การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2010 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยค้ำประกัน ฯลฯ

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. แดงกู้เงินดํา 50,000 บาท มีหลักฐานถูกต้อง และแดงนําที่ดินราคา 100,000 บาท ของแดงมาจดทะเบียนจํานองแต่ก็ขอให้แดงหาผู้ค้ำประกันมาให้ด้วย แดงจึงไปหาเขียว เขียวตกลงกับดํา ว่าหากแดงชําระหนี้เงินกู้ไม่ได้ตนจะชําระหนี้แทนและทําหลักฐานเป็นหนังสือแต่ลงลายมือชื่อเขียว คนเดียวเท่านั้น ต่อมาหนี้ถึงกําหนดชําระ คําขอให้แดงชําระหนี้ แดงไม่มีเงินจะชําระหนี้ ดําจึงไป หาเขียว ขอให้เขียวชําระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน เขียวต่อสู้ว่า

1 หลักฐานการค้ำประกันไม่ถูกต้องเพราะแดงและดําไม่ได้ลงลายมือชื่อ

2 หากต้องชําระก็ขอให้ไปบังคับจากที่ดินของแดงก่อน อยากทราบว่า ข้ออ้างของเขียวทั้ง 2 ข้อ รับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 680 “อันว่าค้ําประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น

อนึ่งสัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน เป็นสําคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

มาตรา 690 “ถ้าเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันไซร้ เมื่อผู้ค้ำประกันร้องขอ ท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องให้ชําระหนี้เอาจากทรัพย์ซึ่งเป็นประกันนั้นก่อน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่แดงกู้เงินดํา 50,000 บาท โดยมีหลักฐานถูกต้อง และแดงได้นําที่ดินราคา 100,000 บาท ของแดงมาจดทะเบียนจํานองไว้ และมีเขียวตกลงกับคําว่าหากแดงชําระหนี้เงินกู้ไม่ได้ตนจะ ชําระหนี้แทนและทําหลักฐานเป็นหนังสือโดยมีการลงลายมือชื่อเขียวเพียงคนเดียวนั้น ข้อตกลงระหว่างเขียว บุคคลภายนอกกับดําเจ้าหนี้ย่อมเป็นสัญญาค้ำประกัน และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ ใช้บังคับคดีกันได้ตามมาตรา 680 เพราะสัญญาค้ำประกันนั้น กฎหมายกําหนดให้ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน เป็นสําคัญ ส่วนเจ้าหนี้และลูกหนี้หาจําต้องลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันด้วยไม่ ดังนั้นการที่เขียวต่อสู้ว่า หลักฐานการค้ําประกันไม่ถูกต้องเพราะแดงและดําไม่ได้ลงลายมือชื่อด้วยนั้น จึงรับฟังไม่ได้

2 เมื่อแดงได้นําที่ดินของตนมาจดทะเบียนจํานองเพื่อประกันหนี้ไว้ ย่อมถือว่าเจ้าหนี้ มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน ดังนั้น เมื่อดําเจ้าหนี้ขอให้เขียวชําระหนี้และเขียวผู้ค้ำประกันต่อสู้ว่า หากจะให้เขียวชําระ ก็ขอให้เจ้าหนี้ไปบังคับเอาจากที่ดินของแดงก่อนนั้น ข้อต่อสู้หรือข้ออ้างของเขียวกรณีนี้ ย่อมรับฟังได้ตามมาตรา 690

สรุป

1 ข้ออ้างของเขียวที่ว่า หลักฐานการค้ำประกันไม่ถูกต้องเพราะแดงและดําไม่ได้ลงลายมือชื่อนั้น รับฟังไม่ได้

2 ข้ออ้างของเขียวที่ขอให้ดําไปบังคับจากที่ดินของแดงก่อน รับฟังได้

 

ข้อ 2. แดงเช่าซื้อที่ดินจากม่วงหนึ่งแปลงยังขาดส่งค่างวดอีก 4 งวด แดงต้องการเอาเงินไปลงทุนเลี้ยงกุ้ง จึงนําที่ดินแปลงดังกล่าวไปขอกู้เงินจํานวน 200,000 บาท และจะขอจดทะเบียนจํานองที่ดิน แปลงดังกล่าวไว้เป็นประกัน หลังจากตกลงกับม่วงแล้วแดงได้ปลูกโรงเรือนลงในที่ดินจํานวน 2 หลัง ดังนี้ อยากทราบว่า แดงจะจดทะเบียนจํานองที่ดินของตนกับม่วงได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และหากมีการจดทะเบียนจะมีผลรวมไปถึงโรงเรือน 2 หลังที่ปลูกสร้างหลังจากตกลงกับม่วงหรือไม่ เพราะเหตุใด ยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 702 “อันว่าจํานองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จํานอง เอาทรัพย์สินตราไว้ แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจํานอง เป็นประกันการชําระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจํานอง

ผู้รับจํานองชอบที่จะได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สินที่จํานองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่”

มาตรา 705 “การอํานองทรัพย์สินนั้น นอกจากผู้เป็นเจ้าของในขณะนั้นแล้ว ท่านว่าใครอื่น จะจํานองหาได้ไม่”

มาตรา 719 วรรคหนึ่ง “จํานองที่ดินไม่ครอบไปถึงเรือนโรงอันผู้จํานองปลูกสร้างลงในที่เดิน ภายหลังวันจํานอง เว้นแต่จะมีข้อความกล่าวไว้โดยเฉพาะในสัญญาว่าให้ครอบไปถึง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีที่ 1 การที่แดงเช่าซื้อที่ดินจากม่วงหนึ่งแปลงยังขาดส่งค่างวดอีก 4 งวดนั้น ย่อมถือว่า แดงผู้เช่าซื้อยังมิได้เป็นเจ้าของหรือมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าว ที่ดินยังเป็นของม่วงผู้ให้เช่าซื้อ ดังนั้น แดงจะไปขอกู้เงินจากม่วงและนําที่ดินแปลงดังกล่าวไปจดทะเบียนจํานองไว้เป็นประกันกับม่วงไม่ได้ เพราะตาม มาตรา 705 ได้กําหนดไว้ว่า การที่ผู้จํานองจะนําทรัพย์สินไปจดทะเบียนจํานองเพื่อเป็นหลักประกันการชําระหนี้นั้น บุคคลผู้ที่จะนําทรัพย์สินไปจดทะเบียนจํานองได้จะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะที่จํานองนั้นด้วย บุคคลใด ถ้าไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินในขณะที่จํานองจะจํานองทรัพย์สินนั้นหาได้ไม่

กรณีที่ 2 หากมีการจดทะเบียนจํานอง การจํานองย่อมไม่มีผลไปถึงโรงเรือนที่ปลูกสร้าง หลังจากที่ได้ตกลงกับม่วงตามมาตรา 719 วรรคหนึ่ง ซึ่งได้กําหนดไว้ว่า การจํานองที่ดินนั้นย่อมไม่ครอบไปถึง โรงเรือนที่ผู้จํานองปลูกสร้างลงในที่ดินภายหลังวันจํานอง เว้นแต่จะตกลงกันไว้ในสัญญาว่าให้ครอบไปถึง

สรุป แดงจะจดทะเบียนจํานองที่ดินกับม่วงไม่ได้

และหากมีการจดทะเบียนจะไม่มีผลรวมไปถึงโรงเรือน 2 หลังที่ปลูกสร้างภายหลัง จากที่ตกลงกับม่วง

 

 

ข้อ 3. ฟ้ากู้เงินดิน 50,000 บาท และได้ส่งมอบแหวนทองคําให้ดินไว้เป็นประกัน แต่หลังจากได้รับเงินกู้แล้ว ฟ้าก็ได้นําแหวนทองคํากลับคืนไปด้วย อยากทราบว่าสัญญาจํานําเกิดขึ้นหรือยังและมีผลประการใด ยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 747 “อันว่าจํานํานั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จํานํา ส่งมอบสังหาริมทรัพย์ สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจํานํา เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้”

วินิจฉัย

สัญญาจํานําตามมาตรา 747 นั้น เป็นสัญญาระหว่างผู้นําจํากับผู้รับจํานํา ซึ่งจะมีผลสมบูรณ์ เป็นสัญญาจํานําที่ถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อ ผู้จํานําได้ส่งมอบสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับจํานําเพื่อเป็นประกัน การชําระหนี้แล้ว

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ฟ้ากู้เงินดิน 50,000 บาท และได้ตกลงส่งมอบแหวนทองคําให้ดิน ไว้เป็นประกันการชําระหนี้ แต่เมื่อหลังจากที่ฟ้าได้รับเงินกู้แล้วฟ้าก็ได้นําแหวนทองคํากลับคืนไปด้วยนั้น เป็นกรณีที่ ผู้รับจํานําได้ยินยอมให้ทรัพย์นั้นกลับคืนสู่การครอบครองของผู้จํานํา ดังนั้น กรณีดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นการจํานํา เพราะยังถือว่าไม่มีการส่งมอบทรัพย์ให้แก่กันแต่อย่างใด (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 490/2502 และ 1441/2555)

สรุป

สัญญาจํานําระหว่างฟ้าและดินยังไม่เกิดขึ้น มีผลทําให้สัญญาระหว่างฟ้าและดินเป็น เพียงสัญญากู้ยืมเงินเท่านั้น

Advertisement