การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

Advertisement

คำแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายเมฆมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน คือ นายหมอก นายเมฆให้นายชายยืมรถยนต์ไปใช้เป็นเวลา 5 เดือน และให้นางหญิงยืมข้าวสารจํานวน 50 กระสอบ เป็นเวลา 4 เดือน หลังจาก ทําสัญญายืมกับนายชายและนางหญิงแล้วเป็นเวลา 1 เดือน นายเมฆ นายชาย และนางหญิง เดินทางไปต่างจังหวัดและประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย ดังนี้ สิทธิตามสัญญายืมเป็นมรดกของนายเมฆ นายชาย และนางหญิงหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตาย ได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดย สภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดก ตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่และความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไป ยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ สิทธิตามสัญญายืมเป็นมรดกของนายเมฆ นายชาย และนางหญิงหรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 สัญญายืมระหว่างนายเมฆและนายชาย

การที่นายเมฆให้นายชายยืมรถยนต์ไปใช้เป็นเวลา 5 เดือนนั้น เป็นสัญญายืมใช้คงรูป ซึ่งตาม กฎหมายสัญญายืมใช้คงรูปย่อมระงับไปเมื่อผู้ยืมตาย (ป.พ.พ. มาตรา 648) แต่จะไม่ระงับไปในกรณีที่ผู้ให้ยืมตาย ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากทําสัญญายืมกับนายชายแล้วเป็นเวลา 1 เดือน นายเมฆผู้ให้ยืม และนายชาย ถึงแก่ความตาย เช่นนี้

1.1 กรณีนายเมฆผู้ให้ยืมถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญายืมซึ่งตามกฎหมาย ไม่อว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย (ผู้ให้ยืม) จึงไม่ระงับไปด้วย ดังนั้น สิทธิตามสัญญายืมใช้คงรูปของนายเมฆ เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท

1.2 กรณีนายชายผู้ยมถึงแก่ความตาย ย่อมมีผลทําให้สิทธิในการใช้สอยทรัพย์สินที่ยืม ซึ่งตาม กฎหมายถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย (ผู้ยืม) จึงต้องระงับไปด้วย ดังนั้น สิทธิตามสัญญายืมที่นายชายได้รับ จึงไม่เป็นมรดก

2 สัญญายืมระหว่างนายเมฆและนางหญิง

การที่นายเมฆให้นางหญิงยืมข้าวสารจํานวน 50 กระสอบ เป็นเวลา 4 เดือนนั้น เป็นสัญญายืมใช้ สิ้นเปลือง ซึ่งตามกฎหมายสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง เป็นสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้น เป็นปริมาณมีกําหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกัน ให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 650) โดยจะต้องคืนเมื่อครบกําหนดเวลาที่ได้ตกลงกัน ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ตามสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ให้ยืม และผู้ยืม สิทธิและหน้าที่ตามสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า หลังจากนางหญิงได้ยืมข้าวสารจากนายเมฆไปได้ 1 เดือน นายเมฆและนางหญิงถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ ตามสัญญายืมของนายเมฆและนางหญิงจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท

สรุป

สิทธิตามสัญญายืมเป็นมรดกของนายเมฆ สิทธิตามสัญญายืมรถยนต์ไม่เป็นมรดกของ นายชาย และสิทธิตามสัญญายืมข้าวสารซึ่งเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองเป็นมรดกของนางหญิง

 

