การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ
ข้อ 1. นางสาวมดแดงผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2555 เวลากลางวัน นายมดง่ามจําเลยข่มขืนกระทําชําเราผู้เสียหายจนสําเร็จความใคร่ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนมูลฟ้อง ในวันไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์มาศาล ส่วนจําเลยไม่มา แต่แต่งทนายเข้ามาซักค้านแทน ศาลไต่สวนตัวโจทก์คือนางสาวมดแดงจบคําเบิกความแล้ว ใกล้หมดเวลาราชการ จึงให้เลื่อนคดีไปไต่สวนมูลฟ้องต่อในนัดหน้า ครั้นถึงวันนัดคราวต่อมา ทนายโจทก์ ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องอ้างว่า คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2555 แต่พนักงานพิมพ์ ของโจทก์พิมพ์ผิดพลาดเป็นวันที่ 10 ธันวาคม 2555 จึงขอแก้ไขคําฟ้องเป็นว่าเหตุเกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2555 ทนายจําเลยรับสําเนาคําร้องขอแก้ฟ้องแล้ว แถลงคัดค้านว่า นายมดง่ามจําเลย เดินทางไปประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2555 และเดินทางกลับประเทศไทยวันที่ 20 เดือนเดียวกัน จําเลยมีฐานที่อยู่แน่นอนว่าวันเกิดเหตุตามฟ้องคือวันที่ 10 ธันวาคม 2555 จําเลย มิได้อยู่ในประเทศไทย หากศาลอนุญาต ให้โจทก์แก้ไขคําฟ้องจะทําให้จําเลยเสียเปรียบในการ ต่อสู้คดี ขอให้ยกคําร้องแก้ฟ้องของโจทก์
ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคําฟ้องได้หรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 163 วรรคแรก “เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอํานาจยื่นคําร้องต่อศาลขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้อง ก่อนมีคําพิพากษาศาลชั้นต้น ถ้าศาลเห็นสมควรจะอนุญาตหรือจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนก็ได้ เมื่ออนุญาตแล้ว ให้ส่งสําเนาแก้ฟ้องหรือฟ้องเพิ่มเติมแก่จําเลยเพื่อแก้ และศาลจะสั่งแยกสํานวนพิจารณาฟ้องเพิ่มเติมนั้นก็ได้”
มาตรา 164 “คําร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องนั้น ถ้าจะทําให้จําเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ห้ามมิให้ศาลอนุญาต แต่การแก้ฐานความผิดหรือรายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องก็ดี การเพิ่มเติมฐานความผิด หรือรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวไว้ก็ดีไม่ว่าจะทําเช่นนี้ในระยะใดระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้น มิให้ถือว่าทําให้จําเลย เสียเปรียบ เว้นแต่จําเลยได้หลงต่อสู้ในข้อที่ผิดหรือที่มิได้กล่าวไว้นั้น”
มาตรา 165 วรรคสาม “ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ศาลมีอํานาจไต่สวนมูลฟ้องลับหลังจําเลย ให้ศาลส่งสําเนาฟ้องแก่จําเลยรายตัวไป กับแจ้งวันนัดไต่สวนให้จําเลยทราบ จําเลยจะมาฟังการไต่สวนมูลฟ้อง โดยตั้งทนายให้ซักค้านพยานโจทก์ด้วยหรือไม่ก็ได้ หรือจําเลยจะไม่มา แต่ตั้งทนายมาซักค้านพยานโจทก์ก็ได้ ห้ามมิให้ศาลถามคําให้การจําเลย และก่อนที่ศาลประทับฟ้องมิให้ถือว่าจําเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น”
วินิจฉัย
ตามอุทาหรณ์ การที่นางสาวมดแดงผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2555 เวลากลางวัน นายมดง่ามจําเลยข่มขืนกระทําชําเราโจทกําจนสําเร็จความใคร่ขอให้ลงโทษตาม ป.อาญา มาตรา 276 ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างไต่สวนมูลฟ้อง ทนายโจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า เหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2555 แต่พนักงานพิมพ์ของโจทก์พิมพ์ผิดพลาดเป็นวันที่ 10 ธันวาคม 2555 จึงขอแก้ไขเป็นว่า เหตุเกิด วันที่ 10 ตุลาคม 2555 นั้น เห็นว่า โจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ฟ้องก่อนศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา และการที่โจทก์อ้างว่า พนักงานพิมพ์ของโจทก์พิมพ์วันเวลาเกิดเหตุผิดถือว่ามีเหตุอันควร (ฎีกาที่ 252/2483) แม้นายมดง่ามจําเลยซึ่งได้รับสําเนาคําร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์แล้วจะแถลงคัดค้านว่าจําเลยเดินทางไปประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2555 และเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 เดือนเดียวกัน จําเลยมีฐานที่อยู่แน่นอนว่าวันเกิดเหตุตามฟ้อง คือ วันที่ 10 