การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ
ข้อ 1. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานลักทรัพย์ จําเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําเลยตามฟ้อง จําเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์ตรวจสํานวนพบว่า คําฟ้องโจทก์มิได้บรรยาย ระบุวันเวลาที่จําเลยกระทําความผิดจึงพิพากษากลับให้ยกฟ้อง ให้วินิจฉัยว่า
(ก) โจทก์จะฎีกาคัดค้านว่า คําฟ้องโจทก์บกพร่องเพียงแต่มิได้ระบุเวลาที่จําเลยกระทําความผิดเท่านั้น ศาลชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์เป็นการไม่ชอบได้หรือไม่
(ข) โจทก์จะใช้สิทธิยื่นฟ้องจําเลยใหม่โดยบรรยายฟ้องระบุเวลาที่จําเลยกระทําความผิดให้ถูกต้องได้หรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดังต่อไปนี้
(4) เมื่อมีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง”
มาตรา 158 “ฟ้องต้องทําเป็นหนังสือ และมี
(5) การกระทําทั้งหลายที่อ้างว่าจําเลยได้กระทําผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับ เวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทํานั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จําเลย เข้าใจข้อหาได้ดี”
มาตรา 161 วรรคแรก “ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้องหรือไม่ประทับฟ้อง”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานลักทรัพย์ จําเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําเลยตามฟ้อง เมื่อจําเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์ตรวจสํานวนพบว่า คําฟ้องโจทก์มิได้บรรยายระบุวันเวลาที่จําเลยกระทําความผิดจึงพิพากษากลับให้ยกฟ้องนั้น
(ก) โจทก์จะฎีกาคัดค้านว่า คําฟ้องโจทก์บกพร่องเพียงแต่มิได้ระบุเวลาที่จําเลยกระทา ความผิดเท่านั้น ศาลชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์เป็นการไม่ชอบได้หรือไม่นั้น เห็นว่า คําฟ้องที่มิได้บรรยายระบุเวลาที่จําเลยกระทําความผิด เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 158(5) และการที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อาญามาตรา 161 วรรคแรกนั้น ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะ ศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องและดําเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นจนคดีขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่มีวิธีปฏิบัติเป็นประการอื่นนอกจากพิพากษายกฟ้องโจทก์ ดังนั้น คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้อง โจทก์จึงชอบแล้ว โจทก์จะฎีกาคัดค้าน คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์เป็นการไม่ชอบไม่ได้
(ข) โจทก์จะใช้สิทธิยื่นฟ้องจําเลยใหม่โดยบรรยายฟ้องระบุเวลาที่จําเลยกระทําความผิด ให้ถูกต้องได้หรือไม่ เห็นว่า การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ เป็นเพราะคําฟ้องโจทก์มิได้ระบุวันเวลาที่จําเลย กระทําความผิด เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่มีวันเวลาที่จําเลยกระทําความผิด ซึ่งถือว่า ศาลอุทธรณ์ ได้วินิจฉัยเนื้อหาของความผิดซึ่งได้ฟ้อง ดังนั้น ถือว่าสิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39(4) โจทก์จะใช้สิทธิฟ้องจําเลยใหมโดยบรรยายฟ้องระบุวันเวลาที่จําเลยกระทําความผิดให้ถูกต้องไม่ได้ เป็นฟ้องซ้ําซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39(4) ดังกล่าว
สรุป
(ก) โจทก์จะฎีกาคัดค้านคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์เป็นการไม่ชอบไม่ได้
(ข) โจทก์จะใช้สิทธิยื่นฟ้องจําเลยใหม่โดยบรรยายฟ้องระบุเวลาที่จําเลยกระทําความผิดให้ถูกต้องไม่ได้
ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรตามกฎหมายอาญา มาตรา 334 และมาตรา 357 ซึ่งความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 มีระวางโทษ จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และความผิดตามมาตรา 357 มีระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ในวันนัดพิจารณา โจทก์ จําเลย และทนายจําเลยมาศาล ศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังแล้ว ศาลชั้นต้นตามจําเลย ว่าจะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง จําเลยแถลงขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง และจําเลยกระทําผิดไปโดย รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ศาลชั้นต้นจดคําให้การของจําเลยดังกล่าวไว้แล้ว โจทก์จําเลยต่างแถลงไม่ติดใจ สืบพยาน ศาลชั้นต้นเห็นว่า คําให้การของจําเลยแม้จะอ้างว่าจําเลยกระทําความผิด โดย รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ถือว่าเป็นคําให้การรับสารภาพแล้ว เมื่อคู่ความไม่ติดใจสืบพยานคดีไม่จําต้อง สืบพยานหลักฐานต่อไปและเป็นอันเสร็จการพิจารณา ให้นัดฟังคําพิพากษา ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ถือว่าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ดี หรือที่เห็นว่าคดี ไม่จําต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปและคดีเป็นอันเสร็จการพิจารณาก็ดี ชอบหรือไม่ และศาลชั้นต้น
จะมีคําพิพากษาลงโทษจําเลยหรือไม่ อย่างไร
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 176 วรรคแรก “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษ อย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลย ได้กระทําผิดจริง”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ แยกพิจารณาได้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ถือว่าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องชอบหรือไม่ เห็นว่า คําให้การของจําเลยที่แถลงขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง แม้จะอ้างว่ากระทําความผิดไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
