การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1. โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินพิพาท อ้างว่าจําเลยได้อาศัยที่ดินดังกล่าวของมารดาโจทก์ เมื่อมารดาโจทก์เสียชีวิต โจทก์ได้รับมรดกที่ดินดังกล่าวมาและไม่ประสงค์จะให้จําเลยอาศัยอีกต่อไป ได้บอกกล่าวให้จําเลยขนย้ายออกจากที่ดินพิพาท แต่จําเลยเพิกเฉยไม่ยอมขนย้าย ที่ดินพิพาท หากนําออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 4,000 บาท ขอให้ศาลบังคับจําเลยให้ขนย้ายออกจาก ที่พิพาทและชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันบอกกล่าวให้ขนย้ายจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 20,000 บาท จําเลยให้การต่อสู้ว่าจําเลยเป็นน้าชายโจทก์ จําเลยไม่ได้อาศัยแต่ได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว จําเลยได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยครอบครองปรปักษ์ โจทก์ไม่เสียหายขอให้ศาลยกฟ้อง ระหว่างศาลชั้นต้นพิจารณาคดี คู่ความตกลงประนีประนอมยอมความ โดยจําเลยยอมขนย้าย ออกจากที่พิพาทภายใน 2 เดือนนับแต่ศาลมีคําพิพากษาตามยอม ส่วนโจทก์ไม่ติดใจเรียกค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมหลังจากศาลมีคําพิพากษาตามยอมได้ 6 สัปดาห์ จําเลยจึงทราบโดยมี หลักฐานว่า ทนายจําเลยได้ร่วมมือกับฝ่ายโจทก์หลอกลวงจําเลยให้ทําสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังกล่าว จําเลยประสงค์จะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ
และคําพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์เช่นว่านี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 138 “ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี โดยมิได้มีการถอนคําฟ้องนั้น และข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความเหล่านั้นไว้ แล้วพิพากษา ไปตามนั้น
ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้
(1) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล
(2) เมื่อคําพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(3) เมื่อคําพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการประนีประนอม ยอมความ
มาตรา 223 “ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 138, 168, 188 และ 222 และในลักษณะนี้ คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นนั้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด”
มาตรา 229 “การอุทธรณ์นั้นให้ทําเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคําพิพากษาหรือมีคําสั่ง ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น…”
วินิจฉัย
โดยหลักแล้วในคดีที่มีคําพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ของคู่ความแล้ว จะอุทธรณ์ต่อไปไม่ได้ เว้นแต่กรณีเข้าข้อยกเว้นอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง กล่าวคือ
1) เมื่อมีการกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล
2) เมื่อคําพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย
3) เมื่อคําพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการประนีประนอม ยอมความ
กรณีตามอุทาหรณ์ จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เห็นว่า จําเลยประสงค์จะอุทธรณ์ขอให้ศาล อุทธรณ์เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคําพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น อ้างว่า ทนายจําเลยได้ ร่วมมือกับฝ่ายโจทก์หลอกลวงจําเลยให้ทําสัญญาประนีประนอมยอมความ กรณีเช่นนี้ เท่ากับกล่าวอ้างว่าสัญญา ประนีประนอมเกิดขึ้นจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง (1) ดังนั้น จําเลยชอบที่จะอุทธรณ์เช่นว่านั้นได้ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง (1) ประกอบมาตรา 223
แต่อย่างไรก็ตาม ในการอุทธรณ์นั้นจะต้องอุทธรณ์ภายในกําหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาตามยอมตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 229 แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ปรากฏว่า จําเลย ได้ทราบถึงการหลอกลวงนั้นหลังจากที่ศาลได้มีคําพิพากษาแล้วถึง 6 สัปดาห์ ดังนั้น จําเลยจึงไม่สามารถอุทธรณ์ ขอให้ศาลเพิกถอนคําพิพากษาตามยอมนั้นได้
