การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ
ข้อ 1. จงอธิบายหลักเกณฑ์ของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถมาโดยละเอียด
ธงคําตอบ
หลักเกณฑ์ของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 32 วรรคแรก มีดังนี้คือ
1 บุคคลนั้นจะต้องมีเหตุบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ
(1) กายพิการ
(2) จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(3) ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ
(4) ติดสุรายาเมา
(5) มีเหตุอื่นในทํานองเดียวกันกับ (1) – (4)
2 บุคคลนั้นไม่สามารถจะจัดทําการงานโดยตนเองได้ เพราะเหตุบกพร่องนั้น หรือจัดทํา การงานได้ แต่จะจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว
3 ได้มีบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 28 ได้แก่ คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ หรือพนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาล
4 ศาลได้มีคําสั่งแสดงว่าบุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
ข้อ 2. เหตุที่ทําให้นิติกรรมตกเป็นโมฆี่ยะได้แกอะไรบ้าง อธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ธงคําตอบ
เหตุที่ทําให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ ได้แก่
1 ผู้แสดงเจตนาทํานิติกรรมเป็นผู้หย่อนความสามารถ หรือบุคคลที่กฎหมายได้จํากัดสิทธิ หรือความสามารถในการทํานิติกรรมไว้ ซึ่งได้แก่ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต และคนเสมือนไร้ความสามารถ (ป.พ.พ. มาตรา 153)
ตัวอย่าง นายดําเป็นคนวิกลจริตที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ได้ไปทํานิติกรรม ดังนี้ นิติกรรมที่นายดําได้ไปกระทําขึ้นนั้น ไม่ว่าจะได้ทําในขณะวิกลจริตหรือไม่ หรือผู้อนุบาลจะได้ให้ความยินยอม หรือไม่ยอมตกเป็นโมฆียะ
2 ผู้แสดงเจตนาทํานิติกรรม ได้แสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือ ทรัพย์สิน ซึ่งตามปกติยอมรับว่าเป็นสาระสําคัญ (ป.พ.พ. มาตรา 157)
ตัวอย่าง ก. ต้องการจ้างช่างเขียนซึ่งมีฝีมือในการวาดภาพเหมือน จึงตกลงจ้าง ข. จะ ก. เข้าใจว่าเป็นช่างเขียนที่มีฝีมือในการวาดภาพเหมือน แต่ต่อมาภายหลังการทําสัญญา ก. มาทราบว่า ข. เป็นเป็น ช่างเขียนธรรมดาเท่านั้นไม่มีฝีมือในการวาดภาพเหมือนเลย ดังนี้ถือว่า ก. ได้แสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติ ของบุคคลซึ่งตามปกตินับว่าเป็นสาระสําคัญในการทํานิติกรรม นิติกรรมหรือสัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆียะ
3 ผู้แสดงเจตนาทํานิติกรรม ได้แสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลหรือถูกหลอกลวงทําให้ ผู้แสดงเจตนาหลงเชื่อและเข้าใจผิด และยอมแสดงเจตนาทํานิติกรรมด้วย (ป.พ.พ. มาตรา 159)
ตัวอย่าง ก. ต้องการซื้อแจกันลายคราม ข. ได้เอาแจกันธรรมดามาเสนอขายให้ ก. โดยหลอกว่าเป็นแจกันลายคราม จนทําให้ ก. หลงเชื่อ และซื้อแจกันนั้นไว้ ดังนี้ สัญญาซื้อขายแจกันระหว่าง ก. และ ข. ย่อมตกเป็นโมฆียะ
4 ผู้แสดงเจตนาทํานิติกรรมได้แสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ ซึ่งเป็นการข่มขู่ว่าจะก่อให้เกิด ภัยอันใกล้จะถึง และเป็นภัยที่ร้ายแรงถึงขนาดทําให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว (ป.พ.พ. มาตรา 164)
ตัวอย่าง ก. ใช้ปืนข่มขู่ให้ ข. เซ็นสัญญาขายที่ดินแปลงหนึ่งให้แก่ ก. ในราคาถูก ถ้า ข. ไม่ยอมเซ็นสัญญา ก. ก็จะยิง ข. ให้ถึงแก่ความตาย ข. กลัวจึงยอมทําสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ ก. ดังนี้ สัญญา ซื้อขายที่ดินระหว่าง ก. และ ข. ย่อมตกเป็นโมฆียะ
ข้อ 3. นายหล่อทําสัญญาซื้อขายเตียงไม้สักจากนางสวย จํานวน 2 หลัง พอถึงวันส่งมอบเตียง นางสวยนำเตียงไม้สักมาส่งมอบให้นายหล่อตามสัญญา และมีตู้ไม้สักอีก 2 ตู้ปนมาด้วย นายหล่อเห็นว่าตู้ไม้สัก สวยดีจึงรับมอบเตียงไม้สักตามสัญญา และรับมอบตู้ไม้สักนั้นด้วย ดังนี้ นายหล่อสามารถรับมอบเตียงไม้สัก และตู้ไม้สักนั้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 465 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับสิทธิของผู้ซื้อ ตามสัญญาซื้อขาย ในกรณีที่ผู้ขายได้มีการส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์น้อยกว่าหรือมากกว่าที่ได้สัญญาไว้ หรือระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิได้รวมอยู่ในข้อสัญญา ไว้ดังนี้คือ
(1) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินน้อยกว่าที่ได้สัญญาไว้ ผู้ซื้อจะบอกปัดไม่รับเอาทรัพย์สินนั้น ก็ได้ หรือจะรับเอาทรัพย์สินนั้นแล้วใช้ราคาตามส่วนก็ได้
(2) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินมากกว่าที่ได้สัญญาไว้ ผู้ซื้อจะรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้เฉพาะ ที่ตกลงไว้ในสัญญาและนอกนั้นบอกปัดเสียก็ได้ หรือจะบอกปัดไม่รับเสียทั้งหมดก็ได้ หรือจะรับเอาไว้ทั้งหมด แล้วใช้ราคาตามส่วนก็ได้
(3) ถ้าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามที่ได้สัญญาไว้ระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิได้รวมอยู่ใน ข้อสัญญา ผู้ซื้อจะรับเอาไว้เฉพาะทรัพย์สินตามสัญญาและนอกนั้นบอกปัดเสียก็ได้ หรือจะบอกปัดไม่รับเสีย ทั้งหมดก็ได้ แต่จะรับทรัพย์สินที่มิได้ระบุไว้ในสัญญามิได้
กรณีตามปัญหา การที่นายหล่อทําสัญญาซื้อขายเตียงไม้สักจากนางสวยจํานวน 2 หลัง พอถึงวัน ส่งมอบเตียง นางสวยนําเตียงไม้สักมาส่งมอบให้นายหล่อตามสัญญาและมีตู้ไม้สักอีก 2 ตู้ปนมาด้วยนั้น กรณีดังกล่าว ถือได้ว่านางสวยผู้ขายมิได้ปฏิบัติตามสัญญา กล่าวคือได้ส่งมอบทรัพย์สินตามที่ได้สัญญาไว้ระคนปนกับทรัพย์สิน อย่างอื่นที่มิได้รวมอยู่ในข้อสัญญา ดังนั้นนายหล่อผู้ซื้อย่อมมีสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 465 (3) คือ มีสิทธิที่จะรับ เอาไว้เฉพาะเตียงไม้สักจํานวน 2 หลัง ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา และบอกปัดไม่รับมอบตู้ไม้สัก 2 ต้นั้น หรือจะปฏิเสธไม่ยอมรับมอบทั้งเตียงไม้สัก 2 หลัง และตู้ไม้สัก 2 ตู้นั้นทั้งหมดก็ได้ แต่จะรับมอบทั้งเตียงไม้สัก และตู้ไม้สักนั้นไม่ได้
สรุป
นายหล่อจะรับมอบเตียงไม้สัก และตู้ไม้สักทั้งหมดไม่ได้ สามารถรับมอบได้เฉพาะเตียง ไม้สักตามสัญญาเท่านั้น
ข้อ 4. ตัวแลกเงินโอนให้แก่ผู้อื่นได้โดยวิธีใดบ้าง จงอธิบายหลักกฎหมายและยกตัวอย่างประกอบ
ธงคําตอบ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวเงินได้บัญญัติถึงวิธีโอนตั๋วแลกเงินไว้ดังนี้ คือ
1 ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อนั้นย่อมโอนให้กันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ(มาตรา 917 วรรคแรก)
