การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1. (ก) จงอธิบายหลักเกณฑ์ของ “ผู้ทรงตั๋วเงินโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยยกหลักกฎหมายประกอบ ให้ชัดเจน
(ข) จ๊ะเอ๋ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้จ๊ะโอ๋จ่ายเงินให้แก่จ๊ะจ๋าแบบระบุชื่อให้ใช้เงินแก่จะจ๋าหรือผู้ถือ ต่อมาจ๊ะจ๋าสลักหลังเฉพาะระบุชื่อจ๊ะทิงจาแล้วส่งมอบตัวฯ นั้นชําระหนี้ให้จ๊ะทิงจา จากนั้นจ๊ะทิงจานำตัวฯ นั้นไปสลักหลังลอยและส่งมอบให้แก่จ๊ะเทงเท่ง ซึ่งต่อมาจ๊ะเทงเท่งก็ได้ส่งมอบ ตั๋วฯ นั้นชําระหนี้ให้แก่จ๊ะโทนโทน จากข้อเท็จจริงข้างต้นนั้น จ๊ะโทนโทนเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย
ธงคําตอบ
(ก) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 904 “อันผู้ทรงนั้น หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ๆ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน”
มาตรา 905 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1008 บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักสอยก็ตาม ให้ถือว่า เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคล ผู้มีลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคําสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสีย และห้ามให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย
ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิ ของตนในตั๋วตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น หาจําต้องสละตั๋วเงินไม่เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริตหรือได้มา ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
อนึ่งข้อความในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือด้วย”
อธิบาย
จากหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ทําให้สามารถสรุปหลักเกณฑ์ของการเป็นผู้ทรงตั๋วเงินโดย ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้คือ
1 เป็นผู้มีตั๋วเงินไว้ในความครอบครอง คือมีการครอบครองหรือยึดถือตั๋วเงินนั้นด้วยเจตนา ยึดถือเพื่อตน
2 ได้ครอบครองตั๋วเงินนั้นในฐานะเป็นผู้รับเงินหรือเป็นผู้รับสลักหลังในกรณีที่เป็นตัวเงิน ชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ หรืออาจครอบครองตั๋วเงินนั้นในฐานะผู้ถือในกรณีที่เป็นตัวเงินชนิดสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ
3 ได้ครอบครองตั๋วเงินนั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย และโดยไม่ได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เช่น ได้ตั๋วเงินนั้นมาจากผู้สั่งจ่าย (หรือผู้ออกตั๋ว) หรือได้รับโอนตั๋วเงินนั้นมาโดยสุจริต
4 ในกรณีเป็นผู้ครอบครองตั๋วเงินในฐานะผู้รับสลักหลัง (ไม่ว่าจะเป็นผู้รับสลักหลังจาก การสลักหลังเฉพาะหรือสลักหลังลอย) จะต้องแสดงให้ปรากฏสิทธิในการสลักหลังที่ไม่ขาดสายด้วย คือแสดง ให้เห็นว่าตั๋วเงินนั้นมีการสลักหลังโอนติดต่อกันมาตามลําดับโดยไม่ขาดตอน แม้ว่าการสลักหลังบางรายจะเป็น สลักหลังลอยก็ตาม
(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 904 “อันผู้ทรงนั้น หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ๆ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน”
มาตรา 918 “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”
มาตรา 921 “การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สําหรับผู้สั่งจ่าย”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่จ๊ะเอ๋ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้จ๊ะโอ๋จ่ายเงินโดยระบุชื่อให้ใช้เงินแก่จ๊ะจํา หรือผู้ถือนั้น ถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ดังนั้นในการโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อไป การโอนย่อมสมบูรณ์ โดยการส่งมอบตั๋วให้แก่กันโดยไม่ต้องสลักหลังใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าการโอนตั๋วนี้ต่อไปได้มีการสลักหลังในตัวนี้ด้วย กฎหมายให้ถือว่าการสลักหลังนั้นเป็นเพียงการรับอาวัลผู้สั่งจ่ายเท่านั้น (ตามมาตรา 918 และมาตรา 921)
ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ เมื่อมีการโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อไปนั้น จะจําสลักหลังระบุชื่อและ ส่งมอบให้แก่จ๊ะทิงจา จ๊ะทิงจาสลักหลังลอยและส่งมอบแก่จ๊ะเทงเท่ง และจ๊ะเทงเท่งส่งมอบตัวต่อไปให้แก่จ๊ะโทนโทน จะเห็นได้ว่าการโอนทั่วทุกครั้งมีการส่งมอบตั๋วนั้นให้แก่กัน ดังนั้นการโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวจึงถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อจะโทนโทนเป็นบุคคลผู้มีตั๋วเงินอยู่ในความครอบครอง และได้รับการโอนตัวมาโดยชอบด้วยกฎหมาย จ๊ะโทนโทน จึงเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 904 ส่วนการที่จะจ๋าและจ๊ะทิงจาได้ลงลายมือชื่อ สลักหลังตั๋วเงินไว้นั้นให้ถือว่าเป็นเพียงผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่าย (ตามมาตรา 921)
สรุป
จ๊ะโทนโทนเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย
ข้อ 2. (ก) การอาวัลตัวเงินเกิดขึ้นได้ในกรณีใดบ้าง
(ข) เอกลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คธนาคารอ่างทอง ชําระหนี้โทโดยระบุชื่อโทเป็นผู้รับเงินและมิได้ขีดฆ่าคําว่าหรือผู้ถือออก โทสลักหลังชําระหนี้ตรีระบุชื่อตรีเป็นผู้รับประโยชน์ ต่อมาตรีสลักหลังลอย และส่งมอบเช็คดังกล่าวชําระหนี้ให้แก่จัตวา จัตวาส่งมอบเช็คชําระหนี้ให้กับบางนาเมื่อถึงวันที่ ที่ลงในเช็ค บางนานําเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารอ่างทอง แต่ธนาคารไม่ยอมจ่ายเงินโดยให้เหตุผล ว่าเงินในบัญชีของเอกมีไม่พอจ่าย
ดังนี้ บุคคลใดที่จะต้องรับผิดต่อบางนาในฐานะผู้รับอาวัลเช็ค ฉบับดังกล่าว
ธงคําตอบ
(ก) การอาวัลตั๋วเงินนั้น เกิดขึ้นได้ 2 กรณี ได้แก่ การอาวัลตามแบบหรือโดยการแสดงเจตนา และอาวัลโดยผลของกฎหมาย
1 การอาวัลตามแบบหรือโดยการแสดงเจตนา ทําได้โดย
1.1 ผู้รับอาวัลเขียนข้อความลงบนตั๋วเงิน (ซึ่งอาจเป็นตัวแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเช็ค) หรือใบประจําต่อว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือสํานวนอื่นใดที่มีความหมายทํานองเดียวกันนั้น เช่น “เป็นอาวัล ประกันผู้สั่งจ่าย” และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลซึ่งการอาวัลในกรณีนี้จะทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 939 วรรคแรก วรรคสอง และวรรคสี่)
1.2 ผู้รับอาวัลลงแต่ลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าตั๋วเงินนั้น โดยไม่ต้องเขียนข้อความใด ๆ ไว้ก็ให้ถือว่าเป็นการอาวัลแล้ว แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย (มาตรา 939 วรรคสาม)
2 การอาวัลโดยผลของกฎหมาย เกิดขึ้นได้ในกรณีที่มีการสลักหลังโอนตั๋วเงินชนิดสั่งจ่าย แก่ผู้ถือ (ซึ่งอาจเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็ค) ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 921 ได้บัญญัติให้บุคคลที่เข้ามาสลักหลังนั้น เป็นการอาวัลผู้สั่งจ่ายและต้องรับผิดเช่นเดียวกันกับผู้สั่งจ่าย
(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 900 วรรคแรก “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความ ในตั๋วเงินนั้น”
มาตรา 918 “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”
มาตรา 921 “การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สําหรับผู้สั่งจ่าย”
มาตรา 940 วรรคแรก “ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน”