ธันวาคม 2555 จําเลยมิได้อยู่ในประเทศไทยก็ตาม แต่การที่โจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ฟ้องในระหว่างไต่สวน มูลพื่อง ซึ่งจําเลยยังไม่อยู่ในฐานะเป็นจําเลยตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 165 วรรคสาม ย่อมไม่ทําให้จําเลยเสียเปรียบ เพราะศาลชั้นต้นยังมิได้ประทับฟ้องไว้พิจารณาและจําเลยยังมิได้ต่อสู้คดีหรือนําพยานเข้าสืบตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 164 (ฎีกาที่ 29022547) ดังนั้น กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 163 และมาตรา 164 ที่ศาลจะพิจารณาอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคําฟ้องได้
สรุป
ศาลจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคําฟ้องได้
ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท และมีคําขอให้นับโทษ จําเลยต่อจากโทษจําคุกในคดีหมายเลขแดงที่ 1234/2556 ของศาลชั้นต้น ในวันนัดพิจารณาจําเลย ให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ วันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ และทนายจําเลยมาศาล ทนายจําเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า จําเลย มาศาลไม่ได้เพราะติดงานศพมารดา และจําเลยแจ้งว่าจะขอให้การรับสารภาพในนัดหน้า โจทก์ แถลงว่ามีพยานมาศาล 1 ปาก หากทนายจําเลยยอมรับว่าพยานที่มาศาลได้ให้การไว้ในชั้นสอบสวน ตามบันทึกคําให้การพยานที่ส่งต่อศาลนี้โจทก์ก็ไม่ติดใจสืบพยานที่มาศาล และขอเสื่อนไปสืบ พนักงานสอบสวนปากเดียว ทนายจําเลยแถลงยอมรับตามคําแถลงของโจทก์ดังกล่าว โจทก์แถลง ไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์ต่อ ครั้นวันนัดสืบพยานโจทก์ต่อโจทก์ จําเลยและทนายจําเลยมาศาล จําเลยได้ให้การใหม่เป็นว่าจําเลย ให้การรับสารภาพตามข้อกล่าวหา โจทก์จําเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 234 จําคุก 1 ปี จําเลยให้การรับสารภาพลดโทษ ให้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 78 คงจําคุก 6 เดือน และให้นับโทษจําเลยต่อจากโทษจําคุกในคดีอาญา หมายเลขแดงที่ 1234/2556 ของศาลชั้นต้น จําเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ชอบ เพราะมิได้พิจารณาและสืบพยาน ต่อหน้าเลย และจําเลยเป็นคนละคนกับจําเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ จึงนับโทษต่อไม่ได้ ให้วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของจําเลยฟังขึ้นหรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 172 วรรคแรก “การพิจารณาและสืบพยานในศาล ให้ทําโดยเปิดเผยต่อหน้าจําเลย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”
มาตรา 176 วรรคแรก “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดย ไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่าง ไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลยได้กระทําผิดจริง”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ อุทธรณ์ของจําเลยฟังขึ้นหรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 แม้ในวันนัดพิจารณาจําเลยจะให้การปฏิเสธ แต่ในวันนัดสืบพยานโจทก์ต่อจําเลย มาศาลและให้การใหม่เป็นว่า จําเลยให้การรับสารภาพตามข้อกล่าวหา อันเป็นคําให้การที่รับสารภาพในการกระทํา ตามฟ้องที่โจทก์กล่าวหาว่าจําเลยได้กระทําผิดนั่นเอง และคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิด ฐานลักทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 334 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท มีใช่คดีที่มี ข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างทําให้จําคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษ สถานหนักกว่านั้น ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคแรก เมื่อโจทก์จําเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยานแล้วศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาเช่นนี้ จึงเป็นการดําเนินกระบวน พิจารณาไปตามบทบัญญัติดังกล่าวโดยไม่สืบพยานหลักฐาน กรณีไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.