สรุป จําเลยจะอุทธรณ์ขอให้ศาลเพิกถอนคําพิพากษาตามยอมนั้นไม่ได้
ข้อ 2. คดีแพ่งเรื่องหนึ่ง จําเลยได้ยื่นคําร้องขอขยายเวลายื่นคําให้การเนื่องจากทนายป่วย ศาลชั้นต้นอนุญาตโดยให้ยื่นภายในวันที่ศาลกําหนด ถึงกําหนดจําเลยไม่ยื่นคําให้การจนพ้นเวลาที่ศาลกําหนดแล้ว จําเลยได้ยื่นคําร้องขออนุญาตยื่นคําให้การพร้อมกับแนบคําให้การมาด้วย ศาลชั้นต้นพิจารณา แล้วเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรอนุญาต มีคําสั่งยกคําร้องและมีคําสั่งไม่รับคําให้การจําเลย จําเลยไม่ได้ โต้แย้งคําสั่งแต่ได้ยื่นอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นทันที
ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228
(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา
(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่ โต้แย้งชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาด ตัดสินคดีนั้นเป็นต้นไป
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา”
มาตรา 227 “คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือคําสั่ง วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องนั้น มิให้ถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณา และ ให้อยู่ภายในข้อบังคับของการอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี”
มาตรา 228 วรรคแรกและวรรคสอง “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ
(3) ไม่รับหรือคืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งมิได้ ทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ
คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป” วินิจฉัย คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณานั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ
1 จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี
2 เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป
3 ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228
และเมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว ค่ความจะอุทธรณ์คําสั่งนั้นทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้ง คัดค้านคําสั่งนั้นไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226(2)
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งยกคําร้องและมีคําสั่งไม่รับคําให้การของจําเลยนั้น คําสั่งของศาลดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของคําสั่งไม่อนุญาตให้จําเลยยื่นคําให้การ ไม่ใช่คําสั่งไม่รับคําให้การ ซึ่งทําให้ คดีนั้นเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 หรือทําให้คดีเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 (3) แต่อย่างใด ดังนั้น คําสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งจําเลยไม่สามารถ ที่จะอุทธรณ์คําสั่งของศาลได้ทันที ถ้าจําเลยต้องการอุทธรณ์จะต้องโต้แย้งคําสั่งนั้นไว้ก่อนจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226
สรุป จําเลยจะอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นทันทีไม่ได้
ข้อ 3. โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจําเลยให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้ 10 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยฐานผิดสัญญาหากจําเลยไม่ชําระขอบังคับจํานองที่ดินของจําเลย จําเลยต่อสู้ว่าจําเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ตามที่ฟ้อง จําเลยกู้เพียง 7 ล้านบาท และจําเลยได้ชําระแล้ว ขอให้ศาลยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า จําเลยกู้เงินโจทก์เพียง 7 ล้านบาท และจําเลยชําระแล้ว และมีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ ก่อนที่ โจทก์จะยื่นอุทธรณ์ โจทก์ทราบมาว่าจําเลยจะไปถอนเงิน 7 ล้านบาทที่ได้ฝากไว้กับธนาคาร ทั้งจะย้ายภูมิลําเนาไปอยู่ต่างประเทศ หากต่อมาโจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาให้ โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี โจทก์จะเสียหายไม่ได้รับชําระหนี้ตามคําพิพากษา โจทก์มาถามท่านว่า โจทก์จะมีทางร้องขอให้ศาลมีคําสั่งคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ไว้ก่อนเพื่อ ไม่ให้โจทก์เสียหายได้หรือไม่ และโจทก์จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งอายัดเงินที่จําเลยฝากไว้กับธนาคาร ได้หรือไม่ ท่านจะให้คําตอบแก่โจทก์อย่างไร เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้
