การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2011 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทน นายหน้า

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. ก. มอบอํานาจให้ ข. ทําสัญญาให้เช่าซื้อรถยนต์ โดยมิได้ทําเป็นหนังสือ ข. ทําสัญญาให้เช่าซื้อให้ ค. ที่มาขอเช่าซื้อรถยนต์ ในวันทําสัญญาให้เช่าซื้อ ค. ได้วางเงินดาวน์ไว้กับ ข. 300,000 บาท ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า

(1) ข. มีอํานาจทําสัญญาให้เช่าซื้อหรือไม่ เพราะเหตุใด

(2) สัญญาเช่าซื้อที่ ข. ทําไปนั้น ผลเป็นเช่นไร

(3) เงินดาวน์ที่ ข. รับไว้จาก ค. ผู้เช่าซื้อนั้น ข. ต้องโอนคืนให้ ก. ตัวการหรือไม่ เพราะอะไร

(4) ถ้า ข. ตัวแทนไม่โอนเงินดาวน์คืนให้ตัวการ ก. ตัวการจะต้องทําอย่างไร และถ้า ก. ฟ้อง ข. ให้โอนเงินดาวน์มาให้ ก. ข. ตัวแทนต่อสู้ว่า ก. ตัวการไม่มีอํานาจฟ้อง ข. ตัวแทน เพราะ ก. ตั้ง ข. เป็นตัวแทน มิได้ทําเป็นหนังสือ

ดังนี้ ข้ออ้างของ ข. ฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 152 “การใดมิได้ทําให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ” มาตรา 572 วรรคสอง “สัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทําเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ”

มาตรา 798 วรรคแรก “กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องทําเป็นหนังสือ การตั้ง ตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทําเป็นหนังสือด้วย”

มาตรา 810 “เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนนั้น ท่านว่าตัวแทนต้องส่งให้แก่ตัวการจงสิ้น

อนึ่ง สิทธิทั้งหลายซึ่งตัวแทนขวนขวายได้มาในนามของตนเองแต่โดยฐานที่ทําการแทนตัวการนั้น ตัวแทนก็ต้องโอนให้แก่ตัวการจงสิ้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้

(1) การทําสัญญาเช่าซื้อนั้น เป็นกิจการที่กฎหมายบังคับไว้ว่าต้องทําเป็นหนังสือ มิฉะนั้น จะเป็นโมฆะ (มาตรา 572 วรรคสอง) ดังนั้นการตั้งตัวแทนเพื่อไปทําสัญญาเช่าซื้อ จึงต้องทําเป็นหนังสือด้วย (มาตรา 798 วรรคแรก) เมื่อการตั้งตัวแทนของ ก. ที่ให้ ข. เป็นตัวแทนไปทําสัญญาให้เช่าซื้อรถยนต์มิได้ทําเป็น หนังสือ จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 798 วรรคแรก ดังนั้น สัญญาที่ ก. ตั้ง ข. ให้เป็นตัวแทนจึงตกเป็น โมฆะตามมาตรา 152 ข. จึงไม่มีอํานาจทําสัญญาให้เช่าซื้อ

(2) เมื่อ ข. ไม่มีอํานาจทําสัญญาให้เช่าซื้อ การที่ ข. ทําสัญญาให้เช่าซื้อรถยนต์กับ ค. จึง เป็นการทําสัญญาให้เช่าซื้อโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 572 วรรคสอง ประกอบมาตรา 798 วรรคแรก และมีผลทําให้สัญญาเช่าซื้อที่ ข. ทํากับ ค. เป็นโมฆะ ตามมาตรา 152 ที่มีหลักว่า การใดที่มิได้ทําให้ถูกต้อง ตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ

(3) เงินดาวน์ที่ ข. รับไว้จาก ค. ผู้เช่าซื้อจํานวน 300,000 บาท นั้น ข. จะต้องคืนให้แก่ ก. ตัวการ ตามมาตรา 810 ที่มีหลักว่า เงิน ทรัพย์สิน และสิทธิใด ๆ ที่ตัวแทนขวนขวายได้มาจากการเป็นตัวแทน จะต้องโอนคืนตัวการจนสิ้น แม้การเป็นตัวแทนของ ข. จะได้มาโดยมิชอบก็ตาม

(4) ถ้า ข. ตัวแทนไม่โอนเงินดาวน์คืนให้ ก. ตัวการ ก. ย่อมสามารถฟ้อง ข. ให้โอนคืน เงินดาวน์นั้นได้ โดย ข. จะต่อสู้ว่า ก. ไม่มีอํานาจฟ้อง เพราะ ก. ตั้ง ข. เป็นตัวแทนโดยมิได้ทําเป็นหนังสือตาม มาตรา 798 วรรคแรก ไม่ได้ เพราะกรณีนี้เป็นเรื่องระหว่างตัวการกับตัวแทนซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 798 ดังนั้น ข้ออ้างของ ข. ดังกล่าวจึงฟังไม่ขึ้น

สรุป

(1) ข. ไม่มีอํานาจทาสัญญาให้เช่าซื้อ

(2) สัญญาเช่า ซื้อที่ ข. ทําไปนั้น มีผลเป็นโมฆะ

(3) เงินดาวน์ที่ ข. รับไว้จาก ค. ผู้เช่าซื้อนั้น ข. ต้องโอนคืนให้ ก. ตัวการ

(4) ถ้า ข. ตัวแทนไม่โอนคืนเงินดาวน์ให้ ก. ตัวการ ก. สามารถฟ้องเรียกให้ ข.

