การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1 (ก) ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินนั้นจะต้องรับผิดอย่างไรหรือไม่ต่อผู้ทรงซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามตั๋วแลกเงิน
(ข) บัวแดงสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่งระบุให้เมืองเก่าจ่ายเงินให้กับบัวขาวห้าแสนบาทและขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ออก และบัวแดงเขียนคําว่า “ตั๋วแลกเงินใบนี้ไม่จําต้องทําคําคัดค้าน” ไว้ที่ ด้านหน้าของตัว บัวขาวสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินดังกล่าวให้แก่บัวเหลืองเพื่อชําระ ราคาสินค้าที่ซื้อจากบัวเหลือง เมื่อตั๋วแลกเงินถึงกําหนดใช้เงินบัวเหลืองได้นําตั๋วแลกเงินไปให้ เมืองเก่าผู้จ่ายใช้เงินแต่เมืองเก่าปฏิเสธการใช้เงินเนื่องจากเมืองเก่าเห็นว่าตนมิได้เป็นลูกหนี้ของ บัวแดง ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าบัวแดงและบัวขาวจะต้องรับผิดหรือไม่ ต่อบัวเหลืองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามกฎหมายตั๋วเงิน
ธงคําตอบ
(ก) อธิบาย
ผู้สั่งจ่าย (ตั๋วแลกเงินหรือเช็ค) หมายถึง บุคคลที่ได้ออกตั๋วแลกเงินและสั่งให้บุคคลอีกคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้จ่ายจ่ายเงินให้แก่ผู้ทรง (หรือผู้รับเงิน)
ผู้สลักหลัง หมายถึง ผู้ทรงคนเดิม (ซึ่งอาจจะอยู่ในฐานะของผู้รับเงินหรือผู้รับสลักหลัง) ที่ได้ ลงลายมือชื่อของตน (ได้สลักหลัง) ในตั๋วเงินเมื่อมีการโอนตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อต่อไปให้บุคคลอื่น (ผู้รับสลักหลัง)
โดยหลัก บุคคลที่จะต้องรับผิดตามตั๋วแลกเงินก็คือ บุคคลที่ได้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงิน ตามมาตรา 900 วรรคแรก ที่ว่า “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น”
เมื่อผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินเป็นบุคคลที่ได้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินตามมาตรา 900 จึงต้องรับผิดต่อผู้ทรงซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามตั๋วแลกเงิน ในฐานะผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินตามมาตรา 914 ที่ว่า “บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตั๋วนั้นได้นํายื่นโดยชอบแล้ว จะมีผู้รับรอง และใช้เงินตามเนื้อความแห่งทั่ว ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น ถ้าหากว่า ได้ทําถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว” ประกอบกับมาตรา 967 วรรคแรก ที่ว่า “ในเรื่อง ตั๋วแลกเงินนั้น บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดี รับรองก็ดี สลักหลังก็ดี หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี ย่อมต้องร่วมกันรับผิด ต่อผู้ทรง”
(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 900 วรรคแรก “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความ ในตัวเงินนั้น”
มาตรา 914 “บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตัวนั้นได้นํายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงิน ตามตั๋วนั้น ถ้าหากว่าได้ทําถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว”
มาตรา 937 “ผู้จ่ายได้ทําการรับรองตั๋วแลกเงินแล้วย่อมต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจํานวนที่ รับรองตามเนื้อความแห่งคํารับรองของตน”
959 “ผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บรรดาผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และบุคคลอื่น ๆ ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นก็ได้ คือ
(ก) ไล่เบี้ยได้เมื่อตัวเงินถึงกําหนดในกรณีไม่ใช้เงิน”
มาตรา 967 วรรคแรก “ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดี รับรองก็ดี สลักหลัง ก็ดี หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ บัวแดงได้ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้เมืองเก่าจ่ายเงินให้แก่บัวขาว และขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ออก ตั๋วแลกเงินฉบับนี้ย่อมเป็นตัวแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อและการที่บัวแดงเขียนคําว่า “ตั๋วแลกเงิน ใบนี้ไม่จําต้องทําคําคัดค้าน” ไว้ที่ด้านหน้าของตั๋ว จึงมีผลทําให้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินใบนี้สามารถไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญา ผู้ต้องรับผิดตามตั๋วแลกเงินได้ โดยไม่ต้องทําคําคัดค้านการไม่ใช้เงินหรือการไม่รับรองของผู้จ่ายก่อนแต่อย่างใด
ต่อมา บัวขาวสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินดังกล่าวให้แก่บัวเหลืองเพื่อชําระราคาสินค้า เมื่อตั๋วแลกเงินถึงกําหนดใช้เงิน บัวเหลืองได้นําตั๋วแลกเงินไปให้เมืองเก่าผู้จ่ายใช้เงิน แต่เมืองเก่าปฏิเสธการใช้เงิน ดังนี้ บัวแดงผู้สั่งจ่ายและบัวขาวผู้สลักหลังซึ่งได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ในตั๋วเงินจึงต้องรับผิดใช้เงินให้แก่บัวเหลือง ผู้ทรงตั๋วแลกเงินตามมาตรา 900 วรรคแรก ประกอบมาตรา 914 มาตรา 959 (ก) และมาตรา 967 วรรคแรก
ส่วนกรณีเมืองเก่าซึ่งเป็นผู้จ่ายนั้นเมื่อยังมิได้ลงลายมือชื่อรับรองตัวแลกเงิน จึงไม่ต้องรับผิด ต่อบัวเหลืองผู้ทรงซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามตัวแลกเงินตามมาตรา 900 วรรคแรก และ 937
สรุป
บัวแดงและบัวขาวจะต้องรับผิดต่อบัวเหลือง ส่วนเมืองเก่าไม่ต้องรับผิดต่อบัวเหลือง
ข้อ 2. (ก) การสลักหลังโอนเช็คระบุชื่อผู้รับเงิน หรือตามคําสั่ง หรือผู้ถือ จะก่อให้เกิดผลตามกฎหมายอย่างไรแก่คู่สัญญา ซึ่งเกี่ยวข้องกับเช็คดังกล่าว ให้อธิบายโดยอ้างอิงหลักกฎหมาย
(ข) จันทร์ทําสัญญาซื้อขายสินค้า OTOP กับอังคาร มีข้อตกลงในรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้าและการส่งมอบสินค้านั้นไว้ในสัญญา โดยจันทร์ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คลงวันเดือนปี ล่วงหน้าให้อังคาร พร้อมทั้งได้ขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ออก ขีดคร่อมทั่วไปและลงข้อความว่า “A/C payee only” ไว้ในช่องว่างระหว่างรอยขีดคร่อม อังคารนําเช็คนั้นไปสลักหลังขายลด ให้กับพุธ โดยทําเป็นสัญญาโอนหนี้เงินในเช็คทั้งหมด ซึ่งจันทร์ก็ยินยอมด้วยในการโอนเช็ค ดังกล่าว แต่อังคารมิได้ส่งมอบสินค้า OTOP ตามสัญญา จันทร์จึงบอกห้ามมิให้ธนาคารใช้เงิน ตามเช็ค เป็นผลให้พุธได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงินจากธนาคารผู้จ่าย ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าพุธ จะบังคับไล่เบี้ยจันทร์ได้หรือไม่ อีกทั้งจันทร์จะยกความเกี่ยวพันระหว่างตนกับอังคารขึ้นเป็น ข้อต่อสู้พุธได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
(ก) การสลักหลังโอนเช็คระบุชื่อผู้รับเงิน หรือตามคําสั่ง หรือผู้ถือ จะก่อให้เกิดผลตามกฎหมาย แก่คู่สัญญาซึ่งเกี่ยวข้องกับเช็คดังกล่าว ดังนี้คือ
1 กรณีการสลักหลังโอนเซ็คระบุชื่อผู้รับเงินหรือตามคําสั่ง ย่อมเป็นผลทําให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงสิทธิในเช็คจากผู้สลักหลัง (ผู้โอน) ไปยังผู้รับสลักหลัง (ผู้รับโอน) ตามมาตรา 920 วรรคแรก ประกอบ มาตรา 989 วรรคแรก ที่ว่า “อันการสลักหลังยอมโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่เช็ค” และผู้รับสลักหลัง (ผู้รับโอน) ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 905 วรรคแรกและวรรคสอง และมีสิทธิไล่เบี้ยผู้สั่งจ่าย และผู้สลักหลัง หากธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น (ตามมาตรา 900 วรรคแรก, 914,959 (ก), 967 วรรคแรก ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก)
2 กรณีการสลักหลังโอนเช็คผู้ถือ ย่อมเป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิทธิในเช็ค เช่นเดียวกับการสลักหลังโอนเช็คระบุชื่อผู้รับเงินหรือตามคําสั่ง เช่น ทําให้ผู้รับสลักหลังอยู่ในฐานะเป็นผู้ทรงเช็ค ผู้ถือโดยชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 905 วรรคสองและวรรคสาม) และมีผลทําให้ผู้สลักหลังต้องตกอยู่ในฐานะ เป็นผู้รับอาวัลให้แก่ผู้สั่งจ่าย (มาตรา 900 วรรคแรก, 918, 921, 940 วรรคแรก, 959 (ก), 967 วรรคแรก ประกอบ มาตรา 989 วรรคแรก)
(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 905 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1008 บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่า บุคคลผู้ที่ลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคําสลักหลัง เมื่อขีดฆ่าเสียแล้วท่านให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย
ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตัวเงินไปจากครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฎ สิทธิของตนในตั๋วตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้นหาจําต้องสละตั๋วเงินไม่เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริตหรือ ได้มาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง”
มาตรา 916 “บุคคลทั้งหลายผู้ถูกฟ้องในมูลตั๋วแลกเงินหาอาจจะต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัย ความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายหรือกับผู้ทรงคนก่อน ๆ นั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้น ด้วยคบคิดกันฉ้อฉล”
มาตรา 917 วรรคสอง “เมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” ดังนี้ก็ดี หรือเขียนคําอื่นอันได้ความเป็นทํานองเช่นเดียวกันนั้นก็ดี ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมจะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการ และด้วยผลอย่างการโอนสามัญ”
มาตรา 989 วรรคแรก “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเซ็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 910, 914 ถึง 923. ”
มาตรา 995 (1) “เช็คไม่มีขีดคร่อม ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงคนใดคนหนึ่งจะขีดคร่อมเสียก็ได้และ จะทําเป็นขีดคร่อมทั่วไปหรือขีดคร่อมเฉพาะก็ได้
(3) เช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดี ขีดคร่อมเฉพาะก็ดี ผู้ทรงจะเติมคําลงว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ก็ได้”
มาตรา 999 “บุคคลใดได้เช็คขีดคร่อมของเขามาซึ่งมีคําว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ท่านว่าบุคคลนั้น ไม่มีสิทธิในเช็คนั้นยิ่งไปกว่าและไม่สามารถให้สิทธิในเช็คนั้นต่อไปได้ดีกว่าสิทธิของบุคคลอันตนได้เช็คของเขามา”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่จันทร์ผู้สั่งจ่ายขีดคร่อมเช็คและลงข้อความว่า “A/C payee only” นั้น ย่อมสามารถทําได้ตามนัยมาตรา 995(1), 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก และการกระทําของผู้สั่งจ่าย ดังกล่าวก็ด้วยเจตนาห้ามมิให้ผู้รับเงินสลักหลังโอนเช็คนั้นต่อไป ดังนั้นถ้าอังคารจะโอนเช็คนั้นต่อไปโดยการสลักหลัง และส่งมอบเช็คตามวิธีการโอนตั๋วเงินตามมาตรา 917 วรรคแรก ย่อมไม่อาจทําได้ เว้นแต่อังคารจะโอนเช็คนั้นต่อไป โดยรูปแบบวิธีการเช่นเดียวกับการโอนหนี้สามัญ (การโอนสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 306) ตามมาตรา 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก
เมื่ออังคารนําเช็คนั้นไปสลักหลังและส่งมอบให้แก่พุธ ซึ่งถือว่าเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีผลตามมาตรา 999 กล่าวคือ พุธผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าอังคารผู้โอน และแม้ว่าพุธจะได้รับเช็คนั้น มาโดยสุจริต พุธผู้รับโอนก็มิได้มีฐานะเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามนัยมาตรา 905 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ดังนั้นพุธจะบังคับไล่เบี้ยจันทร์ผู้สั่งจ่ายไม่ได้ และจันทร์สามารถยกเอาความเกี่ยวพันระหว่างตนกับอังคารขึ้นเป็น ข้อต่อสู้พุธได้เพราะไม่ต้องห้ามตามมาตรา 916
สรุป
พุธจะบังคับไล่เบี้ยจันทร์ไม่ได้ และจันทร์สามารถยกเอาความเกี่ยวพันระหว่างตนกับ อังคารขึ้นเป็นข้อต่อสู้พุธได้ เพราะพุธมิได้อยู่ในฐานะผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย
ข้อ 3 (ก) การแก้ไขข้อความในตั๋วเงินจะมีผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
(ข) นายไก่สั่งจ่ายเช็คระบุชื่อฉบับหนึ่งระบุให้ใช้เงินจํานวน 50,000 บาท ชําระหนี้ให้นายปู ต่อมานายปูสลักหลังโอนเช็คนั้นชําระหนี้ให้นายปลา โดยหลังจากรับเช็คมา นายปลาได้ทําการแก้ไข จํานวนเงินในเช็คด้วย การใช้ปากกาขีดฆ่าจํานวนเงินเดิมออกแล้วเขียนจํานวนเงินใหม่ลงไป คือ 100,000 บาท โดยที่มิได้แจ้งให้นายไก่และนายปูทราบ แล้วทําการสลักหลังโอนเช็คชําระหนี้ ให้นายกุ้ง ต่อมานายกุ้งสลักหลังโอนเช็คชําระหนี้ให้นายนก หากต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค นายนกจะสามารถเรียกให้บุคคลใดรับผิด ชําระเงินตามเช็คฉบับนี้ได้บ้างหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
