การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1
คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน
หลักเกณฑ์ของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 32 วรรคแรก มีดังนี้คือ
(5) มีเหตุอื่นในทำนองเดียวกันกับ (1) – (4)
2 บุคคลนั้นไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้ เพราะเหตุบกพร่องนั้น หรือจัดทำ การงานได้ แต่จะจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว
1 มีการใช้อุบายหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งด้วยการแสดงข้อความให้ผิดต่อความจริง
2 ได้กระทำโดยจงใจเพื่อหลอกลวงคูกรณีอีกฝ่ายหนึ่งนั้น
3 การใช้อุบายหลอกลวงนั้นจะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว นิติกรรมอันเป็น โมฆียะนั้น คงจะมิได้กระทำขึ้น
ตามปัญหา การที่นายหนึ่งบอกขายรถยนต์ของตนให้กับนายสอง โดยหลอกลวงว่ารถยนต์ คันดังกล่าวสภาพดี ไม่เคยถูกชนหนักมาล่อน ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะรถยนต์คันนี้เคยถูกชนเสียหายหนักมาแล้วนั้น ถือได้ว่านายหนึ่งได้จงใจใช้อุบายหลอกลวงนายสองด้วยการแสดงข้อความให้ผิดต่อความจริงแล้ว และเมื่อการใช้ อุบายหลอกลวงของนายหนึ่งได้ถึงขนาด กล่าวคือทำให้นายสองหลงเชื่อและได้แสดงเจตนาเข้าทำนิติกรรมซื้อรถยนต์กับนายหนึ่ง จึงถือว่านายสองได้แสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลถึงขนาดตามมาตรา 159 วรรค 1 และวรรค 2 แล้ว ดังนั้นการแสดงเจตนาของนายสองดังกล่าวจึงมีผลเป็นโมฆียะ และนายสองสามารถบอกล้างนิติกรรมนั้นได้
สรุป การแสดงเจตนาซื้อรถยนต์ของนายสองมีผลเป็นโมฆียะ เพราะเป็นการแสดงเจตนา เพราะถูกกลฉ้อฉลถึงขนาด และนายสองสามารถบอกล้างนิติกรรมนั้นได้
ข้อ 3 นายส้มทำสัญญาซื้อขายโต๊ะคอมพิวเตอร์จากนายเหลือง จำนวน 500 ตัว ราคาตัวละ 2,500 บาท พอถึงวับส่งมอบ นายเหลืองได้ทำการส่งมอบโต๊ะคอมพิวเตอร์ จำนวน 500 ตัว ปนกับเก้าอี้อีก 500 ตัว ดังนี้ นายส้มต้องรับมอบโต๊ะและเก้าอี้จากนายเหลืองหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 465 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับหน้าที่และความ รับผิดของผู้ขายในกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์น้อยกว่าหรือมากกว่าที่ได้สัญญาไว้ หรือ ระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิได้รวมอยู่ในข้อสัญญา ไว้ดังนี้คือ
(1) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินน้อยกว่าที่ได้สัญญาไว้ ผู้ซื้อจะบอกปัดไม่รับเอาทรัพย์สินนั้น ก็ได้ หรือจะรับเอาทรัพย์สินนั้นแล้วใช้ราคาตามส่วนก็ได้
(2) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินมากทว่าที่ได้สัญญาไว้ ผู้ซื้อจะรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้เฉพาะที่ ตกลงไว้ในสัญญาและนอกนั้นบอกปัดเสียก็ได้ หรือจะบอกปัดไม่รับเสียทั้งหมดก็ได้ หรือจะรับเอาไว้ทั้งหมดแล้ว ใช้ราคาตามส่วนก็ได้
(3) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามที่ได้สัญญาไว้ระคนกับทรัพย์สิบอย่างอื่นที่มิได้รวมอยู่ใน ข้อสัญญา ผู้ซื้อจะรับเอาไว้เฉพาะทรัพย์สินตามสัญญาและนอกนั้นบอกปัดเสียก็ได้ หรือจะบอกปัดไม่รับเสีย ทั้งหมดก็ได้
ตามปัญหา การที่นายส้มได้ทำสัญญาซื้อขายโต๊ะคอมพิวเตอร์จากนายเหลืองจำนวน 500 ตัวนั้น ถือว่าเป็นการตกลงซื้อขายสังหาริมทรัพย์ เมื่อนายเหลืองได้ทำการส่งมอบโต๊ะคอมพิวเตอร์จำนวน 500 ตัวปนกับ เก้าอี้อีก 500 ตัว ย่อมถือว่าเป็นกรณีที่ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามที่ได้สัญญาไว้ระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิได้รวมอยู่ในข้อสัญญาตามหลักกฎหมายข้อ (3) ดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นนายส้มผู้ซื้อจึงมสิทธิตามกฎหมายที่จะรับมอบ เอาไว้เฉพาะโต๊ะคอมพิวเตอร์จำนวน 500 ตัว ซึ่งเป็นทรัพย์สินตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา และบอกปัดไม่รับมอบเก้าอี้ 500 ตัว ซึ่งเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา หรืออาจจะปฏิเสธไม่ยอมรับมอบทั้งโต๊ะคอมพิวเตอร์ และเก้าอี้ก็ได้
