การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1 (ก) การอาวัลตั๋วแลกเงินคืออะไร บุคคลใดรับอาวัลตั๋วแลกเงินได้บ้าง และการอาวัลตั๋วแลกเงินนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรตามกฎหมาย
(ข) เอกลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คธนาคารร่อนพิบูลย์ ชําระหนี้โทโดยระบุชื่อโทเป็นผู้รับเงิน และได้ขีดฆ่าคําว่าหรือผู้ถือออก โทสลักหลังชําระหนี้ตรีระบุชื่อตรีเป็นผู้รับประโยชน์ ต่อมาตรี สลักหลังลอย และส่งมอบเช็คดังกล่าวชําระหนี้ให้แก่จัตวา ต่อมาจัตวาได้นําเช็คไปสลักหลังลอย และส่งมอบชําระหนี้ให้กับพระพรม เมื่อถึงวันที่ที่ลงในเช็คพระพรมนําเช็คไปเบิกเงินจาก ธนาคารร่อนพิบูลย์ แต่ธนาคารฯ ไม่ยอมจ่ายเงินโดยแจ้งกับพระพรมว่าเงินในบัญชีของเอก ผู้สั่งจ่ายมีไม่พอจ่าย ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า โท และตรี จะต้องรับผิดตามกฎหมายตั๋วเงินในฐานะผู้รับอาวัลหรือไม่ อย่างไร
ธงคําตอบ
(ก) การอาวัลหรือการรับอาวัลตั๋วแลกเงิน คือการที่บุคคลภายนอกหรือผู้ที่เป็นคู่สัญญาอยู่แล้ว ในตั๋วแลกเงินนั้น ได้เข้ามารับประกันการใช้เงินทั้งหมดหรือบางส่วนของลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินต่อผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่ง ตั๋วแลกเงินใบหนึ่งนั้นอาจมีผู้รับอาวัลได้หลายคน และผู้รับอาวัลนั้นต้องระบุไว้ด้วยว่ารับประกันผู้ใด ถ้าไม่ระบุไว้ ให้ถือว่าเป็นการรับประกันผู้สั่งจ่าย (ป.พ.พ. มาตรา 938 และมาตรา 939 วรรคสี่)
การอาวัลตั๋วแลกเงินนั้น เกิดขึ้นได้ 2 กรณี ได้แก่ การอาวัลตามแบบหรือโดยการแสดงเจตนา และอาวัลโดยผลของกฎหมาย
1 การอาวัลตามแบบหรือโดยการแสดงเจตนา ทําได้โดย
1.1 ผู้รับอาวัลเขียนข้อความลงบนตั๋วแลกเงินหรือใบประจําต่อว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือสํานวนอื่นใดที่มีความหมายทํานองเดียวกันนั้น เช่น “เป็นอาวัลประกันผู้สั่งจ่าย” และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัล ซึ่งการอาวัลในกรณีนี้จะทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วแลกเงินก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 939 วรรคแรก วรรคสอง และวรรคสี่)
1.2 ผู้รับอาวัลลงแต่ลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าตั๋วแลกเงินนั้น โดยไม่ต้องเขียนข้อความ ใด ๆ ไว้ก็ให้ถือว่าเป็นการอาวัลแล้ว แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย (มาตรา 939 วรรคสาม)
2 การอาวัลโดยผลของกฎหมาย เกิดขึ้นได้ในกรณีที่มีการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินชนิด สั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 921 ได้บัญญัติให้บุคคลที่เข้ามาสลักหลังนั้นเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่ายและ ต้องรับผิดเช่นเดียวกันกับผู้สั่งจ่าย
(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 900 วรรคแรก “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความ ในตั๋วเงินนั้น”
มาตรา 914 “บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตัวนั้นได้นํายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตัว ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้ เงินตามตัวนั้น ถ้าหากว่าได้ทําถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว”
มาตรา 917 วรรคแรก “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ”
มาตรา 918 “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่ายอมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”
มาตรา 919 “คําสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจําต่อ และต้องลงลายมือ ชื่อผู้สลักหลัง
การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้ กระทําอะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจําต่อ ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สลักหลังลอย” ”
มาตรา 920 วรรคแรก “อันการสลักหลังย่อมโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ตั๋วแลกเงิน”
มาตรา 921 “การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สําหรับผู้สั่งจ่าย”
มาตรา 989 วรรคแรก “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าว ต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 914 ถึง 923.”