(ก) การแก้ไขข้อความในตั๋วเงินจะมีผลทางกฎหมายนั้น จะต้องเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความ ในข้อสําคัญ (มาตรา 1007) คือจะต้องเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความซึ่งเป็นสาระสําคัญ ซึ่งเมื่อมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงแล้วจะทําให้ผลของตั๋วเงิน สิทธิและหน้าที่ตลอดจนความรับผิดของคู่สัญญาในตั๋วเงินนั้นเปลี่ยนแปลง ไปจากเดิม
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในข้อสําคัญ เช่น แก้ไขเปลี่ยนแปลงใด ๆ แก่วันที่ลง จํานวนเงิน อันจะพึงใช้ เวลาใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน กับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงินไปเต็มความระบุ (มาตรา 1007 วรรคสาม) ตาม ป.พ.พ. ไว้ 2 กรณีคือ
1 กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเห็นได้ประจักษ์ กล่าวคือ การแก้ไขนั้นมีการแก้ไข ไม่แนบเนียนหรือเห็นได้ประจักษ์นั่นเอง โดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาทุกคนในตั๋วเงินนั้น ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินนั้นเสียไป แต่ยังคงใช้ได้กับคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทําการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือผู้ที่ยินยอมด้วยกับการแก้ไข เปลี่ยนแปลง และหรือผู้สลักหลังภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น (มาตรา 1007 วรรคแรก)
2 กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเห็นไม่ประจักษ์ กล่าวคือ การแก้ไขนั้นมีการแก้ไขได้อย่างแนบเนียน หรือไม่เห็นเป็นประจักษ์ถือว่าตั๋วเงินนั้นไม่เสียไป และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีย่อมเป็นผลให้ผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นสามารถจะถือเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้น เสมือนว่าตั๋วเงินนั้นมิได้ มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลยก็ได้ และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความเดิมแห่งตั๋วนั้นก็ได้ (มาตรา 1007 วรรคสอง)
(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1007 “ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด หรือในคํารับรองตัวเงินรายใด มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลง ในข้อสําคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามตั๋วเงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้ ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทําการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น กับทั้งผู้สลักหลังในภายหลัง
แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสําคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้ เสมือน ดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้
กล่าวโดยเฉพาะ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ในข้อสําคัญ คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใด ๆ แก่วันที่ลง จํานวนเงินอันจะพึงใช้เวลาใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน กับทั้ง เมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงินไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อเช็คที่นายไก่ออกให้นายปูนั้นมีจํานวนเงิน 50,000 บาท แต่เมื่อนายปู สลักหลังโอนเช็คนั้นให้แก่นายปลาแล้ว นายปลาได้แก้ไขจํานวนเงินเป็น 100,000 บาท ซึ่งในการแก้ไขนั้นนายปลาใช้ ปากกาขีดฆ่าจํานวนเงินเดิมออกแล้วเขียนจํานวนใหม่ลงไปคือ 100,000 บาท โดยมิได้แจ้งให้นายไก่และนายปูทราบ ดังนี้ถือว่าการแก้ไขจํานวนเงินดังกล่าวเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสําคัญตามมาตรา 1007 วรรคสาม และ ความเปลี่ยนแปลงนั้นเห็นได้ประจักษ์ และคู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามเช็คนั้นมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคน จึงมีผล ตามมาตรา 1007 วรรคแรก กล่าวคือให้ถือว่าเช็คนั้นเป็นอันเสียไปใช้บังคับไม่ได้ แต่ยังคงใช้ได้ตามข้อความใหม่ ต่อนายปลาคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทําการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น กับทั้งนายกุ้งผู้สลักหลังในภายหลังการแก้ไขนั้นด้วย
ดังนั้น เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค นายนกจึงสามารถเรียกให้นายปลาและนายกุ้ง รับผิดชําระเงินตามเช็คได้เป็นเงินจํานวน 100,000 บาท ตามที่ได้มีการแก้ไข
สรุป
นายนกสามารถเรียกให้นายปลาและนายกุ้งรับผิดชําระเงินตามเช็คได้เป็นเงินจํานวน 100,000 บาท