การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายดําเป็นโจทก์ฟ้องว่า นายแดงลักทรัพย์ของนายดําไปโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 331 ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท ปรากฏว่า คดีเรื่องเดียวกันนี้ พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายแดงเป็นจําเลยด้วย แต่พนักงานอัยการเห็นว่า การกระทําของนายแดงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง จึงยื่นฟ้องนายแดงจําเลยฐานฉ้อโกงตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 341 และศาลมีคําสั่งประทับฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ให้แยกวินิจฉัยตามประเด็นดังนี้

(ก) คดีที่นายดําเป็นโจทก์ฟ้องนายแดงจําเลยฐานลักทรัพย์ ศาลจะมีคําสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณาโดยไม่สั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อนได้หรือไม่

(ข) หากศาลไต่สวนมูลฟ้องคดีที่นายดําเป็นโจทก์ฟ้องนายแดงจําเลยแล้วเห็นว่า คดีมีมูลจึงมีคําสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา นายแดงจําเลยอุทธรณ์ว่า คดีไม่มีมูล ขอให้ยกฟ้อง โดยนายเดช ผู้พิพากษาที่นั่ง ต่สวนมูลฟ้องและลงลายมือชื่อในคําสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ อุทธรณ์ของนายแดง ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 162 “ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งต่อไปนี้

(1) ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ให้ไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจําเลย โดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ให้จัดการตามอนุมาตรา (2)

(2) ในคดีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ไม่จําเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้ ไต่สวนมูลฟ้องก่อนก็ได้

ในกรณีที่มีการไต่สวนมูลฟ้องดังกล่าวแล้ว ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพให้ศาลประทับฟ้องไว้ พิจารณา”

มาตรา 170 วรรคหนึ่ง “คําสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด แต่คําสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูลนั้น โจทก์มีอํานาจอุทธรณ์ฎีกาได้ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะอุทธรณ์ฎีกา”

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่กรณี ต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก

(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้

(3) ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด แต่รอการกําหนดโทษไว้ หรือ

(4) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท”

มาตรา 193 ตรี “ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 193 ทวิ ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคําพิพากษาหรือทําความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสําคัญอัน ควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการ ซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมาย ลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่า มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 162 (1) ได้บัญญัติไว้ว่าในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ให้ศาลไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจําเลยโดยข้อหาอย่างเดียวกัน ก็ให้จัดการตามอนุมาตรา (2) กล่าวคือ ศาล ไม่จําเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายดําได้เป็นโจทก์ฟ้องนายแดงเป็นจําเลยฐานลักทรัพย์ แต่พนักงานอัยการฟ้องนายแดงฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นคนละข้อหากับที่ราษฎรฟ้อง กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 162 (1) ที่จะจัดการตามอนุมาตรา (2) ได้ ดังนั้นคดีที่นายดําเป็นโจทก์ฟ้องนายแดงจําเลยฐาน ลักทรัพย์ศาลจะต้องมีคําสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องก่อนศาลจะมีคําสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณาโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องก่อน ไม่ได้

(ข) หากศาลไต่สวนมูลฟ้องคดีที่นายดําเป็นโจทก์ฟ้องนายแดงจําเลย แล้วเห็นว่าคดีมีมูลจึงมีคําสั่ง ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณานั้น คําสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาดตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 170 วรรคหนึ่ง ดังนั้น นายแดงจําเลยจะอุทธรณ์ว่าคดีไม่มีมูลไม่ได้ แม้ว่านายเดชผู้พิพากษาที่นั่งไต่สวนมูลฟ้องและลงลายมือชื่อ ในคําสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ก็ตาม เพราะตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ตรี ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า เฉพาะคดีที่ ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 193 ทวิ เท่านั้น จึงจะเข้าเกณฑ์ที่จะให้มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ได้ ดังนั้น อุทธรณ์ของนายแดงจําเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 170 วรรคหนึ่ง

สรุป

(ก) คดีที่นายดําเป็นโจทก์ฟ้องนายแดงจําเลยฐานลักทรัพย์ ศาลจะมีคําสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา โดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องก่อนไม่ได้

