การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายกระทิงมีบ้านอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย ได้ทําสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคารออมสินสาขาพิจิตรที่จังหวัด พิจิตร เมื่อธนาคารออมสินสาขาพิจิตรอนุมัติเงินกู้แล้วก็โอนเงินเข้าสมุดบัญชีเงินฝากของนายกระทิงสาขาพิษณุโลก นายกระทิงจึงไปเบิกถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มที่จังหวัดพิษณุโลก ภายหลังเมื่อถึงกําหนดเวลาชําระเงินกู้นายกระทิงไม่ยอมชําระเงินกู้และได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศจีนเป็นเวลา 1 ปีแล้ว หากท่านเป็นทนายความของธนาคารออมสิน ท่านจะยื่นฟ้องนายกระทิงที่ศาลใดได้บ้าง เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 3 เพื่อประโยชน์ในการเสนอคําฟ้อง

(1) ในกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักร ให้ศาลแพ่ง เป็นศาลที่มีเขตอํานาจ

(2) ในกรณีที่จําเลยไม่มีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักร

(ก) ถ้าจําเลยเคยมีภูมิลําเนาอยู่ ณ ที่ใดในราชอาณาจักรภายในกําหนดสองปีก่อนวันที่ มีการเสนอคําฟ้อง ให้ถือว่าที่นั้นเป็นภูมิลําเนาของจําเลย

มาตรา 4 “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น

(1) คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตศาลไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่”

วินิจฉัย

ตามกฎหมายนั้น การฟ้องเรียกหนี้เหนือบุคลต้องเสนอคําฟ้องต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1) ซึ่งคําว่า “มูลคดี” ก็หมายถึง ต้นเหตุ อันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันทําให้เกิดอํานาจฟ้องนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายกระทิงได้ทําสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคารออมสินสาขาพิจิตรที่ จังหวัดพิจิตร และได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศจีนเป็นเวลา 1 ปีแล้วนั้น ย่อมถือว่าขณะนี้นายกระทิงมิได้มีภูมิลําเนาอยู่ ในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏว่านายกระทิงเคยมีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทยมาก่อน คือเคยมี ภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดสุโขทัยมาก่อน ภายใน 2 ปีก่อนวันที่จะมีการเสนอคําฟ้อง ดังนั้น จึงสามารถยื่นฟ้องนายกระทิง ต่อศาลจังหวัดสุโขทัยที่นายกระทิงเคยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1) ประกอบมาตรา 3 (2) (ก)

และกรณีสัญญากู้ยืมเงินนั้น มูลเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิย่อมเกิดขึ้นที่สถานที่ที่มีการทํา สัญญากัน เมื่อปรากฏว่า นายกระทิงได้ทําสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคารออมสินสาขาพิจิตรที่จังหวัดพิจิตร ย่อมถือว่า มูลคดีนี้เกิดขึ้นที่จังหวัดพิจิตร ดังนั้น จึงสามารถยื่นฟ้องนายกระทิงต่อศาลจังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตศาลได้อีกศาลหนึ่งตามมาตรา 4 (1) ส่วนการที่ธนาคารจะโอนเงินไปที่ใดแล้วจะไปเบิกที่ใดนั้นไม่ใช่สาระสําคัญ ของสัญญา การที่นายกระทิงไปถอนเงินที่พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลกจึงไม่ใช่สถานที่ที่มูลคดีเกิด ดังนั้นจึงไม่สามารถ ยื่นฟ้องนายกระทิงที่ศาลจังหวัดพิษณุโลกได้

สรุป

หากข้าพเจ้าเป็นทนายความของธนาคารออมสิน ข้าพเจ้าจะยื่นฟ้องนายกระทิงที่ศาล จังหวัดสุโขทัย หรือศาลจังหวัดพิจิตรก็ได้ แต่จะฟ้องนายกระทิงต่อศาลจังหวัดพิษณุโลกไม่ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ยื่นฟ้องว่าจําเลยทําสัญญาขายที่ดินให้โจทก์แล้วผิดสัญญาขอให้ขับไล่จําเลยออกไปจากที่ดินคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ต่อมานางขวัญใจต้องการจะยื่นคําร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อขอเป็นจําเลยร่วม เนื่องจากว่า “นางขวัญใจเป็นภริยาของจําเลย แต่จําเลยได้นําที่ดินสินสมรสแปลงดังกล่าวที่ตน ร่วมครอบครองอยู่ไปขายโดยที่ตนไม่ได้รับความยินยอม” กรณีนี้นางขวัญใจจะสามารถยื่นคําร้อง สอดเข้ามาในคดีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และต่อมาหากจําเลยถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา นางขวัญใจจะสามารถขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 42 “ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้ จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ โดยมีคําขอเข้ามาเอง หรือโดยที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามา เนื่องจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคําขอฝ่ายเดียว คําขอเช่นว่านี้จะต้องยื่นภายในกําหนด หนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ

ถ้าไม่มีคําขอของบุคคลดังกล่าวมาแล้ว หรือไม่มีคําขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งภายในเวลา ที่กําหนดไว้ ให้ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดีเรื่องนั้นเสียจากสารบบความ”

มาตรา 57 “บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด

(1) ด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจําเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ โดยยื่นคําร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา หรือเมื่อตนมีสิทธิเรียกร้อง เกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยยื่นคําร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีนั้น นอกจาก

(2) ด้วยความสมัครใจเองเพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น โดยยื่นคําร้อง ขอต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคําพิพากษา ขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วมหรือเข้าแทนที่คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียวโดยได้รับความยินยอมของคู่ความฝ่ายนั้น แต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้าแทนที่กันได้ก็ตาม คู่ความฝ่ายนั้นจําต้องผูกพันตนโดยคําพิพากษาของศาลทุกประการ เสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการเข้าแทนที่กันเลย

การร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วมตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (1) ผู้ร้องสอดจะต้อง มีส่วนได้เสียในมูลแห่งคดี กล่าวคือ เมื่อศาลมีคําพิพากษาแล้วจะมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของตน จึงต้องร้องสอด เข้ามาเพื่อยังให้ได้รับคํารับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ หรือเป็นกรณีที่ตนมีส่วนได้เสียในการ บังคับคดีและถูกโต้แย้งสิทธิ ก็สามารถร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีได้ ส่วนการร้องสอดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (2) ผู้ร้องสอดก็จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้นเช่นกัน ซึ่งหมายถึง จะต้องเป็นผู้ที่ถูก กระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคําพิพากษาคดีนั้นโดยตรงหรือผลของคดีตามกฎหมายจะมีผลไปถึงตนด้วยนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่จําเลยได้นําที่ดินอันเป็นสินสมรสไปขาย โดยที่นางขวัญใจภริยา จําเลยไม่ได้ให้ความยินยอมในการขายที่ดินนั้น การฟ้องของโจทก์ย่อมไม่กระทบสิทธิของนางขวัญใจ เพราะสิทธิของนางขวัญใจมีอยู่อย่างไรย่อมมีอยู่อย่างนั้น นางขวัญใจจึงไม่มีความจําเป็นและไม่ได้มีส่วนได้เสียในคดี จึงไม่อาจยื่นคําร้องสอดเข้ามาในคดีได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (1) และ (2)

แต่หากจําเลยถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา นางขวัญใจซึ่งถือเป็นทายาทของจําเลย ย่อมสามารถขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 42 โดยยื่นคําขอภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ จําเลยถึงแก่ความตาย

สรุป

นางขวัญใจไม่สามารถยื่นคําร้องสอดเข้ามาในคดีได้ แต่ต่อมาหากจําเลยถึงแก่ความตาย ในระหว่างพิจารณา นางขวัญใจสามารถขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ได้

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกไปจากที่ดิน จําเลยยื่นคําให้การว่าที่ดินเป็นของจําเลยขอให้ศาลยกฟ้อง และฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์ออกไปจากที่ดิน คดีอยู่ระหว่างพิจารณาผู้ร้องสอดจึงยื่นคําร้องสอด เข้ามาว่าที่ดินเป็นของผู้ร้องสอด ขอให้ขับไล่โจทก์และจําเลยออกไปจากที่ดิน ภายหลังโจทก์มาขอถอนฟ้องจําเลย ศาลมีคําสั่งไม่อนุญาตโดยไม่แจ้งจําเลยและผู้ร้องสอดก่อนที่จะสั่ง แล้วมีคําพิพากษาให้จําเลยชนะคดีขับไล่โจทก์และผู้ร้องสอดออกไปจากที่ดิน หากผู้ร้องสอดยื่นอุทธรณ์ต่อสู้ว่าการที่ศาลมีคําสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยไม่แจ้งผู้ร้องสอด ก่อนเป็นคําสั่งที่ไม่ชอบ อีกทั้งในฟ้องแย้งของจําเลยไม่มีคําขอให้ขับไล่ผู้ร้องสอด การที่ศาลพิพากษาขับไล่ผู้ร้องสอดจึงเกินคําขอ ให้ท่านวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 142 “คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีต้องตัดสินตามข้อหาในคําฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือทําคําสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคําฟ้อง”

มาตรา 145 วรรคแรก “ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการอุทธรณ์ฎีกา และการพิจารณาใหม่ คําพิพากษาหรือคําสั่งใด ๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษา หรือมีคําสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคําสั่งจนถึงวันที่คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี”

มาตรา 175 “ก่อนจําเลยยื่นคําให้การ โจทก์อาจถอนคําฟ้องได้โดยยื่นคําบอกกล่าวเป็น หนังสือต่อศาล ภายหลังจําเลยยื่นคําให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาต ให้โจทก์ถอนคําฟ้องได้ ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่

