนซึ่งเป็น ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย ซึ่งทั้งสามคนจะได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือคนละ 100,000 บาท ตามมาตรา 1633 ประกอบมาตรา 1635 (1)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นางสาวดาวได้ยักย้ายเบียดบังเอาทรัพย์มรดกมา เป็นของตน 200,000 บาท ซึ่งมีจํานวนมากกว่าส่วนที่ตนจะได้ ดังนั้น นางสาวดาวจึงถูกกําจัดมิให้รับมรดกเลย ตามมาตรา 1605 วรรคหนึ่ง ทรัพย์มรดกในส่วนของนางสาวดาวจึงต้องนํามาแบ่งให้แก่ทายาทที่เหลือตามส่วน ซึ่งได้แก่นายโชคและนางเดือนคนละส่วนคืออีกคนละ 50,000 บาท ทําให้นายโชคและนางเดือนจะได้รับส่วนแบ่ง มรดกของนายเด่นคนละ 150,000 บาท

แต่เมื่อนายโชคได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก จึงถือว่านายโชคไม่มีสภาพบุคคลในขณะที่ เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย นายโชคจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายเด่น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายโชคมีบุตรที่ชอบด้วย กฎหมายคือนายลาภ ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง ดังนั้นนายลาภจึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่นายโชคเพื่อรับมรดก ของนายเด่นตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643

สรุป ทรัพย์มรดกของนายเด่นจํานวน 300,000 บาท ตกทอดแก่นายลาภและนางเดือนคนละ 150,000 บาท

 

ข้อ 4 นายก้องและนางขิมเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ นายขาว นายก้องมีน้องชายร่วมบิดารมารดาเดียวกัน คือนายเก่ง ต่อมานายก้องและนางขิมได้จดทะเบียนรับนายดํา หลานชายของนางขิมมาเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย นายดําจดทะเบียนสมรสกับนางใจ ทั้งสองมี บุตรสาวด้วยกัน 1 คน คือ ด.ญ.ด้วง นายก้องขับรถไปต่างจังหวัดกับนายดํา รถยนต์ประสบอุบัติเหตุ ชนกับเสาไฟฟ้า นายดําถึงแก่ความตาย ส่วนนายก้องได้รับบาดเจ็บสาหัส ในระหว่างที่นายก้อง รักษาตัวที่โรงพยาบาล นายขาวหลอกลวงให้นายก้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมที่ยกทรัพย์มรดก ทั้งหมดให้แก่นายขาว ต่อมานายก้องถึงแก่ความตาย นายก้องมีทรัพย์มรดกทั้งสิ้น 150,000 บาท ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนายก้อง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(4) ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทํา หรือเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแต่บางส่วน หรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกหรือไม่ให้กระทําการดังกล่าวนั้น”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635

มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสาย แล้วแต่กรณีในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของ ผู้ตายเลย”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้ เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผล ด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายขาวได้หลอกลวงให้นายก้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมที่ยก ทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นายขาวนั้น ถือเป็นการฉ้อฉลให้เจ้ามรดกทําพินัยกรรมซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดก ดังนั้น แม้ว่านายขาวจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ก็ตาม นายขาวก็ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกของนายก้องฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (4) และมีผลทําให้ นายขาวไม่มีสิทธิได้รับมรดกของนายก้องเลย

และเมื่อพินัยกรรมดังกล่าวเป็นอันไร้ผลไม่มีผลบังคับ จึงต้องนําทรัพย์มรดกของนายก้องทั้งหมด จํานวน 150,000 บาท ไปแบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมของนายก้องตามมาตรา 1699 ประกอบมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ซึ่งทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของนายก้องในฐานะทายาทโดยธรรม ได้แก่

1 นางขิม ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายก้องในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย และจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1)

2 นายดํา ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมและมีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้สืบสันดานตารมาตร 17 ประกอบมาตรา 1629 (1) แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายดําได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก และนายดํามีบุตร ชอบด้วยกฎหมายคือ ด.ญ.ด้วง ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายดํา ดังนั้น ด.ญ.ด้วง จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่ ของนายดําเพื่อรับมรดกของนายก้องได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643

ส่วนนายเก่ง ซึ่งเป็นน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกันของนายก้องและเป็นทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 (3) นั้น เมื่อเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมในลําดับก่อน ๆ นายเก่งซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในลําดับ ถัดลงไปจึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น มรดกของนายก้อง จึงตกได้แก่ นางพิม และ ด.ญ.ด้วง ซึ่งรับมรดกแทนที่นายดําเพียง สองคน และแต่ละคนจะได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือ คนละ 75,000 บาท ตามมาตรา 1633

สรุป มรดกของนายก้อง 150,000 บาท ตกได้แก่นางขิมและ ด.ญ.ด้วง คนละ 75,000 บาท

 

Advertisement