อาญา มาตรา 172 วรรคแรก ที่บัญญัติให้การพิจารณาและสืบพยานในศาลให้ทําโดยเปิดเผยต่อหน้าจําเลย แม้การที่ทนายจําเลยแถลงยอมรับ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับถ้อยคําของพยานโจทก์ที่มาศาลที่ได้ให้การไว้ในชั้นสอบสวนอันถือว่าเป็นการพิจารณาอย่างหนึ่ง จะมิได้กระทําต่อหน้าจําเลยเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 172 วรรคแรกก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลทําให้คําพิพากษา ศาลชั้นต้นที่ลงโทษจําเลยนั้นกลับกลายเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น คําพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจําเลยดังกล่าวจึง ชอบแล้ว อุทธรณ์ของจําเลยในข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่ 2 คําพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้นับโทษจําเลยต่อจากคดีหมายเลขแดงที่ 1234/2556 ของศาลชั้นต้นนั้นไม่ชอบ เพราะคดีนี้จําเลยให้การรับสารภาพตามข้อกล่าวหา อันเป็นคําให้การรับสารภาพในข้อหา เกี่ยวกับความผิดที่โจทก์ขอให้ลงโทษจําเลยเท่านั้น ไม่รวมถึงการยอมรับว่าจําเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันกับจําเลย ในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ อันจะเป็นเหตุให้นับโทษจําคุกจําเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจําคุกของจําเลยในคดีดังกล่าว เมื่อโจทกไม่สืบพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจําเลยในคดีนี้เป็นจําเลยคนเดียวกันกับจําเลยในคดีที่โจทก์ ขอให้นับโทษต่อตามฟ้อง จึงนับโทษจําเลยในคดีนี้ต่อจากคดีดังกล่าวไม่ได้ ดังนั้น อุทธรณ์ของจําเลยในข้อนี้จึงฟังขึ้น
สรุป อุทธรณ์ของจําเลยที่ว่า ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ชอบเพราะมิได้พิจารณา และสืบพยานต่อหน้าจําเลยนั้นฟังไม่ขึ้น ส่วนอุทธรณ์ของจําเลยที่ว่าจําเลยเป็นคนละคนกับจําเลยในคดีที่โจทก์ ขอให้นับโทษต่อจึงนับโทษต่อไม่ได้นั้น ฟังขึ้น
ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่าจําเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลที่จะฆ่านายมด จึงใช้อาวุธปืนเล็งตรงไปที่นายมด กระสุนปืนถูกนายมดได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษฐานพยายามฆ่านายมดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 หากทางพิจารณาได้ความแตกต่างจากฟ้องว่าแท้จริงแล้วจําเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผล ที่จะฆ่านายปลวก แต่กระสุนปืนที่จําเลยยิ่งไปนั้นไม่ถูกนายปลวกแต่พลาดไปถูกนายมดได้รับอันตราย สาหัสและจําเลยนําสืบปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ ศาลจึงพิพากษาลงโทษจําเลยฐานพยายามฆ่านายปลวก ตาม ป.อ. มาตรา 288, 80 บทหนึ่ง และฐานพยายามฆ่านายมดโดยพลาดตาม ป.อ. มาตรา 288, 80 ประกอบมาตรา 60 อีกบทหนึ่ง เป็นการกระทํากรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษจําเลยฐาน พยายามฆ่านายมดตามฟ้องเพียงบทเดียว ให้วินิจฉัยว่า คําพิพากษาของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 192 วรรคแรก วรรคสอง และวรรคสี่ “ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคําขอ หรือที่ มิได้กล่าวในฟ้อง
ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลย ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้
ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่อง ที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ คําพิพากษาของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ฟ้องว่าจําเลยมี เจตนาประสงค์ต่อผลที่จะฆ่านายมด แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าแท้จริงแล้วจําเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลที่จะฆ่า นายปลวก หากแต่ลูกกระสุนปืนที่จําเลยยิ่งไปที่นายปลวกนั้นไม่ถูกนายปลวก แต่พลาดไปถูกนายมดได้รับอันตรายสาหัส ซึ่งตาม ปอ. มาตรา 60 บัญญัติให้ถือว่าจําเลยกระทําโดยเจตนาฆ่าเเก่นายมดผู้ได้รับผลร้ายจากการกระทํานั้นก็ตาม กรณีเช่นนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณา (เจตนาโดยพลาด) แตกต่างกับฟ้อง (เจตนาประสงค์ต่อผล) ในข้อสาระสําคัญ และการที่จําเลยนําสืบปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ ยอมถือได้ว่าคดีนี้จําเลยมิได้หลงต่อสู้ ดังนั้น ศาลย่อม มีอํานาจที่พิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดฐานพยายามฆ่านายมดโดยพลาดตาม ป.อ. มาตรา 288, 80 ประกอบ มาตรา 60 ตามที่พิจารณาได้ความนั้นก็ได้ตามมาตรา 192 วรรคสอง (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 4166/2550)
