การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายโอ่งขับรถชนนายไก่กับนายไข่ได้รับบาดเจ็บ นายไก่เสียค่าซ่อมรถยนต์จํานวนหกหมื่นบาทและเสียค่ารักษาพยาบาลจํานวนสองหมื่นบาท ส่วนนายไข่เสียค่ารักษาพยาบาลจํานวนสามหมื่นบาท นายไก่และนายไข่จึงฟ้องเรียกให้นายโอ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจํานวนดังกล่าว แต่นายโอ่ง ยื่นคําให้การต่อสู้คดีว่ากรณีนี้นายไก่และนายไข่เป็นโจทก์ร่วมกันฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนมาในคดีเดียวกันไม่ได้ เพราะค่าเสียหายเป็นคนละจํานวนกัน

ให้ท่านวินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของนายโอ่งว่านายไก่และนายไข่เป็นโจทก์ร่วมกันฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนมาในคดีเดียวกันไม่ได้ฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 59 “บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือ จําเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่ห้ามมิให้ถือว่าบุคคล เหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชําระหนี้ ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือได้มีกฎหมาย บัญญัติไว้ดังนั้นโดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกันเพียงเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้

(1) บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทําโดย หรือทําต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทําโดย หรือทําต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทําไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่ คู่ความร่วมคนอื่น ๆ

(2) การเลื่อนคดีหรือการงดพิจารณาคดีซึ่งเกี่ยวกับคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้น ให้ใช้ถึงคู่ความร่วม คนอื่นด้วย”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 59 ด้วางหลักไว้ว่า บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วมได้ หากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายโองขับรถชนนายไก่กับนายไข่ได้รับบาดเจ็บ โดยนายไก่เสียค่าซ่อม รถยนต์จํานวน 6 หมื่นบาท และเสียค่ารักษาพยาบาลจํานวน 2 หมื่นบาท ส่วนนายไข่เสียค่ารักษาพยาบาลจํานวน 3 หมื่นบาทนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่นายไก่และนายไข่เป็นผู้เสียหายในเหตุละเมิดเหตุเดียวกัน จึงเป็นกรณีที่บุคคล ตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคล เหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 59 ดังนั้น นายไก่และนายไข่จึงสามารถเป็น โจทก์ร่วมกันเพื่อฟ้องเรียกให้นายโอ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีเดียวกันได้ แม้ว่าค่าเสียหายเป็นคนละจํานวนกันก็ตาม การที่นายโอ่งยื่นคําให้การต่อสู้คดีว่ากรณีนี้นายไก่และนายไข่เป็นโจทก์ร่วมกันฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน ราในคดีเดียวกันไม่ได้ เพราะค่าเสียหายเป็นคนละจํานวนกันนั้น ข้อต่อสู้ของนายโอ่งดังกล่าวจึงฟังไม่ขึ้น

สรุป

ข้อต่อสู้ของนายโอ่งที่ว่านายไก่และนายไข่เป็นโจทก์ร่วมกันฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน มาในคดีเดียวกันไม่ได้นั้น ฟังไม่ขึ้น

 

ข้อ 2. นายสมชายมีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดตรัง (ในเขตอํานาจศาลจังหวัดตรัง) ได้แต่งงานกับนางซินดี้ชาวอังกฤษ นายสมชายได้เดินทางไปยังสิงคโปร์และได้ทําสัญญากู้เงินจากนายซิงค์ ชาวสิงคโปร์ บนเครื่องบินของการบินไทยระหว่างที่บินจากสิงคโปร์ไปประเทศอังกฤษ โดยมีกําหนดการกู้เงินกัน ทั้งสิ้น 1 ปี ผ่านไป 6 เดือน นายสมชายได้ตัดสินใจย้ายภูมิลําเนาไปอยู่กับนางซินดี้ที่อังกฤษ ต่อมาเมื่อครบ 1 ปีตามกําหนดสัญญากู้นายสมชายไม่ชําระเงินกู้แก่นายซิงค์ นายซิงค์จึงต้องการ ฟ้องนายสมชายให้รับผิดชดใช้เงินกู้

ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายซิงค์จะสามารถฟ้องนายสมชายได้ยังศาลใดได้บ้าง เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 3 “เพื่อประโยชน์ในการเสนอคําฟ้อง

