การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1. นางสมศรีกับนายสมยศสมคบกันยักยอกเงินนางสาวศรีนวล จํานวน 50,000 บาท นางสาวศรีนวลได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนภายในสามเดือนนับจากวันเกิดเหตุ หลังจากสอบสวนเสร็จแล้ว พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสรุปสํานวนและทําความเห็นควรสั่งฟ้องนางสมศรีกับนายสมยศส่ง สํานวนพร้อมกับผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ แต่พนักงานอัยการเห็นว่าคดีมีมูลเฉพาะนางสมศรี เท่านั้น พนักงานอัยการจึงยื่นฟ้องนางสมศรีเพียงคนเดียวเป็นจําเลยต่อศาลขอให้ลงโทษในความผิด ฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นหลังจาก จําเลยยื่นคําให้การปฏิเสธแล้ว พนักงานอัยการยื่นคําร้องขอถอนฟ้องคดีอาญา ศาลชั้นต้นได้ถาม จําเลยว่าจะคัดค้านหรือไม่ จําเลยแถลงว่าไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นจึงมีคําสั่งอนุญาตให้พนักงานอัยการ ถอนฟ้องคดีอาญาได้โดยนางสาวศรีนวลไม่ทราบเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ ดังกล่าว
ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งศาลชั้นต้นชอบหรือไม่ พนักงานอัยการและนางสาวศรีนวลมีสิทธิที่จะยื่นฟ้องนางสมศรีเป็นจําเลยต่อศาลในความผิดฐานยักยอกดังกล่าวได้อีกหรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 35 “คําร้องขอถอนฟ้องคดีอาญา จะยื่นเวลาใดก่อนมีคําพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ได้ ศาลจะมีคําสั่งอนุญาตหรือมอนุญาตให้ถอนก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรประการใด ถ้าคําร้องนั้นได้ยืนในภายหลัง เมื่อจําเลยให้การแก้คดีแล้ว ให้ถามจําเลยว่าจะคัดค้านหรือไม่ แล้วให้ศาลจดคําแถลงของจําเลยไว้ ในกรณีที่จําเลย คัดค้านการถอนฟ้อง ให้ศาลยกคําร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย
คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ แต่ถ้า จําเลยคัดค้าน ให้ศาลยกคําร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย”
มาตรา 36 วรรคแรก “คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้วจะนํามาฟ้องอีกหาได้ไม่ เว้นแต่ จะเข้าอยู่ในข้อยกเว้นต่อไปนี้
(1) ถ้าพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีอาญาซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวไว้แล้วได้ถอนฟ้อง คดีนั้นไป การถอนนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่
(2) ถ้าพนักงานอัยการถอนคดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวไป โดยมิได้รับความยินยอมเป็น หนังสือจากผู้เสียหาย การถอนนั้นไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่”
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 “ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทําความผิดฐาน ยักยอก…”
มาตรา 356 “ความผิดในหมวดนี้ เป็นความผิดอันยอมความได้”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นแรกที่ต้องวินิจฉัยคือ คําสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พนักงานอัยการ ถอนฟ้องคดีอาญาได้ โดยนางสาวศรีนวลไม่ทราบเรื่องนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ความผิดฐานยักยอก ตาม ป.อาญา มาตรา 352 นั้น ป.อาญา มาตรา 356 บัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้ จึงถือเป็นความผิดต่อ ส่วนตัวซึ่งจะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ แม้พนักงานอัยการจะยื่นคําร้องขอถอนฟ้องคดีอาญา ภายหลังจําเลยยื่นคําให้การปฏิเสธแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ถามจําเลยว่าจะคัดค้านหรือไม่ และจําเลยแถลงว่า ไม่คัดค้านแล้ว ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องจึงชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 35
ประเด็นต่อมาที่ต้องวินิจฉัยคือ พนักงานอัยการและนางสาวศรีนวลมีสิทธิที่จะยื่นฟ้องนางสมศรี เป็นจําเลยต่อศาลในความผิดฐานยักยอกดังกล่าวได้อีกหรือไม่ เห็นว่า การที่พนักงานอัยการถอนฟ้องคดีอาญา ซึ่งฟ้องนางสมศรีเป็นจําเลยในความผิดฐานยักยอกไปจากศาลแล้ว พนักงานอัยการจะฟ้องนางสมศรีเป็นจําเลย ในความผิดฐานยักยอกดังกล่าวอีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 36 ที่กําหนดว่า คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้อง ไปจากศาลแล้ว จะนํามาฟ้องอีกหาได้ไม่ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