ข้อ 2 นายเก่งอยู่กินกับนางมณีมีบุตรคือนายดํา ซึ่งนายเก่งได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา นายดําได้ไปบวชที่วัดเทพลีลาโดยในขณะบวชนั้น นางมณีได้โอนที่ดินโดยจดทะเบียนและทําเป็นหนังสือ ให้แก่พระภิกษุดํา 3 ไร่ มูลค่า 1,500,000 บาท ต่อมาพระภิกษุดําได้ทําสัญญาให้นายแดงเช่าที่นา ของตนโดยชอบด้วยกฎหมายเดือนละ 20,000 บาท ต่อมานางมณีป่วยตาย นายเก่งจึงไปอยู่กินกับ นางแก้วมีบุตรคือนายกระทิง ซึ่งนายเก่งให้นายกระทิงใช้นามสกุล โดยนายกระทิงจดทะเบียนสมรส กับนางรดามีบุตรคือนางฤดี ซึ่งต่อมานางฤติอยู่กินกับนายมงคลจนตั้งครรภ์มีบุตรคือ ด.ญ.มีนา อีกทั้งนางฤดีได้จดทะเบียนรับ ด.ช.ดํารง มาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่นายมงคล แยกทางกับนางฤดี หลังจากนั้นนายกระทิงป่วยและถึงแก่ความตาย ต่อมานางฤดีประสบอุบัติเหตุ ถึงแก่ความตาย เมื่อนายกระทิงและนางฤดีตายแล้ว ต่อมาพระภิกษุดําให้นายแดงเช่าที่นาได้ 5 เดือน พระภิกษุดําเกิดป่วยและถึงแก่มรณภาพ เช่นนี้จงพิจารณาการตกทอดแห่งทรัพย์มรดก ของพระภิกษุดําซึ่งมีเงินสดในธนาคารก่อนที่จะบวชอยู่ 240,000 บาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1536 วรรคหนึ่ง “เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่ วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี

มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1623 “ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้น ถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลําเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จําหน่ายไปใน ระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม”

มาตรา 1624 “ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็น สมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจําหน่ายโดยประการใด นามกฎหมายก็ได้”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน”

มาตรา 1634 “ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่งของสายหนึ่ง ๆ ตาม บทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 4 นั้นให้ได้รับส่วนแบ่งมรดกดังนี้

(3) ถ้าในขั้นหนึ่งมีผู้สืบสันดานคนเดียว ผู้สืบสันดานคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องพิจารณาประการแรกคือ เมื่อพระภิกษุดําถึงแก่มรณภาพนั้น ทรัพย์มรดกของพระภิกษุดํามีอะไรบ้าง กรณีนี้เห็นว่า การที่พระภิกษุดําเจ้ามรดกได้ไปบวชที่วัดเทพลีลานั้น ก่อนบวชพระภิกษุดํามีเงินฝากในธนาคาร 240,000 บาท ซึ่งเงินฝากจํานวน 240,000 บาทนี้ ย่อมถือว่าเป็นมรดก ที่จะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของพระภิกษุดําตามมาตรา 1624

ส่วนที่ดินจํานวน 3 ไร่ มูลค่า 1,500,000 บาท ที่นางมณีได้จดทะเบียนโอนให้แก่พระภิกษุดํา และค่าเช่าที่นาเดือนละ 20,000 บาท เป็นเวลา 5 เดือน รวมเป็นค่าเช่า 100,000 บาท ที่พระภิกษุดําได้รับ ก่อนที่จะถึงแก่มรณภาพนั้น ถือเป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุดําได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศ ดังนั้น เมื่อพระภิกษุดํา ได้ถึงแก่มรณภาพที่ดินและค่าเช่าที่ดินดังกล่าวจึงตกแก่วัดเทพลีลาซึ่งเป็นภูมิลําเนาของพระภิกษุดํา ไม่ตกแก่ ทายาทโดยธรรมของพระภิกษุดําตามมาตรา 1623

ดังนั้น ตามอุทาหรณ์ ทรัพย์มรดกของพระภิกษุดําจึงมีเฉพาะเงินฝากในธนาคาร 240,000 บาท เท่านั้น ซึ่งมรดกดังกล่าวจะตกทอดแก่บุคคลใดบ้าง แยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ

1 นายเก่ง ซึ่งเป็นบิดาของพระภิกษุดํา แต่เป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของพระภิกษุดํา เพราะขณะที่พระภิกษุดําเกิดนั้น นายเก่งกับนางมณีเป็นสามีภริยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น นายเก่ง จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของพระภิกษุดํา เพราะตามมาตรา 1629 (2) ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกนั้น จะต้อง เป็นบิดาและมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

2 นางมณี ซึ่งเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของพระภิกษุดํา เพราะบุคคลที่เกิดจาก หญิงที่มิได้สมรสกับชาย กฎหมายให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้นตามมาตรา 1546 นางมณีจึง มีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) แต่เมื่อในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น นางมณีไม่มี สภาพบุคคลอยู่ในเวลานั้น เพราะได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว ดังนั้น นางมณีจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของพระภิกษุดํา ตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

3 นายกระทิง เป็นบุตรที่เกิดจากนายเก่งและนางแก้ว จึงเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดาเดียวกัน กับพระภิกษุดําและเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (4) ประกอบมาตรา 1627 แต่การที่นายกระทิงตาย ก่อนเจ้ามรดก นายกระทิงจึงไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ดังนั้น นายกระทิงจึงไม่มี สิทธิรับมรดกของพระภิกษุดําตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาการเข้ารับมรดกแทนที่นายกระทิงตามมาตรา 1639

การที่นายกระทิงได้จดทะเบียนสมรสกับนางรดาและมีบุตรคือนางฤดี นางฤดีจึงเป็นบุตรโดยชอบ ด้วยกฎหมายและเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายกระทิงตามมาตรา 1536 ประกอบมาตรา 1643 แต่เมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่านางฤดีได้ถึงแก่ความตายก่อนพระภิกษุดําด้วย จึงต้องพิจารณาการเข้ารับมรดกแทนที่ นางฤดีต่อไปตามมาตรา 1639 และเมื่อปรากฏว่านางฤดีมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายคือ ด.ญ.มีนา และเป็น ผู้สืบสันดานโดยตรงของนางฤดีตามมาตรา 1536 ประกอบมาตรา 1643 ดังนั้น ด.ญ.มีนาจึงเข้ารับมรดกแทนที่ นางฤดีในการรับมรดกของพระภิกษุดําได้ ส่วน ด.ช.ดํารงซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนางฤดีนั้น จะเข้ารับมรดก แทนที่นางฤดีไม่ได้เพราะไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของนางฤดี จึงต้องห้ามมิให้รับมรดกแทนที่ตามมาตรา 1643

ดังนั้น ทรัพย์มรดกของพระภิกษุดํา คือเงินฝากในธนาคารจํานวน 240,000 บาท จึงตกได้แก่ ด.ญ.มีนาแต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 1634 (3)

สรุป

ที่ดินและค่าเช่าที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุดําได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น จะตกได้แก่วัดเทพลีลาที่เป็นภูมิลําเนาของพระภิกษุดํา ส่วนเงินสดในธนาคารจํานวน 240,000 บาท ซึ่งเป็น ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จะตกได้แก่ ด.ญ.มีนาเพียงคนเดียว

 

ข้อ 3 นายเอกและนางอ้นเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย นายเอกมีน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คน คือ นายโทและนายตรี นายโทจดทะเบียนสมรสกับนางทอง มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ นายแทน นายโทโกรธนายเอกที่ดุด่านายโทว่าไม่ทํามาหากิน นายโทเอาปืนมายิงนายเอก นายเอกบาดเจ็บสาหัส ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลหลายเดือน นายโทต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าพยายามฆ่านายเอก ส่วนนายตรีอยู่กินกับนางสาวแตนแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ด.ช.ต่อ นายตรีให้การอุปการะเลี้ยงดู ด.ช.ต่อมาตั้งแต่เกิด ต่อมานายเอกประสบอุบัติเหตุตาย นายเอก ไม่ได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้กับใคร นายเอกมีทรัพย์มรดก 600,000 บาท หลังจากนั้น นายตรีตั้งใจจะอุปสมบทตลอดชีวิต นายตรีไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับมรดกของนายเอก นายตรีได้ทํา หนังสือสละมรดกของนายเอกมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตบางกะปิ ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนายเอก

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทํา หรือพยายามกระทําให้เจ้ามรดกหรือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ”

มาตรา 1615 วรรคสอง “เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้น สืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ แต่ผู้สืบสันดานนั้น ต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง ต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(2) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา 1629 (1) แต่มีทายาทตามมาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกได้ถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์มรดก ให้กับใคร มรดกของนายเอกจํานวน 600,000 บาท ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของนายเอกตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ซึ่งได้แก่นางอ้นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง และนายโทกับ นายตรีซึ่งเป็นน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนายเอกตามมาตรา 1629 (3) โดยนางอ้นมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง คือ 300,000 บาท ส่วนอีกถึงหนึ่งตกได้แก่นายโทและนายตรีคนละ 150,000 บาท ตามมาตรา 1635 (2)

การที่นายโทต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าพยายามฆ่านายเอก นายโทจึงต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดก จนายเอกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (1) แต่เมื่อเป็นการถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ดังนั้น เมื่อนายโทมีบุตรคือนายแทน และนายแทนเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายโท นายแทนจึงสามารถเข้ารับมรดก แทนที่นายโทได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643 โดยมีสิทธิรับมรดกของนายเอกจํานวน 150,000 บาท แทนที่นายโท

ส่วนกรณีนายตรีนั้น เมื่อนายตรีได้ทําหนังสือสละมรดกของนายเอกมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขต บางกะปี ซึ่งเป็นการสละมรดกโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1612 ด.ช.ต่อ ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมาย ซึ่งบิดา คือนายตรีได้รับรองแล้วโดยพฤติการณ์โดยนายตรีได้ให้การอุปการะเลี้ยงดู ด.ช.ต่อมาตั้งแต่เกิด ดังนั้น ด.ช.ต่อ จึงเป็นผู้สืบสันดานของนายตรีตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 และมีสิทธิสืบมรดกของนาย อก ในส่วนที่นายตรีได้สละมรดก คือ 150,000 บาท ตามมาตรา 1615 วรรคสอง

สรุป

มรดกของนายเอกจํานวน 600,000 บาท ตกได้แก่นางอ้น 300,000 บาท นายแทน 150,000 บาท และ ด.ช.ต่อ 150,000 บาท

 

ข้อ 4 นายสิงห์จดทะเบียนสมรสกับนางสวย มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ นางสาวแจ่ม ต่อมานายสิงห์ไปได้นางเดือนเป็นภริยาอีกคนหนึ่ง เมื่อนางเดือนตั้งครรภ์ นายสิงห์พาไปตรวจครรภ์ที่โรงพยาบาล จนทราบว่าเป็นบุตรชายจึงตั้งชื่อไว้ล่วงหน้าว่าเด็กชายหมอก แล้วเตรียมต่อเติมห้องพักสําหรับบุตร ทั้งยังบอกกล่าวแก่นายยิ้ม นางแย้มบิดามารดาของตนตลอดจนญาติมิตรเพื่อนฝูงว่าจะมีบุตรชาย สืบสกุลแล้ว ต่อมานายสิงห์ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายพร้อมนายยิ้มและนางแย้ม โดยมี ทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาท 1,000,000 บาท นางสาวแจ่มทําปลอมพินัยกรรมของนายสิงห์ขึ้น โดยระบุข้อความว่านายสิงห์ยกทรัพย์มรดกทั้งหมดของตนให้แก่นางสวยกับนางสาวแจ่มเท่านั้น หลังจากนั้น 3 เดือน นางเดือนคลอดบุตรคือ เด็กชายหมอก ให้วินิจฉัยว่า ทรัพย์มรดกของนายสิงห์ตกทอดแก่ผู้ใด เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1604 “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายในสามร้อยสิบวันนับแต่เวลาที่ เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้นเป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(5) ผู้ที่ปลอม ทําลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด”