(1) ในกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักร ให้ศาลแพ่ง เป็นศาลที่มีเขตอํานาจ

(2) ในกรณีที่จําเลยไม่มีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักร

(ก) ถ้าจําเลยเคยมีภูมิลําเนาอยู่ ณ ที่ใดในราชอาณาจักรภายในกําหนดสองปีก่อนวันที่มี การเสนอคําฟ้อง ให้ถือว่าที่นั้นเป็นภูมิลําเนาของจําเลย

 

มาตรา 4 “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น

(1) คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นใน เขตศาลไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่”

วินิจฉัย

ตามกฎหมายนั้น การฟ้องเรียกหนี้เหนือบุคคลต้องเสนอคําฟ้องต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ใน เขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1) ซึ่งคําว่า “มูลคดี” ก็หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันทําให้เกิดอํานาจฟ้องนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสมชายมีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดตรัง ได้เดินทางไปยังสิงคโปร์และได้ทํา สัญญากู้เงินจากนายซึ่งด์ ชาวสิงคโปร์ บนเครื่องบินของการบินไทยระหว่างที่บินจากสิงคโปร์ไปประเทศอังกฤษ โดยมี กําหนดการกู้เงินกันทั้งสิ้น 1 ปี และเมื่อครบกําหนด 1 ปีตามกําหนดสัญญากูนายสมชายไม่ชําระเงินกู้แก่นายซิงค์ และนายซิงค์ต้องการฟ้องนายสมชายให้รับผิดชดใช้เงินกู้นั้น นายซิงค์ย่อมสามารถฟ้องนายสมชายได้ที่ศาลแพ่ง เพราะกรณีสัญญากู้ยืมเงินนั้น มูลเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิย่อมเกิดขึ้นที่สถานที่ที่มีการทําสัญญากัน เมื่อปรากฏว่า นายสมชายได้ทําสัญญากู้ยืมเงินจากนายจึงด์บนเครื่องบินหรือในอากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักรตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 3 (1) ได้กําหนดให้ศาลแพ่งเป็นศาลที่มีเขตอํานาจ ดังนั้น นายชิงด์จึงฟ้องนายสมชายได้ที่ศาลแพ่ง

และจากข้อเท็จจริง การที่นายสมชายเคยมีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทยมาก่อน คือเคยมีภูมิลําเนา อยู่ที่จังหวัดตรัง แม้ว่าหลังจากทําสัญญากู้ยืมเงินได้ 6 เดือน นายสมชายจะได้ย้ายภูมิลําเนาไปอยู่กับนางซินดี้ ที่ยังกฤษก็ตาม ก็ถือว่านายสมชายเคยมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรภายในกําหนด 2 ปีก่อนวันที่จะมีการเสนอ คําฟ้อง จึงถือว่าจังหวัดตรังเป็นภูมิลําเนา ของนายสมชายตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 3 (2) (ก) ดังนั้น นายซิงค์จึงสามารถ ฟ้องนายสมชายต่อศาลจังหวัดตรังได้อีกแห่งหนึ่งด้วยตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1)

สรุป

นายซิงค์สามารถฟ้องนายสมชายได้ที่ศาลแพ่งและศาลจังหวัดตรัง

 

ข้อ 3. นายสุกี้ได้ยื่นฟ้องนายสลัดให้ชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนดเลขที่ 1234 แต่ปรากฏว่านายสลัดขาดนัดยื่นคําให้การ นายสุกี้จึงยื่นคําร้องขอให้ตนชนะคดีโดยขาดนัด ศาลนัดสืบพยาน วันที่ 1 มิถุนายน 2562 แต่ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 นายสุกี้ได้มายื่นคําร้องขอถอนฟ้อง ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องและจําหน่ายคดีออกจากสารบบความโดยมิได้มีการถามนายสลัด ผู้เป็นจําเลยก่อน ต่อมาในวันที่ 8 กรกฎาคม 2562 นายสุกี้ได้ยื่นฟ้องให้นายสลัดชําระหนี้ตาม สัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนดเลขที่ 1234 อีกครั้งหนึ่ง ให้ท่านวินิจฉัยว่า การที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องและจําหน่ายคดีนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการฟ้องของนายสุกี้ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2562 จะทําได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 144 “เมื่อศาลใดมีคําพิพากษา หรือคําสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดําเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้วนั้น…”

