การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ
ข้อ 1. นางสาวริ้วทองยื่นฟ้องขับไล่นางสาวเกล้ามาศที่ศาลแพ่งโดยขอให้นางสาวเกล้ามาศออกจากที่ดินราคาประเมินจํานวน 200,000 บาท ที่นางสาวเกล้ามาศเข้ามาบุกรุกตนมาเป็นเวลานานกว่า 8 เดือนแล้ว ศาลแพ่งรับฟ้องและนําส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องให้กับนางสาวเกล้ามาศ นางสาวเกล้ามาศยื่นคําให้การเข้าไปในคดีและต่อสู้ว่าตนมีสิทธิอยู่ในที่ดิน เพราะซื้อที่ดินมาจากพี่ชายของนางสาวริ้วทอง พร้อมอ้างหนังสือสัญญาซื้อขายและโฉนดที่ดินที่มีชื่อนางสาวเกล้ามาศผู้รับโอน นายสมรักษ์และ นายภูผาผู้พิพากษาศาลแพงได้นั่งพิจารณาคดีนี้ เห็นว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอํานาจศาลแพ่งและองค์คณะตน เพราะเป็นคดีมีทุนทรัพย์และอยู่ในอํานาจของศาลแขวงพระนครเหนือ จึงมีคําสั่งโอนคดีนี้ไปยังศาลแขวงพระนครเหนือ กรณีนี้ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”
มาตรา 19 วรรคหนึ่ง “ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลแพ่งธนบุรีมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”
มาตรา 19/1 วรรคสอง “ในกรณีที่ขณะยื่นฟ้องนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจศาลแพ่ง…อยู่แล้ว แม้ต่อมาจะมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปทําให้คดีนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงก็ให้ศาลนั้นพิจารณา พิพากษาคดีดังกล่าวต่อไป”
มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้
(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”
วินิจฉัย
ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีแพ่งที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาไม่ได้ (มาตรา 25 (4) ประกอบกับมาตรา 17) จะต้องนําคดีนั้นไปฟ้องที่ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งแล้วแต่กรณี
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสาวริ้วทองยื่นฟ้องขับไล่นางสาวเกล้ามาศที่ศาลแพ่ง โดยขอให้ นางสาวเกล้ามาศออกจากที่ดินราคาประเมินจํานวน 200,000 บาท ที่นางสาวเกล้ามาศเข้ามาบุกรุกตนมาเป็น เวลานานกว่า 8 เดือนแล้วนั้น ถือว่าคดีนี้เริ่มต้นโดยเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ดังนั้น การนําคดีนี้ไปยื่นฟ้องที่ศาลแพ่ง และศาลแพ่งได้รับฟ้องไว้จึงชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนางสาวเกล้ามาศจําเลยได้ยื่นคําให้การเข้าไปในคดี และต่อสู้ว่าตนมีสิทธิ อยู่ในที่ดิน เพราะซื้อที่ดินมาจากพี่ชายของนางสาวริ้วทอง คดีนี้จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทําให้ จากคดีไม่มีทุนทรัพย์กลายเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และเมื่อเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์จึงต้องมีการตรวจสอบราคาที่ดิน เมื่อปรากฏว่าราคาที่ดินประเมินมีมูลค่า 200,000 บาท จึงถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งเป็นคดี ที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวงตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า คดีนี้ได้มีการ ยื่นฟ้องที่ศาลแพ่งและศาลแพ่งได้รับฟ้องไว้พิจารณาแล้ว แต่ต่อมามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปทําให้คดีนี้เป็นคดี ที่อยู่ในอํานาจศาลแขวง จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 19/1 วรรคสอง ซึ่งได้บัญญัติให้ศาลแพ่งพิจารณาคดีนี้ต่อไป จนพิพากษาจะมีคําสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงอีกไม่ได้ ดังนั้น การที่นายสมรักษ์และนายภูผาผู้พิพากษาศาลแพ่ง เห็นว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอํานาจศาลแพ่ง เพราะเป็นคดีมีทุนทรัพย์และอยู่ในอํานาจของศาลแขวงพระนครเหนือ จึงมีคําสั่ง โอนคดีนี้ไปยังศาลแขวงพระนครเหนือนั้น คําสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 19/1 วรรคสอง
สรุป
คําสั่งให้โอนคดีนี้ไปยังศาลแขวงพระนครเหนือของนายสมรักษ์และนายภูผาผู้พิพากษา ศาลแพ่งกรณีนี้ไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
หมายเหตุ ปัจจุบัน ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 ให้ยกเลิกมาตรา 16 วรรคสี่ ที่ว่า
“ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอํานาจ ของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ”
โดยให้เพิ่มมาตรา 19/1 ขึ้นมาใช้บังคับแทน ดังนี้
“บรรดาคดีซึ่งเกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของศาลแขวงนั้น ถ้ายื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือศาลจังหวัด ให้อยู่ใน ดุลพินิจของศาลดังกล่าวที่จะยอมรับพิจารณาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นหรือมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวง ที่มีเขตอํานาจก็ได้ และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด หากศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือศาลจังหวัดได้มีคําสั่งรับฟ้องคดีเช่นว่านั้นไว้แล้ว ให้ศาลดังกล่าว พิจารณาพิพากษาคดีนั้นต่อไป
ในกรณีที่ขณะยื่นฟ้องนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี หรือศาลจังหวัดอยู่แล้ว แม้ต่อมาจะมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ทําให้คดีนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวง ก็ให้ศาลนั้นพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวต่อไป”