ส่วนกรณีของนางสาวศรีนวลนั้น การที่นางสาวศรีนวลไม่ทราบเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญาของ พนักงานอัยการ จึงเป็นกรณีที่พนักงานอัยการถอนฟ้องคดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวไป โดยมิได้รับความยินยอม เป็นหนังสือจากผู้เสียหาย การถอนนั้นจึงไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 36 (2) ดังนั้น นางสาวศรีนวลย่อมมีสิทธิที่จะยื่นฟ้องนางสมศรีเป็นจําเลยในความผิดฐานยักยอกดังกล่าวอีกได้ภายในกําหนด อายุความ
สรุป คําสั่งศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมาย และพนักงานอัยการไม่มีสิทธิที่จะยื่นฟ้องนางสมศรี เป็นจําเลยต่อศาลในความผิดฐานยักยอกดังกล่าวอีก ส่วนนางสาวศรีนวลมีสิทธิที่จะยื่นฟ้องนางสมศรีเป็นจําเลย ต่อศาลในความผิดฐานยักยอกดังกล่าวอีกได้
ข้อ 2. นางสาวไข่ไก่โกรธนางสาวกุ๊กไก่ที่แย่งคนรักของตนไป จึงเข้าไปตบหน้านางสาวกุ๊กไก่ พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบปรับนางสาวไข่ไก่ เป็นจํานวนเงิน 500 บาท ในความผิดฐานใช้กําลังทําร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 ตามที่ ทั้งสองคนได้ยินยอมในจํานวนเงินค่าปรับ พร้อมกันนั้นพนักงานสอบสวนได้ลงประจําวันไว้ด้วยว่า นางสาวไข่ไก่ตกลงชําระค่าเสียหายเป็นจํานวนเงิน 10,000 บาท ให้แก่นางสาวกุ๊กไก่ตามที่ นางสาวกุ๊กไก่เรียกร้องนางสาวไข่ไก่ชําระค่าปรับจํานวน 500 บาท เป็นที่เรียบร้อยและขอชําระ ค่าเสียหายให้แก่นางสาวกุ๊กไก่ภายใน 7 วัน แต่ต่อมาปรากฏว่านางสาวไข่ไก่ไม่ยอมชําระค่าเสียหาย ให้แก่นางสาวกุ๊กไก่ ดังนี้ นางสาวกุ๊กไก่จะแจ้งให้พนักงานสอบสวนดําเนินคดีกับนางสาวไข่ไก่ ต่อไปได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 37 “คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้
(2) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือ คดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรซึ่งมีโทษปรับ อย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เมื่อผู้ต้องหาชําระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว”
มาตรา 38 “ความผิดตามอนุมาตรา (2) (3) และ (4) แห่งมาตราก่อน ถ้าเจ้าพนักงานดังกล่าว ในมาตรานั้นเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจําคุกให้มีอํานาจเปรียบเทียบดังนี้
(1) ให้กําหนดค่าปรับซึ่งผู้ต้องหาจะพึงชําระ ถ้าผู้ต้องหาและผู้เสียหายยินยอมตามนั้น เมื่อผู้ต้องหาได้ชําระเงินค่าปรับตามจํานวนที่เจ้าหน้าที่กําหนดให้ภายในเวลาอันสมควร แต่ไม่เกินสิบห้าวันแล้ว คดีนั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาด”
มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้
(3) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา 37”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสาวไข่ไก่ตบหน้านางสาวกุ๊กไก่ และพนักงานสอบสวนได้ เปรียบเทียบปรับนางสาวไข่ไก่ในความผิดฐานใช้กําลังทําร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือ จิตใจตาม ป.อาญา มาตรา 291 ซึ่งถือเป็นความผิดลหุโทษนั้น เมื่อนางสาวไข่ไก่ได้ชําระค่าปรับแล้วย่อมมีผลทํา ให้คดีอาญาเลิกกันตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 37 (2) ประกอบมาตรา 38 (1) และมีผลทําให้สิทธิการนําคดีอาญา มาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (3)
ดังนั้น แม้ว่านางสาวไข่ไก่จะไม่ยอมชําระค่าเสียหายให้แก่นางสาวกุ๊กไก่ นางสาวกุ๊กไก่ซึ่งเป็น ผู้เสียหายก็จะให้พนักงานสอบสวนดําเนินคดีกับนางสาวไข่ไก่อีกต่อไปไม่ได้ นางสาวกุ๊กไก่มีสิทธิแต่เพียงฟ้อง เรียกเงินค่าเสียหายทางแพ่งเท่านั้น ไม่กระทบถึงการเปรียบเทียบคดีอาญาที่พนักงานสอบสวนได้ดําเนินการไป โดยชอบแล้ว
สรุป นางสาวกุ๊กไก่จะแจ้งให้พนักงานสอบสวนดําเนินคดีกับนางสาวไข่ไก่ต่อไปอีกไม่ได้ ตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
ข้อ 3. นายเอกใช้อาวุธปืนยิงนายโทตาย พ่อนายโทตามความเป็นจริงยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ดําเนินคดีนายเอกฐานฆ่านายโท ศาลชั้นต้นสังให้ไต่สวนมูลฟ้อง พ่อนายโทนําพยานมาสืบชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียงปากเดียว ศาลชั้นต้นสั่งว่าคดีไม่มีมูลยกฟ้อง ต่อมาพ่อนายโทมารวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมแล้วยื่นฟ้องต่อศาล ขอให้ลงโทษนายเอกฐาน ฆ่านายโทอีกครั้งหนึ่ง ขณะเดียวกัน คดีนี้พนักงานสอบสวนเพิ่งทําการสอบสวนเสร็จ ส่งสํานวนไปให้ พนักงานอัยการ พนักงานอัยการยื่นฟ้องนายเอกต่อศาลฐานฆ่านายโท ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า