ตัวแทนโอนคืนมาได้ ข้ออ้างของ ข. ดังกล่าว ฟังไม่ขึ้น

 

ข้อ 2. ก. มอบ ข. ให้ไปซื้อที่ดิน ข. ซื้อที่ดินของตนเองโดยมิได้รับความยินยอมจาก ก. ตัวการ เมื่อได้ที่ดินมาแล้ว ข. นํามาจัดสรรแบ่งขาย ปรากฏว่า ขายหมดสิ้น ตัวการได้สมประโยชน์ จึงขอให้ท่านจัดสรรบําเหน็จให้ ข. ตัวแทนว่า ข. ควรได้หรือไม่ได้ในส่วนใด เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 805 “ตัวแทนนั้น เมื่อไม่ได้รับความยินยอมของตัวการ จะเข้าทํานิติกรรมอันใด ในนามของตัวการทํากับตนเองในนามของตนเองหรือในฐานเป็นตัวแทนของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ เว้นแต่ นิติกรรมนั้นมีเฉพาะแต่การชําระหนี้”

มาตรา 818 “การในหน้าที่ตัวแทนสวนใดตัวแทนได้ทํามิชอบในส่วนนั้น ท่านว่าตัวแทน ไม่มีสิทธิจะได้บําเหน็จ”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 805 ได้กําหนดไว้ว่า ตัวแทนจะเข้าทํานิติกรรมอันใดในนามของตัวการ ทํากับตัวเองในนามของตนเองมิได้ จะต้องได้รับความยินยอมจากตัวการก่อน เว้นแต่เป็นการทํานิติกรรมที่มีแต่ การชําระหนี้เท่านั้น หากตัวแทนกระทําการฝ่าฝืนบทบัญญัตินี้ ตัวแทนย่อมไม่มีสิทธิรับบําเหน็จเพราะถือเป็น การกระทํามิชอบตามมาตรา 818

กรณีตามอุทาหรณ์ มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย 2 กรณี คือ

กรณีแรก การที่ ก. มอบ ข. ให้ไปซื้อที่ดิน แต่ ข. กลับซื้อที่ดินของตนเองนั้น ถือเป็นกรณีที่ ข. ตัวแทน ทํานิติกรรมในนามของตัวการทํากับตนเองในนามของตนเอง เมื่อปรากฏว่า ก. ตัวการมิได้ยินยอมด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 805 ดังนั้น ข. จึงไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จในส่วนนี้ตามมาตรา 818 ที่ว่าการ ในหน้าที่ตัวแทนส่วนใดตัวแทนทํามิชอบ ตัวแทนจะไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จ

กรณีที่สอง เมื่อได้ที่ดินมาแล้ว การที่ ข. นําที่ดินมาจัดสรรแบ่งขาย และปรากฏว่าขายดีจน หมดสิ้นนั้น เมื่อปรากฏว่าตัวการได้สมประโยชน์ ข. ตัวแทนจึงมีสิทธิได้รับบําเหน็จในส่วนนี้ตามนัยมาตรา 818 ที่ว่า หากตัวแทนทําการในหน้าที่ขอบในส่วนใด ตัวแทนก็ย่อมมีสิทธิได้บําเหน็จในส่วนนั้น

สรุป

ข้าพเจ้าจะจัดสรรบําเหน็จให้แก่ ข. ตัวแทน โดยเห็นว่า ข. ไม่ควรจะได้รับบําเหน็จใน การที่ ข. ซื้อที่ดินของตัวเอง แต่ ข. ควรได้รับบําเหน็จในการที่ ข. จัดสรรแบ่งขายที่ดิน ตามเหตุผลข้างต้น

 

