การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงอธิบายหลักเกณฑ์ของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

หลักเกณฑ์ของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 32 วรรคหนึ่ง มีดังนี้คือ

1 บุคคลนั้นจะต้องมีเหตุบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

(1) กายพิการ

(2) จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(3) ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ

(4) ติดสุรายาเมา

(5) มีเหตุอื่นในทํานองเดียวกันกับ (1) – (4)

2 บุคคลนั้นไม่สามารถจะจัดทําการงานโดยตนเองได้ เพราะเหตุบกพร่องนั้น หรือจัดทํา การงานได้ แต่จะจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว

3 ได้มีบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 28 ได้แก่ คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ หรือพนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาล

4 ศาลได้มีคําสั่งแสดงว่าบุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

 

ข้อ 2. นายฟ้าต้องการซื้อโทรศัพท์มือถือ ไอโฟน 6s เครื่องใหม่มือหนึ่งจากนายเหลืองจํานวน 1 เครื่อง แต่นายเหลืองกลับนําโทรศัพท์มือสองมาขายให้นายฟ้า โดยบอกนายฟ้าว่าเป็นโทรศัพท์เครื่องใหม่ นายฟ้าจึงตกลงใจซื้อโทรศัพท์จากนายเหลืองเพราะเชื่อใจนายเหลือง ดังนี้ นิติกรรมระหว่างนายฟ้าและนายเหลืองเป็นการแสดงเจตนาอย่างไร และมีผลในทางกฎหมายอย่างไร

ธงคําตอบ

ป.พ.พ. มาตรา 159 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ

การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทําขึ้น”

นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล และจะตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้อง ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้คือ

1 มีการใช้อุบายหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งด้วยการแสดงข้อความให้ผิดต่อความจริง

2 ได้กระทําโดยจงใจเพื่อหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งนั้น

3 การใช้อุบายหลอกลวงนั้นจะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว นิติกรรมอันเป็น โมณียะนั้น คงจะมิได้กระทําขึ้น

ตามปัญหา การที่นายฟ้าต้องการซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่มือหนึ่งจากนายเหลือง 1 เครื่อง แต่นายเหลืองกลับนําโทรศัพท์มือสองมาขายให้นายฟ้า โดยบอกกับนายฟ้าว่าเป็นโทรศัพท์เครื่องใหม่ ทําให้นายฟ้า ตกลงซื้อโทรศัพท์จากนายเหลืองเพราะเชื่อใจนายเหลืองนั้น กรณีดังกล่าวถือว่านายเหลืองได้จงใจใช้อุบายหลอกลวง นายฟ้าด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จแล้ว และเมื่อการใช้อุบายหลอกลวงของนายเหลืองได้ถึงขนาด กล่าวคือทําให้นายฟ้าหลงเชื่อและได้แสดงเจตนาเข้าทํานิติกรรมซื้อโทรศัพท์จากนายเหลือง จึงถือว่า นายฟ้าได้ แสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แล้ว ดังนั้น การแสดงเจตนาของนายฟ้า จึงมีผลเป็นโมฆี่ยะ และนายฟ้าสามารถบอกล้างนิติกรรมนั้นได้

สรุป

นิติกรรมระหว่างนายฟ้าและนายเหลืองเป็นการแสดงเจตนาโดยกลฉ้อฉล และมีผล เป็นโมฆียะ

 

ข้อ 3. นายเมฆต้องการซื้อบ้านทรงไทย 1 หลัง ราคา 5 ล้านบาท ที่นายหมอกปลูกไว้ให้ดูเป็นตัวอย่าง นายหมอกทําการรื้อบ้านทรงไทยหลังดังกล่าว เพื่อนําไปปลูกบนที่ดินของนายเมฆ โดยที่ทั้งสองคน ตกลงกันว่าจะไม่ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้สัญญาซื้อขายบ้านทรงไทย ระหว่างนายเมฆและนายหมอกเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด และมีผลในทางกฎหมายอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่ง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย”

