การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2551

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015  กฎหมายธุรกิจ 1

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ ข้อละ 25 คะแนน
ข้อ1 จงอธิบายหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญมาโดยละเอียด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งให้บุคคลใด เป็นคนสาบสูญไว้ดังนี้คือ

1.         บุคคลนั้นได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือไม่ ตลอดระยะเวลา 5 ปี ในกรณีธรรมดา หรือ 2 ปี ในกรณีพิเศษ
ในกรณีธรรมดา การนับระยะเวลา 5 ปี ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่บุคคลนั้นได้หายไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือวันที่มีผู้พบเห็นหรือวันที่ได้รับข่าวคราวของบุคคลนั้นเป็นครั้งสุดท้ายแล้วแต่กรณี

ในกรณีพิเศษ การนับระยะเวลา 2 ปี ให้เริ่มนับดังนี้ คือ

1)         ให้เริ่มนับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นได้ไปอยู่ในการรบ หรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว

2)         ให้เริ่มนับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลาย หรือ สูญหายไป
3)         ให้เริ่มนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ไน 1) หรือ 2) ได้ฝาน พ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น

2.         ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาล เพื่อสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ

 

ข้อ 2. นาย ก. สมรู้กับนาย ข. แสดงเจตนากันหลอก ๆ ว่า นาย ก. ขายรถยนต์คันหนึ่งของตนให้แก่ นาย ข. ในราคาสามแสนบาท โดยนาย ก. ได้ส่งมอบรถยนต์คันนั้นให้แก่นาย ข. แต่มีได้ มีการชำระราคากันแต่อย่างไร

ดังนี้ สัญญาซื้อขายระหว่างนาย ก. และนาย ข. มีผลอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคแรก ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการแสดง

เจตนาลวงไว้ว่า

“การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคล ภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้”

การแสดงเจตนาลวงตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงการที่คู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะทำนิติกรรม ให้มีผลบังคับกันตามกฎหมาย แต่ได้แสดงเจตนาหรือทำนิติกรรมขึ้นมาเพื่อหลอกลวงบุคคลอื่นเท่านั้น กฎหมาย จึงได้กำหนดให้นิติกรรมดังกล่าว เป็นโมฆะใช้บังคับกันไม่ได้

ตามปัญหา การที่นาย ก. ได้สมรู้กับนาย ข. แสดงเจตนากันหลอก ๆ ว่า ได้ทำนิติกรรมชื้อ ขายรถยนต์กัน โดยนาย ก. ได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่นาย ข. แต่นาย ข. มิได้มีการชำระราคาให้แก่นาย ก. แต่ อย่างใดนั้น ถือว่านิติกรรมในรูปของสัญญาชื้อขายดังกล่าว มีผลเป็นโมฆะเพราะเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดง เจตนาลวงของคู่กรณี คือ นาย ก. และ นาย ข.

สรุป สัญญาชื้อขายรถยนต์ระหว่างนาย ก. และนาย ข. มีผลเป็นโมฆะ เพราะเป็นนิติกรรม ที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง

 

ข้อ 3  นายหนึ่งเห็นว่านายดำได้ซื้อนาฬิกาข้อมือเรือนใหม่มาสองเรือน ตัวเรือนสีแดงและสีเขียว นายหนึ่ง อยากได้นาฬิกาของนายดำสักเรือน จึงแจ้งแก่นายดำว่า นายหนึ่งขอซื้อนาฬิกาจากนายดำสักเรือน นายดำตกลงขายเรือนสีเขียวในราคาเรือนละ 5,000 บาท แต่นายหนึ่งไม่ได้นำเงินสดติดตัวมา จึงตกลงขอชำระราคาค่านาฬิกาโดยใช้โทรศัพท์มือถือซึ่งนายหนึ่งเพิ่งซื้อมาชำระแทน นายดำตกลง เช่นนี้นักศึกษาจงพิจารณาว่าสัญญาดังกล่าวนี้เป็นสัญญาซื้อขายหรือไม่ และเป็นสัญญาซื้อขาย ประเภทใด เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453 ปัญญัติว่า

“อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้ แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว กรณีที่จะเป็นสัญญาซื้อขายนั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่