แต่ก็มิได้มีข้อเท็จจริงใดที่จําเลยอ้างว่าไม่มีเจตนากระทําผิดตามฟ้อง คําให้การของจําเลยในส่วนนี้จึงเป็นเพะง คําแถลงขอความปราณีต่อศาลเพื่อให้ลงโทษจําเลยในสถานเบา ถือได้ว่าเป็นคําให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใน ตามฟ้องขอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคแรกแล้ว ดังนั้น คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ถือว่าจําเลยให้การรับสารภาพ ตามฟ้องนั้นชอบแล้ว
ประเด็นที่ 2 คําสั่งของศาลชั้นต้นที่เห็นว่าคดีไม่จําต้องสืบพยานหลักฐานต่อไป และคดีเป็น อันเสร็จการพิจารณาชอบหรือไม่ เห็นว่า การที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ หรือรับของโจรตาม ป.อาญา มาตรา 334 และมาตรา 357 และจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องนั้น เมื่อคดีนี้มิใช่ คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานหนักกว่านั้น จึงอยู่ในบังคับของ ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคแรก ที่ให้อํานาจแก่ศาลที่จะ พิพากษาคดีไปโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ คําสั่งของศาลชั้นต้นที่เห็นว่าคดีไม่จําต้องสืบพยานหลักฐานต่อไป และคดีเป็นอันเสร็จการพิจารณาเท่ากับเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจตามบทบัญญัติดังกล่าวได้โดยชอบ ดังนั้น คําสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ประเด็นที่ 3 ศาลชั้นต้นจะมีคําพิพากษาลงโทษจําเลยหรือไม่ อย่างไร กรณีนี้เห็นว่า การที่ พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานใดฐานหนึ่ง ระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ตาม ป.อาญา มาตรา 334 และมาตรา 357 คําให้การของจําเลยที่รับสารภาพตามฟ้องจึงเป็นคําให้การที่ไม่ชัดแจ ว่าจําเลยให้การรับสารภาพว่ากระทําความผิดฐานใดฐานหนึ่ง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนําพยานหลักฐาน มาสืบให้ได้ความถึงการกระทําผิดของจําเลย ดังนั้นเมื่อโจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน ศาลจะมีคําพิพากษาลงโทษจําเลย ไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคแรก
สรุป
คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ถือว่าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ดี หรือที่เห็นว่าคิด ไม่จําต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปและคดีเป็นอันเสร็จการพิจารณาก็ดี เป็นคําสั่งที่ชอบแล้ว และศาลชั้นต้นจะมี คําพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ได้
ข้อ 3. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จําเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันลักทรัพย์โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายไปโดยทุจริต โดยจําเลยทั้งสองร่วมกันใช้อาวุธปืนขู่เข็ญผู้เสียหายให้ยอมส่งมอบโทรศัพท์มือถือให้ มิฉะนั้นจะยิ่งเสียให้ตาย ขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสองฐานร่วมกันชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339, 83 จําเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ความว่าเฉพาะ จําเลยที่ 1 เพียงลําพังเท่านั้นที่ขู่เข็ญผู้เสียหาย แต่มิได้ใช้อาวุธปืนขู่เข็ญ จําเลยที่ 1 เพียงแต่อ้างว่า ตนเองเป็นเจ้าพนักงานตํารวจ หากผู้เสียหายไม่ยอมส่งมอบโทรศัพท์มือถือให้ จะแกล้งยัดยาบ้าและ จับกุมผู้เสียหายฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง อันเป็นความผิดฐานกรรโชกและเมื่อได้รับ โทรศัพท์มือถือจากผู้เสียหายแล้ว จําเลยที่ 1 ได้นําโทรศัพท์มือถือนั้นไปขายให้แก่จําเลยที่ 2 ซึ่ง รับซื้อไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์ที่จําเลยที่ 1 ได้มาจากการกระทําความผิดอันเป็นความผิดฐานรับของโจร หากข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า การที่โจทก์ฟ้องผิดไปนั้นเป็นเหตุให้จําเลยที่ 1 และที่ 2 หลงต่อสู้
ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 และที่ 2 ได้หรือไม่ อย่างไร
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม “ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณา แตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช้ในข้อสาระสําคัญและ ทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้
ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทําความผิด หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และ ทําให้เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ ทั้งมิให้ ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก็ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จําเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กําหนดไว้สําหรับ ความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้”
วินิจฉัย
ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง โดยหลักให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้น มิใช่ในข้อสาระสําคัญและจําเลยมิได้หลงต่อสู้ในกรณีเช่นนี้ ศาลจะลงโทษจําเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ ความนั้นก็ได้