มาตรา 989 วรรคแรก “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าว ต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 910, 914 ถึง 923, 938 ถึง 940”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เอกสั่งจ่ายเช็คโดยระบุชื่อโทเป็นผู้รับเงินและมิได้ขีดฆ่าคําว่า “หรือ ผู้ถือ” ออกนั้น เช็คนั้นย่อมถือว่าเป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ดังนั้น ถ้าจะมีการโอนเช็คฉบับนี้ต่อไป การโอนย่อม สมบูรณ์โดยการส่งมอบเช็คให้แก่กันโดยไม่ต้องสลักหลัง (มาตรา 918 ประกอบกับมาตรา 989 วรรคแรก)
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จากการโอนเช็คฉบับนี้ให้แก่ตรี จัตวา และบางนาตามลําดับนั้น โท และตรีได้ทําการสลักหลังเช็คฉบับนี้ด้วย ดังนี้ตามกฎหมายให้ถือว่าการสลักหลังของโทและตรีนั้นเป็นเพียงการ รับอาวัลเอกผู้สั่งจ่ายเท่านั้น (มาตรา 921 ประกอบกับมาตรา 989 วรรคแรก) ซึ่งโทและตรีก็จะต้องรับผิดเป็นอย่าง เดียวกันกับเอกผู้สั่งจ่าย (มาตรา 900 วรรคแรกและมาตรา 940 วรรคแรก ประกอบกับมาตรา 989 วรรคแรก)
ดังนั้นเมื่อถึงวันที่ที่ลงในเช็ค บางนานําเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารแต่ธนาคารไม่ยอมจ่ายเงิน บุคคลที่จะต้องรับผิดต่อบางนาในฐานะผู้รับอาวัลเช็คฉบับดังกล่าว คือ โท และตรี
สรุป
บุคคลที่จะต้องรับผิดต่อบางนาในฐานะผู้รับอาวัลเช็คฉบับดังกล่าวได้แก่ โท และตรี
ข้อ 3. (ก) การที่มีลายมือชื่อปลอม หรือลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอํานาจ ปรากฏอยู่ในตั๋วเงินนั้น จะมีผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร
(ข) นายดำลักเอาสมุดเช็คของนายขาวบิดาไป แล้วนายดําได้ทําการปลอมลายมือชื่อของนายขาวลงในเช็คฉบับหนึ่งเพื่อสั่งจ่ายเช็คที่ลักมานั้นระบุชําระเงินให้กับตั๋วนายดําเอง แล้วต่อมานายดํา ได้นําเช็คนั้นไปโอนชําระหนี้ต่อให้กับนายแดง นายแดงเมื่อได้รับเช็คมาแล้วได้สอบถามไปยัง นายขาวถึงการสั่งจ่ายเช็คฉบับดังกล่าว นายขาวจึงได้ตรวจสอบและทราบว่านายดําบุตรชาย ได้ทําการปลอมลายมือชื่อตนเพื่อสั่งจ่ายเช็คไป แต่เนื่องจากเกรงว่านายดําจะถูกดําเนินคดี นายขาวจึงได้แจ้งแก่นายแดงไปว่าตนเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คฉบับดังกล่าวเอง หากต่อมา เช็คฉบับดังกล่าวขาดความเชื่อถือ นายแดงซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คจะสามารถไล่เบี้ยให้ นายขาวต้องรับผิดตามเช็คฉบับนั้นกับตนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
(ก) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1008 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอํานาจ ให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอํานาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิ อย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทําให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญา แห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทําได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วงหรือถูก บังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอํานาจนั้น ขึ้นเป็นข้อต่อสู้
แต่ข้อความใด ๆ อันกล่าวมาในมาตรานี้ ท่านมิให้กระทบกระทั่งถึงการให้สัตยาบันแก่ลายมือชื่อ ซึ่งลงโดยปราศจากอํานาจแต่หากไม่ถึงแก่เป็นลายมือปลอม”
จากหลักกฎหมายดังกล่าว กรณีที่มีลายมือชื่อปลอม หรือลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอํานาจ ปรากฏอยู่ในตั๋วเงินนั้น จะมีผลทางกฎหมายดังนี้ คือ
1 ผลต่อเจ้าของลายมือชื่อ ลายมือชื่อปลอมหรือลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอํานาจนั้น ย่อมไม่มีผลผูกพันต่อเจ้าของลายมือชื่อ กล่าวคือ เจ้าของลายมือชื่อไม่ต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น ทั้งนี้ เพราะเจ้าของลายมือชื่อที่ถูกปลอมมิได้เป็นผู้เขียนลายมือชื่อนั้นลงไว้ในตั๋วเงิน หรือมิได้มอบอํานาจให้บุคคลใด ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินในกรณีที่มีการลงลายมือชื่อโดยปราศจากอํานาจ เว้นแต่กรณีที่เป็นตัวเงินที่มีลายมือชื่อที่ลงไว้ โดยปราศจากอํานาจนั้นอาจมีผลผูกพันเจ้าของลายมือชื่อได้ หากเจ้าของลายมือชื่อได้ให้สัตยาบันตามมาตรา 1008 วรรคท้าย