ข้อ 3. ก. ต้องการจะขายที่ดิน จึงเอาป้ายไปปักไว้ว่า “ที่ดินแปลงนี้ขาย” ข. เป็นเจ้าของนิติบุคคลเป็น สํานักงานทนายความ มี ค. เป็นลูกค้า ค. บอก ข. ว่าต้องการให้ ข. หาที่ดินแถว ๆ ที่ ก. ปิดป้ายไว้ว่า “ขาย” อยู่มาวันหนึ่ง ข. ขับรถผ่านที่ดินแปลงดังกล่าวจึงหยุดรถแล้วโทรไปถาม ก. ว่าที่ดินมีก็ไร่ ไร่ละเท่าใด ลดราคาได้หรือไม่ ก. ตอบคําถามของ ข. ทุกประการแล้ว ข. ก็วางโทรศัพท์ไป 3 วันต่อมา ข. นํา ค. มาพบ ก. เจ้าของที่ดิน มีการเจรจาตกลงซื้อขายและโอนกันวันนั้นเลย 3 วันต่อมา ข. มาพบ ก. ผู้ขาย เรียกค่านายหน้าก. ปฏิเสธไม่จ่าย โดยอ้างว่า ก. มิได้มอบหมายให้ ข. เป็นนายหน้า ข. จึงฟ้อง ก. เพื่อให้ศาลสั่งให้จ่ายค่านายหน้า ถ้าท่านเป็นศาลจะสั่งจ่ายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 845 วรรคแรก “บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบําเหน็จแก่นายหน้าเพื่อที่ชี้ช่องให้ได้เข้า ทําสัญญาก็ดี จัดการให้ได้ทําสัญญากันก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบําเหน็จก็ต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทํากัน สําเร็จ เนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น ถ้าสัญญาที่ได้ทํากันไว้นั้นมีเงื่อนไขเป็นเงื่อนบังคับ ก่อนไซร้ ท่านว่าจะเรียกร้องบําเหน็จค่านายหน้ายังหาได้ไม่ จนกว่าเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว”

มาตรา 846 วรรคแรก “ถ้ากิจการอันได้มอบหมายแก่นายหน้านั้น โดยพฤติการณ์เป็นที่ คาดหมายได้ว่าย่อมทําให้แต่เพื่อจะเอาค่าบําเหน็จไซร้ ท่านให้ถือว่าได้ตกลงกันโดยปริยายว่ามีค่าบําเหน็จนายหน้า”

วินิจฉัย

ในเรื่องสัญญานายหน้านั้น บุคคลจะต้องรับผิดให้ค่าบําเหน็จนายหน้าแก่ผู้ใดก็ต่อเมื่อได้ ตกลงกันไว้กับผู้นั้นโดยชัดแจ้งประการหนึ่ง หรือถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้โดยชัดแจ้งก็จะต้องรับผิดต่อเมื่อกิจการอันได้ มอบหมายแก่ผู้นั้นเป็นที่คาดหมายได้ว่า ผู้นั้นย่อมทําให้ก็แต่เพื่อจะเอาค่าบําเหน็จเท่านั้น ถ้าไม่มีการตกลงกัน หรือไม่มีการมอบหมายกิจการแก่กัน ก็ไม่จําต้องให้ค่าบําเหน็จนายหน้า กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นายหน้าที่จะได้รับ บําเหน็จหรือค่านายหน้านั้นในเบื้องต้นจะต้องมีสัญญานายหน้าต่อกันโดยชัดแจ้งตามมาตรา 845 หรือมีสัญญา ต่อกันโดยปริยายตามมาตรา 846 ผู้ใดจะอ้างตนเป็นนายหน้าฝ่ายเดียว เรียกร้องเอาค่าบําเหน็จโดยอีกฝ่ายหนึ่ง มิได้มีสัญญาด้วยแต่อย่างหนึ่งอย่างใดเลยนั้น หามีกฎหมายสนับสนุนให้เรียกร้องได้ไม่

กรณีตามอุทาหรณ์

แม้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง ก. และ ค. จะได้เกิดขึ้นจากการชี้ช่อง และจัดการของ ข. ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก. ไม่เคยตกลงให้ ข. เป็นนายหน้าขายที่ดินของตนตาม มาตรา 845 วรรคแรก อีกทั้งจะถือว่าเป็นการตกลงกันโดยปริยายตามมาตรา 846 วรรคแรกก็ไม่ได้ เพราะการตกลง ตามมาตรานี้ หมายถึง กรณีที่มีการมอบหมายให้เป็นนายหน้ากันแล้ว แต่ไม่ได้ตกลงค่าบําเหน็จนายหน้าไว้ แต่กรณีนี้ ก. ยังไม่ได้มอบหมายให้ ข. เป็นนายหน้าแต่อย่างใด ดังนั้น ข. จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าบําเหน็จนายหน้า จาก ก. และถ้า ข. ฟ้องให้ศาลสั่งให้ ก. จ่ายค่านายหน้า ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจะพิจารณาพิพากษาว่า ก. ไม่จําต้องจ่ายค่านายหน้าให้แก่ ข. แต่อย่างใด (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 705/2505)

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจะพิจารณาพิพากษาว่า ก. ไม่ต้องจ่ายค่านายหน้าให้แก่ ข.

Advertisement