มาตรา 1607 “การถูกกําจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัวผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูก กําจัดสืบมรดกต่อไปเสมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มี ผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้ เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายสิงห์ได้ถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ว่าจะยกทรัพย์มรดก ให้แก่ผู้ใด ทรัพย์มรดกของนายสิงห์จํานวน 1,000,000 บาท ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของนายสิงห์ตาม มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ส่วนพินัยกรรมที่นางสาวแจ่มทําขึ้นนั้นเมื่อเป็นพินัยกรรมปลอมจึงไม่มีผลใช้บังคับ

สําหรับทายาทโดยธรรมของนายสิงห์ที่มีสิทธิรับมรดกของนายสิงห์ ได้แก่

1 นางสวย ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสิงห์ จึงเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะ คู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง โดยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1)

2 เด็กชายหมอก ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายของนายสิงห์เพราะเกิดจากนางเดือนซึ่งมิได้ จดทะเบียนสมรสกับนายสิงห์ แต่เมื่อนายสิงห์บิดาได้รับรองแล้วโดยขณะนางเดือนตั้งครรภ์ นายสิงห์ได้พาไป ตรวจครรภ์ที่โรงพยาบาลและเมื่อทราบว่าเป็นบุตรชายจึงตั้งชื่อไว้ล่วงหน้าว่าเด็กชายหมอก อีกทั้งยังแสดงออกต่อ บุคคลทั่วไปว่าเด็กในครรภ์ของนางเดือนเป็นบุตรของตนอันเป็นการรับรองโดยพฤติการณ์ตั้งแต่เด็กชายหมอก ยังอยู่ในครรภ์มารดา ดังนั้น จึงถือว่าเด็กชายหมอกเป็นผู้สืบสันดาน และเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของ นายสิงห์ตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 และแม้ว่าขณะที่เด็กชายหมอกเกิด นายสิงห์ได้ถึงแก่ความตาย แล้วก็ตาม แต่เมื่อเด็กชายหมอกได้เกิดมาแล้วรอดอยู่ภายใน 310 วันนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ซึ่งตาม มาตรา 1604 วรรคสอง ให้ถือว่าเป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงเป็นทายาท ที่มีสิทธิได้รับมรดกตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

ส่วนบุคคลที่ไม่มีสิทธิรับมรดกของนายสิงห์ ได้แก่

1 นางสาวแจ่ม ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสิงห์และเป็นทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 (1) นั้น เมื่อนางสาวแจ่มได้ทําปลอมพินัยกรรมของนายสิงห์ขึ้นทั้งฉบับ นางสาวแจ่มจึงถูกกําจัด มให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (5) และเมื่อนางสาวแจ่มไม่มีผู้สืบสันดาน ดังนั้น กรณีของ นางสาวแจ่มจึงไม่มีผู้สืบสันดานที่จะสืบมรดกต่อไปตามมาตรา 1607

2 นายยิ้มและนางแย้ม ซึ่งเป็นบิดามารดาของนายสิงห์ เมื่อได้ถึงแก่ความตายพร้อมนายสิงห์ จึงไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายสิงห์ตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

3 นางเดือน ซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายสิงห์ จึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรม และไม่มีสิทธิรับมรดกของนายสิงห์ตามมาตรา 1629 วรรคสอง

ดังนั้น เมื่อนายสิงห์มีทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกอยู่ 2 คน คือ นางสวยและเด็กชายหมอก ทั้ง 2 คน จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่า ๆ กัน คือคนละ 500,000 บาท ตามมาตรา 1633 ประกอบมาตรา 1635 (1)

สรุป

มรดกทั้งหมดของนายสิงห์ตกได้แก่ นางสวยและเด็กชายหมอกคนละ 500,000 บาท

Advertisement