การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2010 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยค้ําประกัน ฯลฯ
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1. นายแดงเป็นหนี้นายกรุงเทพ 5 ล้านบาท มีหลักฐานถูกต้อง และนายแดงได้นําโฉนดที่ดินของตนมามอบให้นายกรุงเทพเพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ แต่นายกรุงเทพขอให้นายแดงหาผู้ค้ำประกันมาให้ด้วย นายแดงจึงขอให้นายเหลืองและนายม่วงทั้ง 2 คน มาเป็นผู้ค้ำประกันโดยการให้ไปตกลงกับนายกรุงเทพ รวมทั้งมีการทําหลักฐานการค้ำประกัน แต่ในวันทําสัญญานายเหลืองติดราชการไป ต่างประเทศจึงมิได้ลงลายมือชื่อ เมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระนายแดงชําระหนี้ไม่ได้ นายกรุงเทพได้ส่ง จดหมายไปยังนายเหลืองและนายม่วงให้ชําระหนี้แทนภายในระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ ผิดนัด ปรากฏว่านายนายม่วงได้ขอให้นายกรุงเทพเรียกการชําระหนี้จากนายนายเหลืองก่อน หากไม่ได้ขอให้บังคับการชําระหนี้จากที่ดินที่นายแดงนําโฉนดมามอบให้นายกรุงเทพ
ดังนี้อยากทราบว่า นายกรุงเทพจะฟ้องร้องบังคับให้ทั้งนายเหลืองและนายม่วงชําระหนี้ได้หรือไม่และจะไปบังคับการชําระหนี้จากโฉนดที่ดินตามที่นายม่วงกล่าวอ้างได้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 680 “อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น
อนึ่งสัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน เป็นสําคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”
มาตรา 681 วรรคหนึ่ง “อันค้ำประกันนั้นจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์”
มาตรา 686 “ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด ท่านว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชําระหนี้ได้ แต่นั้น”
มาตรา 690 “ถ้าเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันไซร้ เมื่อผู้ค้ำประกันร้องขอ ท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องให้ชําระหนี้เอาจากทรัพย์ซึ่งเป็นประกันนั้นก่อน”
มาตรา 714 “อันสัญญาจํานองนั้น ท่านว่าต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่”
วินิจฉัย
ในกรณีที่การกู้เงินและการค้ำประกันนั้นได้กระทําถูกต้องตามกฎหมาย และมีหลักฐานใน การฟ้องร้องบังคับคดี หากลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ ย่อมก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้ในการบังคับการชําระหนี้เอาจากลูกหนี้ และผู้ค้ําประกันได้ตามมาตรา 680 และมาตรา 686 และในส่วนของผู้ค้ำประกันอาจจะบ่ายเบี่ยงขอให้เจ้าหนี้ บังคับเอาจากลูกหนี้ก่อนได้ตามมาตรา 690 คือ เมื่อเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดไว้เป็นประกัน และการประกันนั้น ได้กระทําถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ในกรณีทรัพย์ที่ยึดถือเป็นประกันไว้เป็นที่ดิน (กรณีจํานอง) ก็จะต้องมีการทําเป็น หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 714 ด้วย
กรณีตามอุทาหรณ์ นายกรุงเทพจะฟ้องร้องบังคับให้นายเหลืองและนายม่วงชําระหนี้ได้ หรือไม่ และจะไปบังคับการชําระหนี้จากโฉนดที่ดินตามที่นายม่วงกล่าวอ้างได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้
กรณีของนายเหลือง แม้การที่นายแดงเป็นหนี้นายกรุงเทพ 5 ล้านบาท มีหลักฐานถูกต้อง ตามมาตรา 681 วรรคหนึ่ง แต่การที่นายเหลืองได้ตกลงเป็นผู้ค้ำประกันหนี้รายนี้นั้น นายเหลืองไม่ได้ลงลายมือชื่อ ในสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด ดังนั้น นายกรุงเทพจะฟ้องร้องบังคับให้นายเหลืองชําระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน ไม่ได้ตามมาตรา 680 วรรคสอง
กรณีของนายม่วง เมื่อนายม่วงได้ตกลงเป็นผู้ค้ําประกันหนี้รายนี้และนายม่วงได้ลงลายมือชื่อ ในสัญญาค้ำประกัน ดังนั้นสัญญาการเป็นผู้ค้ำประกันของนายม่วงจึงสมบูรณ์และสามารถใช้ฟ้องร้องบังคับกันได้ ตามมาตรา 680 เมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระนายแดงลูกหนี้ชําระหนี้ไม่ได้ และนายกรุงเทพได้มีการบอกกล่าวให้นายม่วง ผู้ค้ำประกันชําระหนี้ถูกต้องตามมาตรา 686 แล้ว แต่นายม่วงยังไม่ชําระหนี้ นายกรุงเทพย่อมสามารถฟ้องร้อง บังคับให้นายม่วงชําระหนี้ไม่ได้
กรณีของโฉนดที่ดิน การที่นายแดงได้นําโฉนดที่ดินของตนมอบให้นายกรุงเทพยึดถือไว้เป็น ประกันโดยมิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ไม่ถือว่าเป็นการจํานองตามมาตรา 714 จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ของมาตรา 690 ที่ว่า “ถ้าเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน” ดังนั้นนายม่วงจะ ขอให้นายกรุงเทพบังคับการชําระหนี้จากที่ดินที่นายแดงนําโฉนดมามอบให้นายกรุงเทพไม่ได้
สรุป
นายกรุงเทพจะฟ้องบังคับให้นายเหลืองชําระหนี้ไม่ได้ แต่สามารถฟ้องบังคับนายม่วง ให้ชําระหนี้ได้ และนายกรุงเทพจะไปบังคับการชําระหนี้จากโฉนดที่ดินที่นายม่วงกล่าวอ้างไม่ได้
ข้อ 2. จงอธิบายถึงการบังคับจํานองตามที่กฎหมายใหม่ได้บัญญัติไว้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ธงคําตอบ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (กฎหมายเก่า) การบังคับจํานองมีได้ 2 กรณี คือ
1 การบังคับจํานองโดยผู้รับจํานองจะฟ้องคดีต่อศาล เพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งให้ยึด ทรัพย์สินซึ่งจํานองและให้ขายทอดตลาด (มาตรา 728)
2 การบังคับจํานองโดยผู้รับจํานองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุด(มาตรา 729)
แต่ในปัจจุบันได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 เกี่ยวกับการบังคับจํานองโดยการเพิ่มมาตรา 729/1 และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ซึ่งตามกฎหมายใหม่ตามมาตรา 729/1 นั้น กฎหมายได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้จํานองมีหนังสือแจ้ง ไปยังผู้รับจํานองเพื่อให้ผู้รับจํานองเอาทรัพย์สินของตนเองที่จํานองไว้นั้นออกขายทอดตลาดได้เลยโดยไม่ต้อง ฟ้องศาล หากทรัพย์สินที่จํานองนั้นไม่มีการจํานองรายอื่น (ไม่มีการจํานองซ้อน) หรือบุริมสิทธิอื่นอันได้จดทะเบียนไว้ เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้ และผู้รับจํานองต้องดําเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จํานองภายในเวลา 1 ปีนับแต่ วันที่ได้รับหนังสือแจ้งนั้น
ถ้าผู้รับจํานองไม่ได้ดําเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จํานองภายในระยะเวลา 1 ปีดังกล่าว ผู้จํานองย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชําระตลอดจนค่าภาระติดพัน อันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่พ้นกําหนดเวลาดังกล่าว ได้ปราการ
ตัวอย่าง นาย ก. ได้นําที่ดินซึ่งมีราคา 2 ล้านบาท จํานองไว้กับนาย ข. เป็นเงิน 1 ล้านบาท โดยไม่มีการนําที่ดินแปลงดังกล่าวไปจํานองกับเจ้าหนี้รายอื่นอีก ดังนี้หากนาย ก. คิดว่าตนไม่มีเงินจะไถ่ที่ดินแปลงนี้ คืนจากนาย ข. แน่นอน แต่ต้องการจะจํากัดไม่ให้ดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มขึ้น นาย ก. ย่อมสามารถใช้ สิทธิตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 729/1 ที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่นี้ได้ โดยการมีหนังสือแจ้งไปยังนาย ข. ผู้รับ จํานองให้นําที่ดินแปลงดังกล่าวออกขายทอดตลาดได้เลย
ถ้านาย ข. ผู้นับจํานองไม่ดําเนินการขายทอดตลาดที่ดินแปลงดังกล่าวภายในเวลา 1 ปี นับแต่ วันที่ได้รับหนังสือแจ้งนั้น นาย ข. จะเรียกร้องให้นาย ก. ผู้จํานองรับผิดในดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ภายหลังวันที่พ้นกําหนด 1 ปีนั้นไม่ได้
ข้อ 3. ฉุยเช่าซื้อรถยนต์ยังผ่อนชําระไม่หมดกับฉลุย ต่อมาฉุยได้นํารถยนต์คันดังกล่าวไปจํานํากับฉัน โดยฉลุยมิได้ยินยอมด้วย เมื่อฉลุยทราบเรื่อง ฉลุยจะไปตามเอารถยนต์คืนจากฉันได้หรือไม่ การจํานํา ผูกพันฉลุยผู้ให้เช่าซื้อหรือไม่ อย่างไร กรณีหนึ่ง
อีกกรณีหนึ่ง ก. นําตู้เย็นอย่างดีที่ส่งมาจากเมืองนอก ฝากให้ ข. ซึ่งเป็นร้ายขายตู้เย็นอยู่แล้วโดย ฝากขาย ข. ได้นําตู้เย็นที่ ก. ฝากไว้ไปจํานํา ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า ผู้รับจํานํารับจํานําไว้โดยสุจริต ก. เจ้าของตู้เย็นมีสิทธิติดตามเอาตู้เย็นคืนได้หรือไม่ ต้องเสียค่าไถ่หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 572 “อันว่าเช่าซื้อนั้น คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คํามั่นว่า จะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจํานวนเท่านั้น เท่านี้คราว
สัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทําเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ”
มาตรา 747 “อันว่าจํานํานั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จํานําส่งมอบสังหาริมทรัพย์ สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจํานํา เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้”
มาตรา 820 “ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทน หรือตัวแทนช่วงได้ทําไปภายในขอบอํานาจแห่งฐานตัวแทน”
มาตรา 821 “บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี รู้แล้วย่อมให้ บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน”
มาตรา 1336 “ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจําหน่ายทรัพย์สิน ของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิ จะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้
กรณีแรก การที่ฉุยได้เช่าซื้อรถยนต์กับฉลุยโดยยังผ่อนชําระค่าเช่าซื้อไม่หมดนั้น ตามมาตรา 572 ฉุยผู้เช่าซื้อย่อมได้ไปเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น เพราะกรรมสิทธิ์ยังไม่โอนยังเป็นของฉลุยผู้ให้เช่าซื้อ ดังนั้น การที่ฉุยได้นํารถยนต์ที่เช่าซื้อไปจํานํากับฉุนโดยฉลุยมิได้ยินยอมด้วย ฉลุยจึงสามารถติดตามเอารถยนต์คืนได้ในฐานะ เจ้าของที่แท้จริงตามมาตรา 1336 โดยไม่ต้องเสียค่าไถ่ เพราะการจํานํานั้นไม่ผูกพันฉลุยผู้ให้เช่าซื้อแต่อย่างใด
กรณีที่ 2 การที่ ก. ได้นําตู้เย็นไปฝากให้ ข. ขายนั้น ถือว่า ก. ได้เชิดให้ ข. เป็นตัวแทนของตน เพราะเป็นการปล่อยให้ ข. แสดงตนว่าเป็นเจ้าของตู้เย็นนั้น เสมือนว่า ข. เป็นตัวแทนของตนตามมาตรา 821 ดังนั้น เมื่อ ข. นําตู้เย็นไปจํานํา ก. ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงสามารถติดตามเอาตู้เย็นคืนได้ตามมาตรา 1336 แต่ ก. จะต้อง เสียค่าไถ่ เพราะเมื่อผู้รับจํานําได้รับจํานําไว้โดยสุจริต ก. จึงต้องรับผิดต่อผู้รับจํานําซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เสมือนว่า ก. เป็นตัวการจึงต้องมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทําของ ข. ตัวแทน ตามมาตรา 820 ประกอบ มาตรา 821
สรุป
กรณีแรก ฉลุยตามเอารถคืนจากฉันได้ เพราะการจํานําไม่ผูกพันฉลุยผู้ให้เช่าซื้อ
กรณีที่ 2 ก. เจ้าของตู้เย็นสามารถติดตามเอาตู้เย็นคืนได้แต่ต้องเสียค่าไถ่