การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2107 (LAW2007) กฎหมายอาญา 2

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 ผู้กํากับการสถานีตํารวจสั่งให้ ร.ต.อ.บิวกิ้น ทําหน้าที่เก็บรักษาเงินประกันตัวผู้ต้องหาของสถานี ตํารวจ ร.ต.อ.บิวกิ้น นําเงินดังกล่าวไปฝากนายพีพีเพื่อนชายคนสนิทไว้ มิได้นํามาเก็บไว้ในตู้นิรภัยของทางราชการ เวลาผ่านไป 4 เดือน ผู้กํากับการสถานีตํารวจรู้เข้า จึงสั่งให้ ร.ต.อ.บิวกิ้น นําเงิน มาคืนแก่ทางราชการ ร.ต.อ.นิ้วกั้น ก็นําเงินมาคืนจนครบถ้วน ดังนี้ ร.ต.อ.บิวกิ้น มีความผิดเกี่ยวกับการปกครองประการใดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 147 “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการ หรือ รักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์สินนั้นเสีย ต้องระวางโทษ….”

อธิบาย

องค์ประกอบความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ตามมาตรา 147 ประกอบด้วย

1 เป็นเจ้าพนักงาน

2 มีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด

3 เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่น หรือยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย

4 โดยทุจริต

5 โดยเจตนา

“เจ้าพนักงาน” หมายถึง เป็นข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดินประเภทเงินเดือน หรือบุคคลที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้มีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน เจ้าพนักงานที่จะมีความผิดตามมาตรานี้ จะต้องเป็นเจ้าพนักงานซึ่งมีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการ หรือ รักษาทรัพย์ หากเจ้าพนักงานผู้นั้นไม่มีหน้าที่ดังกล่าวย่อมไม่เป็นความผิด ตามมาตรา 147

“หน้าที่ซื้อ” เช่น มีหน้าที่ซื้อพัสดุหรือเครื่องพิมพ์ดีดมาใช้ในสํานักงาน

“หน้าที่ทํา” เช่น มีหน้าที่ประดิษฐ์เครื่องใช้เครื่องยนต์ขึ้นใหม่ หรือมีหน้าที่ซ่อมแซม แก้ไข เครื่องใช้เครื่องยนต์ที่ชํารุดให้ดีขึ้น

“หน้าที่จัดการ” เช่น หน้าที่ในการจัดการโรงงาน จัดการคลังสินค้า เป็นต้น

“หน้าที่รักษา” เช่น เป็นเจ้าหน้าที่การเงินก็ย่อมต้องดูแลรักษาเงินที่ได้รับมานั้นด้วย

“เบียดบัง” หมายความว่า การเอาเป็นของตน หรือแสดงให้ปรากฏว่าตนเป็นเจ้าของทรัพย์นั้น ตัวอย่างเช่น เอาทรัพย์นั้นไปใช้อย่างเจ้าของ หรือจําหน่ายทรัพย์นั้นไป

การเบียดบังที่จะเป็นความผิดตามมาตรานี้จะต้องเป็นการเบียดบังทรัพย์ ถ้าเบียดบังเอาอย่างอื่น เช่น แรงงาน กรณีนี้ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 147 ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นก็ตาม และเป็นความผิดสําเร็จเมื่อเบียดบังเอาทรัพย์ไปแม้จะนํามาคืนในภายหลัง ก็ยังคงมีความผิด

อย่างไรก็ดีไม่ว่าจะเป็นการเบียดบังทรัพย์ หรือยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้น ผู้กระทําจะต้องกระทําโดยมีเจตนาตามมาตรา 59 และต้องมีเจตนาพิเศษ คือ โดยทุจริต เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วย กฎหมายสําหรับตนเองหรือผู้อื่น ถ้าผู้กระทําขาดเจตนาโดยทุจริตแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ ร.ต.อ.บิวกิ้น ซึ่งได้รับคําสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ทําหน้าที่เก็บรักษา เงินประกันตัวผู้ต้องหาของสถานีตํารวจได้นําเงินดังกล่าวไปฝากนายพีพีเพื่อนชายคนสนิท มิได้นํามาเก็บไว้ใน ตู้นิรภัยของทางราชการนั้น เมื่อ ร.ต.อ.บิวกิ้น เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่รักษาทรัพย์แล้วเอาทรัพย์ (เงินประกัน ตัวผู้ต้องหา) นั้นไป พฤติการณ์แสดงว่า ร.ต.อ.บิวกิ้น มีเจตนาทุจริตเบียดบังเงินนั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นแล้ว แม้ต่อมาในภายหลัง ร.ต.อ.บิวกิ้น จะได้นําเงินมาคืนแก่ทางราชการจนครบ การกระทําของ ร.ต.อ.บิวกิ้น ก็เป็น การกระทําที่ครบองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 147 ทุกประการ ดังนั้น ร.ต.อ.บิวกิ้น จึงมีความผิดฐาน เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ตามมาตรา 147 (คําพิพากษาฎีกาที่ 473/2527)