(1) ห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาต โดยมิได้ฟังจําเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมีก่อน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ผู้ร้องสอดยื่นคําร้องสอดเข้าเป็นคู่ความในคดีนั้น เมื่อศาลมีคําพิพากษา ผู้ร้องสอดย่อมต้องผูกพันตามคําพิพากษาของศาลด้วย เพราะถือว่าผู้ร้องสอดเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณา ของศาลตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ดังนั้นการที่ศาลพิพากษาไปถึงผู้ร้องสอดจึงไม่เป็นคําพิพากษาที่เกิน คําขอแต่อย่างใด (ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 142) การที่ผู้ร้องสอดต่อสู้ว่าในฟ้องแย้งของจําเลยไม่มีคําขอให้ขับไล่ผู้ร้องสอด การที่ศาลพิพากษาขับไล่ผู้ร้องสอดจึงเกินคําขอนั้น ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดกรณีนี้จึงฟังไม่ขึ้น

ส่วนการถอนฟ้องนั้น หากเป็นกรณีที่จําเลยยื่นคําให้การแล้ว ศาลต้องถามจําเลยและผู้ร้องสอด ก่อนที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง แต่หากศาลจะไม่อนุญาตให้ถอนฟ้อง ศาลก็ไม่จําต้องถามจําเลยหรือ ผู้ร้องสอดก่อนแต่อย่างใดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง (1) ดังนั้น ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดที่ว่าการที่ศาล มีคําสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยไม่แจ้งผู้ร้องสอดก่อนเป็นคําสั่งที่ไม่ชอบนั้น ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดกรณีนี้ จึงฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน

สรุป ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดฟังไม่ขึ้นทั้ง 2 กรณี

 

ข้อ 4. โจทก์ยื่นคําฟ้องว่า “จําเลยชื่อนายทรงกร ได้ทําสัญญาเช่าเครื่องบินโจทก์ 2 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2557 จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 แต่เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 จําเลยผิดนัดไม่ชําระค่าเช่า โจทก์จึงขอยกเลิกสัญญาและขอให้จําเลยชดใช้ค่าเช่า 4 เดือน เดือนละ 1 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย” ต่อมาก่อนวันชี้สองสถานโจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า “นอกจากค่าเช่าที่ค้างแล้ว โจทก์ขอเรียกค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์อาจจะให้บุคคลอื่นเช่าเครื่องบิน ได้ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ทั้งสิ้น 10 ล้านบาท” และภายหลัง วันชี้สองสถานไปแล้ว โจทก์ได้ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องอีกครั้งหนึ่งขอแก้ชื่อจําเลยจาก “ทรงกร” มาเป็น “ทรงกรด” เนื่องจากพิมพ์ตกหล่น

ให้ท่านวินิจฉัยว่า โจทก์จะสามารถขอแก้ไข เพิ่มเติมคําฟ้องในสองกรณีดังกล่าวนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 179 “โจทก์หรือจําเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียงอันกล่าวไว้ใน คําฟ้องหรือคําให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรกก็ได้

การแก้ไขนั้น โดยเฉพาะอาจเป็นการแก้ไขในข้อต่อไปนี้

(1) เพิ่ม หรือลด จํานวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือ

(2) สละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคําฟ้อง เพิ่มเติม หรือเสนอคําฟ้อง เพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคําพิพากษาหรือ คําสั่ง หรือ

(3) ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม หรือที่ยื่นภายหลัง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข ข้ออ้าง หรือข้อเถียงเพื่อสนับสนุนข้อหา หรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง

แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคําฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดยวิธีฟ้องเพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลังที่ได้ยื่นคําฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คําฟ้องเดิมและคําฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการ พิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้”

มาตรา 180 “การแก้ไขคําฟ้องหรือคําให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้ว ให้ทําเป็นคําร้อง ยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุ อันสมควรที่ไม่อาจยื่นคําร้องได้ก่อนนั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า “นอกจากค่าเช่าที่ค้างแล้ว โจทก์ขอเรียกค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์อาจจะให้บุคคลอื่นเช่าเครื่องบินได้ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2558 ทั้งสิ้น 10 ล้านบาท” นั้น ถือเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องขอเพิ่มค่าขาดประโยชน์ ซึ่งอาจ เรียกได้แต่ต้น และเป็นการตั้งทุนทรัพย์ขึ้นมาใหม่ การขอเพิ่มเติมดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ โจทก์จึงไม่อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 179 วรรคสาม

ส่วนการที่โจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องอีกครั้งหนึ่ง โดยขอแก้ชื่อจําเลยจาก “ทรงกร” มาเป็น “ทรงกรด” นั้น ถือเป็นการแก้ไขฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 179 วรรคสอง (2) และแม้จะขอแก้ไข ภายหลังวันชี้สองสถานแต่ก็เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180 โจทก์จึงสามารถขอ แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องในเรื่องนี้ได้

สรุป

โจทก์ไม่สามารถขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องขอเรียกค่าขาดประโยชน์ในกรณีแรกได้ แต่โจทก์ สามารถขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องแก้ชื่อจําเลยในกรณีที่สองได้

 

Advertisement