วินิจฉัย
ตามอุทาหรณ์ เมื่อเช็คที่เอกสั่งจ่ายให้แก่โทนั้น ได้ระบุชื่อโทเป็นผู้รับเงินและได้ขีดฆ่าคําว่า หรือผู้ถือออก เช็คฉบับดังกล่าวจึงเป็นเช็คระบุชื่อผู้รับเงิน การที่โทสลักหลังชําระหนี้ตรี ตรีสลักหลังลอยและส่งมอบ แก่จัตวา และต่อมาจัตวาสลักหลังลอยและส่งมอบเช็คดังกล่าวให้แก่พระพรมนั้น การสลักหลังของโท ตรี และ จัตวาถือว่าเป็นการสลักหลังโอนเช็คที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นการโอนสิทธิต่าง ๆ ตามเช็คไปยังผู้รับโอน ตามมาตรา 917 วรรคแรก มาตรา 919 และมาตรา 920 วรรคแรกประกอบมาตรา 989 วรรคแรก ดังนั้น โท ตรี และจัตวา จึงอยู่ในฐานะของผู้สลักหลัง มิใช่ผู้รับอาวัล เพราะมิได้เป็นการสลักหลังเช็คผู้ถือตามมาตรา 918 มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก แต่อย่างใด
ดังนั้น เมื่อพระพรมนําเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารฯ แต่ธนาคารฯ ปฏิเสธการจ่ายเงิน โท ตรี และจัตวาจะต้องรับผิดตามกฎหมายตั๋วเงินในฐานะผู้สลักหลังตามมาตรา 900 และมาตรา 914 ประกอบ มาตรา 989 วรรคแรก มีใช่รับผิดในฐานะผู้รับอาวัล
สรุป
โท และตรี จะต้องรับผิดตามกฎหมายตัวเงินในฐานะผู้สลักหลังเช็คมิใช่ในฐานะผู้รับอาวัล
ข้อ 2. (ก) การโอนตัวเงินที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายนั้นมีวิธีการอย่างไร จงอธิบาย
(ข) นายเชี่ยวชาญสั่งจ่ายเช็คฉบับหนึ่ง ระบุคําว่า “จ่ายสด” ลงในช่องที่ให้ระบุชื่อผู้รับเงิน และไม่ได้ขีดฆ่าคําว่า “ หรือผู้ถือ” ออก แล้วส่งมอบชําระหนี้ค่าเช่าอาคารให้แก่นายชํานาญ ต่อมา นายชํานาญต้องการจะนําเช็คฉบับดังกล่าวโอนชําระหนี้ค่าสินค้าให้แก่นายเก่งกาจ จึงมาสอบถามวิธีการโอนกับนายสามารถ ซึ่งนายสามารถได้แนะนําให้นายชํานาญ โอนเช็คให้แก่นายเก่งกาจโดยการลงลายมือชื่อสลักหลัง และส่งมอบให้แก่นายเก่งกาจ จึงจะเป็นการโอนเช็ค ที่ถูกต้องต้องตามกฎหมาย ดังนี้ คําแนะนําเกี่ยวกับวิธีการโอนเช็คที่นายสามารถให้แก่ นายชํานาญนั้นเป็นคําแนะนําที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
(ก) ตามกฎหมายตั๋วเงินมี 3 ประเภท ได้แก่ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค ซึ่งหลักในการ โอนตั๋วเงินนั้น กฎหมายได้บัญญัติไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับตั๋วแลกเงินเท่านั้น เพียงแต่ได้กําหนดให้นําหลักในการโอน ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อไปใช้กับการโอนตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คด้วย (ตามมาตรา 985 วรรคแรก และ มาตรา 989 วรรคแรก) และให้นําหลักในการโอนตั๋วแลกเงินชนิดสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือไปใช้กับการโอนเช็คชนิดสั่งจ่าย แก่ผู้ถือด้วย (ตามมาตรา 989 วรรคแรก)
สําหรับหลักในการโอนตั๋วแลกเงินนั้น กฎหมายได้กําหนดไว้ดังนี้ คือ
1 ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ
การโอนสามารถกระทําได้โดยการสลักหลังและส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 917 วรรคแรก ซึ่งบัญญัติว่า “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ ด้วยสลักหลังและส่งมอบ”
หมายความว่าตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ (ผู้รับเงิน) นั้น ถ้าจะมีการโอนต่อไปให้แก่ บุคคลอื่น การโอนจะมีผลสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อผู้โอนได้ทําการสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่ผู้รับโอน (จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้)