ดังนั้น แนวข้อสอบเก่าที่ข้อเท็จจริงเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 16 วรรคสี่ (วรรคท้าย) ที่ให้ ศาลจังหวัดมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจนั้น ขอให้เปลี่ยนมาใช้บทบัญญัติมาตรา 19/1 แทนนะครับ
ข้อ 2. นายเก่งฟ้องนายก้องต่อศาลจังหวัดตากขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 ซึ่งระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท ปรากฏว่านายใหญ่ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลจังหวัดตากจ่ายสํานวนให้นายโอผู้พิพากษาประจําศาลและนายธรรมผู้พิพากษาอาวุโสเป็นองค์คณะโดยให้นายธรรมเป็นเจ้าของสํานวน เมื่อถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้องนัดแรก โจทก์ขอเลื่อนคดี ไม่เจอ เพราะว่าพยานโจทก์ป่วย นายโอสั่งอนุญาตให้เลื่อน ครั้นถึงวัดนัดไต่สวนมูลฟ้องนัดที่สอง นายธรรมได้ไต่สวนมูลฟ้องคนเดียวเป็นองค์คณะ เสร็จแล้วมีความเห็นว่าคดีไม่มีมูลต้องยกฟ้อง นายธรรมจึงปรึกษานายโอ นายโอกลับมีความเห็นว่าคดีมีมูลต้องประทับฟ้อง บุคคลทั้งสองเห็นว่าความเห็นขัดแย้งกันจนหาเสียงข้างมากไม่ได้จึงปรึกษากับนายใหญ่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตาก นายใหญ่ มีความเห็นว่าคดีมีมูล บุคคลทั้งสามจึงร่วมกันทําคําสั่งให้ประทับฟ้องคดีไว้พิจารณาพิพากษาการสั่ง เลื่อนคดีของนายโอและการสั่งประทับฟ้องของนายโอ นายธรรม และนายใหญ่ดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
มาตรา 24 “ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอํานาจดังต่อไปนี้
(2) ออกคําสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี”
มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้
(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา แสดงอา การบริหาร เขต
(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้
ผู้พิพากษาประจําศาลไม่มีอํานาจตาม (3) (4) หรือ (5)”
มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง”
มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และ ศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว
(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี
มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่ กําหนดไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย
(1) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาแล้วเห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง แต่คดีนั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกําหนดเกินกว่าอัตราโทษตามมาตรา 25 (5)”
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 184 “ในการประชุมปรึกษาเพื่อมีคําพิพากษา หรือคําสั่ง ให้อธิบดีผู้พิพากษา ข้าหลวงศาลยุติธรรม หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้นหรือเจ้าของสํานวนเป็นประธาน ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก ถ้าในปัญหาใดมีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่ายหรือเกินกว่าสองฝ่ายขึ้นไป จะ หาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นแย้งเป็นผลร้ายแก่จําเลยมากยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมี ความเห็นเป็นผลร้ายแก่จําเลยน้อยกว่า”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเก่งฟ้องนายก้องต่อศาลจังหวัดตากขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ซึ่งระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาทนั้น เมื่อโทษจําคุกซึ่งกฎหมายได้กําหนดไว้นั้นมีอัตราโทษอย่างสูงเกินกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 (5) จึงต้องให้ผู้พิพากษา อย่างน้อยสองคนเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวตามมาตรา 26
ในกรณีที่ถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้องนัดแรก โจทก์ขอเลื่อนคดีเพราะว่าพยานโจทก์ป่วย และนายโอ ผู้พิพากษาคนเดียวสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีได้นั้น เมื่อคําสั่งเลื่อนคดีไม่ใช่คําสั่งวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี นายโอผู้พิพากษาคนเดียวแม้เป็นผู้พิพากษาประจําศาลก็มีอํานาจออกคําสั่งได้ตามมาตรา 24 (2)
ส่วนการไต่สวนมูลฟ้องนัดที่สอง การที่นายธรรมผู้พิพากษาอาวุโสได้ไต่สวนมูลฟ้องคนเดียว เป็นองค์คณะเสร็จแล้ว และมีความเห็นว่าคดีไม่มีมูลต้องยกฟ้องนั้น นายธรรมมีอํานาจที่จะกระทําได้ตามมาตรา 25 (3) ประกอบกับมาตรา 25 วรรคท้าย ก็ไม่ได้บัญญัติห้ามมิให้ผู้พิพากษาอาวุโสกระทําการเช่นนั้นแต่อย่างใด
การที่นายธรรมเห็นว่าคดีไม่มีมูลต้องยกฟ้อง แต่นายโอเห็นว่าคดีมีมูลต้องประทับฟ้องนั้น เมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่านายโอไม่ได้นั่งพิจารณาทําการไต่สวนมูลฟ้องด้วย จึงไม่อาจมีความเห็นที่ต้องให้ผู้พิพากษาซึ่งมี ความเห็นเป็นผลร้ายแก่จําเลยมาก ยอมเห็นด้วยกับผู้พิพากษาที่มีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จําเลยน้อยกว่า ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 184 แต่กรณีนี้เป็นเรื่องที่ผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง อันเป็นเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ที่เกิดขึ้นในระหว่างการทําคําพิพากษา ตามมาตรา 31 (1) ที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจะตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาได้ตามมาตรา 29 (3)
