การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวเงิน บัญชีเดินสะพัด

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้าน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. (ก) การโอนเช็คนั้นต้องทําอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมายตั๋วเงิน

(ข) เอกลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คธนาคารอ่างทอง ชําระหนี้โทโดยระบุชื่อโทเป็นผู้รับเงิน และได้ขีดฆ่าคําว่า “ หรือผู้ถือ” ออก โทสลักหลังชําระหนี้ตรีระบุชื่อตรีเป็นผู้รับประโยชน์ ต่อมาตรี สลักหลังลอยและส่งมอบเช็คดังกล่าวชําระหนี้ให้แก่จัตวา ต่อมาจัตวาได้นําเช็คไปส่งมอบ ชําระหนี้ให้กับบ้านไร่ เมื่อถึงวันที่ที่ลงในเช็ค บ้านไร่นําเช็คไปเบิกเงินจากธนาคาร แต่ธนาคาร ไม่ยอมจ่ายเงินโดยอ้างว่าบ้านไร่ได้รับโอนเช็คมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า ข้ออ้างของธนาคารอ่างทองถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

(ก) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 99 ได้บัญญัติให้นําวิธีการในการโอนตั๋วแลกเงินตามมาตรา 917 ถึงมาตรา 920 มาใช้กับการโอนเช็คด้วย ดังนั้น ในการโอนเช็คเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายตั๋วเงินจึงต้องปฏิบัติดังนี้ คือ

1 ถ้าเป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ (ผู้รับเงิน) การโอนจะต้องกระทําโดยการสลักหลังและส่งมอบ (มาตรา 917 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง) จะโอนโดยการส่งมอบเพียงอย่างเดียวไม่ได้

“การสลักหลัง” คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้โอน) ได้เขียนข้อความและลงลายมือชื่อของตนไว้ ในเช็ค โดยอาจจะเป็นการสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หรืออาจเป็นการสลักหลังลอยก็ได้ (มาตรา 919 ประกอบ มาตรา 989 วรรคหนึ่ง)

(1) การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หมายถึง การสลักหลังที่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับโอน) ไว้ด้วย โดยอาจจะกระทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังของเซ็คก็ได้

(2) การสลักหลังลอย หมายถึง การสลักหลังที่ไม่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับโอน) ไว้ เพียงแต่ผู้สลักหลังได้ลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังของเช็คเท่านั้น

อนึ่ง ในการสลักหงโอนเช็คนั้น ในกรณีที่เป็นการสลักหลังเฉพาะ (สลักหลังระบุชื่อ) ถ้าผู้ทรง จะโอนเช็คนั้นต่อไปก็สามารถโอนได้แต่จะต้องโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น โดยอาจจะสลักหลังเฉพาะ หรือสลักหลังลอยก็ได้ จะโอนโดยการส่ มอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้

แต่ถ้าในการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้น เป็นการสลักหลังลอย ดังนี้ผู้ทรงซึ่งได้เช็คนั้นมาจากการสลักหลังลอย ย่อมสามารถโอนเช็คนั้นต่อไปได้โดยการสลักหลังและส่งมอบหรืออาจจะโอนเช็คนั้นต่อไปโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวก็ได้ (มาตรา 920 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง)

2 ถ้าเป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ การโอนเช็คชนิดนี้ย่อมสามารถกระทําได้โดยการส่งมอบ แต่เพียงอย่างเดียวไม่ต้องสลักหลัง การโอนก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย (มาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง)

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 917 วรรคหนึ่ง อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

มาตรา 919 “คําสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจําต่อ และต้องลงลายมือชื่อ ผู้สลักหลัง

การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทํา อะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจําต่อ ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน การสลักหลัง เช่นนี้ท่านเรียกว่า “สลักหลังลอย” ”

มาตรา 920 วรรคสอง “ถ้าสลักหลังลอย ผู้ทรงจะปฏิบัติดังกล่าวต่อไปนี้ประการหนึ่งประการใด ก็ได้ คือ

(3) โอนตั๋วเงินนั้นไปให้แก่บุคคลภายนอกโดยไม่กรอกความลงในที่ว่าง และไม่สลักหลังอย่างหนึ่ง อย่างใด”

มาตรา 989 วรรคหนึ่ง “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 910, 914 ถึง 923.”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่เอก ออกเช็คชําระหนี้แก่โท โดยระบุชื่อโทเป็นผู้รับเงินและได้ขีดฆ่าคําว่า หรือผู้ถือออกนั้น ถือว่าเป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ ดังนั้นถ้าจะมีการโอนเช็คฉบับนี้ต่อไป การโอนจะถูกต้องตามกฎหมายก็จะต้องมีการสลักหลังและส่งมอบ โดยอาจจะเป็นการสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หรือสลักหลังลอย ก็ได้ (มาตรา 917 วรรคหนึ่ง และมาตรา 919 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง) ดังนั้นเมื่อโทสลักหลังโดยระบุชื่อ ตรีเป็นผู้รับประโยชน์ และตรีได้สลักหล้ สอยและส่งมอบให้แก่จัตวา การโอนเช็คระหว่างโทกับตรี และระหว่าง ตรีกับจัตวาย่อมเป็นการโอนที่ถูกต้องตามกฎหมาย

และเมื่อเช็คนั้นได้ตกอยู่ในความครอบครองของจัตวา ซึ่งเป็นผู้ทรงที่ได้รับเช็คมาจากการสลักหลังลอยของตรี จัตวาย่อมมีสิทธิตามมาตรา 920 (3) ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง คือสามารถโอนเช็คนั้นต่อไปได้ โดยไม่ต้องสลักหลังแต่อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนั้นเมื่อจัตวาส่งมอบเช็คให้แก่บ้านไร่ การโอนเช็คของจัตวาให้แก่ บ้านไร่จึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และถือว่าบ้านไร่เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะได้รับโอนเช็คมา โดยถูกต้องตามวิธีการที่กฎหมายได้กําหนดไว้ และบ้านไร่ย่อมมีสิทธินําเช็คไปยื่นให้ธนาคารอ่างทองจ่ายเงินได้ เมื่อถึงวันที่ที่ลงในเช็ค การที่ธนาคารอ่างทองไม่ยอมจ่ายเงินโดยอ้างว่าบ้านไร่ได้รับโอนเช็คโดยไม่ชอบด้วย กฎหมายนั้น ข้ออ้างของธนาคารอ่างทองจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

สรุป

ข้ออ้างของธนาคารอ่างทองไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 2. มั่นออกตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่งสั่งแม้นเป็นผู้จ่ายเงินตามจํานวนค่าสินค้า โดยมีมิ่งผู้เป็นนายจ้างบอกมั่นว่ายินดีเป็นผู้ค้ำประกันแม้น ถ้าแม้นไม่ชําระราคาสินค้านั้น มิ่งและแม้นต่างได้ลงลายมือชื่อตน แต่เพียงอย่างเดียวไว้ด้านหน้าตั๋วแลกเงิน มั่นจึงได้นําตั๋วแลกเงินฉบับนี้ยื่นชําระให้แก่หมอกหรือ ผู้ถือ เมื่อถึงกําหนดใช้เงิน หมอกนําตั๋วแลกเงินดังกล่าวไปทวงถามจากแม้น ปรากฏว่าแม้นไม่มีเงินใช้ตามตั๋ว จึงเป็นผู้ต้องรับผิดในฐานะผู้รับรองตั๋วเงิน และหมอกได้ทําคําคัดค้านโดยชอบด้วย กฎหมายแล้ว จงวินิจฉัยว่า มั่นและมิ่งต้องรับผิดต่อหมอกในฐานะลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินอย่างไรบ้าง จงอธิบาย ตามหลักกฎหมายว่าด้วยตั๋วเงิน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความ ในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 914 “บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตัวนั้นได้นํายื่น โดยซอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตาม เนื้อความแห่งตั๋ว ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงิน ตามตั๋วนั้น ถ้าหากว่าได้ทําถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว”

มาตรา 939 วรรคสามเละวรรคสี่ “อนึ่งเพียงเเต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคํารับอาวัลแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย

ในคํารับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุ ท่านให้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย” มาตรา 940 วรรคหนึ่ง “ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่มั่นออกตั๋วแลกเงินสั่งให้แม้นเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่หมอกหรือผู้ถือ โดยมีมิ่งและแม้น ต่างได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหน้าตั๋วแลกเงินนั้น แม้ว่าแม้นจะได้ลงแต่ลายมือชื่อของตนแต่เพียงอย่างเดียว ตามกฎหมายถือว่าแม้นเป็นผู้ซึ่งได้รับรองตั๋วแลกเงินนั้นแล้ว ดังนั้นเมื่อถึงกําหนดในการใช้เงินตามตั๋วและหมอก ได้นําตั๋วแลกเงินไปยื่นให้แม้นใช้เงินแต่แม้นไม่ใช้เงินตามตัว แม้นจึงต้องรับผิดในฐานะผู้รับรองตั๋วแลกเงิน ส่วนมั่นและมิ่งจะต้องรับผิดต่อหมอกในฐานะลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินอย่างไรบ้างนั้น แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีของมั่น เมื่อมั่นได้ออกตั๋วแลกเงินเพื่อสั่งให้แม้นจ่ายเงินให้แก่หมอกหรือผู้ถือ และได้ลงลายมือชื่อไว้ด้านหน้าตั๋วแลกเงิน ดังนั้น มั่นจึงต้องรับผิดต่อหมอกในฐานะผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 914

กรณีของมิ่ง การที่ยมิ่งซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาผูกพันตนเข้าค้ำประกันการชําระหนี้ โดยเป็นผู้ค้ำประกันแม้นนั้น เมื่อมิ่งได้ลงแต่ลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าตั๋วแลกเงินแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ระบุว่า อาวัลผู้ใด ตามกฎหมายให้ถือว่ามิ่งได้ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้รับอาวัล และให้ถือว่าเป็นการรับอาวัลมั่นผู้สั่งจ่าย (ตามมาตรา 939 วรรคสามและวรรคสี่ ดังนั้น มิ่งจึงต้องรับผิดต่อหมอกในฐานะผู้รับอาวัลมั่นผู้สั่งจ่าย มิใช่ ในฐานะผู้รับอาวัลแม้น และต้องรับผิดเป็นอย่างเดียวกันกับมั่นตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 940 วรรคหนึ่ง

สรุป

มั่นต้องรับผิดต่อหมอกในฐานะผู้สั่งจ่าย ส่วนมิ่งต้องรับผิดต่อหมอกในฐานะผู้รับอาวัลมั่น

 

ข้อ 3. (ก) การเเก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อความในตั๋วเงินจะมีผลทางกฎหมายอย่างไร จงอธิบาย

(ข) ข้อเท็จจริงได้ความว่าเช็คพิพาทมีการแก้ไขจํานวนเงินโดยผู้สลักหลังคนหนึ่ง ซึ่งเป็นการแก้ไขที่เห็นได้อย่างชัดเจน ต่อมาธนาคารผู้จ่ายได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นโดยให้เหตุผลว่า เงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายมีไม่พอจ่าย ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายแห่งเช็คนั้นจะสามารถบังคับไล่เบี้ยคู่สัญญาแห่งเช็คนั้นได้เพียงใดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

(ก) การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อความในตั๋วเงินจะมีผลทางกฎหมายนั้น จะต้องเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ข้อความในข้อสําคัญ (มาตรา 1007) คือจะต้องเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความซึ่งเป็นสาระสําคัญ ซึ่งเมื่อมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้วจะทําให้ผลของตั๋วเงิน สิทธิและหน้าที่ตลอดจนความรับผิดของคู่สัญญาในตั๋วเงินนั้น เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในข้อสําคัญ เช่น แก้ไขเปลี่ยนแปลงใด ๆ แก่วันที่ลง จํานวนเงิน อันจะพึงใช้ เวลาใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน กับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงินไปเติมความ ระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ ยินยอมด้วย (มาตรา 1007 วรรคสาม) ตาม ป.พ.พ. ได้บัญญัติผลตาม กฎหมายไว้ 2 กรณีคือ

1 กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเห็นได้ประจักษ์ กล่าวคือ การแก้ไขนั้นมีการแก้ไขไม่แนบเนียน หรือเห็นได้ประจักษ์นั่นเอง โดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาทุกคนในตั๋วเงินนั้น ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินนั้นเสียไป แต่ยังคงใช้ได้กับคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทําการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือผู้ที่ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลง และหรือผู้สลักหลังภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น (มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง)

2 กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเห็นไม่ประจักษ์ กล่าวคือ การแก้ไขนั้นมีการแก้ไขได้อย่าง แนบเนียน หรือไม่เห็นเป็นประจักษ์ถือว่าตั๋วเงินนั้นไม่เสียไป และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีย่อมเป็นผลให้ผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นสามารถจะถือเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้น เสมือนว่าตั๋วเงินนั้นมิได้ มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลยก็ได้ และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความเดิมแห่งตั๋วนั้นก็ได้ (มาตรา 1007 วรรคสอง)

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1007 “ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด หรือในคํารับรองตั๋วเงินรายใด มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงใน ข้อสําคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามตั๋วเงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้ ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทําการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น กับทั้งผู้สลักหลังในภายหลัง

แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสําคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้ เสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้

กล่าวโดยเฉพาะ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ในข้อสําคัญ คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใด ๆ แก่วันที่ลง จํานวนเงินอันจะพึงใช้ เวลาใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน กับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเช็คพิพาทได้มีการแก้ไขจํานวนเงินโดยผู้สลักหลังคนหนึ่ง ซึ่งเป็นการแก้ไขที่เห็นได้อย่างชัดเจนนั้น ย่อมถือว่าเช็คพิพาทดังกล่าวได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในข้อสําคัญ โดยที่ผู้เป็นคู่สัญญาซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคน และเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ที่เห็นได้ประจักษ์ ดังนั้นย่อมมีผลทําให้ตั๋วเงินนั้นเสียไป เว้นแต่ยังคงใช้ได้กับคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทําการแก้ไข เปลี่ยนแปลงนั้น หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น กับทั้งผู้สลักหลังในภายหลังตามมาตรา 1007 วรรคหนึ่งและวรรคสาม

ดังนั้นเมื่อธนาคารผู้จ่ายได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายแห่งเช็คนั้น ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับผู้สลักหลังที่เป็นผู้ เก้ไขจํานวนเงินในเช็คนั้น รวมทั้งผู้ที่ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลง และผู้ที่สลักหลังเช็คพิพาทในภายหลังที่มีการแก้ไขจํานวนเงินนั้น (ถ้ามี) ตามจํานวนเงินที่ได้มีการแก้ไขนั้น

Advertisement