2 ผลต่อคู่สัญญาคนอื่น ๆ ในตั๋วเงิน ในกรณีที่ตั๋วเงินนั้นมีลายมือชื่อปลอม ย่อมไม่มี ผลกระทบถึงความรับผิดของคู่สัญญาคนอื่น ๆ ที่ลงไว้ในตั๋วเงินโดยถูกต้อง ทั้งนี้เป็นเพราะความรับผิดของลูกหนี้ แต่ละคนที่ได้ลงลายมือชื่อไว้ในตั๋วเงิน และต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินตามมาตรา 900 วรรคแรก นั้นเป็น เรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้แต่ละคนนั่นเอง ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1006 ที่บัญญัติไว้ว่า
“การที่ลายมือชื่ออันหนึ่งในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์ แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้น”
3 ผลต่อผู้ที่ได้ตั๋วเงินไว้ในความครอบครองและบุคคลอื่น ๆ ในกรณีที่ตั๋วเงินนั้นมีการ ลงลายมือชื่อปลอม หรือมีการลงลายมือโดยปราศจากอํานาจจะมีผลตามมาตรา 1008 วรรคแรก คือ ให้ถือว่า ลายมือชื่อปลอมหรือลงโดยปราศจากอํานาจนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย และผู้ใดจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อ
(1) จะยึดหน่วงตั๋วเงินนั้นไว้มิได้ เว้นแต่ ผู้ที่จะพึงถูกยึดหน่วง อยู่ในฐานเป็นผู้ต้อง ตัดบท มิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมหรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอํานาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้
(2) จะทําให้ตั๋วเงินนั้นหลุดพ้นจากความรับผิดด้วยการใช้เงินมิได้ เว้นแต่ ได้ใช้เงิน ไปในกรณีที่ตั๋วเงินนั้นมีลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอม (ตามมาตรา 1009)
(3) จะบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นคนใดคนหนึ่งมิได้ เว้นแต่ คู่สัญญาผู้ที่จะพึงถูกบังคับให้ใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบท มิให้ยกลายมือชื่อปลอมหรือข้อลงลายมือชื่อ ปราศจากอํานาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้
(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1008 วรรคแรก “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใด ลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้ มอบอํานาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอํานาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัย แสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทําให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่ คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทําได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วง หรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจาก อํานาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดําได้ลักเอาสมุดเช็คของนายขาวไปแล้วทําการปลอมลายมือชื่อ ของนายขาวลงในเช็คฉบับดังกล่าวนั้น โดยหลักแล้ว ลายมือชื่อปลอมของนายขาวนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย กล่าวคือ นายขาวไม่ต้องรับผิดต่อนายแดงเพราะนายขาวมิได้ลงลายมือชื่อในเช็คนั้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อนายแดงได้รับเช็คฉบับดังกล่าวมาแล้วได้สอบถามไปยังนายขาวถึงการสั่งจ่ายเช็ค และนายขาวได้แจ้งแก่นายแดง ว่าตนเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คฉบับดังกล่าว ดังนี้ย่อมถือได้ว่านายขาวเป็นผู้ที่อยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อ ลายมือชื่อปลอมนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้
ดังนั้น เมื่อเช็คฉบับดังกล่าวขาดความเชื่อถือ นายแดงซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คจึงสามารถไล่เบี้ยให้ นายขาวรับผิดตามเช็คฉบับนั้นให้กับตนได้
สรุป
นายแดงสามารถไล่เบี้ยให้นายขาวรับผิดตามเช็คฉบับนั้นให้กับตนได้