กรณีตามอุทาหรณ์ โจทก์ฟ้องว่า จําเลยที่ 1 ร่วมกระทําความผิดกับจําเลยที่ 2 ฐานชิงทรัพย์ แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่า จําเลยที่ 1 กระทําความผิดฐานกรรโชกก็ตาม แต่การชิงทรัพย์และกรรโชกก็เป็น การขู่เข็ญเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเช่นเดียวกัน จึงถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับ ฟ้องในข้อสาระสําคัญ อันเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้องเมื่อจําเลยที่ 1 ไม่หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอํานาจลงโทษจําเลยที่ 1 ฐานกรรโชกตามที่พิจารณาได้ความนั้นได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสาม ประกอบวรรคสอง
และในส่วนของจําเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องว่าจําเลยที่ 2 ร่วมกระทําความผิดกับจําเลยที่ 1 ฐาน ชิงทรัพย์ แม้ทางพิจารณาได้ความว่าจําเลยที่ 2 กระทําความผิดฐานรับของโจรก็ตาม แต่การกระทําความผิดฐาน ชิงทรัพย์ตามฟ้องก็เป็นการลักทรัพย์โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กําลังประทุษร้ายอันเป็น การได้ทรัพย์ของผู้เสียหายไปเช่นเดียวกัน จึงถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง ในข้อสาระสําคัญ อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้อง เมื่อจําเลยที่ 2 ไม่หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอํานาจลงโทษจําเลยที่ 2 ในความผิดฐานรับของโจรตามที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสาม ประกอบวรรคสอง
สรุป
ศาลมีอํานาจลงโทษจําเลยที่ 1 ฐานกรรโชกได้และศาลก็มีอํานาจลงโทษจําเลยที่ 2 ใน ความผิดฐานรับของโจร ตามที่ปรากฏในทางพิจารณาได้เช่นเดียวกัน
ข้อ 4. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จําเลยให้การรับสารภาพ ตามฟ้องศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ฟ้องจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้อง โดยไม่สืบพยานหลักฐานแล้วพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามฟ้องจําคุก 1 ปี จําเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจําคุก 6 เดือน จําเลย อุทธรณ์ว่า จําเลยไม่มีเจตนากระทําผิดตามฟ้องขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยผู้พิพากษา ซึ่งลงชื่อในคําพิพากษาในศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสําคัญอันควร สู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ และโจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ไม่ควรลดโทษให้จําเลย
ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยและโจทก์หรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้”
มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่กรณี ต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก
(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้
(3) ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด แต่รอการกําหนดโทษไว้ หรือ
(4) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท”
มาตรา 193 ตรี “ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 193 ทวิ ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคําพิพากษาหรือทําความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสําคัญ อันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการ ซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้ มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่า มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้ พิจารณาต่อไป”
และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย
ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้นหรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการ ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรถ คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยและโจทก์หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้
กรณีของจําเลย
การที่จําเลยอุทธรณ์ว่า จําเลยไม่มีเจตนากระทําผิดตามฟ้อง ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องนั้น จะเห็นได้ว่าอุทธรณ์ของจําเลยเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่มีผลเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ ซึ่งแตกต่างไปจาก คําให้การของจําเลยที่ให้การรับสารภาพตามฟ้องในศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามฟ้อง ซึ่งจําเลย ให้การรับสารภาพโดยไม่สืบพยานหลักฐานว่าจําเลยกระทําผิดตามฟ้อง ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของจําเลยจึงเป็น ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15 อีกทั้งอุทธรณ์ของจําเลยก็มิใช่เป็นการอุทธรณ์ในคดีซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ ดังนั้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคําพิพากษาในศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อความที่ตัดสิน เป็นปัญหาสําคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์ ก็ไม่มีผลให้เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ตรี
กรณีของโจทก์
การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ไม่ควรลดโทษให้จําเลยนั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจ ในการลงโทษของศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลย ใน ความผิดฐานฉ้อโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อาญา มาตรา 350 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ อันเป็นอุทธรณ์ในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ
สรุป
ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยและโจทก์ไว้พิจารณาไม่ได้