วินิจฉัย

ตามปัญหา การที่นายเมฆได้ซื้อบ้านทรงไทย 1 หลังจากนายหมอก โดยตกลงให้นายหมอก ทําการรื้อบ้านทรงไทยหลังดังกล่าวเพื่อนําไปปลูกบนที่ดินของนายเมฆนั้น ถือว่าเป็นการตกลงซื้อขายทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ และเมื่อทั้งสองได้ตกลงทําสัญญาซื้อขายกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว สัญญาซื้อขายดังกล่าว จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

เมื่อเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันเป็นเพียงสังหาริมทรัพย์ ธรรมดา ดังนั้นแม้ทั้งสองจะได้ตกลงกันว่าจะไม่ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขาย ดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ธรรมดานั้น กฎหมายมิได้กําหนดแบบของการทําสัญญาไว้แต่อย่างใด ดังนั้น สัญญาซื้อขายบ้านทรงไทยระหว่างนายเมฆและ นายหมอก จึงไม่ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง

สรุป

สัญญาซื้อขายบ้านทรงไทยระหว่างนายเมฆและนายหมอกเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

 

ข้อ 4. นางแย้มสั่งจ่ายเช็คธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) จํานวน 100,000 บาท แล้วส่งมอบให้แก่นางเย็นเพื่อเป็นของขวัญวันเกิด โดยหลังจากที่นางเย็นได้รับเช็คฉบับดังกล่าวมาแล้วก็นําไปเก็บไว้ จนหลงลืมมิได้นําไปยื่นให้ธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ใช้เงินตามเช็คให้ จนเวลาล่วงเลยไป หนึ่งปีเศษนับแต่วันที่ที่ลงไว้ในเซ็ค นางเย็นจึงนําเช็คไปยื่นให้ธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ชําระเงินให้ในกรณีนี้หากเงินในบัญชีของนางแย้มที่สั่งจ่ายเช็คไปนั้นยังมีเพียงพอที่จะชําระให้แก่ นางเย็นได้ ธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) จะสามารถปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับดังกล่าว ให้แก่นางเย็นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 991 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการใช้เงินตามเช็ค ของธนาคารไว้ว่า “ธนาคารจําต้องใช้เงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เว้นแต่ในกรณีอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ธนาคารมีสิทธิปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คได้ คือ

(1) ไม่มีเงินในบัญชีของผู้เคยค้าคนนั้นเป็นเจ้าหนี้พอจะจ่ายตามเช็คนั้น หรือ

(2) เช็คนั้นได้ยื่นเพื่อให้ใช้เงินเมื่อพ้นเวลา 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค หรือ

(3) ได้มีคําบอกกล่าวว่าเช็คนั้นหายหรือถูกลักไป”

วินิจฉัย

ตามปัญหา การที่นางแย้มได้สั่งจ่ายเช็คธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) จํานวน 100,000 บาท แล้วส่งมอบให้แก่นางเย็น และนางเย็น ด้นําเช็คไปเก็บไว้จนหลงลืมมิได้นําเช็คไปยื่นให้ธนาคารฯ ใช้เงินตามเช็ค จนเวลาล่วงเลยไปหนึ่งปีเศษนับแต่วันที่ที่ลงไว้ในเช็คนั้น เมื่อต่อมานางเย็นได้นําเช็คไปยืนให้ธนาคารฯ ใช้เงิน ตามเช็ค ย่อมถือว่าเป็นการนําเช็คไปยื่นให้ใช้เงินเมื่อพ้นเวลา 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค (วันที่ที่ลงไว้ในเช็ค) แล้ว ดังนั้น แม้ว่าเงินในบัญชีของนางแย้มผู้สั่งจ่ายเช็คจะยังมีเพียงพอที่จะให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คได้ก็ตาม ธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ก็สามารถที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คให้แก่นางเย็นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 991 (2)

สรุป

ธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) สามารถปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับดังกล่าว ให้แก่นางเย็นได้

Advertisement