2 ตั๋วแลกเงินสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ย่อมโอนกันได้ด้วยการส่งมอบให้แก่กัน (มาตรา 918)
3 การสลักหลังต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินและลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง โดยจะระบุชื่อของผู้รับสลักหลังด้วย หรือเพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้สลักหลังไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินซึ่งเรียกว่า การสลักหลังลอยก็ได้ (มาตรา 919)
จากหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าตั๋วแลกเงินนั้นสามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้โดยวิธีดังต่อไปนี้
1 ถ้าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ (ผู้รับเงิน) การโอนย่อมสามารถทําได้โดยการ สลักหลังและส่งมอบ (มาตรา 917 วรรคแรก) หมายความว่าตัวแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ (ผู้รับเงิน) นั้น ถ้าจะ มีการโอนต่อไปให้แก่บุคคลอื่น การโอนจะมีผลสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อผู้โอนได้ทําการสลักหลังและ ส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่ผู้รับโอน (จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้)
“การสลักหลัง” คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้โอน) ได้เขียนข้อความและลงลายมือชื่อของตนไว้ ในตั๋วแลกเงิน (หรือใบประจําต่อ) โดยอาจจะเป็นการ “สลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ)” หรืออาจจะเป็นการ “สลักหลังลอย” ก็ได้
(1) การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หมายถึง การสลักหลังที่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับ สลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ในตั๋วแลกเงินด้วย โดยอาจจะทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วก็ได้
(2) การสลักหลังลอย หมายถึง การสลักหลังที่ไม่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ เพียงแต่ผู้สลักหลังได้ลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินเท่านั้น (มาตรา 919 วรรคสอง)
ตัวอย่าง หนึ่งได้ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้สองจ่ายเงินให้แก่สาม โดยระบุชื่อสามเป็นผู้รับเงิน ดังนี้ถ้าสามมีความประสงค์จะโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อไปให้ ก. สามจะต้องลงลายมือชื่อของสามสลักหลังไว้ด้วย โดยสามอาจจะระบุชื่อ ก. ผู้รับสลักหลังลงไว้ในตั๋วด้วยซึ่งเรียกว่า การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หรือสามอาจจะ ลงแต่ลายมือชื่อของสามไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินนั้น โดยไม่ระบุชื่อ ก. ผู้รับสลักหลังไว้ในตัวซึ่งเรียกว่าเป็น การสลักหลังลอยก็ได้
2 ถ้าเป็นตัวแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ การโอนตั๋วชนิดนี้ย่อมสามารถทําได้โดยการ ส่งมอบตั๋วแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องมีการสลักหลังใด ๆ ทั้งสิ้น (มาตรา 918)
ตัวอย่าง หนึ่งออกตั๋วแลกเงินสั่งให้สองจ่ายเงินแก่ผู้ถือ และส่งมอบตั๋วนั้นให้แก่สาม ดังนี้ ถ้าสามมีความประสงค์จะโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ให้แก่ ก. สามสามารถโอนได้โดยการส่งมอบตั๋วให้แก่ ก. โดยที่สาม ไม่ต้องลงลายมือชื่อสลักหลังตั๋ว การโอนตั๋วดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์