1.         จะต้องเป็นสัญญาซึ่งประกอบด้วยบุคคลสองฝ่าย ได้แก่ ผู้ขายและผู้ซื้อ

2.         ผู้ขายมีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ

3.         ผู้ซื้อตกลงที่จะใช้ราคาทรัพย์สินซึ่งเป็นเงินตราให้แก่ผู้ขาย

ตามปัญหา การที่นายหนึ่งได้ขอซื้อนาฬิกาหนึ่งเรือนจากนายดำ และนายดำได้ตกลงขายให้ในราคา 5,000 บาท แต่นายหนึ่งได้ชำระราคาค่านาฬิกาให้แก่นายดำโดยใช้โทรศัพท์มือถือชำระแทน ซึ่งนายดำ ตกลง ดังนี้สัญญาที่นายหนึ่งได้ทำกับนายดำนั้น แม้ทั้งสองจะได้ตกลงทำกันเป็นสัญญาซื้อขาย แต่เมื่อพิจารณา หลักเกณฑ์ของสัญญาซื้อขายดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะเห็นว่าสัญญาระหว่างนายหนึ่งกับนายดำนั้นมิใช่สัญญาชื้อขาย เพราะนายหนึ่งผู้ซื้อไม่ได้ชำระราคาที่เป็นเงินตราให้แก่ผู้ขาย แต่เป็นกรณีที่คู่สัญญาต่างฝ่ายต่างโอนกรรมสิทธิ์ แห่งทรัพย์สินให้แก่กัน ซึ่งตามกฎหมายถือว่าเป็นสัญญาแลกเปลี่ยนมิใช่สัญญาซื้อขาย และเมื่อไม่ใช่สัญญาซื้อขาย จึงไม่ต้องพิจารณาว่าเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด

สรุป สัญญาที่ทำกันขึ้นระหว่างนายหนึ่งและนายดำไม่เป็นสัญญาซื้อขาย

 

ข้อ 4. แดงได้รับโอนตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่งมาอย่างถูกต้อง มีความประสงค์จะโอนตั๋วฯ นี้ให้เหลือง แต่แดง ไม่รู้วิธีโอนตั๋ว จึงมาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คำแนะนำวิธีโอนตั๋วฯ แก่แดงอย่างไรบ้าง จงอธิบาย หลักกฎหมาย พอสังเขป

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงินได้บัญญัติถึงวิธีโอนตัวแลกเงินไว้ดังนี้ คือ

1.         ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมโอนให้กันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ (มาตรา 917 วรรค 1)

2.         ตั๋วแลกเงินสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ย่อมโอนกันได้ด้วยการส่งมอบให้แก่กัน (มาตรา 918)

3.         การสลักหลังต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินและลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง โดยจะระบุชื่อของ ผู้รับสลักหลังด้วย หรือเพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้สลักหลังไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินซึ่งเรียกว่า การสลักหลัง ลอยก็ได้ (มาตรา 919)

4.         ในกรณีที่มีการสลักหลังลอย ผู้ทรงที่ได้รับตั๋วเงินจากการสลักหลังลอยจะโอนตัวเงินนั้น

ต่อไปโดยการสลักหลังและส่งมอบหรืออาจจะโอนตั๋วเงินนั้นโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องสลักหลังก็ได้ (มาตรา 920 วรรค 2)

กรณีดังกล่าว ถ้าแดงมีความประสงค์จะโอนตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่เหลือง และมาปรึกษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้คำแนะนำวิธีการโอนตั๋วฯ แก่แดง ดังนี้ คือ

กรณีที่ 1 ถ้าตั๋วแลกเงินที่แดงให้รับมาเป็นตั๋วแลกเงินชนิดให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ แดงสามารถที่จะโอนตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่เหลืองโดยการส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่เหลือง โดยไม่ต้องสลักหลังใด ๆ ทั้งสิ้น (มาตรา 918)

กรณีที่ 2 ถ้าตั๋วแลกเงินที่แดงได้รับมาเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ การที่แดงจะโอนตั๋ว ชนิดนี้ให้แก่เหลือง แดงจะต้องสลักหลังและส่งมอบตั๋วเงินนั้นให้แก่เหลือง ซึ่งการสลักหลังนั้น อาจจะเป็น การสลักหลังระบุชื่อเหลืองผู้รับโอน หรืออาจจะเป็นการสลักหลังลอยคือไม่ระบุชื่อเหลืองผู้รับโอนก็ได้ (มาตรา 917 วรรค 1 และมาตรา 919)

แต่ถ้าตั๋วแลกเงินที่แดงได้รับมานั้น มีการสลักหลังลอยให้แก่แดง ดังนี้ถ้าแดงจะโอนตั๋วเงินนั้น ให้แก่เหลืองต่อไป แดงอาจจะโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบตามวิธีการดังกล่าวข้างต้น หรืออาจจะโอนโดยการส่งมอบตั๋วเงินนั้นให้แก่เหลืองโดยไม่ต้องสลักหลังก็ได้ (มาตรา 920 วรรค 2)

Advertisement