“การสลักหลัง” คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้โอน) ได้เขียนข้อความและลงลายมือชื่อของ ตนไว้ในตั๋วแลกเงิน (หรือใบประจําต่อ) โดยอาจจะเป็นการ “สลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ)” หรืออาจจะเป็นการ “สลักหลังลอย” ก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 919)
(1) การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หมายถึง การสลักหลังที่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับ สลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ในตั๋วแลกเงินด้วย โดยอาจจะกระทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตัวก็ได้
(2) การสลักหลังลอย หมายถึง การสลักหลังที่ไม่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ เพียงแต่ผู้สลักหลังได้ลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังของตั๋วเงินเท่านั้น (ป.พ.พ. มาตรา 919 วรรคสอง)
อนึ่ง ในการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้น ในกรณีที่เป็นการสลักหลังเฉพาะ (สลักหลัง ระบุชื่อ) ถ้าผู้ทรงจะโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปก็สามารถโอนได้แต่จะต้องโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น โดยอาจจะสลักหลังเฉพาะหรือสลักหลังลอยก็ได้ จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้
แต่ถ้าในการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้น เป็นการสลักหลังลอย ดังนี้ผู้ทรงซึ่งได้ ตั๋วแลกเงินนั้นมาจากการสลักหลังลอย ย่อมสามารถโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปได้โดยการสลักหลังและส่งมอบหรือ อาจจะโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 920)
2 ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ
การโอนตั๋วเงินชนิดนี้ย่อมสามารถกระทําได้โดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ต้อง มีการสลักหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 918 ซึ่งบัญญัติว่า “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่ายอมโอนไป เพียงด้วยส่งมอบให้กัน”
(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 918 “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”
มาตรา 989 วรรคแรก “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าว ต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเซ็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 914 ถึง 923. ”
วินิจฉัย
ตามอุทาหรณ์ การที่นายเชี่ยวชาญสั่งจ่ายเช็คโดยระบุคําว่า “จ่ายสด” ลงในช่องที่ให้ระบุชื่อ ผู้รับเงิน และไม่ได้ขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ออก แล้วส่งมอบให้แก่นายชํานาญนั้น เช็คฉบับดังกล่าวถือว่าเป็นที่สั่ง ให้จ่ายเงินแก่ผู้ถือ ดังนั้นหากนายชํานาญต้องการจะนําเช็คฉบับดังกล่าวโอนชําระหนี้ค่าสินค้าให้แก่นายเก่งกาจ นายชํานาญย่อมสามารถโอนเช็คนั้นให้แก่นายเก่งกาจโดยการส่งมอบเช็คนั้นก็เพียงพอแล้วโดยไม่ต้องลง ลายมือชื่อสลักหลังแต่อย่างใดตามมาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก ดังนั้น คําแนะนําเกี่ยวกับวิธีการ โอนเช็คของนายสามารถที่ว่าต้องลงลายมือชื่อสลักหลังเละส่งมอบจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
สรุป
คําแนะนําเกี่ยวกับวิธีการโอนเช็คที่นายสามารถให้แก่นายชํานาญนั้นเป็นคําแนะนําที่ไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย
ข้อ 3. (ก) ผู้สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมก็ดี หรือผู้ทรงเช็คขีดคร่อมก็ดี หากได้กรอกข้อความว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” หรือข้อความอื่นที่มีความหมายทํานองเดียวกัน เช่น “ A/C Payee Only” ลงบนเช็คนั้นและได้มอบให้แก่ผู้ทรงเช็คแล้วจะก่อให้เกิดผลตามกฎหมายอย่างไรแก่บุคคลซึ่งต้องและอาจต้องเกี่ยวข้องกับเช็คดังกล่าว
(ข) เอกลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คธนาคารทหารไทย ขีดคร่อมทั่วไป ชําระหนี้โทโดยระบุชื่อโท หรือผู้ถือเป็นผู้รับเงิน โทได้รับเช็คมาแล้วเขียนข้อความว่า “A/C Payee Only” ลงไว้ในรอยขีดคร่อม แต่ได้ทําเช็คนั้นตกหายโดยไม่รู้ตัว ตรีเก็บเช็คนั้นได้แล้วนําไปส่งมอบชําระหนี้จัตวาซึ่งได้รับ โอนเช็คนั้นไว้โดยสุจริตและมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าจัตวาเป็น ผู้ทรงเช็คซึ่งชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และหากธนาคารทหารไทยได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจัตวาจะไล่เบี้ยเอกได้เพียงใดหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
(ก) ถ้าผู้สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อม หรือผู้ทรงเช็คขีดคร่อม ได้กรอกข้อความว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” หรือ ข้อความอื่นที่มีความหมายทํานองเดียวกัน เช่น “A/C Payee Only” ลงบนเช็คนั้น และได้มอบให้แก่ผู้ทรงเช็ค แล้วจะก่อให้เกิดผลตามกฎหมายแก่บุคคลซึ่งต้องและอาจต้องเกี่ยวข้องกับเช็คดังกล่าว ดังนี้ คือ
1 กรณีผู้สั่งจ่ายเช็ค ผู้สั่งจ่ายเช็คสามารถเขียนข้อความว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ลงบน เช็คขีดคร่อมได้ตามนัยมาตรา 917 วรรคสองประกอบมาตรา 995 (1) และจะก่อให้เกิดผลต่อผู้ทรงเช็คในฐานะ ผู้รับเงิน คือ
1.1 ผู้ทรงเช็คจะโอนเช็คนั้นต่อไปด้วยการสลักหลังและส่งมอบเซ็คตามวิธีการโอน ตั๋วเงินตามมาตรา 917 วรรคแรกอีกไม่ได้ เว้นแต่ผู้ทรงเช็คจะโอนเช็คนั้นต่อไปโดยรูปแบบวิธีการเช่นเดียวกับ การโอนหนี้สามัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรก กล่าวคือ ต้องทําเป็นหนังสือโอนมูลหนี้ตามเช็คนั้นระหว่าง ผู้โอนกับผู้รับโอน และมีหนังสือบอกกล่าวการโอนนั้นไปยังผู้สั่งจ่าย หรือให้ผู้ส่งจ่ายยินยอมด้วยโดยทําเป็น หนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง
1.2 ผู้ทรงเช็ค จะนําเช็คนั้นไปยื่นให้ธนาคารจ่ายเป็นเงินสดไม่ได้ แต่ต้องนําเช็ค ขีดคร่อมนั้นไปเข้าบัญชีเงินฝากก่อน โดยนัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 994
และนอกจากนั้นยังมีผลตามมาตรา 999 ด้วย กล่าวคือ ถ้าบุคคลใดได้เช็ดขีดคร่อมซึ่งมีคําว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” บุคคลนั้นย่อมไม่มีสิทธิในเซ็คนั้นยิ่งไปกว่าและไม่สามารถให้สิทธิในเช็ดนั้นต่อไปได้ดีกว่าสิทธิ ของบุคคลอันตนได้เช็คของเขามา (ตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน)
2 กรณีผู้ทรงเช็ค ผู้ทรงเช็คสามารถเขียนข้อความว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ลงบนเช็ค ขีดคร่อมได้ตามนัยมาตรา 995 (3) และจะมีผลตามกฎหมาย กล่าวคือ จะได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 999 เช่น ในกรณีที่เช็คดังกล่าวได้สูญหายไปหรือถูกโจรกรรมไป ผู้รับโอนเช็คนั้นจากคนที่เก็บได้ หรือจากคนที่ โจรกรรมเช็คนั้นไปย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อผู้โอนไม่มีสิทธิ ผู้รับโอนก็ย่อมไม่มีสิทธิในเช็คนั้น เช่นเดียวกัน
(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 904 “อันผู้ทรงนั้น หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตัวเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ๆ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน”