สรุป ร.ต.อ.นิ้วกั้น มีความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ตามมาตรา 147

 

ข้อ 2 ก. เห็น ข. ถูกตํารวจจับตัวไปสถานีตํารวจข้อหาขายยาบ้าจึงมาพบ ค. แม่ของ ข. ที่บ้าน บอกให้ทราบเรื่อง ค. ตกใจขอให้ช่วยลูก ก. บอกว่าพอจะช่วยได้ต้องวิ่งตํารวจขอสองหมื่นบาทจะเอาไปให้ร้อยเวรทําสํานวนอ่อนปล่อยลูก ค. พูดว่าขอคิดดูก่อนตอนนี้ไม่มีเงินเลย ก. บอกว่าไม่เป็นไร มีเงิน เมื่อไหร่ค่อยมาให้ก็แล้วกัน ดังนี้ ก. จะมีความผิดอาญาฐานใดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 143 “ผู้ใดเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือ สมาชิกสภาเทศบาล โดยวิธีอันทุจริต หรือผิดกฎหมาย หรือโดยอิทธิพลของตนให้กระทําการหรือไม่กระทําการ ในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

ความผิดฐานเป็นคนกลางเรียกรับสินบนตามมาตรา 143 มีองค์ประกอบความผิดดังนี้

1 เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่น

2 เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล

3 โดยวิธีอันทุจริต หรือผิดกฎหมาย หรือโดยอิทธิพลของตน

4 ให้กระทําการหรือไม่กระทําการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด

5 กระทําโดยเจตนา

“เรียก” หมายถึง การแสดงเจตนาให้บุคคลอื่นส่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดให้ แม้บุคคลนั้นจะยังไม่ได้ส่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดให้ก็ถือเป็นความผิดสําเร็จแล้ว

“รับ” หมายถึง การที่บุคคลอื่นให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้รับ และผู้รับได้รับเอาทรัพย์สิน หรือประโยชน์นั้นไว้แล้ว

“ยอมจะรับ” หมายถึง การที่บุคคลอื่นเสนอจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์แก่ผู้กระทํา และผู้กระทํา ตกลงยอมจะรับในขณะนั้นหรือในอนาคต แต่ยังไม่ได้รับ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ ก. บอก ค. ว่าสามารถช่วย ข. จากข้อหาขายยาบ้าได้โดยการวิ่งตํารวจ และขอเงิน ค. จํานวน 2 หมื่นบาท เพื่อเอาไปให้ร้อยเวรทําสํานวนอ่อนปล่อย ข. นั้น พฤติกรรมของ ก. ดังกล่าว ถือเป็นการเรียกทรัพย์สิน (เงิน 2 หมื่นบาท) จาก ค. แม่ของ ข. แล้ว และการเรียกเงินนี้เป็นการตอบแทนในการที่ ก. จะไปวิ่งเต้นร้อยเวร (ตํารวจ) ให้ทําสํานวนคดีอ่อนปล่อยตัว ข. ซึ่งเป็นวิธีอันทุจริตผิดกฎหมายและได้กระทํา ไปโดยเจตนา การกระทําของ ก. ครบองค์ประกอบความผิดทุกข้อตามหลักกฎหมายข้างต้น ดังนั้น ก. จึงมี ความผิดฐานเป็นคนกลางเรียกรับสินบนตามมาตรา 143

สรุป

ก จะมีความผิดอาญาฐานเป็นคนกลางเรียกรับสินบนตามมาตรา 143

 

ข้อ 3 นายสุดหล่อเช่าซื้อรถยนต์ป้ายแดงมาจากบริษัทออโต้คาร์ โดยสัญญาเช่าซื้อมีกําหนดระยะเวลา 2 ปี หลังจากเช่าซื้อไปได้ 1 เดือน นายสุดหล่อเกิดความไม่พอใจในรถยนต์ จึงใช้น้ำมันเบนซิน ราดไปที่รถยนต์ จากนั้นก็จุดไฟโยนลงไป ปรากฏว่าไฟไหม้รถยนต์ได้รับความเสียหายทั้งคัน ดังนั้น นายสุดหล่อมีความผิดฐานวางเพลิงหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 217 “ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