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายโอไม่ได้นั่งพิจารณาทําการไต่สวนมูลฟ้องในคดีนี้ นายโอจึงไม่มี อํานาจปรึกษาคดีนี้ ดังนั้น การที่นายโอ นายธรรม และนายใหญ่ ได้ปรึกษากันแล้วร่วมกันทําคําสั่งว่าคดีมีมูลให้ ประทับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษานั้น คําสั่งประทับฟ้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สรุป
การสั่งเลื่อนคดีของนายโอชอบด้วยกฎหมาย แต่การสั่งประทับฟ้องของนายโอ นายธรรม และนายใหญ่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อ 3. นายวิโรจน์ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงจ่ายสํานวนคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยในข้อหากระทําความผิดฐานยักยอกทรัพย์มีราคาสูงถึง 10 ล้านบาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 คดีมีอัตราโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ให้แก่ นายวิรัชผู้พิพากษาศาลแขวงเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา ต่อมานายวิรัชสืบพยานโจทก์ไปจนจบ และมีคําพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยมีกําหนด 1 ปี จําเลยยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาว่า “พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จําเลยกระทําความผิดตามฟ้องจริง แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา ลงโทษจําคุกจําเลยมีกําหนด 1 ปี และในคําพิพากษามีเพียงนายวิรัชลงชื่อเป็นองค์คณะคนเดียว จึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) ศาลอุทธรณ์จึงมีคําพิพากษาให้ศาลชั้นต้น ไปทําคําพิพากษาใหม่โดยไม่ต้องทําการสืบพยาน” แต่ปรากฏว่าในวันที่อ่านคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ นายวิรัชไม่อยู่ เพราะได้รับทุนให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ แล้วจะกลับมารับราชการที่เดิม นายวิโรจน์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงจึงนําสํานวนดังกล่าวไปมอบหมายให้นายวิรุฬผู้พิพากษาศาลแขวงอีก คนหนึ่งเป็นผู้จัดทําคําพิพากษาขึ้นมาใหม่ และนายวิรุฬมีคําพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยมีกําหนด 1 ปี เท่าเดิม โดยมีนายวิโรจน์ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงลงชื่อเป็นองค์คณะด้วย
ให้นักศึกษา อธิบายว่า คําพิพากษาที่นายวิรุฬผู้พิพากษาศาลแขวงเป็นผู้จัดทําคําพิพากษาขึ้นมาใหม่โดยมี นายวิโรจน์ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงลงชื่อเป็นองค์คณะชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และ ศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว
(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี
มาตรา 30 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 หมายถึง กรณีที่ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือไม่อาจ ปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณา หรือทําคําพิพากษาในคดีนั้นได้”
มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่กําหนด ไว้ในมาตรา 30 แล้ว ให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย
(2) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีอาญาตามมาตรา 25 (5) แล้วเห็นว่าควรพิพากษา ลงโทษจําคุกเกินกว่าหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างเกินอัตราดังกล่าว”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อปรากฏว่าในวันที่อ่านคําพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น นายวิรัชผู้พิพากษา เจ้าของสํานวนเดิมที่เคยนั่งพิจารณาคดีไม่อยู่เพราะได้รับทุนให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ กรณีนี้จึงถือว่าเป็นเรื่อง เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษา ในคดีนั้นต่อไปได้ในศาลแขวงตามมาตรา 29 ดังนั้น ผู้พิพากษาที่จะมีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาหลังจาก ได้ตรวจสํานวนคดีในศาลแขวงแห่งนั้นคือนายวิโรจน์ซึ่งเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตามมาตรา 29 (3) แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายวิโรจน์จะพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยมีกําหนด 1 ปีเท่าเดิม ซึ่งเป็น การลงโทษจําคุกเกินกว่า 6 เดือน จึงถือว่าเป็นเรื่องเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 31 (2) ดังนั้น จึงต้องให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคหรือรองอธิบดีผู้พิพากษาภาคเท่านั้นลงลายมือชื่อเป็นองค์คณะทําคําพิพากษา ตามมาตรา 29 (3) จะนําสํานวนไปมอบหมายให้นายวิรุฬผู้พิพากษาศาลแขวงเป็นผู้จัดทําคําพิพากษาขึ้นมาใหม่ โดยมีนายวิโรจน์ลงชื่อเป็นองค์คณะไม่ได้
สรุป
คําพิพากษาที่นายวิรุฬผู้พิพากษาศาลแขวงเป็นผู้จัดทําคําพิพากษาขึ้นมาใหม่ โดยมี นายวิโรจน์ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงลงชื่อเป็นองค์คณะนั้นไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม