การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2106 (LAW 2006) กฎหมายอาญา 1
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ
ข้อ 1 นายเสือต้องการฆ่านายช้าง ขณะที่นายช้างเผลอนายเสือได้แอบใส่ยาพิษชนิดร้ายแรงลงในถ้วย กาแฟของนายช้าง นายช้างดื่มโดยไม่รู้ ต่อมายาพิษออกฤทธิ์ทําให้นายช้างหมดสติ นายเสือเข้าใจ ว่านายข้างถึงแก่ความตายแล้ว จึงเอาร่างของนายช้างไปแขวนคอไว้กับกิ่งไม้ใหญ่หลังบ้านเพื่อ เป็นการอําพรางว่านายช้างฆ่าตัวตาย นายช้างถึงแก่ความตายเพราะถูกแขวนคอ
ดังนี้ อยากทราบว่าความตายของนายช้างเป็นผลที่สัมพันธ์กับการกระทําด้วยเจตนาฆ่าในตอนแรก ของนายเสือหรือไม่ และนายเสื้อต้องรับผิดอย่างไร
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 59 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้ กระทําโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาทหรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา
กระทําโดยเจตนา ได้แก่กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น
ถ้าผู้กระทํามิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทําประสงค์ต่อผล หรือ
ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้นมิได้”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเสือต้องการฆ่านายช้าง ขณะที่นายช้างเผลอนายเสือได้แอบใส่ยาพิษ ชนิดร้ายแรงลงในถ้วยกาแฟของนายช้าง นายช้างดื่มโดยไม่รู้ ต่อมายาพิษออกฤทธิ์ทําให้นายช้างหมดสตินั้น การกระทําของนายเสือในตอนแรกนี้ ถือเป็นการกระทําโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะนายเสือได้กระทํา โดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกัน นายเสือประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น นายเสือจึงต้องรับผิด ในทางอาญาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง
ส่วนการกระทําในตอนหลังของนายเสือที่ได้เอาร่างของนายช้างไปแขวนคอไว้กับกิ่งไม้ใหญ่หลังบ้าน เพื่อเป็นการอําพรางว่านายช้างฆ่าตัวตาย จนนายช้างถึงแก่ความตายเพราะถูกแขวนคอนั้น แม้การกระทําในครั้งหลัง ของนายเสือไม่ถือว่านายเรือมีเจตนาฆ่านายช้าง เพราะเข้าใจว่านายช้างได้ตายไปแล้ว สิ่งที่นายเสือกระทํานั้น นายเสือไม่รู้ว่าได้กระทําต่อผู้อื่น คิดว่ากําลังกระทํากับศพ จึงถือว่านายเสือมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบ ของความผิด จะถือว่านายเสือประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้นมิได้ตามมาตรา 59 วรรคสาม
แต่อย่างไรก็ตาม การที่นายเสือได้เอาร่างของนายช้างไปแขวนไว้กับกิ่งไม้ใหญ่จนนายช้างถึงแก่ ความตายเพราะถูกแขวนคอนั้น ถือเป็นเหตุแทรกแซงอันเกิดจากการกระทําของนายเสือเองและเป็นเหตุแทรกแซง ที่ไม่เกินความคาดหมายซึ่งผู้กระทําความผิดจะกระทําเช่นนั้น ดังนั้น เมื่อเป็นเหตุแทรกแซงที่คาดหมายได้ ผลคือ ความตายของนายช้างจึงมีความสัมพันธ์กับการกระทําด้วยเจตนาฆ่าในตอนแรกของนายเสือ การกระทําโดย เจตนาฆ่าของนายเสือจึงเป็นความผิดสําเร็จ ดังนั้น นายเสือจึงต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
สรุป ความตายของนายช้างเป็นผลที่มีความสัมพันธ์กับการกระทําด้วยเจตนาฆ่าในตอนแรกของ นายเสือ นายเสือจึงต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
ข้อ 2 นายเดชารู้สึกรําคาญนายเดโชที่นั่งดื่มสุราอยู่ที่โต๊ะอาหารข้าง ๆ เพราะเมาสุราพูดจาเอะอะโวยวาย
จึงชักปืนลูกซองออกมาเล็งยิงไปที่ขวดสุราบนโต๊ะอาหารที่นายเดโชนั่งอยู่ ลูกกระสุนปืน ถูกขวดสุราของนายเดโชแตกและกระสุนปืนยังกระจายไปถูกนายเดโชได้รับอันตรายสาหัส นอกจากนี้ลูกกระสุนปืนยังกระจายไปถูกนายเดชชาติที่อุ้มลูกสุนัขของนายเดชชัยที่เดินเข้ามา ในร้านอาหารพอดี เป็นเหตุให้นายเดชชาติถึงแก่ความตาย และลูกสุนัขของนายเดชชัยที่อุ้มมา ตกพื้นตายเช่นกัน นายเดชามีความผิดฐานใดบ้าง
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 59 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา ก็ต่อเมื่อได้กระทําโดย เจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาทหรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา
กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”
มาตรา 60 “ผู้ใดเจตนาที่จะกระทําต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทําเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง โดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทํานั้น แต่ในกรณีที่กฎหมาย บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้น เพราะฐานะของบุคคลหรือเพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทํากับบุคคลที่ได้รับผลร้าย
มิให้นํากฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทําให้หนักขึ้น”
มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดลงมือกระทําความผิดแต่กระทําไปไม่ตลอด หรือกระทําไปตลอดแล้ว แต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทําความผิด”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ นายเดชามีความผิดฐานใดบ้างนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้
1 การที่นายเดชาชักปืนลูกซองออกมาเล็งยิงไปที่ขวดสุราบนโต๊ะอาหารที่นายเดโชนั่งอยู่ ลูกกระสุนปืนถูกขวดสุราของนายเดโชแตกนั้น การกระทําของนายเดชาเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการกระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น การกระทําของนายเดชาจึงเป็นการกระทําโดย เจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง ดังนั้น นายเดชาจึงมีความผิดฐานเจตนาทําให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายตาม มาตรา 358 ประกอบมาตรา 59 วรรคหนึ่ง
2 การกระทําของนายเดชาที่ใช้ปืนลูกซองยิงไปที่ขวดสุราดังกล่าวนั้น นอกจากลูกกระสุนปืน จะถูกขวดสุราของนายเดโชแตกแล้ว ลูกกระสุนปืนยังกระจายไปถูกนายเตโชได้รับอันตรายสาหัสอีกด้วยนั้น กรณีนี้ถือว่า นายเดชาย่อมเล็งเห็นผลของการกระทําของตนอยู่แล้วว่า กระสุนปืนอาจถูกนายเดโชได้ ดังนั้น เมื่อกระสุนปืนที่นายเดชาได้ยิงไปนั้นถูกนายเดโชการกระทําของนายเดชาต่อนายเดโชดังกล่าวจึงเป็นการกระทําโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกัน ผู้กระทําย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น และเมื่อนายเดโชได้รับอันตรายสาหัสไม่ถึงแก่ความตาย การกระทํา ของนายเดชาจึงเป็นการกระทําที่ได้กระทําไปตลอดแล้ว แต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล นายเดชาจึงมีความผิด ฐานพยายามฆ่านายเดโชตามมาตรา 288 และมาตรา 80 ประกอบมาตรา 59 วรรคหนึ่ง
3 การที่นายเดชาได้ใช้ปืนยิงขวดสุราของนายเดโชนั้น นอกจากกระสุนปืนจะถูกนายเดโชแล้ว ลูกกระสุนปืนยังกระจายไปถูกนายเดชชาติที่อุ้มลูกสุนัขของนายเดชชัยที่เดินเข้ามาในร้านอาหารพอดีเป็นเหตุให้ นายเดชชาติถึงแก่ความตายนั้น ถือว่าผลของการกระทําที่เกิดกับนายเดชชาตินั้น เป็นผลที่เกิดขึ้นโดยพลาดไปจึง ต้องถือว่านายเดชาได้กระทําโดยเจตนาต่อนายเดชชาติบุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทํานั้นด้วยตามมาตรา 60 ดังนั้น นายเดชาจึงต้องรับผิดฐานฆ่านายเดชชาติตายโดยเจตนาตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 59 วรรคหนึ่งและมาตรา 60
4 การที่กระสุนปืนที่นายเดชามีเจตนาที่จะยิงไปที่ขวดสุรานั้น นอกจากจะถูกขวดสุราแตก แล้วยังกระจายไปถูกนายเดชชาติที่อุ้มลูกสุนัขของนายเดชชัย ทําให้ลูกสุนัขตกพื้นตายนั้น ผลของการกระทําที่ เกิดกับลูกสุนัขดังกล่าวเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยพลาดไป จึงต้องถือว่านายเดชากระทําโดยเจตนาต่อลูกสุนัขของนาย เดชชัย ซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทํานั้นด้วยตามมาตรา 60 ดังนั้น นายเดชาจึงมีความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ โดยพลาดต่อนายเดชชัยตามมาตรา 358 ประกอบมาตรา 59 วรรคหนึ่ง และมาตรา 60