ความผิดตามมาตรา 217 ดังกล่าว แยกองค์ประกอบความผิดได้ดังนี้

1 วางเพลิงเผา

2 ทรัพย์ของผู้อื่น

3 โดยเจตนา

“วางเพลิงเผา” หมายถึง การกระทําให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้น ไม่ว่าจะกระทําด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม เช่น ใช้ไม้ขีดไฟจุดไฟเผา ใช้เลนส์ส่องทํามุมกับแสงอาทิตย์จนไฟลุกไหม้ขึ้น หรือใช้วัตถุบางอย่างเสียดสีกันเพื่อให้เกิดไฟ เป็นต้น ซึ่งการทําให้เกิดเพลิงไหม้นี้จะไหม้เพียงบางส่วนหรือทั้งหมดก็ถือเป็นความผิดสําเร็จแล้ว

การวางเพลิงเผาทรัพย์จะเป็นความผิดตามมาตรานี้ก็ต่อเมื่อเป็นการวางเพลิงเผา “ทรัพย์ของผู้อื่น”เท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ก็ได้ ดังนั้นถ้าเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของตนเองย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้

นอกจากนี้การวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นต้องกระทํา “โดยเจตนา” คือ มีเจตนาหรือมีความตั้งใจ ที่จะเผาทรัพย์ของผู้อื่น และต้องรู้ด้วยว่าทรัพย์ที่เผานั้นเป็นของผู้อื่น ถ้าหากไม่รู้ก็ถือว่าไม่มีเจตนา เช่น วางเพลิงเผาทรัพย์โดยเข้าใจว่าทรัพย์นั้นเป็นของตนเอง ก็ย่อมไม่มีความผิดตามมาตรานี้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสุดหล่อได้เช่าซื้อรถยนต์ป้ายแดงมาจากบริษัทออโต้คาร์ และเนื่องจากสัญญาเช่าซื้อรถยนต์นั้น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังไม่โอนไปยังผู้เช่าซื้อจนกว่าผู้เช่าซื้อจะชําระราคาครบถ้วน เมื่อนายสุดหล่อยังชําระราคาไม่ครบ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงยังเป็นของบริษัทออโต้คาร์ ซึ่งถือว่าเป็นของผู้อื่น

ดังนั้นการที่นายสุดหล่อใช้น้ำมันเบนซินราดไปที่รถยนต์และจุดไฟโยนลงไป ทําให้ไฟไหม้รถยนต์ได้รับความเสียหาย ทั้งคัน จึงถือว่านายสุดหล่อได้วางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นแล้ว และเมื่อนายสุดหล่อได้กระทําไปโดยมีเจตนาประสงค์ต่อผล นายสุดหล่อจึงมีความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นตามมาตรา 217

สรุป นายสุดหล่อมีความผิดอาญาฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นตามมาตรา 217

 

ข้อ 4 นางสุดสวยเอานามบัตรที่พิมพ์ชื่อของพลตํารวจตรีสุดหล่อมากรอกข้อความว่า “ผู้ถือนามบัตรนี้ เป็นพรรคพวกกันขอให้ช่วยอนุเคราะห์ด้วย” พร้อมลงชื่อพลตํารวจตรีสุดหล่อ เพื่อจะนําไปยื่นต่อ เจ้าหน้าที่ในการติดต่อราชการกับสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ทั้งนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก พลตํารวจตรีสุดหล่อ ดังนี้ นางสุดสวยมีความผิดเกี่ยวกับเอกสารประการใดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงค่าตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 264 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดทําเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอน ข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทําเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสาร ที่แท้จริง ผู้นั้นกระทําความผิดฐานปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานปลอมเอกสารตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย

1 กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

(ก) ทําเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด

(ข) เต็มหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือ

(ค) ประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร

2 โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

3 ได้กระทําเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง

4 โดยเจตนา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสุดสวยเอานามบัตรที่พิมพ์ชื่อของพลตํารวจตรีสุดหล่อมากรอกข้อความ ว่า “ผู้ถือนามบัตรนี้เป็นพรรคพวกกันขอให้ช่วยอนุเคราะห์ด้วย” พร้อมลงชื่อพลตํารวจตรีสุดหล่อนั้น ถือเป็นการทําเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ เพราะข้อความในเอกสารนั้นแสดงว่า พลตํารวจตรีสุดหล่อเป็นผู้เขียน แต่ความจริงแล้ว นางสุดสวยเป็นผู้เขียน จึงเป็นลักษณะของเอกสารปลอม ซึ่งการกระทําของนางสุดสวยเป็นการกระทําที่น่าจะเกิด ความเสียหายแก่พลตํารวจตรีสุดหล่อและเป็นการกระทําโดยเจตนา อีกทั้งการทําเอกสารปลอมนั้นก็เพื่อที่จะนําไป ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ในการติดต่อราชการกับสํานักงานตํารวจแห่งชาติ อันเป็นเจตนาพิเศษเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่า เป็นเอกสารที่แท้จริง การกระทําของนางสุดสวยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง

สรุป การกระทําของนางสุดสวยมีความผิดฐานปลอมเอกสารตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง

Advertisement