มาตรา 148 “คดีที่ได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน”

มาตรา 173 วรรคสอง “นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคําฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา และ ผลแห่งการนี้

(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคําฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น และ…”

มาตรา 175 “ก่อนจําเลยยื่นคําให้การ โจทก์อาจถอนคําฟ้องได้โดยยื่นคําบอกกล่าวเป็นหนังสือ ต่อศาล

ภายหลังจําเลยยื่นคําให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาต ให้โจทก์ถอนคําฟ้องได้ ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่

(1) ห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาต โดยมิได้ฟังจําเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมีก่อน”

มาตรา 176 “การทิ้งคําฟ้องหรือถอนคําฟ้องยอมลบล้างผลแห่งการยื่นคําฟ้องนั้น รวมทั้ง กระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคําฟ้อง และกระทําให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่ง มิได้มีการยืนฟ้องเลย แต่ว่าคําฟ้องใด ๆ ที่ได้ทิ้งหรือถอนแล้ว อาจยื่นใหม่ได้ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของ กฎหมายว่าด้วยอายุความ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสุกี้ได้ยื่นฟ้องนายสลัดให้ชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนด เลขที่ 1234 แต่ปรากฏว่านายสลัดขาดนัดยื่นคําให้การ นายสุกี้ยื่นคําร้องขอให้ตนชนะคดีโดยขาดนัดและศาลนัด สืบพยานวันที่ 1 มิถุนายน 2562 แต่ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 นายสุกี้ได้มายื่นคําร้องขอถอนฟ้อง ศาลอนุญาต

ให้ถอนฟ้องและจําหน่ายคดีออกจากสารบบความโดยมิได้มีการถามนายสลัดผู้เป็นจําเลยก่อนนั้น เมื่อการถอนฟ้อง ของโจทก์ได้กระทําก่อนที่จําเลยจะยื่นคําให้การ จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง (1) ที่ห้ามมิให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจําเลยก่อน ดังนั้น ในกรณีดังกล่าวเมื่อนายสุกี้โจทก์ได้ยื่นคําร้องขอถอนฟ้อง และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องโดยมิได้มีการถามนายสลัดผู้เป็นจําเลยก่อน การที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องดังกล่าว จึงขอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 175

และตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 176 ได้วางหลักไว้ว่า การถอนคําฟ้องยอมลบล้างผลแห่งการยื่นคําฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคําฟ้อง และกระทําให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่ง มิได้มีการยื่นฟ้องเลย และคําฟ้องที่ได้ถอนแล้วอาจยื่นใหม่ได้ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วย อายุความ ดังนั้น จากข้อเท็จจริงเมื่อนายสุกี้โจทก์ได้ยื่นคําร้องขอถอนฟ้อง และศาลได้อนุญาตให้ถอนฟ้องและ จําหน่ายคดีออกจากสารบบความแล้ว จึงมีผลตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 176 ที่นายสุกี้โจทก์ย่อมสามารถนําคดี ที่ได้ถอนฟ้องไปแล้วมายื่นฟ้องนายสลัดใหม่ได้ อีกทั้งการฟ้องคดีใหม่ของนายสุกี้แม้จะเป็นคําฟ้องเรื่องเดียวกับ คดีเดิมที่ได้ถอนฟ้องไปแล้ว คือการฟ้องให้นายสลัดชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนดเลขที่ 1234 ก็ตาม ก็ไม่เป็นการฟ้องซ้ําตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 148 หรือฟ้องซ้อนตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) หรือเป็นการดําเนิน กระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 แต่อย่างใด

สรุป

การที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องและจําหน่ายคดีนั้นชอบด้วยกฎหมาย

การที่นายสุกี้ฟ้องนายสลัดอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 8 กรกฎาคม 2562 นั้น สามารถทําได้

 