ส่วนการที่ศาลปรับบทลงโทษจําเลยในความผิดฐานพยายามฆ่านายปลวกอีกบทหนึ่ง ตามที่ พิจารณาได้ความด้วยนั้น เป็นเรื่องนอกฟ้องและนอกเหนือคําขอบังคับของโจทก์ เพราะคดีนี้โจทก์มิได้บรรยายฟ้อง เกี่ยวกับการกระทําของจําเลยต่อนายปลวก และอีกทั้งโจทก์มิได้มีคําขอใด ๆ ที่ขอให้ลงโทษจําเลยเกี่ยวกับการกระทํา ต่อนายปลวกด้วย กรณีเช่นนี้ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณา (เจตนาประสงค์ต่อผลที่จะชานายปลวก) เช่นว่านี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจําเลย ดังนั้น การที่ศาลปรับบทลงโทษจําเลยฐานพยายามฆ่านายปลวก ตามที่พิจารณาได้ความว่าอีกบทหนึ่งด้วย จึงเป็นคําพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 192 วรรคแรกและวรรคสี่
สรุป
คําพิพากษาของศาลไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อ 4. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานใช้กําลังทําร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และเป็นความผิดลหุโทษ จําเลยให้การปฏิเสธ อ้างเหตุว่าป้องกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามฟ้อง แต่เป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 391 ประกอบมาตรา 69 จําคุก 15 วัน ให้รอการลงโทษจําคุกไว้มีกําหนด 1 ปี โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจําเลยหนักขึ้น จําเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นกําหนดโทษจําคุกและรอการลงโทษหนักเกินไป แล้วพิพากษาแก้เป็นว่าให้ปรับจําเลย 1,000 บาท สถานเดียว อุทธรณ์โจทก์และจําเลยฟังไม่ขึ้น ให้วินิจฉัยว่า โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจําเลยหนักขึ้นและจําเลยจะฎีกาขอให้ยกฟ้องได้หรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่กรณี ต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้”
มาตรา 218 “ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และ ให้ลงโทษจําคุกจําเลยไม่เกินห้าปี หรือปรับหรือทั้งจําทั้งปรับ แต่โทษจําคุกไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง
ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจําคุก จําเลยเกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง”
วินิจฉัย กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้ คือ
ประเด็นที่ 1 โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษฐ์ เลยหนักขึ้นได้หรือไม่ การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษ จําเลยตาม ป.อาญา มาตรา 391 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ นั้น ถือเป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ บัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหา ข้อเท็จจริงเว้นแต่กรณีตาม (2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้ดังนี้จําเลยย่อมอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจําเลยหนักขึ้นนั้น เป็นการอุทธรณีโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษ ของศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้น ตาม ป.วิอาญา มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิ แก่โจทก์ที่จะฎีกาต่อมาได้ ดังนั้นโจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจําเลยหนักขึ้นไม่ได้
ประเด็นที่ 2 จําเลยจะฎีกาขอให้ยกฟ้องได้หรือไม่
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 391 ประกอบมาตรา 69 จําคุก 15 วัน ให้รอการลงโทษจําคุกไว้มีกําหนด 1 ปี กรณีต้องด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ (2) ที่บัญญัติยกเว้น ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ และที่จําเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟัง พยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจําเลย 1,000 บาท สถานเดียว โดยมิได้แก้บทความผิดด้วย ถือเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษ จําคุกจําเลยไม่เกิน 5 ปี ซึ่งตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218 วรรคแรก บัญญัติห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อฎีกาของจําเลยที่ขอให้ยกฟ้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น จําเลยจะฎีกาขอให้ยกฟ้องไม่ได้
สรุป
โจทก์จะฎีกาให้ลงโทษจําเลยหนักขึ้นไม่ได้ และจําเลยจะฎีกาขอให้ยกฟ้องไม่ได้เช่นเดียวกัน