สรุป นายเดชามีความผิดฐานเจตนาทําให้ทรัพย์ของนายเดโชเสียหายโดยเจตนาประสงค์ต่อผล มีความผิดฐานพยายามฆ่านายเดโชโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผล มีความผิดฐานฆ่านายเดชชาติโดยพลาด และมีความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์โดยพลาดต่อนายเดชชัย
หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 บัญญัติว่า “ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้ เสื่อมค่า หรือทําให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทําความผิดฐานทําให้
เสียทรัพย์…”
ข้อ 3 นายโก๋เห็นนายจอมกําลังยืนคุยอยู่กับนางสาวปุยฝ้ายสาวที่ตนหลงรัก นายโก้โมโหต้องการจะฆ่า นายจอม จึงชักปืนพกขึ้นจ้องเล็งจะยิงนายจอม นายศักดิ์กับนายศรีเห็นเหตุการณ์เกรงว่านายจอม จะถูกยิงตาย นายศักดิ์จึงกระโดดถีบนายจอมเพื่อให้หลบกระสุนปืน นายจอมส้มลงหน้ากระแทกพื้น ได้รับบาดเจ็บ ส่วนนายศรีใช้ปืนยิงถูกข้อมือของนายโก๋ได้รับบาดเจ็บปืนหลุดจากมือ ดังนี้ นายศักดิ์และนายศรี จะต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ อย่างไร
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 59 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดย เจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา
กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”
มาตรา 67 “ผู้ใดกระทําความผิดด้วยความจําเป็น
(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อํานาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ถ้าการกระทํานั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ”
มาตรา 68 “ผู้ใดจําต้องกระทําการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทําพอสมควรแก่เหตุ การกระทํานั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด”
วินิจฉัย
การกระทําที่จะถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งจะมีผลทําให้ผู้กระทําไม่มีความผิด
และไม่ต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 68 ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ คือ
(1) มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
(2) ภยันตรายนั้นเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
(3) ผู้กระทําจําต้องกระทําเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายนั้น (4) ต้องได้กระทําไปพอสมควรแก่เหตุ
กรณีตามอุทาหรณ์ นายศักดิ์และนายศรีจะต้องรับผิดทางอาญาอย่างไร หรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้
กรณีของนายศักดิ์
การที่นายโก๋ได้ชักปืนพกขึ้นต้องเล็งจะยิงนายจอมด้วยเจตนาจะฆ่านายจอม นายศักดิ์ซึ่งเห็น เหตุการณ์เกรงว่านายจอมจะถูกยิงตายจึงได้กระโดดถีบนายจอมเพื่อให้หลบกระสุนปืน จนทําให้นายจอมล้มลงหน้ากระแทกพื้นได้รับบาดเจ็บนั้น ถือว่านายศักดิ์ได้กระทําผิดฐานทําร้ายร่างกายนายจอมโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผลของ การกระทํานั้น ดังนั้นนายศักดิ์จึงต้องรับผิดในทางอาญาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตาม การกระทําของนายศักดิ์เป็นการกระทําเพื่อให้นายจอมพ้นจากภยันตรายที่ ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ และเป็นภยันตรายที่มิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน การกระทําดังกล่าวของนายศักดิ์จึงเป็นการกระทําด้วยความจําเป็นตามมาตรา 67 (2) และเมื่อเป็นการกระทํา ที่พอสมควรแก่เหตุ นายศักดิ์จึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานทําร้ายร่างกายนายจอม และในกรณีดังกล่าว นายศักดิ์ จะอ้างว่าการกระทําของตนเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อให้ตนไม่ต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 68 ไม่ได้ เพราะนายศักดิ์มิได้กระทําต่อนายโก๋ ผู้ก่อภัย
กรณีของนายศรี
การที่นายศรีซึ่งเห็นเหตุการณ์เช่นเดียวกับนายศักดิ์ได้ใช้ปืนยิงถูกข้อมือนายโก๋หักได้รับบาดเจ็บนั้นแม้นายศรีจะได้กระทําโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง และโดยหลักจะต้องรับผิดตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่เมื่อการกระทําของนายศรีนั้น เป็นกรณีที่นายศรีต้องกระทําเพื่อป้องกันสิทธิของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตราย
ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง เมื่อนายศรีได้กระทําไปพอสมควร แก่เหตุ การกระทําของนายศรีจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 68 ดังนั้น นายศรีจึงไม่มีความผิดและไม่ต้องรับโทษ
สรุป นายศักดิ์มีความผิดฐานทําร้ายร่างกายนายจอมแต่ไม่ต้องรับโทษ เพราะเป็นการกระทําผิด ด้วยความจําเป็นตามมาตรา 67 (2) ส่วนนายศรีไม่มีความผิดและไม่ต้องรับโทษเพราะเป็นการกระทําเพื่อป้องกัน โดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 68
ข้อ 4 ประชากับสมเดชร่วมกันวางแผนฆ่าชุมพร โดยตกลงกันให้ประชาไปหลอกชุมพรออกมาจากบ้านมาให้สมเดชยิง อรสาแอบได้ยินประชากับสมเดชวางแผนฆ่าชุมพร และทราบว่าสมเดชไม่มีอาวุธปืน อรสาจึงได้ฝากอาวุธปืนแก่วัลลภมาให้สมเดช โดยสมเดชไม่ทราบว่าเป็นปืนของอรสา ระหว่างที่ ประชาเดินทางไปบ้านชุมพร สมเดชพบชุมพรโดยบังเอิญจึงยิ่งชุมพรตายเสียก่อนที่ประชาจะพบกับชุมพร
ดังนี้ ประชาและอรสาต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ อย่างไร
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 59 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดย เจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา
กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์
ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”
มาตรา 83 “ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทําของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วม กระทําความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น”
มาตรา 86 “ผู้ใดกระทําด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการ ที่ผู้อื่นกระทําความผิดก่อน หรือขณะกระทําความผิด แม้ผู้กระทําความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือ หรือให้ ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทําความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กําหนดไว้ สําหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่สมเดชใช้อาวุธปืนยิงชุมพรตาย ถือว่าเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการที่ กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น การกระทําของสมเดชจึงเป็นการกระทํา โดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง ดังนั้น สมเดชจึงต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง (ในความผิด ฐานฆ่าชุมพรตายโดยเจตนา)
สําหรับประชาและอรสา จะต้องรับผิดทางอาญาในความผิดที่สมเดชยังชุมพรตายอย่างไรหรือไม่
แยกพิจารณาได้ดังนี้
กรณีของประชา
แม้ประชาจะได้ร่วมวางแผนกับสมเดชเพื่อที่จะฆ่าชุมพร แต่ในขณะที่สมเดชใช้ปืนยิงชุมพรถึงแก่ความตายนั้น ประชาไม่ได้อยู่ร่วมด้วย จึงถือว่าประชาขาดเจตนาที่จะร่วมกันกระทําความผิด ดังนั้นประชาจึงไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการตามมาตรา 83
แต่อย่างไรก็ตาม การที่ประชาได้ร่วมกันวางแผนเพื่อฆ่าชุมพร โดยตกลงให้ประชาไปหลอกชุมพร ออกมาจากบ้านเพื่อให้สมเดชยิ่งนั้น ถือเป็นการกระทําอันเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่น กระทําความผิด ดังนั้นประชาจึงต้องรับผิดทางอาญาฐานเป็นผู้สนับสนุนตามมาตรา 86
กรณีของอรสา
การที่อรสาแอบได้ยินประชากับสมเดชวางแผนฆ่าชุมพร และทราบว่าสมเดชไม่มีอาวุธปืนจึงได้ฝากอาวุธปืนแก่วัลลภเพื่อนํามาให้สมเดชนั้น แม้สมเดชจะไม่ทราบว่าเป็นปืนของอรสาก็ตาม การกระทําของอรสา ถือเป็นการกระทําอันเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทําความผิด ดังนั้นอรสาจึงต้อง รับผิดทางอาญาฐานเป็นผู้สนับสนุนตามมาตรา 86
สรุป ประชาและอรสาจะต้องรับผิดทางอาญาฐานเป็นผู้สนับสนุน ตามมาตรา 86