ข้อ 4. นายมะม่วงฟ้องนายมะขามให้ชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินจํานวนห้าแสนบาท นายมะขามไม่ได้ยื่นคําให้การภายในกําหนดเวลา นายมะม่วงมีคําขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคําพิพากษาให้นายมะม่วง ชนะคดีโดยขาดนัดศาสจึงดําเนินการพิจารณาคดีต่อไปและมีคําพิพากษาให้นายมะม่วงชนะคดี ให้ท่านวินิจฉัยว่า หากนายมะขามจะขอพิจารณาคดีใหม่ นายมะขามต้องดําเนินการอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 199 ตรี “จําเลยซึ่งศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดให้แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคําให้การ ถ้ามิได้ยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น จําเลยนั้นอาจมีคําขอให้พิจารณาคด์ใหม่ได้ เว้นแต่…”

มาตรา 199 จัตวา “คําขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นให้ยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากที่ได้ส่ง คําบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่งให้แก่จําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การ แต่ถ้าศาลได้กําหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคําบังคับเช่นว่านี้โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือวิธีอื่นแทน จะต้องได้มีการปฏิบัติตามข้อกําหนดนั้นแล้ว ในกรณีที่ จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การไม่สามารถยื่นคําขอภายในระยะเวลาที่กําหนดโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จําเลยนั้นอาจยื่นคําขอให้พิจารณาคดีใหมได้ภายในกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่กรณ์ จะเป็นอย่างไรก็ตามห้ามมิให้ยื่นคําขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกําหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับ ตามคําพิพากษาหรือคําสั่งโดยวิธีอื่น

คําขอตามวรรคหนึ่งให้กล่าวโดยชัดแจ้ง ซึ่งเหตุที่จําเลยได้ขาดนัดยื่นคําให้การและข้อคัดค้าน คําตัดสินชี้ขาดของศาลที่แสดงให้เห็นว่า “หากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่ตนอาจเป็นฝ่ายชนะ และในกรณีที่ยื่นคําขอ ล่าช้าให้แสดงเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้นด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายมะม่วงฟ้องนายมะขามให้ชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินจํานวน ห้าแสนบาทนั้น คดีนี้ถือเป็นคดีสามัญ เมื่อนายมะขามไม่ยื่นคําให้การภายในกําหนดเวลา ย่อมถือว่าจําเลย ขาดนัดยื่นคําให้การตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 197 เมื่อนายมะม่วงโจทก์มีคําขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคําพิพากษาให้ นายมะม่วงชนะคดีโดยขาดนัดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 แล้ว ศาลจึงดําเนินคดีต่อไปและมีคําพิพากษาให้ นายมะร่วงชนะคดี ดังนั้นหากนายมะขามจะขอพิจารณาคดีใหม่ นายมะขามจะต้องไม่ได้อุทธรณ์คําพิพากษานั้น (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 199 ตรี) และจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 199 ตรี และมาตรา 199 จัตวา ดังนี้คือ

1 นายมะขามจําเลยต้องยื่นคําขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาล (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 199 ตรี)

2 คําขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น ต้องยื่นต่อศาลภายใน 15 วันนับจากที่ได้ส่งคําบังคับตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งให้แก่จําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การ หรือภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลกําหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคําบังคับเช่นว่านี้โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน หรือถ้ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ให้ยื่นภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่ต้องไม่เกินกําหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์ หรือได้มีการบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่งโดยวิธีอื่น (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 199 จัตวา วรรคหนึ่ง)

3 คําขอให้พิจารณา คดีใหม่ที่ยื่นต่อศาลดังกล่าว จะต้องกล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งเหตุที่จําเลย ได้ขาดนัดยื่นคําให้การว่าจําเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคําให้การหรือมีเหตุจําเป็นที่จําเลยไม่อาจยื่นคําให้การได้ ภายในกําหนดระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด และข้อคัดค้านคําตัดสินชี้ขาดของศาลที่แสดงให้เห็นว่า หากศาล ได้พิจารณาคดีนั้นใหม่ตนอาจเป็นฝ่ายชนะ และในกรณียื่นคําขอล่าช้าให้แสดงเหตุแห่งการล่าช้านั้นด้วย (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง)

สรุป

หากนายมะขามจะขอพิจารณาคดีใหม่ นายมะขามจะต้องดําเนินการตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 199 ตรี และมาตรา 199 จัตวา ดังกล่าวข้างต้น

Advertisement