การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ
ข้อ 1. นายแดงเป็นโจทก์ฟ้องว่านายดําจําเลยทําร้ายร่างกายนายขาวบุตรชายของตน เป็นเหตุให้นายขาวได้รับอันตรายสาหัสจนไม่สามารถจัดการเองได้ ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้ว มีคําสั่งให้ประทับฟ้องไว้ พิจารณา ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา โจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า นายขาวถึงแก่ ความตายเพราะบาดแผลที่ถูกจําเลยทําร้ายขอให้ลงโทษจําเลยฐานทําร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ นายขาวถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 จําเลยรับสําเนาคําร้องขอแก้ฟ้องแล้ว ยื่นคําร้องคัดค้านว่า โจทก์ขอเพิ่มเติมฐานความผิดโดยที่พนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนเพิ่มเติม มาก่อน อีกทั้งกรณีไม่มีเหตุอันควรที่โจทก์จะขอแก้ฟ้องได้ ขอให้ยกคําร้องขอแก้ฟ้อง ศาสพิจารณา แล้วมีคําสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ โดยมิได้สั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อน ให้วินิจฉัยตาม ประเด็น ดังนี้
(ก) คําร้องคัดค้านของจําเลยฟังขึ้นหรือไม่
(ข) ศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง โดยมิได้สั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อน ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีโดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนใน ความผิดนั้นก่อน”
มาตรา 162 “ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสังต่อไปนี้
(1) ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ให้ไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจําเลย โดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ให้จัดการตามอนุมาตรา (2)”
มาตรา 163 วรรคหนึ่ง “เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอํานาจยื่นคําร้องต่อศาลขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้อง ก่อนมีคําพิพากษาศาลชั้นต้น ถ้าศาลเห็นสมควรจะอนุญาตหรือจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนก็ได้ เมื่ออนุญาตแล้ว ให้ส่งสําเนาแก้ฟ้องหรือฟ้องเพิ่มเติมแก่จําเลยเพื่อแก้ และศาลจะสั่งแยกสํานวนพิจารณาฟ้องเพิ่มเติมนั้นก็ได้”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้
(ก) การที่นายแดงเป็นโจทก์ฟ้องว่านายดําจําเลยทําร้ายร่างกายนายขาวบุตรชายของตน เป็นเหตุให้ นายขาวได้รับอันตรายสาหัสจนไม่สามารถจัดการเองได้นั้น มิใช่คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องอันจะต้องอยู่ใน บังคับแห่ง ป.วิ.อาญา มาตรา 120 ซึ่งห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีใดโดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้น มาก่อน ดังนั้น การที่นายแดงโจทก์ยื่นคําร้องขอเพิ่มเติมฐานความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 297 เป็นความผิด “ตาม ป.อาญา มาตรา 290 แม้จะไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนเพิ่มเติมแล้ว ก็หาเป็นการไม่ชอบด้วย กฎหมายไม่ ส่วนที่จําเลยคัดค้านว่า เป็นกรณีไม่มีเหตุอันควรนั้น การที่นายขาวถึงแก่ความตายภายหลังโจทก์ยื่นฟ้อง ถือเป็นเหตุที่โจทก์ไม่อาจรู้ได้ตั้งแต่ขณะยื่นคําฟ้อง จึงต้องถือว่ามีเหตุอันควรที่โจทก์จะขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ ดังนั้น คําร้องคัดค้านของจําเลยจึงฟังไม่ขึ้นทุกข้อ
(ข) การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง โดยมิได้สั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อน ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า คําร้องขอแก้ฟ้องโดยเพิ่มเติมฐานความผิดนั้น มิใช่คําฟ้องเริ่มคดีที่จะเข้าเกณฑ์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 162 (1) ที่ศาลจะต้องสั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อน อีกทั้ง ป.วิ.อาญา มาตรา 153 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า หากเข้า หลักเกณฑ์ที่โจทก์จะขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้แล้ว ถ้าศาลเห็นสมควรจะอนุญาตหรือจะสั่งไต่สานมูลฟ้องก่อนก็ได้ ซึ่งถือเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณามีคําสั่งดังกล่าวได้โดยไม่ต้องคํานึงว่าเป็นการแก้ฟ้องในคดีที่พนักงานอัยการ เป็นโจทก์หรือราษฎรเป็นโจทก์ก็ตาม ดังนั้น การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง โดยมิได้สั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อน ย่อมชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่ง
สรุป
(ก) คําร้องคัดค้านของจําเลยฟังไม่ขึ้น