สรุป นายส้มมีสิทธิรับมอบเฉพาะโต๊ะคอมพิวเตอร์และบอกปัดไม่รับมอบเก้าอี้ได้ หรืออาจจะ บอกปัดไม่รับมอบทั้งโต๊ะคอมพิวเตอร์และเก้าอี้ก็ได้
ข้อ 4 อาทิตย์ได้รับตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อจากการสลักหลังลอย อาทิตย์ในฐานะผู้ทรงจะมีสิทธิโอนตั๋วแลกเงินต่อไปให้แก่ผู้อื่นได้โดยวิธีใดบ้าง จงอธิบายหลักกฎหมายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ธงคำตอบ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 920 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า
“ในกรณีที่มีการสลักหลังลอย ผู้ทรงที่ได้รับตั๋วแลกเงินมาจากการสลักหลังลอย ย่อมมิสิทธิที่ จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ได้ กล่าวคือ
1 กรอกความลงในที่ว่างด้วยเขียนชื่อของตนเองหรือชื่อบุคคลอื่นผู้ใดผู้หนึ่ง
2 สลักหลังตั๋วเงินต่อไปอีกเป็นสลักหลังลอย หรือสลักหลังให้แก่บุคคลอื่นผู้ใดผู้หนึ่ง
3 โอนตั๋วเงินนั้นให้ไปแก่บุคคลภายนอกโดยไม่กรอกความลงในที่ว่าง และไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใด ”
ตามปัญหา การที่อาทิตย์ในฐานะผู้ทรงได้รับตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อมาจากการสลักหลังลอยนั้น หมายถึงกรณีที่ผู้ลั่งจ่ายได้ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้ผู้จ่ายจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงินโดยมีการระบุชื่อของผู้รับเงินไว้ และต่อมาผู้รับเงินได้สลักหลังและส่งมอบตั๋วเงินนั้นให้แก่อาทิตย์โดยการสลักหลังนั้นเป็นเพียงการสลักหลังลอย กล่าวคือ ผู้รับเงิน (หรือผู้ทรงคนก่อน) ได้ลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังของตั๋วเงินนั้น โดยไม่ได้ระบุชื่อของอาทิตย์ (ผู้รับสลักหลัง) ไว้แต่อย่างใดนั่นเอง
ดังนั้น อาทิตย์ย่อมมีสิทธิตามมาตรา 920 ดังนี้ คือ
1 เขียนชื่อของอาทิตย์ลงในที่ว่าง (ซึ่งจะทำให้การสลักหลังลอยตอนแรกกลายเป็น สลักหลังเฉพาะ) และถ้าอาทิตย์จะโอนตั๋วเงินนั้นต่อไปให้แก่จันทร์ อาทิตย์ก็จะต้องโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบตั๋วเงินนั้นให้แก่จันทร์
หรือถ้าอาทิตย์จะโอนตั๋วเงินนั้นให้แก่จันทร์ อาทิตย์อาจเขียนชื่อจันทร์ลงในที่ว่างแล้ว ส่งมอบตั๋วเงินนั้นให้แก่จันทร์ก็ได้
2 สลักหลังตั๋วเงินนั้นต่อไปอีก โดยการสลักหลังลอยหรือสลักหลังเฉพาะก็ได้
เช่น ถ้าอาทิตย์จะโอนตั๋วเงินนั้นต่อไปให้แก่จันทร์ อาทิตย์ก็จะสลักหลังและส่งมอบ ตั๋วเงินนั้นให้แก่จันทร์ โดยการสลักหลังนั้นอาจจะเป็นการสลักหลังลอย คือลงแต่ลายมือชื่อของอาทิตย์ไว้ที่ด้านหลังของตั๋วเงินนั้นโดยไม่ระบุชื่อชองจันทร์ไว้ หรืออาจเป็นการสลักหลังเฉพาะ คือการระบุชื่อของจันทร์ผู้รับโอน ไว้ด้วยก็ได้
3 โอนตั๋วเงินนั้นต่อไปโดยไม่กรอกความลงในที่ว่างและไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใดเลย
เช่น ถ้าอาทิตย์จะโอนตั๋วเงินนั้นให้แก่จันทร์ต่อไป อาทิตย์ก็สามารถโอนได้โดยการส่งมอบ ตั๋วเงินนั้นให้แก่จันทร์ โดยไม่ปฏิบัติตาม 1 หรือ 2 ใด ๆ เลยก็ได้
สรุป เมื่ออาทิตย์ได้รับตั๋วแลกเงินระบุชื่อจากการสลักหลังลอย อาทิตย์ในฐานะผู้ทรงย่อม มีสิทธิโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปให้แก่ผู้อื่นโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 920 ดังที่อธิบายไว้ ดังกล่าวข้างต้น