การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2549

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. ผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะได้ในกรณีใดบ้าง จงอธิบาย
ธงคำตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กำหนดเหตุที่จะทำให้ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะไว้ 2 กรณีดังต่อไปนี้ คือ

1.         บรรลุนิติภาวะโดยอายุ            กล่าวคือ เมื่อบุคคลใดมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมบรรลุนิติภาวะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”
2.         บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส กล่าวคือ ผู้เยาว์อาจจะบรรลุนิติภาวะได้ ถ้าหากชายและหญิง ได้จดทะเบียนสมรสกัน ในขณะที่ชายและหญิงนั้นมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรืออาจมีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ก็ได้ ถ้าหากได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 20 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้เยาว์ย่อม บรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448” และในมาตรา 1448 ก็ได้ บัญญัติไว้ว่า “การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้”

 

ข้อ 2. นาย ก. และนาย ข. ได้ตกลงจะแลกเปลี่ยนที่ดินกัน จึงได้ไปแสดงความจำนงต่อเจ้าพนักงาน แต่เจ้าพนักงานบอกว่าไม่สะดวก ให้ทำเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งกันและกันเพื่อสะดวกในการโอน นาย ก. และ นาย ข. จึงได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายกันไว้ แต่มิได้มีการชำระราคาที่ดินกันแต่อย่างไร

ดังนั้น ในระหว่างนาย ก. และนาย ข. ต้องนำนิติกรรมลักษณะใดมาใช้บังคับจึงจะชอบด้วย กฎหมายลักษณะนิติกรรมอำพราง

ธงคำตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรค 2 บัญญัติว่า

“ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น ให้นำบทบัญญัติของ กฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางมาใช้บังคับ”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว ในเรื่องนิติกรรมอำพรางนั้น จะมีการทำนิติกรรมขึ้น 2 ลักษณะคือ

1.         นิติกรรมที่คู่กรณีได้ทำขึ้น และต้องการให้มีผลผูกพันบังคับกันตามกฎหมาย แต่ได้ ปกปิดหรืออำพรางไว้ ซึ่งถือว่าเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพราง

2.         นิติกรรมที่คู่กรณีได้ทำขึ้น แต่ไม่ต้องการให้มีผลผูกพันบังคับกัน เป็นเพียงนิติกรรม ที่ทำขึ้นมาโดยเจตนาเพื่อลวงบุคคลอื่น หรือเพื่อที่จะอำพรางนิติกรรมอันแรก ซึ่งนิติกรรมอันนี้ถือว่าเป็นเพียง นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง ตามกฎหมายถือว่าเป็นโมฆะ ในระหว่างคู่กรณีให้บังคับกันด้วยนิติกรรม ที่ถูกอำพราง

ตามปัญหา การที่นาย ก. และนาย ข. ตกลงที่จะแลกเปลี่ยนที่ดินกัน แต่ได้ไปทำเป็นสัญญา ซื้อขายที่ดินกันนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินถือว่าเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง จึงตกเป็นโมฆะ ใน ระหว่างคู่กรณีคือ นาย ก. และนาย ข. จึงต้องบังคับกันตามสัญญาแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพราง และเป็นนิติกรรมที่แท้จริงที่คู่กรณีต้องการให้เกิดผลบังคับกัน

สรุป ในระหว่างนาย ก. และนาย ข. จะต้องนำนิติกรรมในลักษณะสัญญาแลกเปลี่ยนมาใช้ บังคับกันจึงจะชอบด้วยกฎหมายลักษณะนิติกรรมอำพราง

 

ข้อ 3. พิมพ์อรไปซื้ออาหารที่ตลาด เห็นร้านขายเป็ดย่างของนิดมีเป็ดย่างแขวนอยู่ 4 ตัว ปิดป้ายราคา เป็ดย่างไว้ว่าราคาตัวละ 150 บาท พิมพ์อรเลือกเป็ดย่างตัวที่อ้วนที่สุด นิดนำเป็ดย่างตัวที่พิมพ์อรเลือกใส่ถุงเตรียมจะส่งให้ และพิมพ์อรกำลังจะจ่ายเงินให้นิด ทันใดนั้นมีสุนัขจรจัดกระโดดงับ เป็ดย่างตัวดังกล่าว แล้ววิ่งหนีไปอย่างรวดเร็ว นิดวิ่งตามแต่ไม่ทัน ดังนี้ พิมพ์อรยังคงต้องชำระ ราดาค่าเป็ดย่างให้กับนิดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขายได้บัญญัติหลักในเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไว้ดังนี้

1)         กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันย่อมโอนไปเป็นของผู้ซื้อนับตั้งแต่ที่ได้ทำ สัญญาวื้อขายกัน (ป.พ.พ. มาตรา 458)

2)         ในการซื้อขายทรัพย์สินที่ยังไม่ได้กำหนดลงไว้เป็นที่แน่นอน กรรมสิทธิ์จะโอนไปยัง ผู้ซื้อก็ต่อเมื่อได้มีการหมายหรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก หรือทำโดยวิธีอื่นเพื่อ บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นที่แน่นอนแล้ว (ป.พ.พ. มาตรา 46)