มาตรา 905 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1008 บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักลอยก็ตาม ให้ถือว่า เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคล ผู้มีลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคําสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสีย และห้ามให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย
1 ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตัวเป็นไปจากครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิ ของตนในตัวตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น หาจําต้องสละตั๋วเงินไม่ เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริตหรือได้มา ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
อนึ่งข้อความในวรรคก่อนนี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือด้วย”
มาตรา 995 (1) “เช็คไม่มีขีดคร่อม ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงคนใดคนหนึ่งจะขีดคร่อมเสียก็ได้ และจะทําเป็นขีดคร่อมทั่วไปหรือขีดคร่อมเฉพาะก็ได้
(3) เช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดี ขีดคร่อมเฉพาะก็ดี ผู้ทรงจะเติมคําลงว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ก็ได้”
มาตรา 999 “บุคคลใดได้เช็คขีดครอมของเขามาซึ่งมีคําว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ท่านว่าบุคคล นั้นไม่มีสิทธิในเช็คนั้นยิ่งไปกว่าและไม่สามารถให้สิทธิในเช็คนั้นต่อไปได้ดีกว่าสิทธิของบุคคลอันตนได้เช็ค ของเขามา”
วินิจฉัย
โดยหลักแล้วบุคคลผู้มีตัวเงินไว้ในความครอบครอง ถ้าเป็นตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ และ บุคคลนั้นได้ตั๋วเงินมาโดยสุจริตและมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 904 ประกอบมาตรา 905 เว้นแต่ในกรณีที่เป็นเช็คขีดคร่อมและมีข้อความว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” หรือข้อความอย่างอื่น เช่น “A/C payee only” อยู่ในระหว่างรอยขีดคร่อม บุคคลผู้ได้เช็คนั้นมาย่อมไม่มีสิทธิ ในเช็คนั้นยิ่งไปกว่าและไม่สามารถให้สิทธิในเช็คนั้นต่อไปได้ดีกว่าสิทธิของบุคคลอันตนได้เช็คของเขามา (มาตรา 999) กล่าวคือ ถ้าผู้โอนเซ็คนั้นไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้รับโอนก็จะไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกัน
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เอกลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค และขีดคร่อมทั่วไปไว้ โดยมิได้ขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ออก ย่อมเป็นเช็คใช้เงินให้แก่ผู้ถือ และการที่โทซึ่งได้รับเช็คนั้นจากเอกได้เติมคําว่า “A/C payee only” ซึ่งมีความหมายว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ลงไว้ในรอยขีดคร่อม โทย่อมสามารถทําได้ตามมาตรา 995 (3) และเมื่อโทได้ ทําเช็คนั้นตกหายไป และตรีเก็บเช็คนั้นได้ ดังนี้ตรีย่อมไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 904 และ 905 เพราะตรีได้เช็คนั้นมาอยู่ในความครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นเมื่อตรีนําเช็คนั้นไปชําระหนี้แก่จัตวา แม้ว่าจัตวาจะได้รับโอนเช็คนั้นไว้โดยสุจริตและมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จัตวาก็ไม่เป็นผู้ทรงโดยชอบ ด้วยกฎหมาย เพราะจัตวาซึ่งได้รับโอนเช็คมาจากตรีย่อมไม่มีสิทธิในเช็คนั้นยิ่งไปกว่าตรี (ตามมาตรา 999) และ จัตวาก็จะบังคับไล่เบี้ยเอกผู้สั่งจ่ายไม่ได้เช่นเดียวกัน
สรุป
จัตวาไม่เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย และจะบังคับไล่เบี้ยเอกไม่ได้