(ข) ศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง โดยมิได้สั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อนชอบด้วยกฎหมาย
ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องโดยชอบขอให้ลงโทษจําเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์โดยร่วมกันกระทําความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) ซึ่งระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท ในวันนัดพิจารณา โจทก์ จําเลยทั้งสอง และทนายจําเลยที่ 1 มาศาล จําเลยที่ 2 แถลงว่ายังหา ทนายความไม่ได้ และจะหาทนายความเอง ขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสอบ คําให้การจําเลยทั้งสองใหม่ และนัดสืบพยานโจทก์ในวันนัดถัดไป ครั้นในวันนัดถัดมา โจทก์และ จําเลยทั้งสองมาศาล จําเลยที่ 2 แถลงว่ายังหาทนายความไม่ได้ ขอให้ศาลตั้งทนายความให้ ศาลชั้นต้น เห็นว่า จําเลยที่ 2 รับว่าจะหาทนายความเอง แต่ในนัดนี้กลับจะขอให้ศาลตั้งทนายความให้ นับว่า ไม่มีเหตุสมควร จึงไม่มีเหตุจะตั้งทนายความให้ แล้วดําเนินกระบวนพิจารณาโดยอ่านและอธิบาย ฟ้องให้จําเลยทั้งสองฟัง จําเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้อง ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจําเลยทั้งสองตามฟ้องโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้หรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 172 วรรคสอง “เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจําเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และ ศาลเชื่อว่าเป็นจําเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง และถามว่าได้กระทําผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้ อย่างไรบ้าง คําให้การของจําเลยให้จดไว้ ถ้าจําเลยไม่ยอมให้การ ก็ให้ศาลจดรายงานไว้และดําเนินการพิจารณาต่อไป”
มาตรา 173 วรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่า มีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลยต้องการทนายก็ให้ศาลตั้งทนายความให้”
มาตรา 176 วรรคหนึ่ง “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่อดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษ อย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลย ได้กระทําผิดจริง”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจําเลยทั้งสองตามฟ้องโดยไม่สืบพยานหลักฐาน ต่อไปได้หรือไม่ เห็นว่า ความผิดที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสองเป็นคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ซึ่งตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง บัญญัติให้ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามข้เลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลย ต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ ซึ่งคําแถลงของจําเลยที่ 2 ในวันนัดสอบคําให้การจําเลยทั้งสองในนัด ถัดมาที่ว่า จําเลยที่ 2 ยังหาทนายความไม่ได้ และขอให้ศาลตั้งทนายความให้แก่จําเลยที่ 2 ย่อมแสดงว่าจําเลยที่ 2 ไม่มีทนายความ และประสงค์ให้ศาลตั้งทนายความให้ ดังนั้น ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะดําเนินกระบวนการพิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นจะต้องตั้งทนายความให้แก่จําเลยที่ 2 ก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งไม่ตั้งทนายความให้แก่จําเลยที่ 2 จึงเป็นการดําเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว กระบวนพิจารณาภายหลังจากนั้นย่อม เป็นการไม่ชอบด้วย แม้จําเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นก็จะมีคําพิพากษาอย่างใดต่อไปมิได้
และคดีในส่วนของจําเลยที่ 1 นั้น เมื่อปรากฏว่า ในวันนัดพิจารณานัดแรก ทนายจําเลยที่ 1 มาศาล แสดงว่าจําเลยที่ 1 มีทนายความแล้ว แม้ในวันนัดสอบคําให้การของจําเลยที่ 1 ถัดมา ทนายจําเลยที่ 1 ไม่มาศาล ศาลก็ชอบที่จะดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ การดําเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่อ่าน และอธิยายฟ้องให้จําเลยที่ 1 ฟัง และสอบคําให้การของจําเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง ประกอบมาตรา 172 วรรคสอง
เมื่อปรากฏว่าข้อหาในความผิดที่โจทก์ฟ้องซึ่งจําเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพนั้นกฎหมายมิได้ กําหนดอัตราโทษอย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องโดยชอบ ขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสองในความผิดฐานลักทรัพย์ โดยร่วมกันกระทําผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปตาม ป.อาญา มาตรา 335 (7) และจําเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ในความผิดตามฟ้องโจทก์ต่อไปได้
สรุป ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ตามฟ้องโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ แต่จะลงโทษจําเลยที่ 2 ตามฟ้องโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปไม่ได้
ข้อ 3. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์เพียงกรรมเดียว โดยบรรยายฟ้องว่า ในวันเกิดเหตุจําเลยลักเอาโทรศัพท์มือถือยี่ห้อไอโฟนของผู้เสียหายไปโดยใช้กําลังประทุษร้ายเตะต่อยผู้เสียหายล้มลง ศีรษะกระแทกพื้นแตกเย็บ 4 เข็ม เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย เพื่อสะดวกแก่การ ลักทรัพย์ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 จําเลยให้การปฏิเสธ ทางพิจารณา ฟังได้ว่า จําเลยกับผู้เสียหายเป็นนักเรียนอาชีวะคู่อริกัน วันเกิดเหตุ จําเลยกับผู้เสียหายวิวาทชกต่อยกัน จําเลยเตะต่อยผู้เสียหายล้มลง ศีรษะกระแทกพื้นแตกเย็บ 4 เข็ม แต่บาดแผลติดเชื้อเป็นเหตุให้ ผู้เสียหายหน้าเสียโฉมอย่างติดตัว เป็นความผิดฐานทําร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (4) กรรมหนึ่ง และก่อนหน้าที่จําเลยจะหลบหนีไป จําเลย เห็นโทรศัพท์มือถือยี่ห้อไอโฟนของผู้เสียหายตกอยู่ข้างตัวจึงหยิบเอาไปต่อหน้าผู้เสียหาย อันเป็น ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 อีกกรรมหนึ่ง ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสี่ และวรรคหก “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคําขอ หรือที่ มิได้กล่าวในฟ้อง
ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็น เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ
ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ใน ตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด เห็นว่า การที่โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์เพียงกรรมเดียว โดยบรรยายฟ้องว่า ในวันเกิดเหตุจําเลยลักเอาโทรศัพท์มือถือ ยี่ห้อไอโฟนของผู้เสียหายไปโดยใช้กําลังประทุษร้าย ซึ่งการใช้กําลังประทุษร้ายนั้น แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องเพียงว่า จําเลยเตะต่อยผู้เสียหายล้มลงศีรษะกระแทกพื้นแตกเย็บ 4 เข็ม เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายเท่านั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าบาดแผลติดเชื้อ เป็นเหตุให้ผู้เสียหายหน้าเสียโฉมอย่างติดตัวเข้าลักษณะเป็นอันตรายสาหัส ตาม ป.อาญา มาตรา 297 (4) ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจําเลยตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้ เพราะอันตรายสาหัสตามที่ พิจารณาได้ความนั้น โจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้อง ต้องห้ามมิให้พิพากษาลงโทษตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อความผิดตามฟ้องฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องนั้นรวม ความผิดฐานทําร้ายร่างกายซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ดังนั้น แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์ แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลยทําร้ายร่างกายผู้เสียหาย กรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก ที่ศาล จะพิพากษาลงโทษจําเลยฐานทําร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายตาม ป.อาญา มาตรา 295 ตามที่ พิจารณาได้ความได้ (เทียบตามนัยฎีกาที่ 1450/2529 และ 6416/2534)
และแม้ทางพิจารณาฟังได้ว่า ก่อนที่จําเลยจะหลบหนีไป จําเลยเห็นโทรศัพท์มือถือยี่ห้อไอโฟน ของผู้เสียหายตกอยู่ข้างตัวจึงหยิบเอาไปต่อหน้าผู้เสียหาย จะเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นการ กระทําผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อาญามาตรา 336 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้อง และมีคําขอให้ลงโทษ ฐานวิ่งราวทรัพย์มาด้วย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ต้องห้ามมิให้ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยใน ข้อเท็จจริงนั้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสี่ ดังนั้น ศาลจึงลงโทษจําเลยได้เพียงฐานลักทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 334 เท่านั้น (เทียบฎีกาที่ 11865/2554)
ดังนั้น คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์เพียงกระทงเดียว แต่เมื่อทาง พิจารณาฟังได้ว่า จําเลยทําร้ายร่างกายผู้เสียหายตาม ป.อาญา มาตรา 295 กระทงหนึ่งและฐานลักทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 อีกกระทงหนึ่ง ซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง ศาลก็มีอํานาจ พิพากษาลงโทษจําเลยทุกกรรมและทุกกระทงความผิดที่พิจารณาได้ความได้ (เทียบฎีกาที่ 108/2546)
สรุป ศาลสามารถพิพากษาลงโทษจําเลยได้ในความผิดฐานทําร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับ อันตรายแก่กายตาม ป.อาญา มาตรา 295 กระทงหนึ่ง และพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 334 อีกกระทงหนึ่ง
ข้อ 4.พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในข้อหายักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ โจทก์ได้บรรยายฟ้อง โดยกล่าวอ้างว่าจําเลยได้ทําสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โตโยต้าอัลติส หมายเลขทะเบียน วว 1234 กรุงเทพมหานคร จากผู้เสียหาย แต่จําเลยกลับนํารถยนต์คันดังกล่าวไปขายให้ ส. บุคคลภายนอก ถือได้ว่าจําเลยมีเจตนาเบียดบังเอารถยนต์ของผู้เสียหายไปเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่นโดยทุจริต จึงขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 จําเลยให้ การปฏิเสธอ้างว่าจําเลยไม่ได้กระทําผิดตามฟ้อง และไม่เคยทําสัญญาเช่าซื้อกับผู้เสียหาย รถยนต์ คันดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลย ระหว่างพิจารณาจําเลยยื่นคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม ศาลชั้นต้นมีคําสั่งยกคําร้อง จําเลยมิได้ดําเนินการโต้แย้งคําสั่งดังกล่าวไว้แต่อย่างใด ต่อมาเมื่อเสร็จสิ้น การพิจารณาแล้ว ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณารับฟังได้ตามฟ้องโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามฟ้อง พิพากษาลงโทษจําคุก 1 ปี โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจําเลยหนักขึ้น จําเลยอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นที่ ยกคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม พร้อมกับยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จําเลยไม่ได้กระทํา ผิดตามฟ้อง และไม่เคยทําสัญญาเช่าซื้อกับผู้เสียหาย รถยนต์คันดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลย ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง
ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจําเลยดังกล่าวไว้พิจารณาได้ หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่ง อัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก”
มาตรา 196 “คําสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทําให้คดีเสร็จสํานวน ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้น จนกว่าจะมีคําพิพากษาหรือคําสั่งในประเด็นสําคัญและมีอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นด้วย”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจําเลยดังกล่าวไว้พิจารณา ได้หรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้
อุทธรณ์ในส่วนของโจทก์
ตามข้อเท็จจริง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจําเลยหนักขึ้น ถือเป็น การอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการกําหนดโทษจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในข้อหายักยอกตาม ป.อาญา มาตรา 352 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จึงต้องห้ามอุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ
อุทธรณ์ในส่วนของจําเลย
ตามข้อเท็จจริง การที่จําเลยอุทธรณ์ว่าจําเลยไม่ได้กระทําผิดตามฟ้อง และไม่เคยทําสัญญาเช่าซื้อ กับผู้เสียหาย รถยนต์คันดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลยนั้น ถือเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟัง พยานหลักฐานจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้องอัตราโทษอย่างสูงตามที่ กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดตามฟ้อง และลงโทษจําคุกจําเลย 1 ปี จําเลยจึงสามารถอุทธรณ์ คําพิพากษาศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ (1)
และเมื่อมีอุทธรณ์ในเนื้อหาคําพิพากษา จําเลยจึงอุทธรณ์คําสั่งยกคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม ซึ่งเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 196 แม้จําเลยจะมิได้โต้แย้งคําสั่งระหว่างพิจารณาไว้ก็ตาม เนื่องจากการอุทธรณ์คําสั่งระหว่างพิจารณาในคดีอาญา คู่ความไม่จําต้องโต้แย้งคําสั่งดังกล่าวเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ ในภายหลังอย่างเช่นในคดีแพ่ง (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226)
สรุป ศาลชั้นต้นไม่สามารถรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ แต่สามารถรับอุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นของจําเลยไว้พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ (1) และสามารถรับอุทธรณ์ในส่วนของการอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมไว้ พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 196