ตามปัญหา การที่พิมพ์อรได้ตกลงทำสัญญาซื้อเป็ดย่างของนิด 1 ตัว ราคา 150 บาท แม้ว่า เป็ดย่างที่แขวนไว้จะมี 4 ตัว แต่เมื่อพิมพ์อรได้ตกลงเลือกเป็ดย่างหรือบ่งตัวเป็ดย่างที่จะซื้อเป็นที่แน่นอนแล้ว กรรมสิทธิ์ของเป็ดย่างตัวที่พิมพ์อรได้ตกลงซื้อนั้น ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของพิมพ์อรแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 458 และ 460 และการที่สุนัขได้กระโดดงับเป็ดย่างตัวดังกล่าวหนีไปก็ไม่ใช่ความผิดของนิดแต่อย่างใด ดังนั้น ความเสียหายที่เกิดชื้นย่อมตกเป็นพับแก่พิมพ์อร (ป.พ.พ. มาตรา 370) คือพิมพ์อรต้องเป็นผู้รับบาปเคราะห์ใน ความเสียหายนั้น และจะต้องชำระราคาค่าเป็ดย่างให้กับนิดตามสัญญาซื้อขาย

สรุป พิมพ์อรจะต้องชำระราคาค่าเป็ดย่างให้กับนิด เพราะกรรมสิทธิ์ของเป็ดย่างตัวนั้นได้ตก เป็นของพิมพ์อรแล้ว ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 4. ให้นักศึกษาเลือกทำเพียงข้อเดียว

ก) การเขียนตั๋วให้เป็นตั๋วแลกเงิน มีหลักกฎหมายอย่างไรบ้าง จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

หรือ ข) มาตรา 949 บัญญัติว่า “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1009 บุคคลผู้ใช้เงินในเวลาถึง กำหนด ย่อมเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่ตนจะได้ทำการฉ้อฉลหรือมีความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อนึ่งบุคคลซึ่งกล่าวมานี้ จำต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ได้มีการสลักหลัง ติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของเหล่าผู้สลักหลัง” ท่านเข้าใจว่า อย่างไร จงอธิบายหลักกฎหมาย และยกตัวอย่างประกอบ

ธงคำตอบ

ก) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 909 และมาตรา 910 ได้บัญญัติหลักใน การเขียนตั๋วแลกเงินไว้ดังนี้คือ

ในการเขียนตั๋วแลกเงิน ไม่ว่าจะเป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อผู้รับเงินหรือตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ นั้น ตั๋วแลกเงินจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ผู้เขียนตั๋วแลกเงินจะต้องเขียนให้มีข้อความหรือรายการที่สำคัญ 5 ประการให้ครบถ้วนเสมอ ได้แก่ข้อความดังต่อไปนี้คือ

1.         คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน

2.         คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนที่แน่นอน

3.         ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย

4.         ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ

5.         ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

ถ้าหากผู้เขียนตั๋วแลกเงินไต้เขียนโดยมีข้อความที่สำคัญดังกล่าวอันใดอันหนึ่งขาดตกบกพร่องไป เอกสารนั้นย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน

ตัวอย่าง นายหนึ่งต้องการออกตั๋วแลกเงินเพื่อชำระหนี้แก่นายสาม 100,000 บาท นายหนึ่ง ก็จะต้องเขียนตั๋วแลกเงินให้มีข้อความที่สำคัญ 5 ประการดังกล่าวข้างต้น โดยนายหนึ่งอาจจะเขียนโดยระบุให้ นายสองจ่ายเงินให้แก่นายสาม (ซึ่งถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อ) หรือนายหนึ่งอาจจะเขียนโดยสั่งให้นายสอง ผู้จ่ายจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือตั๋วแลกเงินก็ได้ (ซึ่งถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ)

ข) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 949 นั้น เป็นเรื่องของการใช้เงินตามตั๋วเงินเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ถึงกำหนด เวลาใช้เงิน ซึ่งถ้าบุคคลที่มีหน้าที่ในการใช้เงินได้ใช้เงินไปถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ก็จะหลุดพ้น จากความรับผิดตามตั๋วเงิน คือ ไม่ต้องรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้นอีกเลย

ตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นั้น สามารถแยกออกไต้ 2 กรณี คือ

1.         ถ้าเป็นกรณีที่ธนาคารเป็นผู้[ชู้เงินตามตั๋ว เช่น ธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็ค เป็นต้น กฎหมายไต้บัญญัติให้ใช้มาตรา 1009 บังคับ จะไม่ใช้มาตรา 949 บังคับ

2.         ถ้าเป็นกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ธนาคารเป็นผู้ใช้เงิน    เช่น ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ดังนี้กฎหมายให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 949 บังคับ

และตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นี้ หมายความว่า บุคคลผู้ใช้เงินตามตั๋วเงินจะหลุดพ้น จากความรับผิดได้นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1.         จะต้องได้ใช้เงินไปเมื่อตั๋วนั้นถึงกำหนดชำระเงินแล้ว

2.         จะต้องเป็นการใช้เงินไปโดยสุจริต กล่าวคือ มิได้ทำการฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง และ

3.         ได้พิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ตั๋วนั้นได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ไม่จำเป็น ต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของบรรดาผู้สลักหลังแต่อย่างใด

ตัวอย่าง ดำออกตั๋วแลกเงินสั่งให้แดงจ่ายเงินให้แก่ขาวจำนวน 100,000 บาท ต่อมาได้มีการ โอนตัวแลกเงินฉบับนี้โดยการสลักหลังและส่งมอบทุกครั้ง จนกระทั่งตั๋วฉบับนี้ได้มาอยู่ในความครอบครองของ เหลืองซึงเป็นผู้ทรง    ดังนั้นแม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าในการสลักหลังครั้งหนึ่งจะเป็นการสลักหลังปลอมก็ตาม

เมื่อตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน เหลืองได้นำตั๋วไปยื่นให้แดงจ่ายเงิน และแดงได้จ่ายเงินให้แก่เหลืองไปแล้วโดยถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ 3 ประการดังกล่าวข้างต้น แดงก็ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วเงินไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 949

Advertisement