(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อน พิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย”
วินิจฉัย
ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่โจทก์ในการขอคุ้มครองประโยชน์ของ โจทก์ในระหว่างพิจารณาก่อนพิพากษา ดังนั้นการที่โจทก์จะร้องขอวิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 โจทก์จะต้องร้องขอก่อนที่ศาลนั้นจะมีคําพิพากษา แต่ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มี คําพิพากษาแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ไว้ก่อนเพื่อไม่ให้โจทก์ เสียหายนั้น โจทก์จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคําสั่งไม่ได้ แต่โจทก์ชอบที่จะไปร้องขอในชั้นอุทธรณ์ก่อนที่ศาลอุทธรณ์ มีคําพิพากษา โดยการที่โจทก์จะต้องทําให้คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์โดยการยื่นอุทธรณ์นั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 นั้น โจทก์จะต้องเสียหายในเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจําเลยด้วย แต่เมื่อข้อเท็จจริง ตามอุทาหรณ์ปรากฏว่า โจทก์ฟ้องเพียงต้องการบังคับที่ดินที่จํานอง ซึ่งหากจําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา โจทก์ก็จะบังคับเอาทรัพย์สินอื่นของจําเลยไม่ได้ ดังนั้น โจทก์จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งอายัดเงินที่จําเลยฝากไว้กับ ธนาคารไม่ได้
สรุป ข้าพเจ้าจะให้คําตอบแก่โจทก์ว่า โจทก์มีทางที่จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งคุ้มครองประโยชน์ ของโจทก์ได้โดยการไปร้องขอในชั้นอุทธรณ์ก่อนศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษา แต่โจทก์จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่ง อายัดเงินที่จําเลยฝากไว้กับธนาคารไม่ได้
ข้อ 4. ข้อนี้มีคําถาม 2 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียงข้อเดียว และต้องเลือกทําเฉพาะข้อที่เป็นคําขอมาตรา 264
(1) ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุด ให้จําเลยใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 10 ล้านบาทให้โจทก์ฐานผิดสัญญา ในชั้นบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดที่ดินเพื่อขายทอดตลาด เอาเงินมาชําระหนี้ตามคําพิพากษา แต่นายแดงได้ยื่นคําร้องขอต่อศาลว่าที่ดินที่ยึดเป็นของ นายแดงหาใช่ของจําเลยไม่ ขอให้ศาลมีคําสั่งให้ปล่อยที่ดินคืนให้นายแดง โจทก์คัดค้าน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าที่ดินที่ยึดเป็นของจําเลย และมีคําสั่งให้ยกคําร้องของนายแดง นายแดงอุทธรณ์พร้อมกับคําร้องให้ศาลมีคําสั่งให้งดการขายทอดตลาดที่ดินที่ยึดไว้ก่อน มีคําพิพากษา ดังนี้ ศาลใดเป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องที่นายแดงขอให้งดการขายไว้ก่อน และหากท่านเป็น ศาลไต่สวนได้ข้อเท็จจริงว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดําเนินการให้มีการขายทอดตลาดที่ดินที่ยึด
ท่านจะมีคําสั่งให้งดการขายไว้ก่อนมีคําพิพากษาหรือไม่ เพราะเหตุใด
(2) ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 10 ล้านบาทให้โจทก์จําเลยอุทธรณ์ แต่จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษาของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึด ที่ดินของจําเลยและประกาศขายทอดตลาด จําเลยเกรงว่าหากที่ดินของจําเลยถูกขายทอดตลาด ไปแล้ว ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ จําเลยก็จะเสียสิทธิในที่ดินแปลงนี้ ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะส่งสํานวนความที่อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จําเลยยื่นคําร้องให้ศาลมี คําสั่งให้งดการขายที่ดินของจําเลยไว้ก่อนมีคําพิพากษา ดังนี้ ศาลใดเป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องของจําเลยที่ขอให้งดการขายที่ดินของจําเลยไว้ก่อน มีคําพิพากษา และหากท่านเป็นศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ถ้าที่ดินของจําเลยถูกขายไปแล้ว ต่อมาจําเลยเป็นฝ่ายชนะคดี จําเลยก็จะต้องเสียสิทธิในที่ดินแปลงนี้ ท่านจะมีคําสั่งให้งดการขาย
ที่ดินของจําเลยไว้ก่อนมีคําพิพากษาหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
ข้อ (1)
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 254 วรรคท้าย “ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่าน คําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกา ไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คําขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจที่จะสั่ง อนุญาตหรือยกคําขอเช่นว่านี้”
มาตรา 264 “นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะ ยื่นคําขอต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับ ตามคําพิพากษา เช่น ให้นําทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการ หรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครอง ของบุคคลภายนอก
คําขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแดงได้ยื่นคําร้องขอต่อศาลว่าที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ เพื่อขายทอดตลาด เป็นที่ดินของนายแดงหาใช่ของจําเลยไม่ ขอให้ศาลมีคําสั่งให้ปล่อยที่ดินคืนให้แก่นายแดงนั้น ถือว่าเป็นคดีร้องขัดทรัพย์และนายแดงมีฐานะเป็นโจทก์
การที่ศาลชั้นต้นทําการไต่สวนและมีคําสั่งให้ยกคําร้องของนายแดง นายแดงได้อุทธรณ์พร้อมกับ ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งงดการขายที่ดินที่ยึดไว้ก่อน คําขอของนายแดงถือว่าเป็นคําขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ ของโจทก์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 เพราะไม่ใช่คําขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 และมาตรา 254 และเมื่อคดีนี้ อยู่ระหว่างอุทธรณ์ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอํานาจสั่งคําร้องของนายแดง เพราะกรณีการยื่นคําขอเพื่อคุ้มครอง ประโยชน์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 นั้น มิให้นําบทบัญญัติมาตรา 254 วรรคท้ายมาใช้บังคับ ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอํานาจ สั่งคําร้องของโจทก์ (นายแดง)
และประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อมามีว่า ศาลอุทธรณ์จะมีคําสั่งให้งดการขายไว้ก่อนมีคําพิพากษา หรือไม่ ซึ่งในกรณีที่ศาลจะพิจารณาอนุญาตตามคําขอของนายแดง ศาลจะต้องพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการคุ้มครอง ประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทได้รับการคุ้มครองไว้ก่อนพิพากษา และตามข้อเท็จจริง หากนายแดงไม่ได้ยื่นคําขอ และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินนั้นไปแล้ว ต่อมา ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาว่าที่ดินที่ยึดเป็นของนายแดง นายแดงก็จะไม่ได้ที่ดินคืน ทําให้นายแดงต้องเสียหาย และเสียสิทธิในที่ดินแปลงนี้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ต้องมีคําสั่งให้งดการขายไว้ก่อนมีคําพิพากษา เพราะเป็นการ คุ้มครองประโยชน์ของนายแดงผู้ขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264
สรุป ศาลอุทธรณ์เป็นศาลที่มีอํานาจสั่งคําร้องที่นายแดงขอให้งดการขายไว้ก่อน และศาลอุทธรณ์ จะต้องมีคําสั่งให้งดการขายไว้ก่อนมีคําพิพากษา
หมายเหตุ คําถามในข้อ 4. มี 2 ข้อ ซึ่งท่านอาจารย์ให้นักศึกษาเลือกทําเพียงข้อเดียว และ ต้องเลือกทําเฉพาะข้อที่เป็นคําขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ดังนั้นนักศึกษาจึงต้องเลือกทําข้อ (1)
ส่วนคําถามในข้อ (2) นั้น ไม่ใช่คําขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 เพราะการที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดที่ดินของจําเลยและประกาศขายทอดตลาดนั้น เป็นกรณีที่ศาลบังคับให้จําเลย ปฏิบัติตามคําพิพากษา หากจําเลยไม่อยากถูกบังคับให้ปฏิบัติตามคําพิพากษา จําเลยก็จะต้องร้องขอให้ศาลทุเลา การบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 231 หรือขอให้ศาลงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 292 แล้วแต่กรณี จําเลยจะร้องขอวิธีการชั่วคราวขอให้ศาลมีคําสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจําเลยตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ไม่ได้