(ข) อุทธรณ์ของนายแดงต้องห้ามตามกฎหมาย

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสองในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 357 ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษความผิดฐานลักทรัพย์ ตามมาตรา 334 ระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท ส่วนความผิดฐานรับของโจร ตามมาตรา 357 ระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ในวัน นัดพิจารณา โจทก์ จําเลย และทนายจําเลยทั้งสองมาศาล ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยทั้งสอง ฟังแล้ว จําเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในข้อหาความผิดฐานรับของโจรและไม่ติดใจสืบพยานจําเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ โจทก์แถลงขอสืบพยาน เมื่อศาลที่พิจารณาและสืบพยานโจทก์และจําเลยที่ 2 เสร็จ หากศาลเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่าจําเลยที่ 1 กระทําผิดฐานลักทรัพย์ไม่ใช่ฐาน รับของโจรตามที่จําเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ส่วนพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจําเลยที่ 2 กระทําผิดตามฟ้อง ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะลงโทษจําเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์ได้หรือไม่ และจะพิพากษาสําหรับ จําเลยที่ 2 อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 176 วรรคหนึ่ง “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษ อย่างต่ำไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลย ได้กระทําผิดจริง”

มาตรา 135 วรรคหนึ่ง “ถ้าศาลเห็นว่าจําเลยมิได้กระทําผิดก็ดี การกระทําของจําเลยไม่เป็น ความผิดก็ดี คดีขาดอายุความแล้วก็ดี มีเหตุตามกฎหมายที่จําเลยไม่ควรต้องรับโทษก็ดี ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ ปล่อยจําเลยไป แต่ศาลจะสั่งขังจําเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้”

วินิจฉัย กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีของจําเลยที่ 1 การที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยที่ 1 ในความผิดฐาน ลักทรัพย์หรือรับของโจรเพียงข้อหาใดข้อหาหนึ่งข้อหาเดียว ซึ่งความผิดแต่ละข้อหามิใช่ความผิดที่กฎหมายกําหนด อัตราโทษอย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อจําเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ในข้อหารับของโจร ก็ต้องถือว่าโจทก์พอใจคําสารภาพของจําเลยที่ 1 ดังกล่าวแล้ว ดังนั้น แม้พยานหลักฐานที่โจทก์ นํามาสืบจะฟังได้ว่าจําเลยที่ 1 กระทําความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ในความผิดฐาน ลักทรัพย์ไม่ได้ ศาลต้องพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจรตามที่จําเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง

กรณีของจําเลยที่ 2 การที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยที่ 2 ในความผิด ฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร แต่จําเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ โจทก์แถลงขอสืบพยาน เมื่อศาลพิจารณาและสืบพยาน โจทก์และจําเลยที่ 2 เสร็จ เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจําเลยที่ 2 กระทําผิดตามฟ้อง กรณีต้องด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้ศาลยกฟ้องโจทก์ปล่อยจําเลยไป ดังนั้น ศาลจึง ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์และปล่อยจําเลยที่ 2 ไป

สรุป

ศาลจะลงโทษจําเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ และต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ ปล่อยจําเลยที่ 2 ไป

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่า จําเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชิงทรัพย์สร้อยคอทองคําของนางสาวมดแดงผู้เสียหายโดยจําเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์สร้อยคอทองคําของผู้เสียหายไปโดยทุจริต โดยใช้กําลังประทุษร้าย ขอให้ลงโทษจําเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.อาญา มาตรา 339, 83 จําเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ทาง พิจารณาฟังได้ว่า จําเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวใช้มือซ้ายดึงคอเสื้อของผู้เสียหายและใช้มือขวากระชาก สร้อยคอทองคําหนักเพียงสองสลึงขาดติดมือไปอันมิใช่เป็นการกระทําโดยใช้กําลังประทุษร้ายตามที่ บรรยายมาในฟ้อง การกระทําของจําเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐาน วิ่งราวทรัพย์ แล้วจําเลยที่ 1 วิ่งไปขึ้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จําเลยที่ 2 ติดเครื่องรถจักรยานยนต์ รออยู่ที่บริเวณปากซอยห่างที่เกิดเหตุประมาณ 300 เมตร พากันขับขี่หลบหนีไป จําเลยที่ 2 จึงมิใช่ เป็นตัวการร่วมกระทําผิดกับจําเลยที่ 1 แต่เป็นเพียงผู้สนับสนุนจําเลยที่ 1 กระทําผิดเท่านั้น โดยไม่

ปรากฏว่าการที่โจทก์ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จําเลยที่ 1 และที่ 2 หลงต่อสู้ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะพิพากษา ลงโทษจําเลยที่ 1 และที่ 2 ได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสี่ และวรรคหก “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคําขอ หรือที่ มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็น เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ

ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ใน ตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสองฐานร่วมกันชิงทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 339 ประกอบมาตรา 83 แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวใช้มือซ้ายดึงคอเสื้อของผู้เสียหาย และใช้มือขวากระชากสร้อยคอทองคําหนักเพียงสองสลึงขาดติดมือไป มิใช่เป็นการลักทรัพย์โดยใช้กําลังประทุษร้าย อันจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 339 ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่เป็นการลักทรัพย์โดยใช้กิริยา ฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 336 ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จําเลยที่ 1 ลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาไปซึ่งหน้าและมิได้มีคําขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจําเลยที่ 1 ฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 336 ด้วย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ ดังนั้น ศาลจะลงโทษจําเลย ที่ 1 ฐานวิ่งราวทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อความผิดฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องนั้น รวมการกระทําหลายอย่างซึ่งแต่ ละอย่างอาจเป็นความผิดได้ในตัวเอง เมื่อศาลพิจารณาได้ความจากพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบว่าจําเลยที่ 1 กระทําความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ซึ่งเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า แม้ศาลจะลงโทษจําเลยฐานวิ่งราว ทรัพย์ไม่ได้ ศาลก็ลงโทษจําเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์อันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก

ส่วนกรณีที่โจทก์ฟ้องว่า จําเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกันกระทําความผิดกับจําเลยที่ 1 ตาม ป.อาญา มาตรา 83 นั้น เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า จําเลยที่ 1 วิ่งราวทรัพย์ของผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียวแล้ววิ่งไป ขึ้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จําเลยที่ 2 ติดเครื่องรออยู่ที่ปากซอยห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 300 เมตร พากัน ขับขี่หลบหนีไป การกระทําของจําเลยที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้สนับสนุนเท่านั้น มิใช่เป็นตัวการร่วมกันกระทําความผิด กับจําเลยที่ 1 แต่ความผิดฐานเป็นตัวการตามฟ้องของโจทก์นั้น รวมการกระทําความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งเป็นความผิดได้ในตัวเอง ดังนั้น ศาลจึงลงโทษจําเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนจําเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์ ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก

สรุป ศาลต้องพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์ และพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนจําเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์

 

ข้อ 4. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในข้อหาทําร้ายร่างกายผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จําเลยให้การ รับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ฟ้องจําเลยให้การรับสารภาพฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ ตามฟ้อง โดยไม่สืบพยานหลักฐานแล้วพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามฟ้องพิพากษาลงโทษจําคุก 1 ปี โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้มีกําหนด 2 ปี เนื่องจากจําเลยได้กระทําความผิดครั้งแรกและ รู้สํานึกในความผิดแห่งตน จําเลยอุทธรณ์ว่า จําเลยไม่ได้กระทําผิดขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณา และลงชื่อในคําพิพากษาศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสําคัญอันควร สู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ และโจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจําเลยโดยไม่รอ การลงโทษ

ดังนี้ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยและโจทก์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้”

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่กรณี ต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก

(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้

(3) ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด แต่รอการกําหนดโทษไว้ หรือ

(4) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท”

มาตรา 193 ตรี “ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 193 ทวิ ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคําพิพากษาหรือทําความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสําคัญ อันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการ ซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้ มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่า มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้ พิจารณาต่อไป”

และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้นหรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรบอุทธรณ์ของจําเลยและโจทก์หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของจําเลย

การที่จําเลยอุทธรณ์ว่า จําเลยไม่ได้กระทําผิดตามฟ้อง ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องนั้น จะเห็นได้ว่าอุทธรณ์ของจําเลยเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่มีผลเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ ซึ่งแตกต่างไปจาก คําให้การของจําเลยที่ให้การรับสารภาพตามฟ้องในศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามฟ้อง ซึ่งจําเลย ให้การรับสารภาพโดยไม่สืบพยานหลักฐานว่าจําเลยกระทําผิดตามฟ้อง ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของจําเลยจึงเป็น ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15 ดังนั้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและซึ่งลงชื่อในคําพิพากษาในศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสําคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์ ก็ไม่มีผลให้เป็นอุทธรณ์ที่ จะรับไว้พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ตรี

กรณีของโจทก์

การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจําเลยโดยไม่รอการลงโทษนั้น เป็นการอุทธรณ์ โต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ ลงโทษจําเลย ในความผิดฐานทําร้ายร่างกายตาม ป.อาญา มาตรา 295 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ อันเป็นอุทธรณ์ในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้ จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้น ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ

สรุป ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยและโจทก์ไว้พิจารณาไม่ได้

Advertisement