การสอบซ่อมภาค 1 ปีการศึกษา 2551
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3001 กฎหมายอาญา 3
คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 4 ข้อ
วินิจฉัย
เอ๋ไม่มีความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา (มาตรา 288) เพราะทั้ง 2 คน ต่างสมัครใจฆ่าตนเอง ต่างก็ยกเครื่องดื่มดื่มเอง โดยเอ๋ไม่ได้บังคับโดยจับอ้นกรอกยาพิษแต่อย่างใด เอ๋จึงไม่มีความผิด
ข้อ 2. นายเพชรสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ให้แก่นายสว่าง 50,000 บาท ต่อมานายสว่างได้สลักหลังโอนเช็คฉบับนั้นเพื่อชำระค่าสินค้าให้แก่นางพลอย เมื่อถึงกำหนดวันที่ลงในเช็คนางพลอยได้นำเช็คไปขึ้นเงิน แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของนายเพชรไม่พอจ่าย นายสว่างจึงจ่ายเงินตามเช็คให้แก่นางพลอยและขอรับเช็คคืน หลังจากนั้นนายสว่างได้เรียกให้นายเพชรจ่ายเงินคืนให้ตามจำนวนที่ระบุในเช็คแต่นายเพชรก็บ่ายเบี่ยงเรื่อยมา วันหนึ่งนายสว่างได้ลักพาตัวเด็กชายก้องบุตรของนายเพชรไปขังไว้ ณ ที่แห่งหนึ่งและขู่เข็ญให้นายเพชรจ่ายเงินตามเช็คให้ โดยขู่ว่าถ้าไม่ยอมจะทำร้ายเด็กชายก้อง ในที่สุดนายเพชรก็พาเจ้าพนักงานตำรวจไปช่วยพาเอาตัวเด็กชายก้องออกมาได้โดยปลอดภัย ส่วนนายสว่างก็ถูกดำเนินคดีในข้อหาเอาตัวเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าการกระทำของนายสว่างจะเป็นความผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ
หลักกฎหมาย มาตรา 313
การที่นายสว่างเรียกเอาเงินตามจำนวนที่ระบุในเช็คจากนายเพชรเป็นการเรียกเอาเงินซึ่งนายสว่างมีสิทธิจะได้เงินดังกล่าว จึงไม่ถือว่าเป็นค่าไถ่ตามกฎหมาย ดังนั้นการกระทำของนายสว่างจึงไม่เป็นความผิดฐานเรียกค่าไถ่ตามมาตรา 313
ข้อ 3 จำเลยเป็นลูกจ้างธนาคารแห่งหนึ่งตำแหน่งธนากรมีหน้าที่รับฝากและถอนเงินให้ลูกค้า วันเกิดเหตุจำเลยใช้ใบถอนเงินปลอมถอนเงินจากบัญชีของนาย ก. จำนวน 100,000 บาท จากนั้นนำเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตน ดังนี้ จำเลยมีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 บัญญัติว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยสุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์”
มาตรา 335 บัญญัติว่า “ผู้ใดลักทรัพย์
(11) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง”
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่จำเลยใช้ใบถอนเงินปลอมถอนเงินจากบัญชีของนาย ก. จำนวน 100,000 บาท จากนั้นนำเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของนายจ้าง ตามมาตรา 335 (11) เพราะเงินที่ลูกค้านำมาฝากเข้าบัญชีไว้กับธนาคารถือได้ว่าเงินอยู่ในความครอบครองของธนาคาร ไม่ได้อยู่ในความครอบครองของจำเลย เมื่อจำเลยเอาทรัพย์ไปจากการครอบครองของผู้อื่นจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ (ฎีกาที่ 1104/2545)
สรุป จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ของนายจ้างตามมาตรา 335 (11)
ข้อ 4 นายหนึ่งจัดงานเลี้ยงที่บ้าน เพื่อนของนายหนึ่งมาร่วมงานหลายคนรวมทั้งนายสองปรากฏว่ามีคนลืมกระเป๋าสตางค์ไว้ที่ห้องรับแขก นายหนึ่งเข้าใจว่าเป็นของนายสองจึงถามนายสองว่ากระเป๋าสตางค์ใบนี้เป็นของนายสองใช่หรือไม่ นายสองพยักหน้า นายหนึ่งจึงมอบกระเป๋าสตางค์ให้แก่นายสองไป โดยที่ความจริงกระเป๋าสตางค์นั้นไม่ใช่ของนายสอง ดังนี้ นายสองมีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 บัญญัติว่า “ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง”
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่มีคนลืมกระเป๋าสตางค์ไว้ที่ห้องรับแขก นายหนึ่งเข้าใจว่าเป็นของนายสองจึงถามนายสองว่า กระเป๋าสตางค์ใบนี้เป็นของนายสองใช่หรือไม่ นายสองพยักหน้า นายหนึ่งจึงมอบกระเป๋าสตางค์ให้แก่นายสองไป กรณีดังกล่าวการกระทำของนายสองเป็นการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ด้วยการใช้กิริยาท่าทางอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นเหตุให้ได้ไปซึ่งกระเป๋าสตางค์จากนายหนึ่ง การกระทำของนายสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341
สรุป นายสองมีความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341