(ก) คดีที่พ่อนายโทยื่นฟ้อง ศาลควรวินิจฉัยคดีอย่างไร เพราะเหตุใด
(ข) คดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้อง ศาลควรวินิจฉัยคดีอย่างไร เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้
(4) เมื่อมีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง”
ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) กรณีที่สิทธิการนําคดีอาญามาฟ้องระงับ เมื่อมีคําพิพากษา เสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องนั้น ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1 จําเลยในคดีแรกและคดีที่นํามาฟ้องใหม่เป็นคนเดียวกัน
2 การกระทําของจําเลยเป็นการกระทําเดียวกัน
3 ศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว
กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้
(ก) คดีที่พ่อนายโทยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ดําเนินคดีนายเอกฐานฆ่านายโทนั้น เมื่อศาลชั้นต้น ไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งว่าคดีไม่มีมูลให้ยกฟ้อง เช่นนี้ ย่อมถือว่าศาลได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ ได้ฟ้องแล้ว แม้นายเอกจะยังได้มีฐานะเป็นจําเลยก็ตาม เมื่อเหตุของการยื่นฟ้องนายเอกครั้งหลังเป็นการกระทํา เดียวกันกับเหตุที่นายเอกถูกฟ้องในครั้งแรก และผู้ถูกฟ้องเป็นคนคนเดียวกัน
ดังนั้น ฟ้องของพ่อนายโทจึงเป็น ฟ้องซ้ําตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง
(ข) เมื่อสิทธิการนําคดีอาญามาฟ้องนายเอกได้ระงับไปแล้วตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) การที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องนายเอกต่อศาลฐานฆ่านายโทอีก จึงถือเป็นฟ้องซ้ํา ซึ่งศาลต้องพิพากษายกฟ้องเช่นกัน (ดูคําพิพากษาฎีกาที่ 925/2500)
สรุป
(ก) คดีที่พ่อนายโทยื่นฟ้องนายเอกเป็นฟ้องซ้ํา ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง
(ข) คดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องนายเอกเป็นฟ้องซ้ำ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องเช่นกัน
ข้อ 4. พ.ต.ต.ปราณนต์พบนายมะระผู้ต้องหาซึ่งศาลได้ออกหมายจับในคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนากําลังนั่งอยู่ในบ้านซึ่งนายมะระเป็นเจ้าบ้าน พ.ต.ต.ปราณนต์จึงนําหมายจับเข้าไปจับนายมะระในบ้านหลังดังกล่าวทันทีโดยไม่มีหมายค้น
ดังนี้ การจับของ พ.ต.ต.ปราณนต์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 57 บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา 78 มาตรา 79 มาตรา 80 มาตรา 92 และมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายนี้จะจับขัง จําคุก หรือค้นในที่รโหฐานหาตัวคนหรือสิ่งของต้องมีคําสั่ง หรือหมายของศาลสําหรับการนั้น
บุคคลซึ่งต้องขังหรือจําคุกตามหมายศาล จะปล่อยไปได้ก็เมื่อมีหมายปล่อยของศาล”
มาตรา 81 “ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทําตาม บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน”
มาตรา 92 “ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคําสั่งของศาล เว้นแต่พนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตํารวจเป็นผู้ค้นและในกรณีดังต่อไปนี้
(5) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตาม มาตรา 78”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ พ.ต.ต.ปราณนต์ได้เข้าไปจับกุมนายมะระในบ้านนั้นถือเป็นการจับ ในที่รโหฐาน ซึ่งการที่จะเข้าไปจับได้จะต้องมีอํานาจในการจับ โดยมีหมายจับหรืออํานาจที่กฎหมายให้ทําการจับได้ โดยไม่ต้องมีหมายและต้องทําตามบทบัญญัติใน ป.วิ.อาญา อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือ มีอํานาจในการค้น โดยมีหมายค้น หรือมีอํานาจที่กฎหมายให้ทําการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 57
ตามข้อเท็จจริง เมื่อนายมะระเป็นผู้ต้องหาซึ่งศาลได้ออกหมายจับแล้ว แม้ พ.ต.ต.ปราณนต์ จะไม่มีหมายค้น แต่เมื่อนายมะระเป็นเจ้าของบ้านหลังดังกล่าว พ.ต.ต.ปราณนต์จึงสามารถเข้าไปในบ้านหลังนี้ได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้น เนื่องจากที่รโหฐานนั้น ผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับ พ.ต.ต.ปราณนต์ จึงสามารถทําการจับนาย มะระในบ้านได้แม้จะไม่มีหมายค้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 21 ประกอบมาตรา 92 (5) ดังนั้น การจับของ พ.ต.ต.ปราณนต์จึงชอบด้วยกฎหมาย
สรุป การจับของ พ.ต.ต.ปราณนต์ชอบด้วยกฎหมาย